คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 306

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 260 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายสิทธิเช่าซื้อ: ศาลสั่งให้โอนสิทธิได้ หากโจทก์ชำระเงินคงเหลือและค่าเช่ารายเดือน
จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารกับการเคหะแห่งชาติ ต่อมาจำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อดังกล่าวแก่โจทก์ แม้จะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไป แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโดยโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายกันบ้างแล้ว ย่อมมีผลผูกพันระหว่างกัน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับตามข้อตกลงดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อที่ดิน แม้ไม่ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้ หากมีการชำระหนี้บางส่วน
จำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากการเคหะแห่งชาติแก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ผ่อนส่งเงินในกำหนดระยะเวลาหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วจำนวน 62,000 บาท ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการตกงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไปก็ตาม แต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิ โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติ ซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือ แต่ก็ได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายนี้กันบ้างแล้ว อันมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามข้อตกลงดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายสิทธิเช่าซื้อแม้ไม่ทำสัญญาเป็นหนังสือก็มีผลผูกพันได้หากมีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว
จำเลยตกลงขายสิทธิการเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารที่จำเลยทำสัญญาเช่าซื้อจากการเคหะแห่งชาติแก่โจทก์โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ผ่อนส่งเงินในกำหนดระยะเวลาหนึ่งซึ่งโจทก์ได้ผ่อนชำระให้จำเลยแล้วจำนวน62,000บาทข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือแม้ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นการตกลงเพื่อให้โจทก์เข้าไปสวมสิทธิของจำเลยที่มีอยู่ต่อการเคหะแห่งชาติในการที่จะรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารต่อไปก็ตามแต่โจทก์ก็มิได้ฟ้องบังคับให้การเคหะแห่งชาติโอนที่ดินพร้อมอาคารให้แก่โจทก์อันจะต้องอยู่ในบังคับเรื่องการโอนสิทธิโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยเกี่ยวกับสิทธิเช่าซื้อที่ดินพร้อมอาคารของการเคหะแห่งชาติซึ่งสิทธิเช่าซื้อดังกล่าวเป็นทรัพย์สินชนิดหนึ่งที่สามารถซื้อขายกันได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการซื้อขายสิทธิแม้ไม่ทำเป็นหนังสือแต่ก็ได้มีการชำระหนี้เนื่องในการซื้อขายนี้กันบ้างแล้วอันมีผลผูกพันระหว่างจำเลยผู้ขายกับโจทก์ผู้ซื้อโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามข้อตกลงดังกล่าว (วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ครั้งที่3/2539)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงจำนองเพื่อชำระหนี้แทนกัน การเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ และผลของการทำสัญญาผูกนิติสัมพันธ์โดยตรง
เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคารแทนโจทก์โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วมจำเลยร่วมตกลงโอนหนี้ให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวด้วยใจสมัครเพื่อประกันหนี้จำเลยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรงโดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้วการทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งจะต้องมีการทำเป็นหนังสือแยกต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองและการเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้: สัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์โดยตรงหลังเปลี่ยนเจ้าหนี้
เดิมจำเลยร่วมกู้ยืมเงินจากธนาคารแทนโจทก์โดยโจทก์จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกัน ต่อมาจำเลยร่วมชำระหนี้ให้แก่ธนาคารแทนโจทก์แต่โจทก์ยังไม่ชำระหนี้ให้แก่จำเลยร่วม จำเลยร่วมตกลงโอนหนี้ให้แก่จำเลยโจทก์ตกลงด้วยและจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวด้วยใจสมัครเพื่อประกันหนี้จำเลยที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นนี้เป็นการตกลงทำสัญญาจำนองผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยตรง โดยโจทก์ยินยอมให้เปลี่ยนตัวเจ้าหนี้จากจำเลยร่วมมาเป็นจำเลยก่อนแล้ว การทำสัญญาจำนองจึงไม่ใช่การแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวเจ้าหนี้ที่จะต้องบังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องซึ่งจะต้องมีการทำเป็นหนังสือแยกต่างหาก
(วินิจฉัยตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1631/2535)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง & อายุความ: ผลของการยินยอมโอนสิทธิเมื่ออายุความยังไม่ครบ
คำว่า"ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน"ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา308นั้นหมายความว่าข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่การโอนสิทธิเรียกร้องการที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้องแต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้วจำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้องย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ดังนั้นเมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัทว.คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด5ปีจำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อนและโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9206/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อต่อสู้หลังโอนสิทธิเรียกร้อง: อายุความและการสละสิทธิ
คำว่า "ข้อต่อสู้ที่มีต่อผู้โอน" ตาม ป.พ.พ.มาตรา 308 นั้นหมายความว่า ข้อต่อสู้ที่มีอยู่ในวันที่มีการโอนสิทธิเรียกร้อง การที่จำเลยหรือลูกหนี้รู้ว่ามีข้อต่อสู้ดังกล่าวในวันที่ทำการโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ก็ยังให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้อง ถือว่าจำเลยหรือลูกหนี้สละข้อต่อสู้นั้นแล้ว จำเลยจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ที่มีอยู่ต่อผู้โอนดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนได้ แต่ถ้าข้อต่อสู้นั้นเกิดขึ้นภายหลังวันโอนสิทธิเรียกร้อง ย่อมไม่ตัดสิทธิของจำเลยหรือลูกหนี้ที่จะยกข้อต่อสู้ดังกล่าวขึ้นต่อสู้ผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ดังนั้น เมื่อขณะที่มีการโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับบริษัท ว. คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความฟ้องเรียกเอาค่าจ้างทำของซึ่งมีกำหนด 5 ปี จำเลยจึงยังไม่อาจยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวขึ้นต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องได้ ต่อมาจำเลยได้ให้ความยินยอมในการโอนสิทธิเรียกร้องไปโดยไม่อิดเอื้อน และโจทก์นำคดีมาฟ้องหลังจากคดีขาดอายุความแล้วจำเลยจึงมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความดังกล่าวนั้นขึ้นต่อสู้โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมาก่อสร้าง: สิทธิเรียกร้องตกเป็นของผู้รับโอนก่อนถูกอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรากรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306แล้วสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5237/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องค่าจ้างเหมา: สิทธิตกเป็นของผู้รับโอนก่อนอายัด
เงินค่าจ้างเหมาก่อสร้างที่องค์การสุรา กรมสรรพสามิตจะต้องจ่ายให้แก่จำเลยเป็นสิทธิเรียกร้องที่พึงโอนให้แก่กันได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 303จำเลยโอนสิทธิเรียกร้องของจำเลยในเงินจำนวนดังกล่าวไปยังผู้ร้องก่อนวันที่จำเลยจะทำสัญญาว่าจ้างโจทก์และก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งอายัดไปยังองค์การสุรากรมสรรพสามิตถึงสองปีเศษ ทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องได้ปฏิบัติครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องที่จะได้รับเงินค่าจ้างเหมาได้ตกเป็นของผู้ร้องและขาดจากการเป็นสิทธิหรือทรัพย์สินของจำเลยแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้ศาลอายัดเงินจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดของเจ้าหน้าที่ตรวจรับงาน การจ่ายเงินค่าจ้างโดยไม่ได้รับมอบงานครบถ้วน และการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย
โจทก์ได้รับโอนกิจการทรัพย์สิน หนี้สินและเงินงบประมาณในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดตามพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารฯ เป็นการโอนโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่อยู่ในบังคับบทบัญญัติว่าด้วยการโอนสิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ สิทธิในการฟ้องผู้ต้องรับผิดตามสัญญาจ้างเหมาและผู้ทำละเมิดเกี่ยวกับสัญญาดังกล่าวจึงโอนมาเป็นของโจทก์ ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ไปร่วมงานศพของ พ. กับ ม. โดยตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498บัญญัติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นนิติบุคคลมีสภาจังหวัดและผู้ว่าราชการจังหวัดดำเนินกิจการส่วนจังหวัด ถือได้ว่าผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้แทนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและได้รู้ถึงการตายของ พ. กับ ม. แล้วโจทก์ซึ่งรับโอนกิจการทรัพย์สินในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนประชาบาลมาจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดฟ้องจำเลยที่ 4 และที่ 5 ในฐานะทายาทของ พ.กับ ม. เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดรู้ถึงความตายของ พ. กับ ม. ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยทั้งสองจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ตามระเบียบของทางราชการ คณะกรรมการสืบสวนหาข้อเท็จจริงไม่ใช่คณะกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดทางแพ่ง หากโจทก์ฟ้องคดียังไม่พ้น 1 ปี หลังจากที่เลขาธิการโจทก์ทราบการละเมิดและรู้ตัวผู้ต้องรับผิดทางแพ่ง คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ในฐานะกรรมการตรวจการจ้างทำครุภัณฑ์มิได้ไปตรวจรับงาน ณ สถานที่ส่งมอบและผู้รับจ้างยังส่งงานไม่ครบด้วยแต่กลับทำบันทึกการตรวจรับงานเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดว่าผู้รับจ้างได้สร้างงานตามสัญญาถูกต้อง สมควรจ่ายเงินให้แก่ผู้รับจ้าง ทำให้โจทก์เสียหาย ไม่ได้รับมอบครุภัณฑ์จากผู้รับจ้างครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา แต่ต้องชำระเงินให้แก่ผู้รับจ้างไปก่อน การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการทำละเมิด
of 26