คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 306

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าปอที่ไม่สมบูรณ์ แม้มีการแจ้งการโอน แต่เจตนาจริงคือติดตามหนี้จากลูกหนี้เดิม
โจทก์อ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ได้โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าปอที่ห้างทั้งสองมีต่อจำเลยให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ และการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสมบูรณ์เพราะโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการโอนไปยังจำเลยแล้ว แต่หลังจากโจทก์มีหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้ว ห้างทั้งสองก็ยังคงรับเงินค่าปอจากจำเลยโดยโจทก์รับรู้และรับรองสิทธิในการรับเงินค่าปอของห้างทั้งสองโดยมิได้มีการโต้แย้ง ทั้งมิได้ตั้งไว้ในบัญชีของโจทก์ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ แต่ยังถือว่าห้างทั้งสองเป็นลูกหนี้ของโจทก์อยู่อย่างเดิม มูลหนี้เดิมมีอยู่เท่าใดก็มิได้ลดลงไปตามจำนวนสิทธิที่อ้างว่าได้รับโอนมา ประกอบกับโจทก์มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ว่า โจทก์อาศัยอำนาจความเป็นเจ้าหนี้ของห้างทั้งสองติดตามรับเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ไม่สมบูรณ์ การปฏิบัติระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้แสดงเจตนาที่แท้จริง
โจทก์อ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าปอที่ห้างทั้งสองขายปอให้จำเลยให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ และการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสมบูรณ์แล้วเพราะโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการโอนไปยังจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากโจทก์มีหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้วโจทก์ก็ยังปฏิบัติเป็นการรับรู้และรับรองสิทธิในการรับเงินค่าปอของห้างทั้งสองที่มีต่อจำเลยโดยมิได้มีการโต้แย้ง ทั้งยังมิได้ตั้งเอาไว้ในบัญชีของโจทก์ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ ยังถือว่าห้างทั้งสองเป็นลูกหนี้ของโจทก์อยู่อย่างเดิม มูลหนี้เดิมมีอยู่เท่าใดก็มิได้ลดลงไปตามจำนวนสิทธิที่อ้างว่าได้รับโอนมา ประกอบกับโจทก์มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ว่าโจทก์อาศัยอำนาจความเป็นเจ้าหนี้ของห้างทั้งสองติดตามรับเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องที่ไม่สมบูรณ์: เจตนาที่แท้จริงคือการรับชำระหนี้จากลูกหนี้เดิม ไม่ใช่การโอนสิทธิ
โจทก์อ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าปอที่ห้างทั้งสองขายปอให้จำเลยให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ และการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสมบูรณ์แล้วเพราะโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการโอนไปยังจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากโจทก์มีหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้วโจทก์ก็ยังปฏิบัติเป็นการรับรู้และรับรองสิทธิในการรับเงินค่าปอของห้างทั้งสองที่มีต่อจำเลยโดยมิได้มีการโต้แย้ง ทั้งยังมิได้ตั้งเอาไว้ในบัญชีของโจทก์ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ ยังถือว่าห้างทั้งสองเป็นลูกหนี้ของโจทก์อยู่อย่างเดิม มูลหนี้เดิมมีอยู่เท่าใดก็มิได้ลดลงไปตามจำนวนสิทธิที่อ้างว่าได้รับโอนมา ประกอบกับโจทก์มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ว่าโจทก์อาศัยอำนาจความเป็นเจ้าหนี้ของห้างทั้งสองติดตามรับเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการหักชำระหนี้ตามสัญญา
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง...ผู้รับจ้างยอมให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างของผู้รับจ้างได้ และให้ถือว่าเงินจำนวนที่จ่ายไปนี้เป็นเงินค่าจ้างที่ผู้รับจ้างได้รับไปจากผู้ว่าจ้างแล้ว..." ต่อมาจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่าจ้างตามสัญญาดังกล่าวให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยร่วม จำเลยร่วมมีหนังสือตอบไปยังผู้ร้องว่า "จำเลยร่วมพิจารณาแล้วไม่ขัดข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องตามที่ผู้ร้องแจ้งมา แต่ผู้ร้องจะได้เงินค่าจ้างเพียงเท่าที่จำเลยจะพึงได้รับจากจำเลยร่วมตามสัญญาจ้างดังกล่าวเท่านั้น" ย่อมเท่ากับว่าจำเลยร่วมได้โต้แย้งแสดงการสงวนสิทธิของจำเลยร่วมที่มีอยู่ตามสัญญาจ้างดังกล่าว รวมทั้งตามสัญญาข้อ 14 ไว้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 308แล้ว สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับเงินดังกล่าวจึงไม่อาจเกินไปกว่าสิทธิที่จำเลยมีอยู่ตามสัญญาจ้าง จำเลยร่วมย่อมสามารถยกข้อต่อสู้ตามสัญญาจ้างที่ตนมีต่อจำเลยซึ่งเป็นผู้โอนขึ้นต่อสู้กับผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนได้ เมื่อจำเลยค้างจ่ายเงินค่าจ้างแก่โจทก์ผู้เป็นลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อมใช้สิทธิตามสัญญาจ้างข้อ 14 หักเงินจำนวนดังกล่าวจากค่าจ้างที่จำเลยร่วมจะต้องจ่ายให้แก่ผู้ร้องเพื่อนำไปจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาเงินที่จำเลยร่วมได้ใช้สิทธิหักไว้นี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 857/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างและการสงวนสิทธิของเจ้าหนี้ตามสัญญาจ้าง ผู้รับโอนสิทธิได้รับสิทธิเท่าผู้โอน
จำเลยร่วมทำสัญญาว่าจ้างให้จำเลยก่อสร้างต่อเติมและปรับปรุงอาคาร สัญญาข้อ 14 กำหนดว่า "ผู้รับจ้างจะต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างของตนตามอัตราค่าจ้างและกำหนดเวลาที่ผู้รับจ้างและลูกจ้างได้ตกลงหรือสัญญากันไว้ถ้าผู้รับจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง... ผู้รับจ้างยอม ให้ผู้ว่าจ้างเอาเงินค่าจ้างที่ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายให้ แก่ ผู้รับจ้าง จ่าย ให้ แก่ ลูกจ้าง ของ ผู้รับจ้าง ได้ และให้ ถือ ว่า เงิน จำนวน ที่ จ่าย ไป นี้ เป็น เงิน ค่าจ้าง ที่ผู้รับจ้าง ได้รับ ไป จาก ผู้ว่าจ้าง แล้ว..." ต่อมา จำเลย โอนสิทธิเรียกร้อง ใน การ รับเงิน ค่าจ้าง ตาม สัญญา ดังกล่าว ให้แก่ ผู้ร้อง ผู้ร้อง มี หนังสือ บอกกล่าว การ โอน ไป ยัง จำเลยร่วมจำเลยร่วม มี หนังสือ ตอบ ไป ยัง ผู้ร้อง ว่า "จำเลยร่วมพิจารณา แล้ว ไม่ขัดข้อง ใน การ โอน สิทธิเรียกร้อง ตาม ที่ผู้ร้อง แจ้ง มา แต่ ผู้ร้อง จะ ได้ เงิน ค่าจ้าง เพียง เท่าที่จำเลย จะ พึง ได้รับ จาก จำเลยร่วม ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวเท่านั้น" ย่อม เท่ากับ ว่า จำเลยร่วม ได้ โต้แย้ง แสดง การสงวนสิทธิ ของ จำเลยร่วม ที่ มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง ดังกล่าวรวม ทั้ง ตาม สัญญา ข้อ 14 ไว้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 308 แล้วสิทธิ ของ ผู้ร้อง ที่ จะ ได้รับ เงิน ดังกล่าว จึง ไม่อาจ เกิน ไปกว่า สิทธิ ที่ จำเลย มี อยู่ ตาม สัญญาจ้าง จำเลยร่วม ย่อม สามารถยก ข้อต่อสู้ ตาม สัญญาจ้าง ที่ ตน มี ต่อ จำเลย ซึ่ง เป็น ผู้โอนขึ้น ต่อสู้ กับ ผู้ร้อง ซึ่ง เป็น ผู้รับโอน ได้ เมื่อ จำเลยค้างจ่าย เงิน ค่าจ้าง แก่ โจทก์ ผู้ เป็น ลูกจ้าง จำเลยร่วมย่อม ใช้สิทธิ ตาม สัญญาจ้าง ข้อ 14 หักเงิน จำนวน ดังกล่าว จากค่าจ้าง ที่ จำเลยร่วม จะ ต้อง จ่าย ให้ แก่ ผู้ร้อง เพื่อ นำ ไปจ่าย ให้ แก่ โจทก์ ซึ่ง เป็น ลูกจ้าง ของ จำเลย ได้ ผู้ร้องไม่มี สิทธิเรียกร้อง เอา เงิน ที่ จำเลยร่วม ได้ ใช้สิทธิ หักไว้ นี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อจำกัด 'เปลี่ยนมือไม่ได้' ต้องทำตามหลักการโอนสามัญตามกฎหมาย
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งผู้ออกตั๋วได้ลงข้อความในด้านหน้าของตั๋วว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดังนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นย่อมจะโอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985การโอนสามัญคือ การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอนโดยคำบอกกล่าวหรือความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย การที่ลูกหนี้ที่ 1ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความในด้านหน้าว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้"ให้กับ ธ.ต่อมาธ. สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แม้ ธ. จะได้ทำหนังสือแจ้งการสลักหลังให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบพร้อมทั้งโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็ยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5127/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีข้อจำกัด 'เปลี่ยนมือไม่ได้' ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งผู้ออกตั๋วได้ลงข้อความในด้านหน้าของตั๋วว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ดังนี้ตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นย่อมจะโอนกันได้แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 วรรคสอง ประกอบมาตรา 985 การโอนสามัญคือ การโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 กล่าวคือ ต้องทำเป็นหนังสือ มิฉะนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ และการโอนนั้นจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ลูกหนี้หรือบุคคลภายนอกได้แต่เมื่อได้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือลูกหนี้จะได้ยินยอมด้วยในการโอน โดยคำบอกกล่าวหรือความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือด้วย การที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินมีข้อความในด้านหน้าว่า "เปลี่ยนมือไม่ได้" ให้กับ ธ. ต่อมา ธ. สลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวให้เจ้าหนี้โดยมิได้ทำเป็นหนังสือ แม้ ธ. จะได้ทำหนังสือแจ้งการสลักหลังให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบพร้อมทั้งโอนตั๋วสัญญาใช้เงินให้เจ้าหนี้ก็ตาม เจ้าหนี้ก็ยังไม่เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ไม่ต้องแจ้งเจ้าหนี้, ชอบด้วยกฎหมายหากแจ้งลูกหนี้แล้ว
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 คงบังคับแต่เพียงให้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือให้ลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องแจ้งแก่เจ้าหนี้หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ ดังนั้น เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบแล้ว แม้มิได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบก็สมบูรณ์และใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5066/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: ไม่ต้องแจ้งเจ้าหนี้, สิทธิสมบูรณ์เมื่อแจ้งลูกหนี้, การพิสูจน์เจตนาทุจริต
การโอนสิทธิเรียกร้องนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 306 คงบังคับแต่เพียงให้บอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้หรือให้ลูกหนี้ยินยอมด้วยในการโอนเท่านั้น ไม่มีบทกฎหมายใดที่บังคับให้ต้องแจ้งแก่เจ้าหนี้หรือได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ ดังนั้น เมื่อการโอนสิทธิเรียกร้องได้ทำเป็นหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบแล้วแม้มิได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบ ก็สมบูรณ์และใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 377/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องเช่าช่วงและการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาเดิม
ข้อความตามสัญญาเช่าช่วงที่ระบุว่า หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้นตามสัญญาเช่าให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ ณ กรุงลอนดอน ชี้ขาดนั้น เป็นข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงไม่เกี่ยวกับโจทก์ซึ่งเป็นผู้ให้เช่าเดิม ผู้เช่าและโจทก์ผู้ให้เช่าเดิมจะทำการโอนสิทธิดังกล่าวให้แก่กันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับยินยอมเป็นหนังสือจากจำเลยโดยชัดแจ้ง และการโอนจะต้องทำเป็นหนังสือตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306การตั้งตัวแทนเพื่อการโอนดังกล่าวจึงต้องกระทำเป็นหนังสือด้วย
เมื่อไม่ได้ความว่า ผู้เช่าได้โอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาเช่าช่วงแก่โจทก์ผู้ให้เช่าเดิม การที่โจทก์เสนอข้อพิพาทที่เกิดขึ้นตามสัญญาเช่าช่วงต่ออนุญาโตตุลาการ และอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ จึงเป็นการไม่ชอบจะนำคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวมาบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามมิได้.(ที่มา-ส่งเสริม)
of 26