คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 537

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,443 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องรื้อถอนบ้าน – เจ้าของที่แท้จริง – อำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่า เอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1 ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ. จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ.อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้านของจำเลยแต่เป็นบ้านของ จ.ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิในที่ดิน การเช่าเพื่อปลูกสร้างบ้านไม่ได้ทำให้จำเลยเป็นเจ้าของบ้าน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับมารดาโจทก์ทั้งสองเพื่อปลูกบ้านตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 โดยมีคำขอท้ายฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 การที่จำเลยให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะจำเลยมิใช่เจ้าของบ้านเลขที่ 63/1ความจริงแล้วที่ดินพิพาทและบ้านดังกล่าวเป็นของ จ.จำเลยเป็นเพียงผู้อาศัย จ. อยู่เท่านั้น ปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยก็คือ บ้านเลขที่ 63/1 หลังนี้เป็นของจำเลยหรือไม่เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าบ้านเลขที่ 63/1 ไม่ใช่บ้าน ของจำเลยแต่เป็นบ้านของจ. ที่ปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทโดยชอบมาตั้งแต่ก่อนที่จะทำหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.2 และจำเลยเป็นผู้อาศัย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ จำเลยให้รื้อถอนบ้านเลขที่ 63/1 ออกจากที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทน: ผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญา, การตีความสัญญา, การละเมิดสัญญาเช่า, ค่าเช่าค้างชำระ
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน49 ตารางวา และ 89 ตารางวา โจทก์มอบอำนาจให้มารดาโจทก์ทำสัญญาให้เช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทน 2 ฉบับ ฉบับแรกลงวันที่ 18 มิถุนายน 2526 มีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 60,000 บาท มี พ.เป็นผู้เช่า และฉบับที่สองลงวันที่9 กันยายน 2531 มีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ 100,000 บาท มีจำเลยเป็นผู้เช่า เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนลงวันที่ 18 มิถุนายน 2526ฉบับแรกเป็นสัญญาเช่าที่ พ.ทำกับโจทก์มีกำหนดเวลา 3 ปี มิใช่สัญญาเช่าที่โจทก์ทำกับจำเลย เพราะจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่15 ธันวาคม 2526 หลังจากวันที่ทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรกดังนี้ สัญญาเช่าฉบับแรกย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือโจทก์กับ พ.เท่านั้น ไม่มีผลถึงจำเลยซึ่งมิใช่คู่สัญญากับโจทก์
สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรก ตามสัญญาข้อ 2 ก.ระบุว่า "ผู้เช่าต้องวางมัดจำการเช่า ณ วันทำสัญญานี้เป็นเงิน 180,000 บาท เงินมัดจำนี้ถ้าผู้เช่าไม่เช่าให้ถือเป็นเงินกินเปล่า ถ้าเช่าต่อไปให้ถือเป็นค่าเช่าล่วงหน้าสามเดือน" ดังนี้ เงินจำนวน 180,000 บาท จึงเป็นเงินค่าเช่าล่วงหน้า มิใช่เป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ทำสัญญาเช่า ส่วนที่สัญญาข้อ 3 ระบุว่า "เพื่อเป็นการตอบแทน...ผู้เช่าต้องถมดินหรือทรายหรือลูกรังในที่เช่าให้สูงกว่าระดับหลังถนนลาดพร้าวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร..." นั้น ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าที่ประสงค์จะใช้ที่ดินที่เช่าทำเป็นสถานที่โชว์ขายรถยนต์หรือตลาดนัดขายสินค้าและอาคารสำนักงานตามสัญญาซึ่งนอกจากจำเลยจะดำเนินกิจการดังกล่าวเองแล้ว จำเลยยังได้ให้บุคคลภายนอกเช่าที่ดินเพื่อทำกิจการประเภทเดียวกันด้วย สำหรับสัญญาข้อ 4 ที่ระบุว่า "อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นการถาวรหรือกึ่งถาวร...เมื่อก่อสร้างเสร็จต้องยกกรรมสิทธิ์ให้ผู้ให้เช่าทันที..." แต่ก็มีเงื่อนไขในสัญญาข้อ 8 ว่า "ในการเลิกเช่าถ้าไม่มีค่าเช่าติดค้าง ผู้ให้เช่าจะยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าสร้างให้ผู้เช่ารื้อถอนไปได้ทั้งหมด ยกเว้นแต่ดินหรือวัสดุอื่นใดที่ใช้ถมที่เท่านั้น..." ดังนี้ เห็นได้ว่า สัญญาเช่าดังกล่าวมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ให้เช่าตามสัญญาข้อ 4 โดยเด็ดขาด สัญญาเช่าฉบับพิพาทจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 6 ก็ระบุว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิการเช่าหรือให้เช่าช่วงหรือมอบหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามสัญญานี้..." และสัญญาข้อ 11 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงจะผูกพันกันเฉพาะข้อตกลงเท่าที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น..."การที่จำเลยนำสืบว่า สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรก พ. ลงชื่อเป็นผู้เช่าแทนจำเลยและจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าพัฒนาที่ดินนั้น จึงขัดกับข้อสัญญาดังกล่าวย่อมไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญากับจำเลย สัญญาดังกล่าวคงผูกพันระหว่างโจทก์กับ พ.มีกำหนดเวลา 3 ปี เท่านั้น และมิใช่สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
ส่วนสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับที่สอง โจทก์ทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับจำเลยหลังจากสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรกระหว่างโจทก์กับ พ.ครบกำหนดแล้ว 2 ปีเศษ มิได้ทำติดต่อกัน ทั้งคู่สัญญาตลอดจนข้อสาระสำคัญของสัญญาและค่าเช่าก็แตกต่างกันหาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ทั้งสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยเป็นคู่สัญญาเช่าก็มิได้มีข้อสัญญาที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา แม้สัญญาข้อ 3 กำหนดให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะถาวรหรือกึ่งถาวรเป็นส่วนควบของที่ดินที่เช่าก็ตาม แต่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือเลิกสัญญากัน หากผู้เช่าไม่ค้างชำระค่าเช่าหรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าต้องยกกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้เช่ารื้อถอนไปทั้งหมด หาได้ตกเป็นประโยชน์แก่ผู้ให้เช่าโดยเด็ดขาดไม่ ดังนี้ สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมีกำหนดเวลา 3 ปี แม้ครบกำหนดแล้วจำเลยคงอยู่ต่อมาก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิอยู่อีกต่อไป การที่จำเลยยังอยู่ในที่ดินของโจทก์ตลอดมาจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายแก่โจทก์
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระ เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา เมื่อโจทก์ไม่ยอมทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับจำเลย แต่กลับบอกเลิกสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์ จึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าชำระค่าเช่าแก่โจทก์แล้วจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบว่าจำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแก่โจทก์แล้ว และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าโจทก์ตามฟ้อง
สำหรับค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์เดือนละ 250,000 บาท ตามที่โจทก์ฎีกาขอขึ้นมา เมื่อจำเลยมิได้แก้ฎีกาว่าไม่ถูกต้องเหมาะสมอย่างใด ศาลฎีกาจึงกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6229/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินหมดอายุ การละเมิดสัญญา และค่าเสียหาย
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเนื้อที่10 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา และ 89 ตารางวาโจทก์มอบอำนาจให้มารดาโจทก์ทำสัญญาให้เช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทน 2 ฉบับ ฉบับแรกลงวันที่18 มิถุนายน 2526 มีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ60,000 บาท มีพ.เป็นผู้เช่า และฉบับที่สองลงวันที่9 กันยายน 2531 มีกำหนดเวลา 3 ปี ค่าเช่าเดือนละ100,000 บาท มีจำเลยเป็นผู้เช่า เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าและสัญญาต่างตอบแทนลงวันที่ 18 มิถุนายน 2526ฉบับแรกเป็นสัญญาเช่าที่ พ.ทำกับโจทก์มีกำหนดเวลา3 ปี มิใช่สัญญาเช่าที่โจทก์ทำกับจำเลย เพราะจำเลยเพิ่งจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่15 ธันวาคม 2526 หลังจากวันที่ทำสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรกดังนี้ สัญญาเช่าฉบับแรกย่อมมีผลผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือโจทก์กับ พ.เท่านั้น ไม่มีผลถึงจำเลยซึ่งมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรกตามสัญญาข้อ 2 ก. ระบุว่า "ผู้เช่าต้องวางมัดจำการเช่าณ วันทำสัญญานี้เป็นเงิน 180,000 บาท เงินมัดจำนี้ถ้าผู้เช่าไม่เช่าให้ถือเป็นเงินกินเปล่า ถ้าเช่าต่อไปให้ถือเป็นค่าเช่าล่วงหน้าสามเดือน" ดังนี้ เงินจำนวน 180,000 บาทจึงเป็นเงินค่าเช่าล่วงหน้า มิใช่เป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ทำสัญญาเช่า ส่วนที่สัญญาข้อ 3 ระบุว่า "เพื่อเป็นการตอบแทน ผู้เช่าต้องถมดินหรือทราบหรือลูกรังในที่เช่าให้สูงกว่าระดับหลังถนนลาดพร้าวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร"นั้น ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้เช่าที่ประสงค์ จะใช้ที่ดินที่เช่าทำเป็นสถานที่โชว์ขายรถยนต์หรือตลาดนัดขายสินค้าและอาคารสำนักงานตามสัญญาซึ่งนอกจากจำเลยจะดำเนินกิจการดังกล่าวเองแล้ว จำเลยยังได้ให้บุคคลภายนอกเช่าที่ดินเพื่อทำกิจการประเภทเดียวกันด้วย สำหรับสัญญาข้อ 4 ที่ระบุว่า "อาคารและสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะเป็นการถาวรหรือกึ่งถาวรเมื่อก่อสร้างเสร็จต้องยกกรรมสิทธิ์ให้ผู้ให้เช่าทันที"แต่ก็มีเงื่อนไขในสัญญาข้อ 8 ว่า "ในการเลิกเช่าถ้าไม่มีค่าเช่าติดค้าง ผู้ให้เช่าจะยกกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าสร้างให้ผู้เช่ารื้อถอนไปได้ทั้งหมดยกเว้นแต่ดินหรือวัสดุอื่นใดที่ใช้ถมที่เท่านั้น" ดังนี้ เห็นได้ ว่า สัญญาเช่าดังกล่าวมิได้ยกกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้แก่ผู้ให้เช่าตามสัญญาข้อ 4 โดยเด็ดขาดสัญญาเช่าฉบับพิพาทจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา นอกจากนี้ตามสัญญาข้อ 6ก็ระบุว่า "ผู้เช่าสัญญาว่าจะไม่โอนสิทธิการเช่าหรือให้ เช่าช่วงหรือมอบหน้าที่ใด ๆ ให้บุคคลภายนอกจัดการแทนตามความผูกพันที่ผู้เช่าต้องปฏิบัติตามสัญญานี้"และสัญญาข้อ 11 ระบุว่า "คู่สัญญาตกลงจะผูกพันกันเฉพาะข้อตกลงเท่าที่ปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น"การที่จำเลยนำสืบว่า สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรก พ. ลงชื่อเป็นผู้เช่าแทนจำเลยและจำเลยเป็นผู้จ่ายค่าพัฒนาที่ดินนั้น จึงขัดกับข้อสัญญาดังกล่าวย่อมไม่อาจนำมาใช้ยันโจทก์ซึ่งมิใช่คู่สัญญากับจำเลยสัญญาดังกล่าวคงผูกพันระหว่างโจทก์กับ พ.มีกำหนดเวลา 3 ปี เท่านั้น และมิใช่สัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ส่วนสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับที่สองโจทก์ทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับจำเลยหลังจากสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนฉบับแรกระหว่างโจทก์กับพ.ครบกำหนดแล้ว 2 ปีเศษ มิได้ทำติดต่อกัน ทั้งคู่สัญญาตลอดจนข้อสาระสำคัญของสัญญาและค่าเช่าก็แตกต่างกันหาได้เกี่ยวข้องกันไม่ ทั้งสัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนที่จำเลยเป็นคู่สัญญาเช่าก็มิได้มีข้อสัญญาที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาแม้สัญญาข้อ 3 กำหนดให้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะถาวรหรือกึ่งถาวรเป็นส่วนควบของที่ดินที่เช่าก็ตามแต่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดหรือเลิกสัญญากัน หากผู้เช่าไม่ค้างชำระค่าเช่าหรือผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใด ผู้ให้เช่าต้องยกกรรมสิทธิ์ในอาคารและสิ่งปลูกสร้างให้ผู้เช่ารื้อถอนไปทั้งหมด หาได้ตกเป็นประโยชน์แก่ผู้ให้เช่าโดยเด็ดขาดไม่ ดังนี้ สัญญาเช่าที่ดินและสัญญาต่างตอบแทนระหว่างโจทก์และจำเลยจึงมีกำหนดเวลา 3 ปี แม้ครบกำหนดแล้วจำเลยคงอยู่ต่อมาก็ตาม แต่เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยย่อมไม่มีสิทธิอยู่อีกต่อไป การที่จำเลยยังอยู่ในที่ดินของโจทก์ตลอดมาจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยต้องชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระ เพราะสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาเมื่อโจทก์ไม่ยอมทำสัญญาเช่าฉบับใหม่กับจำเลยแต่กลับบอกเลิกสัญญา จำเลยจึงมีสิทธิไม่ชำระค่าเช่าแก่โจทก์จึงเท่ากับจำเลยยอมรับว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าดังกล่าวแก่โจทก์ จำเลยมิได้ปฏิเสธว่าชำระค่าเช่าแก่โจทก์แล้วจึงไม่มีประเด็นที่จำเลยจะนำสืบว่าจำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างแก่โจทก์แล้ว และข้อเท็จจริงย่อมรับฟังได้ว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่าโจทก์ตามฟ้อง สำหรับค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้แก่โจทก์เดือนละ 250,000 บาท ตามที่โจทก์ฎีกาขอขึ้นมา เมื่อจำเลยมิได้แก้ฎีกาว่าไม่ถูกต้องเหมาะสมอย่างใด ศาลฎีกาจึงกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์ตามจำนวนดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินจากที่เช่าเปลี่ยนสภาพเป็นทรัพย์สินอื่น การขายดินถือเป็นการลักทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียงแต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพอสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อมเปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครอง ดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่จำเลยเอาดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5423/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดดินเช่าไปขายเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ แม้ผู้เช่าครอบครองที่ดินในฐานะอสังหาริมทรัพย์ ดินที่ขุดได้ถือเป็นสังหาริมทรัพย์
การที่จำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินของผู้เสียหาย มีผลเพียง แต่ทำให้จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินดังกล่าวในสภาพ อสังหาริมทรัพย์เท่านั้น เมื่อที่ดินถูกขุดดินที่ได้ย่อม เปลี่ยนสภาพเป็นสังหาริมทรัพย์ และผู้เสียหายไม่ได้มอบการ ครอบครองดินที่เป็นสังหาริมทรัพย์ให้จำเลยครอบครองดินดังกล่าวจึงยังอยู่ในความครอบครองของผู้เสียหาย การที่ จำเลยเอา ดินดังกล่าวไปขายโดยทุจริต เป็นการแสวงหาประโยชน์ ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานบริการและใบอนุญาตเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมายเป็นโมฆะ ผู้เช่าไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายหรือเงินลงทุนคืนได้
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3 (1) แห่ง พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ... ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตามกฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาด ถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใด เป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาทไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยาย หากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญาเช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กัน และคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่า การที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบกิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา113 เดิม (มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา
ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มีโอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องคืนจากจำเลยได้ ตามป.พ.พ.มาตรา 411
สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3652/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานบริการที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามตามกฎหมายเป็นโมฆะ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่มีผลผูกพัน
ตามสัญญาเช่าฉบับพิพาทมีข้อความระบุว่า ผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการตามมาตรา 3(1) แห่งพระราชบัญญัติสถานบริการ พ.ศ. 2509 ตกลงให้เช่าและผู้เช่าตกลงกันเช่าสถานที่บริการและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่ามีกำหนดเวลา 3 ปี โดยผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าสถานที่และใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในปีแรกเดือนละ 45,000 บาท และในปีต่อ ๆ ไปในอัตราค่าเช่าเดือนละ 50,000 บาท ตลอดไป ในวันทำสัญญานี้ผู้เช่าตกลงชำระค่าเช่าล่วงหน้าแก่ผู้ให้เช่าไว้ และผู้ให้เช่าคิดเงินพิเศษค่าเช่าดำเนินกิจการเป็นเงินจำนวน1,000,000 บาท โดยผู้ให้เช่าตกลงยกอุปกรณ์ในการประกอบกิจการที่มีอยู่ในสถานที่เช่าทั้งหมดแก่ผู้เช่า และตกลงให้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าเป็นสาระสำคัญยิ่งของสัญญาเช่านี้ และผู้ให้เช่ามีหน้าที่ต้องดำเนินการขอต่ออายุใบอนุญาตต่อทางราชการให้ใบอนุญาตมีผลใช้ได้ตาม กฎหมายอยู่เสมอตลอดระยะเวลาเช่าในสัญญาและคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปีด้วย และผู้ให้เช่าต้องไม่นำใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการนี้ไปดำเนินกิจการเอง หรือยินยอมอนุญาตให้ผู้อื่นดำเนินกิจการนี้ด้วยวิธีการใด ๆ อีกเป็นอันขาดถ้าสถานบริการถูกรื้อถอนหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถดำเนินกิจการในสถานที่ดังกล่าวได้ ไม่ว่าด้วยเหตุใดเป็นเหตุให้ผู้เช่าต้องย้ายสถานที่บริการจากสถานที่ไปอยู่อีกแห่งหนึ่ง ผู้ให้เช่าจะต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอย้ายสถานบริการจากสถานที่เช่า ไปอยู่ยังสถานที่แห่งอื่นที่ผู้เช่าประสงค์โดยปราศจากข้อโต้แย้งทั้งสิ้น โดยผู้ให้เช่าตกลงคิดค่าเช่าในการให้ผู้เช่าใช้ใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการในสถานที่แห่งใหม่เพียงอย่างเดียวในอัตราค่าเช่าเดือนละ 10,000 บาท ไปจนกว่าจะครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาเช่านี้ และคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี และให้ยกเลิกอัตราค่าเช่าไปโดยปริยายหากสถานที่เช่าและใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการของผู้ให้เช่าตกทอดไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นในระหว่างอายุสัญญา เช่านี้หรือตามคำมั่นจะให้เช่าจนครบ 10 ปี สัญญาเช่านี้คงมีผลผูกพันไปถึงทายาทหรือบุคคลอื่นโดยผู้ให้เช่าต้องแจ้งให้ทายาทหรือบุคคลอื่นทราบถึงสัญญา เห็นได้ว่าคู่กรณีมิได้มีเจตนาที่จะให้โจทก์เข้าไปดำเนินกิจการแทนในฐานะผู้จัดการเท่านั้นแต่มีลักษณะเป็นการโอนสิทธิการได้รับอนุญาตให้ตั้งสถานบริการให้แก่กัน โดยมีการตกลงซื้อขายอุปกรณ์ในการประกอบกิจการให้แก่กันและคู่กรณีมีเจตนาโดยชัดแจ้งที่จะให้โจทก์ดำเนินกิจการตามใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการโดยทำเป็นสัญญาเช่าการที่โจทก์ชำระค่าเช่าล่วงหน้าก็ดี ชำระค่าอุปกรณ์ที่ใช้ ในการประกอบกิจการสถานบริการตลอดจนค่าตกแต่งสถานบริการก็ดี ก็เพื่อประโยชน์ในการประกอบ กิจการสถานบริการของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าการเช่าตามฎีกาของโจทก์แต่อย่างใดไม่ สัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลย เมื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและฝ่าฝืนต่อ พระราชบัญญัติสถานบริการพ.ศ. 2509 จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 เดิม(มาตรา 150 ที่ตรวจชำระใหม่) โจทก์จึงไม่มีสิทธิอ้างข้อสัญญาเพื่อเรียกค่าเสียหายจากจำเลย กรณีจำเลยปฏิบัติผิดสัญญา ส่วนเงินค่าตอบแทนการได้เข้าดำเนินกิจการและการยกอุปกรณ์ และทรัพย์สินในการประกอบกิจการให้แก่กัน และได้มี โอนส่งมอบสถานที่ อุปกรณ์ และทรัพย์สินให้แก่กันไปแล้ว จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้ชำระไปเพื่อให้การดำเนินกิจการ ที่ฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมายบรรลุผล โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้อง คืนจากจำเลยได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 411 สำหรับเงินลงทุนของโจทก์ เมื่อไม่ใช่ค่าใช้จ่ายเพื่อการรักษาบำรุงหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 416 จำเลยผู้เป็นเจ้าของทรัพย์จึงไม่ต้องรับผิดใช้คืนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภทสัญญาเช่าเรือ vs. จ้างเหมาระวาง, อายุความค่าชดใช้เรือเสียเวลา, และภาระการพิสูจน์ผู้ทำสัญญา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้นจะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญหาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่ เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาะระวางบรรทุกของเรือโดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคง เป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรื่องที่ ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่อง ค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้อง เอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่ เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใดกรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัทม.ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2978/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเภทสัญญาเช่าเรือและอายุความฟ้องเรียกร้องค่าชดใช้เรือเสียเวลา
แม้ข้อตกลงเพิ่มเติมซึ่งให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าเรือจะใช้คำว่า สัญญาเช่าเรือและข้อตกลงเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา)ก็ตาม แต่ข้อตกลงดังกล่าวจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญาไม่
เนื้อหาสาระสำคัญของสัญญาเช่าเรือฉบับพิพาทเป็นเรื่องสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือ โดยมีลักษณะเป็นสัญญาจ้างเหมาระวางบรรทุกของเรือเพื่อการเดินทางเที่ยวเดียว มิใช่เป็นเรื่องสัญญาเช่าทรัพย์ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 เพราะผู้เช่าเรือมิได้รับมอบการครอบครองให้ใช้เรือจากโจทก์ผู้ให้เช่าเรือ แต่พนักงานของโจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่าง ๆ ภายในเรือที่ให้เช่าทั้งหมด นอกจากนั้นแล้วค่าชดเชยในเรื่องค่าเรือจอดรอ (ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ซึ่งโจทก์เรียกร้องเอาจากจำเลย ก็มิใช่เป็นการฟ้องเกี่ยวแก่สัญญาเช่า เพราะมิใช่เป็นกรณีการฟ้องในเรื่องการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับของอายุความ 6 เดือน ตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 563 เมื่อข้อตกลงเรื่องค่าชดเชยค่าเรือจอดรอ(ค่าชดใช้เรือเสียเวลา) ตามสัญญาเป็นข้อตกลงพิเศษนอกเหนือไปจากหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าและผู้เช่า ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. ซึ่งคู่สัญญาสามารถตกลงกันได้และไม่มีอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำอายุความตามบทบัญญัติมาตรา 193/30 มาใช้บังคับ คือ มีกำหนด 10 ปี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเอกสารหมาย จ.6 ซึ่งจำเลยที่ 1 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 ไม่เคยทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์และไม่เคยมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 หรือยอมให้จำเลยที่ 2 เชิดตัวเองกระทำการในนามของจำเลยที่ 1ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นนายหน้าของโจทก์และได้ยื่นคำเสนอให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์ตามคำเสนอเอกสารหมาย ล.1 แต่จำเลยที่ 1 บอกปัดคำเสนอ และให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับบริษัท ม. ในเมืองฮ่องกงซึ่งเป็นผู้เช่าเรือที่แท้จริง โจทก์จึงเป็นฝ่ายมีภาระการพิสูจน์ในปัญหาที่ว่าใครเป็นผู้ทำสัญญาเช่าเรือของโจทก์
of 145