พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการหักกลบลบหนี้หลังการผิดสัญญา
จำเลยได้รับการบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งถึงกำหนดชำระแล้วและได้ยินยอมด้วยในการโอนดังกล่าวโดยมิได้อิดเอื้อน ทั้งผู้โอนเพิ่งผิดสัญญาจ้างภายหลังการโอน จำเลยจะอ้างสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายในการที่ผู้โอนผิดสัญญาจ้างภายหลังมาหักกลบลบหนี้กับสิทธิเรียกร้องของผู้โอนที่มีต่อจำเลยแต่ได้โอนไปให้โจทก์ทั้งสองก่อนแล้วไม่ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย และความรับผิดของผู้รับอาวัล
บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บ. ออกตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดเปลี่ยนมือไม่ได้ให้แก่บริษัท ส. จำเลยลงชื่อเป็นผู้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินนั้น ต่อมาบริษัท ส. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์โดยได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ออกตั๋วแล้วเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคแรก มาตรา 917 วรรคสองประกอบมาตรา 985 วรรคแรก โจทก์จึงเป็นผู้รับโอนโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยซึ่งเป็นผู้รับอาวัลตั๋วจึงต้องรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2288/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องโดยตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไป มิใช่กิจการที่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801
การโอนสิทธิเรียกร้อง มิใช่กิจการเฉพาะที่ต้องห้ามมิให้ตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปกระทำการแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 801 จ. เป็นตัวแทนผู้รับมอบอำนาจทั่วไปของบริษัท ย. จึงเป็นผู้มีอำนาจโอนสิทธิเรียกร้องที่บริษัท ย. มีต่อจำเลยที่ 1 เพื่อให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาท: การจำกัดสิทธิการโอนเช็คโดยผู้สั่งจ่าย และผลต่อการเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ
เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารคือจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือ โดยจำเลยที่ 1 ได้ขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่าA/CPAYEEONLY อันได้ความเป็นทำนองเดียวกับเปลี่ยนมือไม่ได้ลงไว้ที่ด้านหน้าเช็ค แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือ ออกจำเลยที่ 2 ซึ่งมีชื่อเป็นผู้รับเงินหรือผู้ทรงก็จะต้องผูกพันตามข้อกำหนดของจำเลยที่ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 จำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้โจทก์ด้วยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือโอนโดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือไม่ได้เพราะมาตรา 917 วรรคสอง บัญญัติให้โอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญเพียงวิธีเดียวเพื่อการโอนไม่สมบูรณ์โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ผู้สั่งจ่าย โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาทไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คพิพาทขีดคร่อมเฉพาะบัญชีผู้รับเงิน การโอนสิทธิไม่สมบูรณ์ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิเรียกร้อง
เช็คพิพาทจำเลยที่ 1 สั่งธนาคารจำเลยที่ 4 ให้จ่ายเงินแก่จำเลยที่ 2 หรือผู้ถือโดยขีดคร่อมและพิมพ์ข้อความว่า A/CPAYEEONLYซึ่งแปลว่า เฉพาะบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น อันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันกับเปลี่ยนมือไม่ได้ไว้ที่ด้านหน้าเช็ค จำเลยที่ 2จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์โดยการสลักหลังและส่งมอบในฐานะเป็นผู้รับเงินหรือจะโอนให้แก่โจทก์โดยการส่งมอบในฐานะผู้ถือหาได้ไม่จำเลยที่ 2 จะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจำเลยที่ 2 จะโอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ก็ทำได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนหนี้สามัญตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 989 และการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 วรรคแรก การที่จำเลยที่ 2 โอนเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ด้วยวิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1ผู้สั่งจ่าย ส่วนจำเลยที่ 4 เป็นเพียงคู่สัญญาของจำเลยที่ 1มิได้เป็นคู่สัญญาของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 1แล้วก็ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยที่ 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนสิทธิเช่าที่ไม่มีข้อตกลงเรื่องค่าตอบแทน การนำสืบพยานเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสาร
สัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทซึ่งระบุว่า จำเลยซึ่งเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้โอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไปเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306ซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ เมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าตอบแทนไว้ ดังนั้น การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่ามีค่าตอบแทนและโจทก์ยังค้างชำระค่าตอบแทนดังกล่าวบางส่วน และถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญานั้น จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1630/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาด้วยพยานบุคคลขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาโอนสิทธิการเช่าตึกพิพาทซึ่งระบุว่าจำเลยซึ่งเช่าตึกพิพาทจากโจทก์ร่วมได้โอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์เป็นผู้เช่าต่อไปเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306ซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ เมื่อสัญญาดังกล่าวมิได้กำหนดเรื่องค่าตอบแทนไว้ ดังนั้น การที่จำเลยจะนำพยานบุคคลมาสืบว่ามีค่าตอบแทนและโจทก์ยังค้างชำระค่าตอบแทนดังกล่าวบางส่วนและถือว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญานั้น จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 457/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามสิทธิเรียกร้องที่โอนให้แก่โจทก์ แม้มีการอายัดเงินแต่สิทธิเรียกร้องได้โอนไปแล้ว การชำระเงินจึงไม่เป็นการละเมิด
การที่จำเลยที่ 3 ฟ้องจำเลยที่ 2 และขอให้ศาลอายัดเงินที่จำเลยที่ 2 จะได้รับจากจำเลยที่ 1 ตามสัญญาจ้างทำของไว้ก่อนพิพากษา และศาลมีคำสั่งให้อายัดไว้ก่อนพิพากษาตามคำขอของจำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 1 ได้ส่งเงินค่าจ้างทำของไปยังศาลตามหมายอายัดชั่วคราว และในที่สุดจำเลยที่ 3 ได้รับเงินดังกล่าวไปจากศาลนั้น เมื่อปรากฏว่าเงินค่าจ้างทำของนี้เดิมเป็นสิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาจ้างทำของกับจำเลยที่ 1 และต่อมาห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรโดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการได้โอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวให้แก่โจทก์ไปก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งให้อายัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตรและจำเลยที่ 2 ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องดังกล่าวต่อจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คำสั่งให้อายัดจึงไม่มีผลบังคับจำเลยที่ 1 แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ปฏิเสธหรือโต้แย้งหนี้ตามคำสั่งให้อายัดแต่กลับส่งเงินไปยังศาลก็เป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำดังกล่าวของตนเอง หาทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้เงินค่าจ้างทำของจากจำเลยที่ 1 ตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัดบุญลาภและบุตร ต้องเสื่อมเสียไปแต่อย่างใดไม่ การกระทำของจำเลยดังกล่าวมาไม่ทำให้โจทก์เสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ในมูลละเมิดเป็นการขอให้ชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์ เมื่อการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ ศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งไม่ได้ฎีกาด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3793/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้หักเงินเดือนเพื่อชดใช้หนี้ ไม่ถือเป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง เจ้าหนี้ไม่อาจอายัดเงินได้
การที่ ส. ทำหนังสือยินยอมให้กองคลัง สำนักพระราชวังหักเงินเดือนของตนส่งชดใช้หนี้ให้แก่จำเลย มีผลเท่ากับ ส.มอบอำนาจให้จำเลยรับเงินเดือนแทนตนเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่จำเลย เพราะสิทธิที่จะรับเงินเดือนของข้าราชการนั้นโอนกันไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมจะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีอายัดเงินตามหนังสือดังกล่าวไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หาในทรัพย์มรดก: ผลของการส่งมอบโดยปริยายและการบอกล้างโมฆียกรรมเกินกำหนด
การที่ จ. ทายาททำหนังสือยกส่วนได้ของตนที่จะได้รับการแบ่งปันทรัพย์มรดกจากจำเลยที่ 2 ในฐานะทรัสตีให้แก่ ส. เป็นการโอนทรัพย์สินอันเป็นมรดกที่ตกได้แก่ตนด้วยการให้โดยเสน่หาแก่ ส.และส. ยอมรับเอาทรัพย์สินนั้นแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงเป็นการให้โดยเสน่หา หาใช่เป็นเพียงการโอนสิทธิเรียกร้องไม่ ในขณะที่ จ. ทำสัญญาให้นั้น ทายาททุกคนรวมทั้งทรัสตีได้ตกลงยกเลิกทรัสต์กันแล้ว โดยให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทรัสตีในขณะนั้นทำการแบ่งปันมรดกให้แก่ทายาททรัพย์มรดกทั้งหมดจึงมีจำเลยที่ 2ในฐานะทรัสตีและในฐานะผู้จัดการมรดกในเวลาต่อมาเป็นผู้ครอบครองดูแลรักษาแทนทายาททุกคน การที่ จ. ทำสัญญาให้โดยเสน่หาแล้ว ส. ทำบันทึกมอบฉันทะให้ จ. เป็นผู้รับส่วนแบ่งมรดกดังกล่าวแทน โดยจำเลยที่ 2 ลงชื่อยินยอมและรับรู้การยกให้กับการมอบฉันทะดังกล่าว เท่ากับเป็นการตกลงว่าต่อแต่นั้นไปจำเลยที่ 2จะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์มรดกอันเป็นส่วนได้ของ จ. แทน ส.เป็นการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้โดยปริยายแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1379 การให้ทรัพย์สินในส่วนที่มิใช่อสังหาริมทรัพย์จึงสมบูรณ์ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 523 สำหรับมรดกที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ก็มีจำเลยที่ 2เป็นผู้มีชื่อถือกรรมสิทธิ์แทนทายาททุกคน การโอนจึงทำได้โดย จ.ผู้โอนสั่งจำเลยที่ 2 ผู้แทนว่าต่อไปให้ยึดถือทรัพย์สินไว้แทน ส.ผู้รับโอนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1380 วรรคสองเมื่อ จ. ไม่มีชื่อเป็นเจ้าของในหนังสือสำคัญเกี่ยวกับสิทธิในที่ดิน การให้โดยเสน่หาจึงไม่อาจจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 525 ได้การรับรู้การยกให้ของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว จึงเป็นการรับว่าต่อไปจำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์แทน ส. โดยไม่ต้องจดทะเบียนการยกให้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 525 อีก การที่จำเลยที่ 1 ให้การและฟ้องแย้งว่า จ. ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในส่วนแบ่งมรดกให้แก่ ส. เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม2510 แต่โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งเพียงว่า หนังสือที่ จ. ทำขึ้นดังกล่าวเป็นหนังสือยกให้ส่วนแบ่งมรดกมิใช่เป็นการโอนสิทธิเรียกร้อง การให้ไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ เท่ากับโจทก์รับว่าหนังสือยกให้ได้ทำขึ้นเมื่อวันที่ 11ตุลาคม 2510 เพียงแต่โต้แย้งว่ามิใช่หนังสือโอนสิทธิเรียกร้องดังที่จำเลยทั้งสองกล่าวอ้าง โจทก์จะฎีกาว่าหนังสือยกให้ทำเมื่อปี 2521 อันเป็นการโต้แย้งข้อเท็จจริงที่ยุติแล้วหาได้ไม่ต้องฟังว่า จ. ทำหนังสือยกให้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2510 โจทก์เพิ่งบอกล้างโมฆียะกรรมเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2527เป็นการบอกล้างเมื่อเกินสิบปี จึงบอกล้างไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 143(มาตรา 181 ที่แก้ไขใหม่)สัญญาให้ไม่เป็นโมฆะ