พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2572/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกหนี้จำนอง: สิทธิและหน้าที่ของผู้รับมรดกตามกฎหมายลักษณะมรดก
เมื่อ อ.สามีโจทก์ตายทรัพย์สินของอ. ตลอดจนสิทธิหน้าที่ต่างๆ ซึ่งรวมทั้งหนี้จำนองที่จำเลยจำนองไว้กับอ. ย่อมเป็นมรดกตกทอดได้แก่โจทก์และทายาทตามกฎหมายว่าด้วยลักษณะมรดก กรณีมิใช่อยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1731/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจะซื้อจะขาย และผลของการแปลงหนี้ใหม่ที่ต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทกำหนดให้ผู้จะซื้อทำการไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทจากธนาคารเป็นเงิน 4,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่ค้างชำระ แล้วผู้จะซื้อต้องลงทุนปลูกตึกแถวอาคารพาณิชย์บนที่ดินที่จะซื้อเพื่อตัดขายทั้งที่ดินและตึกแถว เมื่อขายได้แล้วจึงจะชำระราคาที่ดินพิพาททั้งระบุด้วยว่าผู้จะซื้อต้องชำระหนี้ที่ผู้จะขายเป็นหนี้บุคคลภายนอกอยู่อีกจำนวนหนึ่ง สัญญาดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทนกันยิ่งกว่าสัญญาจะซื้อจะขายกันธรรมดา ฐานะของผู้จะซื้อและผู้จะขายเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน
หลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทวันเดียว ผู้จะซื้อก็ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับบุคคลภายนอก ตกลงกันให้บุคคลภายนอกชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่ผู้จะซื้อ(กำหนดราคาไว้สูงกว่าที่ผู้จะซื้อตกลงไว้กับผู้จะขาย) บุคคลภายนอกยอมรับว่าสัญญาที่ทำกับผู้จะซื้อเป็นการซื้อขายสิทธิกันสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้จะซื้อจึงไม่ใช่การซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยตรง มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 เพราะผู้จะซื้อเป็นลูกหนี้ผู้จะขายอยู่ แต่จะโอนสิทธิเรียกร้องของตนให้บุคคลอื่นต่อไปโดยใช้วิธีการโอนแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ กรณีนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้คือผู้จะขายกับลูกหนี้คนใหม่คือบุคคลภายนอกเมื่อบุคคลภายนอกกับผู้จะขายไม่ได้ทำสัญญากันใหม่หนี้ใหม่ก็ไม่เกิด บุคคลภายนอกไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จะขาย บุคคลภายนอกจะฟ้องบังคับให้ผู้จะขายส่งมอบที่ดินให้ผู้จะขายเพื่อปลูกสร้างอาคารไม่ได้
หลังจากทำสัญญาจะซื้อจะขายที่พิพาทวันเดียว ผู้จะซื้อก็ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทกับบุคคลภายนอก ตกลงกันให้บุคคลภายนอกชำระเงินค่าที่ดินพิพาทแก่ผู้จะซื้อ(กำหนดราคาไว้สูงกว่าที่ผู้จะซื้อตกลงไว้กับผู้จะขาย) บุคคลภายนอกยอมรับว่าสัญญาที่ทำกับผู้จะซื้อเป็นการซื้อขายสิทธิกันสัญญาระหว่างบุคคลภายนอกกับผู้จะซื้อจึงไม่ใช่การซื้อขายที่ดินพิพาทกันโดยตรง มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 เพราะผู้จะซื้อเป็นลูกหนี้ผู้จะขายอยู่ แต่จะโอนสิทธิเรียกร้องของตนให้บุคคลอื่นต่อไปโดยใช้วิธีการโอนแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ กรณีนี้เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญากันระหว่างเจ้าหนี้คือผู้จะขายกับลูกหนี้คนใหม่คือบุคคลภายนอกเมื่อบุคคลภายนอกกับผู้จะขายไม่ได้ทำสัญญากันใหม่หนี้ใหม่ก็ไม่เกิด บุคคลภายนอกไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จะขาย บุคคลภายนอกจะฟ้องบังคับให้ผู้จะขายส่งมอบที่ดินให้ผู้จะขายเพื่อปลูกสร้างอาคารไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1370/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้จากการรับโอนกิจการและการมีอำนาจฟ้องคดี ศาลล่างวินิจฉัยคลาดเคลื่อน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่า โจทก์ได้รับโอนกิจการเดินรถประจำทางจากห้างหุ้นส่วนจำกัดรถยนต์ศรีนครมาดำเนินการเองทั้งหมด และรับโอนทรัพย์สินและหนี้สินต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วนจำกัดรถยนต์ศรีนครที่เกี่ยวกับการเดินรถมาด้วย จำเลยที่ 2 คงให้การเพียงว่าการโอนกิจการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จำเลยที่ 2 ไม่รับรอง จำเลยที่ 2 ไม่ได้รับหนังสือบอกกล่าวจากโจทก์หรือทนายโจทก์ให้ชำระหนี้รายนี้เลยจำเลยหาได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้โดยชัดแจ้งในเรื่องการโอนหนี้ว่ามิได้ทำเป็นหนังสือ หรือมิได้บอกกล่าวการโอนหนี้เป็นหนังสือให้จำเลยทราบแต่อย่างใดไม่ จึงไม่มีประเด็นในเรื่องนี้ที่จะให้ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัย ฉะนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัยอ้างเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์นั้น ย่อมไม่ชอบ สมควรที่จะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 890/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาเช่าซื้อต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิโดยชัดแจ้ง การมอบแบบพิมพ์โอนสิทธิไม่ถือเป็นความยินยอม
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับโจทก์แล้วผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อ จำเลยที่ 1 และผู้ร้องได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าซื้อรถยนต์คันนั้น แม้โจทก์ยินยอมมอบแบบพิมพ์โอนสิทธิการเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 และผู้ร้องพร้อมทั้งแนะนำให้ผู้ร้องเรียกคู่สัญญาเช่าซื้อจากจำเลยมาเก็บไว้ แต่การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อเป็นของคู่สัญญาคือโจทก์จำเลยโดยเฉพาะ ผู้ร้องและจำเลยจะโอนให้แก่กันไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากโจทก์ หรือมิฉะนั้นผู้ร้องและจำเลยต้องทำสัญญากับโจทก์โดยตรงเพียงแต่โจทก์มอบแบบพิมพ์โอนการเช่าซื้อให้จำเลยและผู้ร้องจะถือว่าโจทก์ยินยอมเป็นหนังสือยังไม่ได้ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีที่จะร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472-2474/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ต้องมีสัญญาใหม่ที่ชัดเจน การแจ้งการโอนสิทธิเรียกร้องไม่เพียงพอที่จะก่อให้เกิดหนี้ใหม่
หนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้นฐานะของคู่สัญญามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ฝ่ายเดียวแต่ละฝ่ายต่างมี 2 ฐานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องให้บุคคลอื่นต่อไปนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่มารดาโจทก์แต่ละสำนวนและมารดาโจทก์แต่ละสำนวนได้โอนสิทธิให้โจทก์กรณีเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา350 คือจะต้องทำสัญญาต่อกัน ซึ่งบางกรณีต้องทำเป็นหนังสือด้วยและต้องไม่ขืนใจลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ต้องยินยอมต่อกันนั่นเองหาใช่เพียงแต่แจ้งการโอนให้ลูกหนี้ทราบก็เกิดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ได้ไม่ เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีการทำสัญญากันใหม่หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้นโจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยแต่อย่างใด และไม่เกิดอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472-2474/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาซื้อขายต้องทำสัญญาใหม่เพื่อให้เกิดนิติสัมพันธ์ระหว่างคู่สัญญา
หนี้ที่เกิดจากสัญญาซื้อขายซึ่งเป็นสัญญาต่างตอบแทนนั้น ฐานะของคู่สัญญามิได้เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ฝ่ายเดียว แต่ละฝ่ายต่างมี 2 ฐานะคือเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ด้วยการโอนสิทธิ์เรียกร้องให้บุคคลอื่นต่อไปนั้น จะใช้วิธีการแบบโอนสิทธิ์เรียกร้องธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 หาได้ไม่ เมื่อจำเลยได้ทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่มารดาโจทก์แต่ละสำนวน และมารดาโจทก์แต่ละสำนวนได้โอนสิทธิ์ให้โจทก์ กรณีเป็นเรื่องแปลงหนี้โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ลูกหนี้ต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 คือจะต้องทำสัญญาต่อกัน ซึ่งบางกรณีต้องทำเป็นหนังสือด้วยและต้องไม่ขืนใจลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้ซึ่งหมายความว่าทั้งลูกหนี้เจ้าหนี้ต้องยินยอมต่อกันนั่นเอง หาใช่เพียงแต่แจ้งการโอนให้ลูกหนี้ทราบก็เกิดสัญญาแปลงหนี้ใหม่ได้ไม่ เมื่อฟังไม่ได้ว่าโจทก์จำเลยได้มีการทำสัญญากันใหม่ หนี้ใหม่ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยแต่อย่างใด และไม่เกิดอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทให้โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบสหกรณ์และการสืบสิทธิหนี้สิน: สิทธิของสหกรณ์ใหม่ไม่ต้องแจ้งการควบสหกรณ์แก่ลูกหนี้
เมื่อได้ควบสหกรณ์เข้ากันเป็นสหกรณ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 โดยถูกต้องแล้ว สหกรณ์ใหม่ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิและความรับผิดชอบของสหกรณ์เดิมที่ได้ควบเข้ากันทั้งสิ้น สหกรณ์ใหม่(โจทก์) ไม่จำต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้สหกรณ์เดิมทราบถึงการควบสหกรณ์เข้าด้วยกัน และย่อมได้ไปซึ่งสิทธิเป็นเจ้าหนี้ กรณีหาใช่เป็นการโอนหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การควบรวมสหกรณ์และการสืบสิทธิหนี้: สิทธิเจ้าหนี้เป็นไปตามกฎหมายสหกรณ์ ไม่ใช่การโอนหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่ง
เมื่อได้ควบสหกรณ์เข้ากันเป็นสหกรณ์ใหม่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์พ.ศ. 2511 โดยถูกต้องแล้ว สหกรณ์ใหม่ย่อมได้ไปทั้งทรัพย์สิน หนี้สิน สิทธิและความรับผิดของสหกรณ์เดิมที่ได้ควบเข้ากันทั้งสิ้น สหกรณ์ใหม่ (โจทก์)ไม่จำต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้สหกรณ์เดิมทราบถึงการควบสหกรณ์เข้าด้วยกันและย่อมได้ไปซึ่งสิทธิเป็นเจ้าหนี้ กรณีหาใช่เป็นการโอนหนี้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 306 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1802/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ต้องทำเป็นหนังสือจึงสมบูรณ์
เจ้าหนี้มีหนังสือแจ้งให้ลูกหนี้ทราบว่าได้โอนหนี้ไปยัง อ. แล้วและต่อมา อ. มีหนังสือแจ้งมายังลูกหนี้ว่าได้รับโอนหนี้แล้ว ดังนี้ การโอนหนี้มิได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์ อ.แจ้งไปยังเจ้าหนี้เดิมให้เจ้าหนี้เดิมเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้เอาเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสอดตามกฎหมายและการแปลงหนี้เป็นสัญญากู้ แม้ไม่ได้จดทะเบียนสมรสก็มีผลผูกพัน
อันสินสอดนั้นตามกฎหมายเป็นทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส และเมื่อมีข้อตกลงจะให้สินสอดแก่กันแล้ว การให้สินสอดภายหลังการสมรสย่อมทำได้เพราะไม่มีอะไรห้ามซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาทำสัญญาหมั้นคือก่อนสมรส
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้
บิดามารดาโจทก์จัดให้โจทก์และ ว.ทำพิธีแต่งงานกัน และโจทก์เต็มใจยอมสมรสมารดาโจทก์ได้เตือนให้โจทก์ได้เตือนให้โจทก์และ ว.ไปจดทะเบียนสมรส แต่ทั้งสองคนละเลยไม่ดำเนินการจดทะเบียน โดยว่าจะไปจดวันหลังก็ได้ครั้นอยู่ด้วยกัน 3 เดือนก็มีเหตุต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่ได้จดทะเบียน ดังนี้ จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวย่อมไม่ได้ ชายเรียกสินสอดคืนไม่ได้
จำเลยและ ว.บุตรชายตกลงหมั้นโจทก์และตกลงจะให้เงินจำนวนหนึ่งเป็นสินสอดแก่บิดามารดาโจทก์ในวันสมรสถึงกำหนด จำเลยขอผัดให้เงินสินสอดภายหลัง มารดาโจทก์ยินยอมให้โจทก์แต่งงานกับ ว.เพื่อมิให้เสียพิธีแต่มิได้มีการจดทะเบียนสมรสกัน หลังจากสมรสแล้วจำเลยขอทำสัญญากู้ให้มารดาโจทก์แทนเงินสินสอดที่ตกลงจะให้ มารดาโจทก์ต้องการเอาเงินนั้นให้โจทก์ จึงให้โจทก์ลงชื่อเป็นผู้ให้กู้ในสัญญากู้ ดังนี้ แม้โจทก์กับ ว.จะมิได้จดทะเบียนสมรสกันแต่เมื่อการที่มิได้จดทะเบียนสมรสนั้น จะถือว่าฝ่ายหญิงผิดสัญญาฝ่ายเดียวไม่ได้แล้ว ชายย่อมเรียกสินสอดคืนไม่ได้ สัญญากู้จึงมีมูลหนี้เนื่องมาจากเงินสินสอดอันเป็นมูลหนี้ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อบิดามารดาโจทก์ตกลงยกให้โจทก์ และจำเลยยินยอมทำสัญญากับโจทก์เพราะมูลหนี้นี้แล้ว จำเลยย่อมต้องถูกผูกพันให้รับผิดตามสัญญากู้ที่แปลงหนี้มานี้