พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่ระบุ "เปลี่ยนมือไม่ได้" ต้องทำเป็นหนังสือ จึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ผู้สั่งจ่ายเขียนลงด้าน หน้าว่า"เปลี่ยนมือไม่ได้" จะโอนให้กันได้แต่โดย รูปการและด้วย ผลอย่างการโอนสามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 985,917,306 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนจึงต้อง ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอน มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เมื่อปรากฏเพียงว่าผู้โอนโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่เจ้าหนี้ด้วย วิธีสลักหลังและส่งมอบเท่านั้น การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวจึงไม่สมบูรณ์ตาม กฎหมาย เจ้าหนี้จึงยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน แม้หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แล้วผู้โอนจะได้ ทำคำบอกกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบถึง การสลักหลัง และส่งมอบตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม ก็หาทำให้เจ้าหนี้กลับเป็นผู้ทรงโดย ชอบไม่ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ได้ และไม่อาจนำหนี้ตามตั๋ว สัญญาใช้เงินนี้ไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ที่เจ้าหนี้เป็นหนี้ลูกหนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ การโอนต้องทำเป็นหนังสือ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิไล่เบี้ยหากไม่แจ้งการโอน
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอซีเปยี่โอนลี่"(A/CPAYERONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 บัญญัติไว้ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนเช็คพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย เอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ที่ 2จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ การโอนเช็คต้องทำตามรูปแบบการโอนสามัญและแจ้งลูกหนี้จึงมีผลผูกพัน
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอ/ซีเปยี่โอนลี่"(A/CPAYEEONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989บัญญัติไว้ ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้น แม้จำเลยที่ 3ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนเช็คที่ระบุเงื่อนไขพิเศษ และผลของการไม่แจ้งการโอนต่อผู้สั่งจ่าย
เช็ค พิพาทจำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันลงชื่อเป็นผู้สั่งจ่ายระบุชื่อ จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับเงินโดย ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ"ออก และด้านหน้าบนซ้าย ของเช็ค มีตราประทับเป็นภาษาอังกฤษว่า"เอ/ซีเพอี้โอนลี่" แสดงว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ จำเลยที่ 3 จะต้องนำเข้าบัญชีของตน จำเลยที่ 3 จะโอนเช็ค พิพาทให้โจทก์ได้ แต่ โดยรูปการและด้วย ผลอย่างการโอนหนี้สามัญ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 917วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 989 และการโอนสิทธิเรียกร้องตามมาตรา 306 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็ค พิพาทตาม สัญญาประนีประนอมยอมความในศาลโดย มิให้โอนกันอย่างการโอนสามัญ ดังนี้โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย จำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1162/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ การโอนเช็คต้องเป็นหนังสือ การแจ้งการโอนสำคัญต่อการบังคับใช้สิทธิ
เช็คที่ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออก และด้านหน้าบนซ้ายของเช็คมีตราประทับเป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า "เอ/ซี เปยี่ โอนลี่" (A/C PAYER ONLY) เป็นเช็คเปลี่ยนมือไม่ได้ ผู้รับเงินจะต้องนำเข้าบัญชีของตน หากจะโอนให้ผู้อื่นได้ก็แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 วรรคหนึ่ง ดังที่มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 989 บัญญัติไว้ซึ่งต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และจะยกขึ้นต่อสู้บุคคลภายนอกได้ แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนนั้น ดังนั้นแม้จำเลยที่ 3 ผู้ทรงเช็คพิพาทจะได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้โจทก์ด้วยเช็คพิพาท และศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้วก็ตาม เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้แจ้งการโอนเช็คพิพาทในคดีดังกล่าวไปให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายทราบเป็นหนังสือ หรือจำเลยที่ 1 ที่ 2 ได้ยินยอมเป็นหนังสือในการโอนเช็คพิพาท โจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คพิพาทที่จะใช้สิทธิไล่เบี้ย เอาแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 ผู้สั่งจ่ายซึ่งเป็นผู้เขียนข้อความทำนองเปลี่ยนมือไม่ได้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้เงินตามเช็คพิพาทให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินชำระหนี้ตามหมายอายัดศาลโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเงินคืน
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก.และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช.ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช.เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ.มาตรา 407 ไม่ได้ การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินชำระหนี้ตามหมายอายัดศาลโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเอาเงินคืน
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก. และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช. ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้
โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช. เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้
โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระแก่ศาลในคดีที่ ช. เจ้าหนี้เดิมถูกจำเลยฟ้องเพราะมีหมายอายัดมา โจทก์จึงเข้าใจว่าต้องส่งไปให้ศาลและศาลคงอายัดไม่ได้ส่งไปชำระหนี้ผู้ใด การที่จำเลยกับ ช. ประนีประนอมยอมความกัน โดยจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์ส่งศาล จะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 ไม่ได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามีสิทธิติดตามเอาเงินคืนจากจำเลยได้เป็นการใช้สิทธิติดตามตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีอายุความบัญญัติห้ามไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งเงินตามหมายอายัดโดยเข้าใจผิด และสิทธิในการติดตามเอาคืนจากผู้รับเงินไปโดยมิชอบ
ช. เจ้าหนี้โจทก์ได้โอนสิทธิการรับเงินค่าก่อสร้างให้ ก.และโจทก์ยอมรับว่าจะจ่ายให้ ก. แล้ว สิทธิการรับเงินของ ช.ย่อมหมดไป การที่โจทก์ส่งเงินดังกล่าวให้ศาลตามหมายอายัดเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ โจทก์มีสิทธิติดตามเอาคืนได้ โจทก์ส่งเงินค่าก่อสร้างที่ยังค้างชำระ ช. ให้แก่ศาลตามหมายอายัดในคดีที่ ช. เจ้าหนี้โจทก์ถูกจำเลยฟ้อง โดยโจทก์เข้าใจว่ามีหน้าที่ต้องส่งและศาลคงอายัดไม่ส่งไปชำระหนี้แก่ผู้ใดจะถือว่าโจทก์กระทำตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 ไม่ได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์มีสิทธิติดตามเอาเงินที่โจทก์ส่งศาลตามหมายอายัด ซึ่งจำเลยกับ ช. ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันให้จำเลยรับเงินดังกล่าวไปคืนจากจำเลยได้ เป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนทรัพย์สินของโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1336 จึงไม่มีอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน: หนังสือโอนสิทธิลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติแต่เพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ มิได้บัญญัติว่าหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ฉะนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวจึงเป็นการสมบูรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน: หนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวสมบูรณ์ตามกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 บัญญัติแต่เพียงว่าการโอนสิทธิเรียกร้องต้องทำเป็นหนังสือจึงจะสมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนนั้นโดยได้ทำคำบอกกล่าวหรือความยินยอมเป็นหนังสือ มิได้บัญญัติว่าหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องนั้นจะต้องลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน ฉะนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องที่ได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนฝ่ายเดียวจึงเป็นการสมบูรณ์