พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดความรับผิดหุ้นส่วน: หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้จากการจ้างงาน แม้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการ
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่า คดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง จึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2510/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่ต้องรับผิดในหนี้ค่าจ้างจากความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง แม้จะเกี่ยวข้องจัดการงาน
คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ย่อมถึงที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 9 วรรคสอง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจำกัด แม้จะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ก็ไม่ต้องรับผิดในหนี้เกี่ยวกับการจ้างแรงงานของลูกจ้างห้างหุ้นส่วนเพราะหนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ที่นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้าง หุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดไม่มีความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างจึงไม่ต้องรับผิด
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดทำผิดหน้าที่ ซึ่งต้องรับผิดในหนี้อันเกี่ยวกับกิจการที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องต่อบุคคลภายนอก มิใช่ต้องรับผิดในหนี้อันเกิดจากความสัมพันธ์ในฐานะนายจ้างและลูกจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: ห้างหุ้นส่วนจำกัดและหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกันตามเช็คที่ออกโดยได้รับมอบอำนาจ
เช็คพิพาทสั่งจ่ายโดย ช. ผู้ได้รับมอบอำนาจให้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินแทนห้างฯ จำเลยที่ 1 และประทับตราของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามเช็คนั้น ส่วนจำเลยที่ 2ผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยไม่มีจำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1077(2) ย่อมต้องรับผิดตามเช็คนั้นด้วย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ช.เป็นผู้ลงลายมือชื่สั่งจ่ายและประทับตราแทนห้างจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะเป็นการนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ออกเช็คโดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัวและในฐานะแทนจำเลยที่ 1 การที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 2 มอบอำนาจให้ ช.เป็นผู้ลงลายมือชื่สั่งจ่ายและประทับตราแทนห้างจำเลยที่ 1 ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น เพราะเป็นการนำสืบว่าจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวการต้องรับผิดในหนี้ตามเช็ค และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในเช็คและการจัดการงานของห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 1,2 ร่วมกันลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ซึ่งต่อมาได้เลิกกิจการ จำเลยที่ 1 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการต้องร่วมรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาทแก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดกิจการ และขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัด
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก.ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1035/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัดต่อเช็คที่ออกโดยผู้มีอำนาจจัดการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ได้เชิดให้ ก. เป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการต่าง ๆ ของจำเลยที่ 1 ก. ได้แสดงตนเองต่อบุคคลภายนอกว่าเป็นผู้มีอำนาจจัดกิจการงานต่างๆ ของจำเลยที่ 1 และได้สั่งจ่ายเช็คแลกเงินสดจากโจทก์มาใช้ในกิจการของจำเลยที่ 1 โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินไม่ได้ดังนี้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
ก. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด แต่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างฯ จำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 3 เข้ามาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในฐานะเป็นผู้รับโอนหุ้นของ ก. เมื่อห้างฯ จำเลยที่ 1 ยังไม่เลิก โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องร้องให้จำเลยที่ 3 รับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1095
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2337/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดในคดีจัดการห้างหุ้นส่วน: การโอนทรัพย์สินชำระหนี้เป็นอำนาจจัดการของหุ้นส่วนผู้จัดการ
การที่หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโอนขายที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัดเพื่อชำระหนี้จำนองของห้าง เป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งหุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจหน้าที่ที่จะทำได้
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าว เพราะการฟ้องคดีเป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจที่จะฟ้อง
ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนขายที่ดินดังกล่าว เพราะการฟ้องคดีเป็นการจัดกิจการของห้างอย่างหนึ่งซึ่งเป็นอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจที่จะฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ที่ทำขึ้นโดยตัวแทนที่ได้รับการเชิดชู และผลของการรับสภาพหนี้ต่ออายุความ
ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลขที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์อยู่ จำเลยที่ 3 ได้คิดบัญชีกับโจทก์แล้วได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำแทน แต่มีพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เชิดให้จำเลยที่ 3 ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3 แม้จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ก็ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นด้วย ตามมาตรา 1088
จำเลยที่ 1ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ด้วยเช็คซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้สั่งจ่าย แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้มาคิดบัญชีกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งว่า หากจำเลยที่ 3 ไม่ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โดยดีจะให้ตำรวจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 3 ในข้อหาออกเช็คไม่มีเงินนั้น เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามปกตินิยมเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 127 หาได้จัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่ และตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์นั้น ก็มีลักษณะเป็นการยอมความกันในความผิดอันยอมความกันได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ
เมื่อมีการรับสภาพหนี้แล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่วัน ทำสัญญารับสภาพหนี้ตามมาตรา 172,181
จำเลยที่ 1ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ด้วยเช็คซึ่งจำเลยที่ 3 เป็นผู้สั่งจ่าย แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้มาคิดบัญชีกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งว่า หากจำเลยที่ 3 ไม่ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โดยดีจะให้ตำรวจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 3 ในข้อหาออกเช็คไม่มีเงินนั้น เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามปกตินิยมเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 127 หาได้จัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่ และตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์นั้น ก็มีลักษณะเป็นการยอมความกันในความผิดอันยอมความกันได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ
เมื่อมีการรับสภาพหนี้แล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่วัน ทำสัญญารับสภาพหนี้ตามมาตรา 172,181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2448/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือรับสภาพหนี้ผูกพันจำเลย แม้ไม่ได้มอบอำนาจ เหตุมีพฤติการณ์เชิดให้เป็นตัวแทน และอายุความสะดุดหยุดลง
ห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์อยู่ จำเลยที่ 3 ได้คิดบัญชีกับโจทก์แล้วได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้โดยจำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่ได้มอบอำนาจให้ทำแทน แต่มีพฤติการณ์ที่ฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เชิดใช้จำเลยที่ 3ออกแสดงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ตลอดมา จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการก็ต้องรับผิดร่วมด้วย ส่วนจำเลยที่ 3แม้จะเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ก็ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการในกิจการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดตามหนังสือรับสภาพหนี้นั้นด้วย ตามมาตรา 1088
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ด้วยเช็คซึ่งจำเลยที่ 3เป็นผู้สั่งจ่าย แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้มาคิดบัญชีกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งว่า หากจำเลยที่ 3 ไม่ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โดยดีจะให้ตำรวจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 3 ในข้อหาออกเช็คไม่มีเงินนั้น เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามปกตินิยมเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 127 หาได้จัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่ และตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์นั้น ก็มีลักษณะเป็นการยอมความกันในความผิดอันยอมความได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ
เมื่อมีการรับสภาพหนี้แล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่วัน ทำสัญญารับสภาพหนี้ตามมาตรา 172,181
จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าซื้อสินค้าเชื่อให้โจทก์ด้วยเช็คซึ่งจำเลยที่ 3เป็นผู้สั่งจ่าย แต่เช็คขึ้นเงินไม่ได้ ต่อมาจำเลยที่ 3 ได้มาคิดบัญชีกับเจ้าหน้าที่ของโจทก์ การที่เจ้าหน้าที่ของโจทก์แจ้งว่า หากจำเลยที่ 3 ไม่ตกลงทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โดยดีจะให้ตำรวจดำเนินคดีกับจำเลยที่ 3 ในข้อหาออกเช็คไม่มีเงินนั้น เป็นการขู่ว่าจะใช้สิทธิที่โจทก์มีอยู่ตามปกตินิยมเท่านั้น ซึ่งตามมาตรา 127 หาได้จัดว่าเป็นการข่มขู่ไม่ และตามหนังสือรับสภาพหนี้ที่จำเลยที่ 3 ทำให้โจทก์นั้น ก็มีลักษณะเป็นการยอมความกันในความผิดอันยอมความได้ จึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ไม่ตกเป็นโมฆะ
เมื่อมีการรับสภาพหนี้แล้ว อายุความย่อมสะดุดหยุดลง และเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่แต่วัน ทำสัญญารับสภาพหนี้ตามมาตรา 172,181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1880/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดลงสัญญาซื้อขายแทนห้างหุ้นส่วน ต้องรับผิดร่วมกันในสัญญา
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดในห้างจำเลยที่ 1ซึ่งจดทะเบียนเป็นหุ้นส่วนจำกัด ห้างจำเลยที่ 1 มอบให้จำเลยที่ 2 กระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 ที่สำนักงานกรุงเทพฯ จำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อทำสัญญาขายปอให้แก่โจทก์ในนามห้างจำเลยที่ 1 และประทับตราห้างจำเลยที่1 ด้วย ดังนี้ ห้างจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญานั้น
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาขายปอในนามห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราห้างจำเลยที่ 1 อันเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้เข้าทำสัญญาขายปอในนามห้างจำเลยที่ 1 โดยลงชื่อตนเองและประทับตราห้างจำเลยที่ 1 อันเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ด้วย