คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 537

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,443 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำและการชำระหนี้ค่าเช่าที่ภูมิลำเนาเจ้าหนี้
คดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องสัญญาเช่าตึกแถวและที่ดินพิพาทยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาเช่า จำเลยยังมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารและที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า กรณีจึงเป็นเรื่องที่ยังมิได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยได้ตามนัยแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 55 โดยที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง การที่จะเป็นกรณีฟ้องซ้ำต้องห้าม จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยข้อหาในประเด็นแห่งคดีแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เป็นการฟ้องภายหลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนด และมีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว จำเลยไม่ยินยอมออกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทและผู้ใช้สิทธิครอบครองตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 55 มิใช่เป็นเรื่องรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทและสิทธิการเช่าตึกแถวจาก ส.แล้วโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ และตามสัญญาเช่ามิได้กำหนดว่าจะชำระค่าเช่ากันที่ใด จำเลยจึงต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ การที่จำเลยนำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ทั้งมิใช่การชำระหนี้ ณภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 315 ประกอบมาตรา 324 จำเลยจะให้โจทก์ไปรับเงินค่าเช่าจากสำนักงานวางทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 499/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ, สิทธิเช่า, การชำระหนี้ ณ ภูมิลำเนาเจ้าหนี้, สัญญาเช่าสิ้นสุด, การโอนสิทธิ
คดีก่อนศาลชั้นต้นได้พิพากษาโดยวินิจฉัยว่า ขณะที่โจทก์ฟ้องสัญญาเช่าตึกแถวและที่ดินพิพาทยังไม่สิ้นสุดระยะเวลาเช่า จำเลยยังมีสิทธิอยู่อาศัยในอาคารและที่ดินพิพาทตามสัญญาเช่า กรณีจึงเป็นเรื่องที่ยังมิได้มีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นระหว่างโจทก์กับจำเลย ยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะฟ้องจำเลยได้ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 55 โดยที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาตามประเด็นที่โจทก์ฟ้อง การที่จะเป็นกรณีฟ้องซ้ำต้องห้าม จะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้วินิจฉัยข้อหาในประเด็นแห่งคดีแล้วโจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เป็นการฟ้องภายหลังจากที่สัญญาเช่าครบกำหนด และมีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว จำเลยไม่ยินยอมออกเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ผู้เป็นเจ้าของที่พิพาทและผู้ใช้สิทธิครอบครองตึกแถว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55มิใช่เป็นเรื่องรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 คำฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ โจทก์ได้รับโอนที่พิพาทและสิทธิการเช่าตึกแถวจาก ส.แล้วโจทก์ได้แจ้งให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์ และตามสัญญาเช่ามิได้กำหนดว่าจะชำระค่าเช่ากันที่ใดจำเลยจึงต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ณ ภูมิลำเนาของโจทก์การที่จำเลยนำค่าเช่าไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่เป็นการชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือแก่บุคคลผู้มีอำนาจรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ ทั้งมิใช่การชำระหนี้ ณ ภูมิลำเนาของเจ้าหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315ประกอบมาตรา 324 จำเลยจะให้โจทก์ไปรับเงินค่าเช่าจากสำนักงานวางทรัพย์หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8041/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิให้เช่าช่วงและอำนาจฟ้องของผู้ให้เช่าช่วง แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินที่ให้เช่า เพียงมีสิทธินำทรัพย์สินดังกล่าวออกให้เช่าก็สามารถเป็นผู้ให้เช่าได้ ดังนี้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อาคารสำนักงานที่เช่าและในทางนำสืบของโจทก์กลับปรากฏว่า โจทก์เป็นเพียงผู้เช่าจากพ. ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงและโจทก์มีสิทธินำอาคารสำนักงานดังกล่าวออกให้เช่าช่วงได้ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว จำเลยต้องผูกพันตามข้อสัญญาที่ทำไว้ การที่จำเลยไม่ยอมวางเงินประกันและชำระค่าเช่าให้แก่โจทก์อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาเช่า โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารให้ออกไปจากอาคารสำนักงานที่เช่า กับให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายเป็นรายวันตามสัญญาเช่าได้ กรณีถือได้ว่าโจทก์นำสืบได้สมฟ้องและตรงตามประเด็นแล้ว โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ตามสำเนาสัญญาเช่าท้ายฟ้องแล้วผิดสัญญา ขอให้ขับไล่จำเลยและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้างชำระแก่โจทก์ จำเลยให้การยอมรับว่าจำเลยทำสัญญาเช่าดังกล่าวกับโจทก์จริง เพียงแต่อ้างว่าสัญญาเช่าดังกล่าวเป็นนิติกรรมอำพรางสัญญาให้อาศัยโดยไม่ต้อง เสียค่าเช่าซึ่งเป็นนิติกรรมที่แท้จริงเท่านั้น กรณีเช่นนี้จึงไม่จำต้องใช้สัญญาเช่าดังกล่าวเป็นพยานหลักฐาน แม้สัญญาเช่นฉบับดังกล่าวจะไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ก็รับฟังสัญญาเช่านั้นได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ตึกแถวของมูลนิธิ, อำนาจการมอบสัญญา, และข้อตกลงระหว่างบุคคลสิทธิ
ฎีกาจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพิ่มและให้คู่ความสืบพยานในประเด็นที่กำหนดใหม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2535 มาตรา 11 และมาตรา 13 นั้น ให้ถือว่ามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับนั้นยังคงใช้ตราสารก่อตั้งมูลนิธิเป็นข้อบังคับต่อไป เว้นแต่มูลนิธินั้นถูกคำสั่งศาลให้ยกเลิกตามบทบัญญัติในมาตรา 13 ดังกล่าวเมื่อตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิโจทก์กำหนดให้ผู้จัดการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทนและเหรัญญิกร่วมกันลงลายมือชื่อกระทำการแทนมูลนิธิได้ การมอบอำนาจให้ ส.หรือว.ฟ้องจำเลย มีผู้จัดการมูลนิธิและเหรัญญิกลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตรามูลนิธิโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
แม้โจทก์เป็นมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการกุศลในทางพุทธศาสนา แต่เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวกับโจทก์ เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่คืนตึกแถวให้โจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องขับไล่จำเลยอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ กรณีไม่ถือว่าขัดต่อวัตถุประสงค์มูลนิธิโจทก์แต่อย่างใด
คำให้การจำเลยเรื่องจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่ ส. และม.นั้น แม้หากจะมีข้อตกลงอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ระหว่างจำเลยกับ ส. และ ม. จริงก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิ ไม่เกี่ยวกับโจทก์ จะนำมาบังคับเอากับโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ตึกแถวพิพาทไม่ได้ ศาลชั้นต้นไม่กำหนดข้อต่อสู้จำเลยข้อนี้เป็นประเด็นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5021/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ของมูลนิธิ: อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, และข้อจำกัดการฎีกาในคดีข้อเท็จจริง
ฎีกาจำเลยเป็นการโต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ที่ไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเพิ่มและให้คู่ความสืบพยานในประเด็นที่กำหนดใหม่จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 1 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2535มาตรา 11 และมาตรา 13 นั้น ให้ถือว่ามูลนิธิที่ได้จดทะเบียนก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับนั้นยังคงใช้ตราสารก่อตั้งมูลนิธิเป็นข้อบังคับต่อไป เว้นแต่มูลนิธินั้นถูกคำสั่งศาลให้ยกเลิกตามบทบัญญัติในมาตรา 13 ดังกล่าวเมื่อตามตราสารจัดตั้งมูลนิธิโจทก์กำหนดให้ผู้จัดการมูลนิธิหรือผู้ทำการแทนและเหรัญญิกร่วมกันลงลายมือชื่อกระทำการแทนมูลนิธิได้ การมอบอำนาจให้ ส.หรือว.ฟ้องจำเลย มีผู้จัดการมูลนิธิและเหรัญญิกลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตรามูลนิธิโจทก์ การมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว แม้โจทก์เป็นมูลนิธิซึ่งมีวัตถุประสงค์เป็นการกุศลในทางพุทธศาสนา แต่เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าตึกแถวกับโจทก์เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วจำเลยไม่คืนแถวให้โจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องรับขับไล่จำเลยอันเป็นสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ตามกฎหมายได้ กรณีไม่ถือว่าขัดต่อวัตถุประสงค์มูลนิธิโจทก์แต่อย่างใด คำให้การจำเลยเรื่องจำเลยออกเงินช่วยค่าก่อสร้างแก่ ส. และ ม. นั้น แม้หากจะมีข้อตกลงอันเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา ระหว่างจำเลยกับ ส. และ ม. จริงก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่เกี่ยวกับโจทก์ จะนำมาบังคับเอากับโจทก์ผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ ตึกแถวพิพาทไม่ได้ ศาลชั้นต้นไม่กำหนดข้อต่อสู้จำเลยข้อนี้เป็นประเด็นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่า: แม้ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ แต่คู่สัญญาต้องผูกพันตามสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาเช่าซึ่งโจทก์จำเลยทำไว้ต่อกัน แม้ที่ดินพิพาทจะมิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องผูกพันตามสัญญา แม้จะมีผู้เช่าที่ดินพิพาทคนใหม่จากเจ้าของเดิมบอกกล่าวขับไล่โจทก์จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยก็มิใช่ข้อสำคัญ เพราะกรณีนี้เป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาเช่าเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องการพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินพิพาทหรือผู้เช่าที่ดินพิพาทคนใหม่กับจำเลยผู้เช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์อีกทั้งเจ้าของที่ดินพิพาทที่เช่าก็มิได้โต้แย้งอำนาจของโจทก์ในการให้จำเลยเช่าที่ดินแต่ประการใด ฉะนั้น เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทและเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3611/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าหมดอายุ ผู้เช่าไม่ยอมออกและไม่ซ่อมแซมอาคาร โจทก์มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้สัญญาต่างตอบแทนชนิดพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจะมีผลผูกพันคู่สัญญาโดยไม่จำต้องมีหลักฐานการเช่าเป็นหนังสือหรือจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ตาม แต่ก็มีผลผูกพันคู่สัญญาตามระยะเวลาที่ตกลงกันเท่านั้น
คดีนี้เป็นเรื่องการเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดและต่อสัญญากันมาถึงสามครั้งแล้ว และครั้งพิพาทเป็นครั้งที่สี่ ซึ่งมีการกำหนดระยะเวลาเช่าเพียงสองปี เมื่อครบกำหนดแล้ว โจทก์ไม่ต่อสัญญาให้อีก จำเลยที่ 1 ไม่ซ่อมแซมอาคารพิพาทในสภาพเรียบร้อยแล้วออกไปจากสถานที่เช่า ย่อมทำให้โจทก์เสียหายโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการไม่ปฏิบัติ และที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เท่ากับอัตราค่าเช่าที่จำเลยที่ 1 เช่าคลังสินค้าพิพาทอยู่โดยอาศัยสัญญาเช่าที่โจทก์และจำเลยที่ 1มีต่อกัน กรณีไม่จำต้องฟังพยานบุคคลมาสนับสนุนให้ชัดแจ้งเพราะอัตราค่าเช่าตามสัญญาทั้งโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างตกลงกันไว้ในขณะทำสัญญาแล้ว ส่วนปัญหาที่จำเลยที่ 1 ได้ส่งชำระค่าเช่าต่อมาโดยตลอดในระหว่างการพิจารณาของศาลนั้นเป็นปัญหาที่ต้องว่ากล่าวกันในชั้นบังคับคดี ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การเช่ามีกำหนดระยะเวลาเช่า ครบกำหนดแล้วจำเลยผู้เช่าไม่ยอมออกไปจากที่เช่า และโจทก์เรียกร้องค่าเสียหายเป็นค่าเช่าอาคารคลังสินค้าพิพาทตลอดระยะเวลาที่จำเลยที่ 1 ครอบครองอยู่ซึ่งศาลกำหนดให้แล้วดังนี้ ค่าขาดประโยชน์จากการไม่ได้ใช้พื้นที่อื่นที่เกี่ยวข้องในการให้เช่าวางตู้สินค้าเป็นค่าเสียหายที่ซ้ำซ้อนกัน จึงไม่กำหนดให้อีก
ปัญหาว่าจำเลยที่ 1 ชำระค่าภาษีโรงเรือนแทนโจทก์ ระหว่างจำเลยที่ 1 ยังคงครอบครองคลังสินค้าโจทก์มาโดยตลอด ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลหรือไม่นั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่จะต้องว่ากล่าวกันต่อไปในชั้นบังคับคดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3367/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิซื้อก่อนกรณีเช่าตึกแถว: สิทธิมีเฉพาะเมื่อผู้ให้เช่าจะขายก่อนครบกำหนดสัญญาเท่านั้น
ข้อความตามหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีว่า "ถ้าผู้ให้เช่าตกลงขายทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ใดก่อนครบกำหนดการเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจะแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้า เพื่อผู้เช่าเตรียมตัวออกจากทรัพย์สินที่เช่าเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองเดือน และผู้ให้เช่าจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบด้วยว่าจะตกลงขายให้แก่ผู้ใด เป็นเงินเท่าใด เพื่อผู้เช่าจะได้มีโอกาสตกลงซื้อได้ก่อนในเมื่อเห็นว่าเป็นราคาสมควร" เป็นเพียงเงื่อนไขเกี่ยวกับกรณีที่ผู้ให้เช่าจะขายทรัพย์สินที่เช่าก่อนครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาโดยจะต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบเสียก่อน เพื่อผู้เช่าจะได้ใช้สิทธิที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นเท่านั้น แต่หาได้ให้สิทธิผู้เช่าที่จะซื้อทรัพย์สินที่เช่าได้ก่อนบุคคลอื่นตลอดไปจนพ้นกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาให้แก่จำเลยที่ 3 หลังจากครบกำหนดเวลาเช่าตามสัญญาแล้ว แม้โจทก์ทั้งสี่จะเช่าตึกแถวรายพิพาททั้ง 3 คูหาอยู่ต่อมาโดยไม่มีกำหนดเวลา โจทก์ทั้งสี่ก็ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าขายทรัพย์สินที่เช่าแก่โจทก์ทั้งสี่ โจทก์ทั้งสี่จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ที่จะมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพร้อมด้วยตึกแถวรายพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1951/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: การตีความข้อตกลงเรื่องสิ่งปลูกสร้างก่อนและหลังสัญญา
ข้อความที่ระบุไว้ในสัญญาเช่าที่ดินว่าเมื่อสิ้นอายุสัญญาเช่าแล้วผู้เช่าต้องรื้อออกจากที่ดินของผู้ให้เช่าทันทีโดยไม่เรียกร้องค่ารื้อถอนหรือค่าเสียหายใดจากผู้ให้เช่าส่วนสิ่งที่ได้ปลูกสร้างลงไว้ในที่ดินของผู้ให้เช่าผู้เช่ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นนั้นเป็นข้อความที่ระบุถึงสิ่งก่อสร้างไว้เป็นสองตอนตอนแรกระบุให้ผู้เช่าต้องรื้อเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงตอนหลังระบุถึงสิ่งที่ผู้เช่าปลูกสร้างว่าผู้เช่าต้องยกให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าข้อความทั้งสองตอนมีความหมายที่แตกต่างกันคือข้อความตอนแรกไม่ได้กล่าวถึงการปลูกสร้างแต่กล่าวถึงการรื้อถอนเลยแสดงว่าขณะทำสัญญาเช่าที่ดินในที่พิพาทมีสิ่งปลูกสร้างของผู้เช่าอยู่ก่อนแล้วซึ่งก็คือบ้านพิพาทเลขที่354และ356ของจำเลยเพราะบ้านทั้งสองหลังดังกล่าวจำเลยปลูกสร้างก่อนทำสัญญาเช่าที่ดินสำหรับข้อความในตอนหลังคู่สัญญาน่าจะหมายถึงสิ่งที่จะปลูกสร้างหลังจากทำสัญญาเช่าที่ดินแล้วดังนั้นบ้านพิพาททั้งสองหลังจึงยังไม่เป็นของโจทก์ตามสัญญาเช่าที่ดินโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะหารายได้จากบ้านพิพาทดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในคดีเช่าทรัพย์สินและการวินิจฉัยฟ้องแย้งที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทนอกเหนือจากสัญญาเช่า
การพิจารณาว่าคดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ต้องพิจารณาฟ้องเดิมและฟ้องแย้งแยกจากกันสำหรับฟ้องเดิมแม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าหากจะนำที่ดินพิพาทไปให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ30,000บาทและโจทก์ใช้เป็นเกณฑ์คำนวณในการเรียกร้องค่าเสียหายตามจำนวนนั้นซึ่งศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ7,000บาทก็ตามยังถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าของอสังหาริมทรัพย์ในขณะยื่นคำฟ้องเพราะเป็นแต่อาจให้เช่าได้ค่าเช่าจำนวนดังกล่าวเท่านั้นเมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินโจทก์ปีที่3เดือนละ2,083บาทที่ดินพิพาทจึงมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ2,083บาทต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคหนึ่งฉะนั้นการที่จำเลยอุทธรณ์ว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าวส่วนฟ้องแย้งของจำเลยที่อ้างว่าการเช่าที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาและขอให้บังคับโจทก์ไปจดทะเบียนการเช่าที่ดินพิพาทนั้นเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ไม่หยิบยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142
of 145