คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 572 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15303/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ: แม้ชำระครบ แต่ต้องจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จึงสมบูรณ์ จำเลยผิดสัญญาเมื่อไม่ดำเนินการ
โจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วน แม้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดตกเป็นของโจทก์โดยผลของกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคหนึ่ง แล้วก็ตาม แต่ห้องชุดเป็นอสังหาริมทรัพย์ซึ่งการได้มาโดยนิติกรรมย่อมไม่บริบูรณ์ เว้นแต่จะได้ทำเป็นหนังสือและได้จดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง โจทก์ยังต้องมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องชุดในทางทะเบียนด้วย เพราะไม่เช่นนั้นย่อมไม่อาจที่จะใช้สอยห้องชุดในฐานะเจ้าของทรัพย์สินอย่างสมบูรณ์ได้ จำเลยจึงยังมีหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดในทางทะเบียนให้แก่โจทก์
รายละเอียดแนบท้ายสัญญาเช่าซื้อห้องชุด ข้อ 16 กำหนดว่า "เมื่อผู้ให้เช่าซื้อได้จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดแล้ว ผู้ให้เช่าซื้อจะแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบเพื่อให้ผู้เช่าซื้อมารับโอนกรรมสิทธิ์ และผู้เช่าซื้อจะต้องมาขอรับโอนกรรมสิทธิ์ให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ผู้ให้เช่าซื้อแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้เช่าซื้อทราบ..." ก็ไม่ได้ระบุว่า จำเลยจะดำเนินการเมื่อใดจึงเป็นเรื่องที่สุดแล้วแต่ใจของจำเลยโดยแท้ เมื่อปรากฏว่านับแต่ที่โจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อห้องชุดในโครงการของจำเลยจนผ่อนชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยครบถ้วน และฟ้องคดีเป็นเวลา 12 ปีเศษ จำเลยยังมิได้ดำเนินการอย่างใด ๆ เพื่อการจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเลย ถือว่าเป็นเวลาที่เนิ่นนานจนเกินสมควรไปมาก เหตุที่จำเลยไม่จดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลอาคารชุดขึ้นและโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ เพราะเหตุว่าประสบปัญหาขาดทุนและเกี่ยวกับเรื่องค่าใช้จ่ายส่วนกลาง มิใช่เป็นเหตุที่จำเลยจะอ้างเพื่อที่จะปฏิเสธไม่จดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดและไม่โอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ได้ จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาต่อโจทก์
โจทก์ได้ชำระค่าเช่าซื้อให้แก่จำเลยจนครบถ้วนและได้กรรมสิทธิ์ในห้องชุดแล้ว ย่อมไม่มีเหตุผลใดที่โจทก์จะต้องขอเลิกสัญญาเช่าซื้อแก่จำเลย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ขอคืนเงินค่าเช่าซื้อ 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยเป็นเพียงคำขอรองในกรณีที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้โจทก์บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ตามคำขอหลักได้เท่านั้น หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าซื้อไม่ จำเลยไม่อาจที่จะขอคืนเงินค่าเช่าซื้อให้แก่โจทก์โดยหักกลบลบหนี้กับค่าเช่าและค่าใช้ประโยชน์ห้องชุดพิพาทจากโจทก์ได้
จำเลยให้การรับว่า ห้องชุดเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์แล้ว มิได้ต่อสู้กรรมสิทธิ์ว่าห้องชุดเป็นของจำเลย เพียงแต่อ้างว่ายังไม่ถึงกำหนดเวลาในการโอนกรรมสิทธิ์ในทางทะเบียน การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ มิได้ทำให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ห้องชุดเพิ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ ส่วนคำขอรองที่ว่า หากจำเลยไม่สามารถโอนกรรมสิทธิ์ได้ให้จำเลยชดใช้เงิน 1,000,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงิน 600,000 บาท นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ ไม่ทำให้กลายเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไปได้ ที่ศาลชั้นต้นเรียกค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่กำหนดไว้ตลอดมาไม่ถูกต้อง จึงต้องคืนส่วนที่เสียเกินมาให้แก่คู่ความทุกฝ่าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7379/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบรถยนต์เช่าซื้อเป็นสาระสำคัญของสัญญา หากยังไม่ได้ส่งมอบ ผู้ให้เช่าซื้อไม่อาจฟ้องบังคับคดีได้ และต้องคืนค่าซ่อม
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยมาตรา 537 และมาตรา 546 กำหนดให้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อรถยนต์พิพาทมีหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อที่จะต้องส่งมอบรถยนต์พิพาทแก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าซื้อ เพื่อให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในรถยนต์พิพาทตามวัตถุประสงค์ของสัญญาเช่าซื้อ เมื่อฟังได้ว่า ฉ. ซึ่งเป็นผู้เช่าซื้อและรับมอบรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์นำจำเลยทั้งสองมาทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทและสัญญาค้ำประกันกับโจทก์ หลังจากโจทก์ยื่นฟ้อง ฉ. กับพวกว่าผิดสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาท ให้ร่วมกันส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนโจทก์ ขณะโจทก์และจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อนั้นสภาพรถยนต์พิพาทจอดซ่อมอยู่ในอู่ซ่อมรถโดยไม่มีกระบะท้ายต้องซ่อมเครื่องยนต์และใส่กระบะท้ายใหม่ จำเลยที่ 1 จึงยังไม่ได้รับรถยนต์พิพาทไปใช้ประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์จึงไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 มาฟ้องร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองได้
เมื่อโจทก์ผู้ให้เช่าซื้อมิได้ส่งมอบรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 ได้ใช้หรือรับประโยชน์ตามสัญญาเช่าซื้อ โจทก์ไม่อาจอ้างสัญญาเช่าซื้อมาฟ้องร้องบังคับคดีเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้ โจทก์และจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม โจทก์ยึดรถยนต์พิพาทคืนไปในสภาพที่จำเลยที่ 1 จ่ายเงินค่าซ่อมไปแล้ว เป็นการได้ประโยชน์ในค่าซ่อมรถยนต์พิพาทโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้จำเลยที่ 1 เสียเปรียบ จำเลยที่ 1 มีสิทธิเรียกคืนค่าซ่อมรถยนต์พิพาทจากโจทก์ในฐานลาภมิควรได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิในที่ดินโดยหนังสือแสดงเจตจำนงก่อนเสียชีวิต ไม่ถือเป็นมรดก
แม้ ร. ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินพิพาทครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี2510และ ร.มีสิทธิเรียกร้องในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าซื้ออันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ ร.ก็ตามแต่ในระหว่างที่ ร.ยังมีชีวิตอยู่ในปี2513 ร.ได้ทำหนังสือแสดงความจำนงตามข้อบังคับของสหกรณ์ ธ.ว่าหาก ร.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสหกรณ์ ธ.ขอให้สหกรณ์ ธ.โอนบรรดาสิทธิผลประโยชน์และหนี้สินที่ ร.มีอยู่ในสหกรณ์ ธ.ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทต่อมา ร. ทำกินในที่ดินพิพาทไม่ไหวในปี2518สหกรณ์ ธ.ได้รับจำนองเข้าเป็นสมาชิกแทน ร.สิทธิในที่ดินพิพาทจึงโอนมาเป็นของจำเลยตามข้อบังคับของสหกรณ์ดังกล่าวต่อมาปี2522 ร.ถึงแก่ความตายสิทธิในที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ ร.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตายจึงไม่เป็นมรดกของ ร.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1599วรรคหนึ่งการที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในปี2531จึงไม่ใช่การรับโอนมรดกของ ร.ในฐานะเจ้าของรวมผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์แต่เป็นเพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6619/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ โอนสิทธิในที่ดินหลังทำสัญญาเช่าซื้อครบถ้วน: ไม่ใช่การรับมรดก แต่เป็นการได้มาตามข้อบังคับสหกรณ์
แม้ ร. ชำระเงินค่าเช่าซื้อที่ดินพิพาทครบถ้วนแล้วตั้งแต่ปี 2510และ ร.มีสิทธิเรียกร้องในที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่าซื้ออันถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่งของ ร.ก็ตาม แต่ในระหว่างที่ ร.ยังมีชีวิตอยู่ในปี 2513 ร.ได้ทำหนังสือแสดงความจำนงตามข้อบังคับของสหกรณ์ ธ.ว่า หาก ร.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพของสหกรณ์ ธ.ขอให้สหกรณ์ ธ.โอนบรรดาสิทธิผลประโยชน์และหนี้สินที่ ร.มีอยู่ในสหกรณ์ ธ.ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาท ต่อมา ร.ทำกินในที่ดินพิพาทไม่ไหว ในปี 2518 สหกรณ์ ธ.ได้รับจำเลยเข้าเป็นสมาชิกแทน ร. สิทธิในที่ดินพิพาทจึงโอนมาเป็นของจำเลยตามข้อบังคับของสหกรณ์ดังกล่าว ต่อมาปี 2522 ร.ถึงแก่ความตาย สิทธิในที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์สินที่ ร.มีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของ ร.ตามประมวล-กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยรับโอนที่ดินพิพาทโดยทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการได้มาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในปี 2531 จึงไม่ใช่การรับโอนมรดกของ ร.ในฐานะเจ้าของรวมผู้มีสิทธิรับมรดกร่วมกับโจทก์ แต่เป็นเพียงทำให้การได้มาบริบูรณ์ตามกฎหมายเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งตัวแทนทำสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นหนังสือ หากไม่มีหลักฐานการแต่งตั้ง สัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเป็นโมฆะ
การเช่าซื้อเป็นนิติกรรมที่ต้องทำเป็นหนังสือ การตั้งตัวแทนเพื่อทำสัญญาเช่าซื้อจึงต้องทำเป็นหนังสือด้วย
โจทก์มอบหมายให้ผู้จัดการแผนกเข้าทำสัญญาให้เช่าซื้อทรัพย์สินของโจทก์กับจำเลยโดยมิได้แต่งตั้งตัวแทนเป็นหนังสือ การแต่งตั้งมอบหมายจึงเป็นโมฆะ โจทก์จะนำพยานบุคคลมาสืบว่าโจทก์ได้แต่งตั้งให้ผู้จัดการแผนกเป็นตัวแทนโจทก์เข้าทำสัญญาเช่าซื้อไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ก) การเช่าซื้อดังกล่าวจึงเท่ากับไม่ได้ทำเป็นหนังสือและเป็นโมฆะสัญญาค้ำประกันสัญญาเช่าซื้อนั้นจึงไม่อาจมีขึ้นได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 681