คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1088

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15199-15200/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้าง ลูกจ้าง และผู้ครอบครองยานพาหนะในคดีละเมิดจากการขับรถประมาท
จำเลยที่ 6 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 4 ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 6 ขับรถบรรทุกสินค้าไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 4 จำเลยที่ 4 ในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 6 ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 6 ได้กระทำไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 425 จำเลยที่ 3 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 4 ด้วยโดยไม่จำกัดจำนวนตามมาตรา 1077 (2) และ 1087 ส่วนจำเลยที่ 2 แม้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ที่แสดงตัวออกว่าเป็นนายจ้างจำเลยที่ 6 และเข้าไปติดต่อเจรจาเกี่ยวกับการใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ตลอดมาถือได้ว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 4 เช่นนี้จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้ทั้งหลายของจำเลยที่ 4 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 ด้วย
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่า จำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างหรือตัวการของจำเลยที่ 6 และในวันเกิดเหตุจำเลยที่ 6 ขับรถไปในทางการที่จ้างหรือได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 1 ด้วย แต่จากทางนำสืบของโจทก์ไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มีความเกี่ยวข้องหรือมีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับจำเลยที่ 6 หนังสือรับรองจำเลยที่ 4 ก็ไม่มีชื่อจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วน และไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 1 ร่วมลงทุนทำกิจการใดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 หรือมีส่วนเป็นเจ้าของสินค้าที่บรรทุกมาในรถกระบะที่จำเลยที่ 6 ขับไปเกิดเหตุคดีนี้ คงได้ความเพียงว่า จำเลยที่ 1 มีชื่อเป็นผู้ครอบครองรถกระบะคันเกิดเหตุเท่านั้น ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดใด ๆ ในผลแห่งละเมิดซึ่งจำเลยที่ 6 กระทำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2066/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดที่เกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนเกินขอบเขต ทำให้ต้องรับผิดร่วมกับหุ้นส่วนผู้จัดการและห้างหุ้นส่วน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่เป็นผู้ติดต่อส่งสินค้าไปยังต่างประเทศและได้รับมอบอำนาจจากจำเลยที่ 1 ให้สั่งจ่ายเช็คได้ทั้งจำเลยที่ 3 ยังได้ทำบันทึกความเข้าใจ พร้อมประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1ด้วย โดยทำในนามของจำเลยที่ 1 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่อโจทก์โดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาสินค้าชำรุด หุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วม ส่วนค่าเสียหายจากการติดตั้งไม่ถือเป็นความผิด
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าคืนจากจำเลยทั้งสามโดย อ้างว่าได้ส่งสินค้าคืนจำเลยทั้งสามแล้ว แม้โจทก์บรรยาย ในคำฟ้องว่า สินค้าของจำเลยไม่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดและไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจำเลยให้การว่าไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับ โจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่องหรือไม่ ทั้งได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตลอดมาถึงศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำสินค้าไปคืนจำเลยโดยอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐานและจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมรับสินค้าคืนจากโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยินยอมรับคืนโดยมีเงื่อนไขอย่างไร ย่อมฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 กล่าวคือ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าคืนจากโจทก์แล้วจึงจำต้องคืนราคาสินค้าแก่โจทก์ด้วย กรณีมิใช่พิพาทกันในเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกัน โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจาก ราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน 2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้า ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจาก จำเลยที่ 1 โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์ โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่านส. โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะ ใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้า ไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่ จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลย ไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้า และให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกัน เกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความ ในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาสินค้าไม่ได้มาตรฐาน: คืนราคาสินค้า & ความรับผิดของหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าสินค้าคืนจากจำเลยทั้งสามโดยอ้างว่าได้ส่งสินค้าคืนจำเลยทั้งสามแล้ว แม้โจทก์บรรยายในคำฟ้องว่า สินค้าของจำเลยไม่ได้มาตรฐานตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดและไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และจำเลยให้การว่าไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ซึ่งศาลชั้นต้นได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาทว่า สินค้าของจำเลยชำรุดบกพร่องหรือไม่ ทั้งได้มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยตลอดมาถึงศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าโจทก์นำสินค้าไปคืนจำเลยโดยอ้างว่าสินค้าไม่ได้มาตรฐานและจำเลยที่ 1 ก็ยินยอมรับสินค้าคืนจากโจทก์ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสามยินยอมรับคืนโดยมีเงื่อนไขอย่างไร ย่อมฟังได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ตกลงเลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อสัญญาเลิกกันแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 กล่าวคือ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้รับสินค้าคืนจากโจทก์แล้วจึงจำต้องคืนราคาสินค้าแก่โจทก์ด้วย กรณีมิใช่พิพาทกันในเรื่องความรับผิดเพื่อชำรุดบกพร่องในตัวทรัพย์ที่ซื้อขายกัน
โจทก์ซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 3,164,684 บาทแต่ในการชำระราคา เมื่อโจทก์ทราบว่าสายไฟฟ้าที่ซื้อจากจำเลยที่ 1 มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐานจึงสั่งอายัดเช็คจำนวน 350,000 บาท และโจทก์ยังค้างชำระราคาสินค้าจำนวน 350,000 บาท ดังนั้น จึงต้องนำเงินจำนวนดังกล่าวมาหักออกจากราคาสินค้าทั้งหมดก่อน คงเหลือราคาสินค้าที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์จำนวน2,814,684 บาท จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ในการเจรจาติดต่อนำสินค้าไปคืนแก่จำเลยที่ 1 รวมทั้งการทวงถามค่าสินค้าคืนจากจำเลยที่ 1โจทก์ได้ติดต่อโดยตรงกับจำเลยที่ 3 ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ติดต่อซื้อสายไฟฟ้าจากจำเลยที่ 1 โดยติดต่อผ่าน ส.โดยไม่ระบุยี่ห้อ และไม่มีข้อตกลงกำหนดมาตรฐานคุณภาพของสินค้าไว้ โดยการสั่งซื้อ โจทก์ไม่ได้ระบุว่าสินค้าจะผลิตจากโรงงานใด โจทก์เพียงแต่ระบุขนาดของสายไฟฟ้าที่จะใช้เท่านั้น นอกจากนี้ก็เป็นความผิดของโจทก์เองที่นำสายไฟฟ้าไปติดตั้งก่อนโดยไม่ผ่านการทดสอบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้ ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนและติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าใหม่จึงเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษซึ่งจำเลยไม่อาจคาดเห็นได้ล่วงหน้า จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์
คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมรับผิดคืนราคาสินค้าและให้ชดใช้ค่าเสียหายอีกส่วนหนึ่งแก่โจทก์ มิได้พิพาทกันเกี่ยวกับความรับผิดในการรอนสิทธิ ที่จำเลยให้การว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ก็ไม่ได้ความชัดแจ้งว่าขาดอายุความในเรื่องใด อย่างไร ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 177 วรรคสองคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องอายุความ แม้ศาลชั้นต้นจะกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ก็เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมกันไม่สามารถแบ่งแยกได้ ห้างหุ้นส่วนจำกัดรับผิดร่วม
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็น ห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้น จึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1)ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7018/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมและขอบเขตความรับผิดในการคืนเงินมัดจำ
โจทก์ฟ้องว่า ได้ตกลงซื้อรถทัวร์จากจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ จำเลยที่ 3 เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดแต่ได้สอดเข้าไปจัดการงานของจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันในการคืนเงินมัดจำ จำเลยทั้งสามจึงเป็นลูกหนี้ร่วมของโจทก์ ดังนั้นจึงเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องไปถึงจำเลยที่ 1 ที่ 2 ซึ่งไม่อุทธรณ์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและฐานะส่วนตัวในการซื้อขาย กรณีจำเลยที่ 2 เจรจาซื้อดินก่อนบริษัทจดทะเบียน
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม 2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนนี้เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองจากการซื้อขายที่ดิน โดยจำเลยที่ 2 ดำเนินการทั้งในฐานะส่วนตัวและนิติบุคคล
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานะส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้ง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดแทรกการจัดการ: สิทธิเรียกร้องระหว่างหุ้นส่วน vs. บุคคลภายนอก
โจทก์ฟ้องคดีโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสองข้อคือข้อแรก โจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อที่สองจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด แต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า หนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองเห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา1088 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ข้อแรก ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง
กรณีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่าถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใด สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ หรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด และมีหน้าที่อย่างใดหากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5844/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดสอดเข้าไปจัดการกิจการ: ความรับผิดต่อหนี้ของห้างหุ้นส่วน
โจทก์ฟ้องคดีโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาสองข้อคือข้อแรก โจทก์จำเลยได้ตกลงกันประกอบกิจการและจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดโดยโจทก์เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ข้อที่สองจำเลยซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดได้สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนขอให้บังคับให้จำเลยร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน จำเลยให้การรับว่าเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดแต่ปฏิเสธว่าไม่เคยสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า หนี้ของห้างหุ้นส่วนตามฟ้องผูกพันจำเลยหรือไม่เพียงใด ซึ่งศาลล่างทั้งสองเห็นว่า แม้จำเลยจะสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดอย่างไม่จำกัดจำนวน เพราะกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1088 วรรคหนึ่ง เป็นกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอก แต่คดีนี้ไม่ใช่กรณีบุคคลภายนอกเรียกร้องให้จำเลยรับผิด เป็นเรื่องระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเอง จึงต้องบังคับตามสัญญาหุ้นส่วนซึ่งเป็นข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาของโจทก์ข้อแรก ฉะนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยดังกล่าว จึงไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้อง กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1088 วรรคหนึ่งซึ่งบัญญัติว่า ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวนนั้น เป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองบุคคลภายนอกเนื่องจากบุคคลภายนอกอาจไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใด ส่วนระหว่างหุ้นส่วนด้วยกันเองผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ใดเป็นหุ้นส่วนจำพวกใดและมีหน้าที่อย่างใด หากยินยอมให้มีการกระทำผิดหน้าที่ ผู้ที่ให้ความยินยอมไม่มีสิทธิจะอ้างกฎหมายมาตราดังกล่าวขึ้นบังคับผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันอย่างบุคคลภายนอกได้ กรณีของผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกันต้องบังคับตามสัญญาห้างหุ้นส่วน
of 5