พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1996/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิซื้อขายที่ดิน การบอกกล่าวหนี้ และยินยอมของลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ล. เจ้าของที่ดินทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่ ม. โดย ให้ผ่อนชำระราคาต่อมา ม. โอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ก. โดย ล. ยินยอม แล้ว ก. โอนขายสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินดังกล่าวให้แก่ ว.อีกทอดหนึ่ง ในการโอนขายสิทธิกันระหว่างก. กับ ว. นั้น ได้ทำหนังสือสัญญาโอนกันตามเอกสารหมาย จ.2 ต่อหน้า ล. และจำเลย จำเลยในฐานะตัวแทนของ ล. ได้ลงชื่อเป็นพยานในเอกสารหมาย จ.2 ด้วย เมื่อ ว. รับโอนสิทธิมาแล้วก็ได้ผ่อนชำระราคาที่ดินต่อจากผู้จะซื้อคนก่อน ๆ ให้แก่จำเลย จำเลยก็รับชำระและออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ ว. ดังนี้ถือได้ว่าเอกสารหมาย จ.2 เป็นหนังสือบอกกล่าวการโอนหนี้ไปยัง ล.ลูกหนี้และล. ได้ยินยอมด้วยในการโอนหนี้รายนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 แล้ว จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ล. ต้องผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ในสัญญาประกันภัยต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ การยินยอมโดยปริยายใช้ไม่ได้
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การโอนและรับโอนบรรดากิจการทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยไว้นั้น เป็นทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่. แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมมิได้ แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเมื่อได้รับทราบถึงการโอนดังกล่าวหรือเมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย เมื่อมิได้ทำเป็นสัญญากันระหว่างโจทก์และจำเลย จำเลยก็ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิ/หนี้ในสัญญาประกันภัยต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ใหม่ การรับทราบ/ทวงถามหนี้ไม่ผูกพันจำเลย
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้. การโอนและรับโอนบรรดากิจการทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยไว้นั้น เป็นทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่. แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมมิได้. แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเมื่อได้รับทราบถึงการโอนดังกล่าวหรือเมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย. เมื่อมิได้ทำเป็นสัญญากันระหว่างโจทก์และจำเลย. จำเลยก็ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อจนเกิดความเสียหายร้ายแรง และขอบเขตอำนาจศาลแรงงานในคดีละเมิด
โจทก์เป็นลูกจ้างโรงงานกระสอบซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของขณะโจทก์ดำรงตำแหน่งสมุห์บัญชีได้ลงชื่อและประทับตราโรงงานฯรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. และห้างหุ้นส่วนจำกัดบ. โอนสิทธิการรับเงินค่าปอจากโรงงานฯ ให้แก่บริษัท ท. อันมีผลผูกพันตามกฎหมายที่โรงงานฯจะ ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท ท. เท่านั้น เช่นนี้ การที่ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยจ่ายเงินให้แก่ห้างทั้งสองแทนที่จะจ่าย ให้แก่บริษัท ท. เป็นเหตุให้บริษัท ท. มีหนังสือทวงถาม จากจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อและก่อให้เกิดความเสียหาย อย่างร้ายแรงแก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิใช้อำนาจ ตามระเบียบเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ลงโทษเลิกจ้างโจทก์โดยใช้อำนาจตามระเบียบที่วางไว้ เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลยการที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาท คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยปิดประกาศคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั่วไปที่สำนักงานใหญ่และที่โรงงานเป็นการละเมิดต่อ โจทก์ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิเสนอคำฟ้องข้อหานี้ต่อศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1443/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างฐานประมาทเลินเล่อ จนเกิดความเสียหายร้ายแรง และประเด็นการฟ้องละเมิดจากการปิดประกาศเลิกจ้าง
โจทก์เป็นลูกจ้างโรงงานกระสอบซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของ ขณะโจทก์ดำรงตำแหน่งสมุห์บัญชีได้ลงชื่อและประทับตราโรงงานฯรับทราบการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. และห้างหุ้นส่วนจำกัดบ.โอนสิทธิการรับเงินค่าปอจากโรงงานฯ ให้แก่บริษัท ท. อันมีผลผูกพันตามกฎหมายที่โรงงานฯจะ ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท ท. เท่านั้น เช่นนี้ การที่ โจทก์ปฏิบัติหน้าที่โดยจ่ายเงินให้แก่ห้างทั้งสองแทนที่จะจ่าย ให้แก่บริษัท ท. เป็นเหตุให้บริษัท ท. มีหนังสือทวงถามจากจำเลย จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทเลินเล่อและก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลย จำเลยจึงมีสิทธิใช้อำนาจ ตามระเบียบเลิกจ้างโจทก์ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าได้ และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ลงโทษเลิกจ้างโจทก์โดยใช้อำนาจตามระเบียบที่วางไว้ เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลย การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาท
คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยปิดประกาศคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั่วไปที่สำนักงานใหญ่และที่โรงงานเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิเสนอคำฟ้องข้อหานี้ต่อศาลแรงงาน
จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าได้ลงโทษเลิกจ้างโจทก์โดยใช้อำนาจตามระเบียบที่วางไว้ เพราะโจทก์ปฏิบัติหน้าที่ประมาทเลินเล่อทำให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่จำเลย การที่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อ จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาท
คำฟ้องของโจทก์ที่กล่าวหาว่าจำเลยปิดประกาศคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ทั่วไปที่สำนักงานใหญ่และที่โรงงานเป็นการละเมิดต่อโจทก์ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย มิใช่เป็นคดีอันเกิดจากมูลละเมิดระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานโจทก์จึงไม่มีสิทธิเสนอคำฟ้องข้อหานี้ต่อศาลแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการขอรับชำระหนี้ซ้ำในคดีล้มละลาย การโอนสิทธิทำให้เจ้าหนี้เดิมหมดสิทธิ
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยอมรับเงินจำนวน 20,000 บาทที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด จ่ายทดรองให้ไป แล้วทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัทลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้แก่ธนาคารกรุงไทยจำกัด เพื่อให้ธนาคารฯเป็นผู้ขอรับเงินส่วนเฉลี่ยที่จะได้รับทั้งหมดจากผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จะโต้เถียงอ้างว่าตนมีสิทธิตามตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระฝืนข้อสัญญาที่ทำให้ไว้หาได้ไม่ ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัดได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้มาขอรับชำระหนี้ซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องและการใช้สิทธิรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ผู้รับโอนสิทธิเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องแต่เพียงผู้เดียว
เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยอมรับเงินจำนวน 20,000 บาทที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด จ่ายทดรองให้ไป แล้วทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งบริษัทลูกหนี้ออกให้แก่เจ้าหนี้จำนวนเงิน 100,000 บาท ให้แก่ธนาคารกรุงไทยจำกัด เพื่อให้ธนาคารฯเป็นผู้ขอรับเงินส่วนเฉลี่ยที่จะได้รับทั้งหมดจากผู้ชำระบัญชีหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้จะโต้เถียงอ้างว่าตนมีสิทธิตามตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้ส่วนที่ยังไม่ได้ชำระฝืนข้อสัญญาที่ทำให้ไว้หาได้ไม่ ทั้งธนาคารกรุงไทย จำกัดได้ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว เจ้าหนี้ไม่มีสิทธินำตั๋วสัญญาใช้เงินรายนี้มาขอรับชำระหนี้ซ้ำอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบธรรม ผู้รับโอนมีสิทธิได้รับชำระหนี้ แม้หนี้สินน้อยกว่าสิทธิเรียกร้อง
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำสัญญากับธนาคารผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาทั้งหมดที่จะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 9 ล้านบาทเศษให้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้อง 3 ล้านบาท ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิในเงินดังกล่าว เพราะสิทธิเรียกร้องนั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ และกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องมีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าหนี้สินที่จำเลยมีต่อผู้ร้องจะมากหรือน้อยกว่าสิทธิเรียกร้องที่มี ต่อกระทรวงสาธารณสุข เมื่อจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิ
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1974/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่ชอบด้วยกฎหมาย และสิทธิของผู้รับโอนในการถอนอายัดเงิน
จำเลยทำสัญญารับจ้างเหมาก่อสร้างโรงพยาบาลกับกระทรวงสาธารณสุขแล้วทำสัญญากับธนาคารผู้ร้องโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินค่าจ้างเหมาทั้งหมดที่จะได้รับตามสัญญาเป็นเงิน 9 ล้านบาทเศษให้แก่ผู้ร้อง เพื่อเป็นการชำระหนี้ที่กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้อง 3 ล้านบาท ดังนี้ ผู้ร้องมีสิทธิในเงินดังกล่าว เพราะสิทธิเรียกร้องนั้นย่อมโอนให้แก่กันได้ และกฎหมายมิได้บัญญัติไว้ว่าการโอนสิทธิเรียกร้องจะต้องมีค่าตอบแทนแต่อย่างใด ดังนั้น ไม่ว่าหนี้สินที่จำเลยมีต่อผู้ร้องจะมากหรือน้อยกว่าสิทธิเรียกร้องที่มี ต่อกระทรวงสาธารณสุข เมื่อจำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้องโดยชอบ ผู้ร้องก็ย่อมมีสิทธิ
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
เมื่อลูกหนี้ของจำเลยให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องแล้วจำเลยจึงมิใช่เจ้าหนี้อันลูกหนี้มีสิทธิที่จะเลือกชำระหนี้ได้การที่ลูกหนี้ส่งเงินให้แก่เจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำขออายัดของโจทก์โดยสำคัญผิด เมื่อได้บอกล้างในภายหลังการชำระหนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอถอนการอายัดได้
จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องให้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากบุคคลภายนอกซึ่งเป็นลูกหนี้แต่ผู้เดียว ผู้ร้องย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียซึ่งมีสิทธิร้องขอให้ถอนการอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอันเป็นเหตุให้ผู้ร้องไม่ได้รับชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2185/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนเมื่อลูกหนี้ยินยอม แม้ยังไม่มีการก่อสร้าง
แม้ขณะจำเลยทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจำเลยยังไม่ได้ทำการก่อสร้างก็ตามแต่จำเลยกับผู้ว่าจ้างก็ได้ทำสัญญาจ้างเหมากันแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่จะต้องก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างก็มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้แก่จำเลยเป็นงวดๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญา การที่จำเลยทำหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างอาคารให้แก่ผู้ร้องโดยบอกกล่าวให้ผู้ว่าจ้างผู้เป็นลูกหนี้แห่งสิทธิเรียกร้องทราบ และผู้ว่าจ้างยินยอมแล้วสิทธิที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาจึงตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยทันที โจทก์จึงไม่มีสิทธิขออายัดเงินจำนวนนั้นได้