คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 537

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,443 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและการต่อเติมทรัพย์สิน: สัญญาต่างตอบแทนและการจดทะเบียนสิทธิเช่า
ก่อนโจทก์เข้าอยู่ตามสัญญาเช่าจำเลยให้โจทก์ซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทซึ่งมีสภาพทรุดโทรมมากโดยเสียค่าใช้จ่ายเองโจทก์ได้ดำเนินการซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทแล้วเสร็จโดยใช้เวลา1ปีเศษสิ้นค่าใช้จ่ายประมาณ2ล้านบาทจึงแสดงว่ามีการตกลงให้โจทก์ซ่อมแซมต่อเติมปรับปรุงตึกแถวพิพาทจริงและการซ่อมแซมดังกล่าวมิใช่เพียงเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยทรัพย์ของโจทก์เท่านั้นหากแต่เป็นประโยชน์แก่จำเลยที่ทำให้ตึกแถวพิพาทมีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยสัญญาเช่าดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาซึ่งไม่จำต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ เอกสารสัญญาเช่าในคดีนี้เป็นสัญญาสำเร็จรูปของจำเลยที่ได้จัดพิมพ์เป็นแบบทั่วไปที่ใช้ในกิจการของจำเลยซึ่งข้อตกลงบางข้อที่ได้จัดพิมพ์ไว้สำเร็จรูปนี้โจทก์และจำเลยก็มิได้ถือเป็นข้อสาระสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อกันเช่นข้อ19เรื่องทำการค้าในทรัพย์สินที่เช่าซึ่งตกลงกันใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้องได้รับอนุญาตจากจำเลยเป็นหนังสือและโจทก์ต้องเสียเงินเพิ่มแต่จำเลยก็มิได้โต้แย้งโจทก์ที่ทำการค้าในทรัพย์สินที่เช่าและเรียกเงินเพิ่มเติมแต่อย่างใดดังนั้นแม้สัญญาข้อ6จะระบุว่าทรัพย์สินที่เช่าอยู่ในสภาพปกติและข้อ24ที่ว่าไม่มีข้อตกลงอื่นนอกจากที่ปรากฎในสัญญาหากมีก็ต้องระบุในต้นฉบับสัญญาว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมก็ตามก็เป็นการพิมพ์สำเร็จรูปไว้แล้วที่ไม่อาจถือเป็นข้อสาระสำคัญที่ต้องปฏิบัติต่อกันข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยได้มีข้อตกลงจะจดทะเบียนสิทธิการเช่าตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสิ้นสุดสิทธิการเช่าเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต และขอบเขตของสิทธิการโอนการเช่าตามสัญญา
การเช่าทรัพย์สินนั้นปกติฝ่ายผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าจะสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าและในการดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ฉะนั้นสิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัวเมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าเป็นอันระงับไปไม่ตกทอดไปถึงทายาทที่สัญญาเช่าข้อ4ระบุว่าในระหว่างสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาผู้เข่ามีสิทธิที่จะโอนการเช่าให้แก่ผู้อื่นได้แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินให้แก่ผู้ให้เช่านั้นเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนการเช่าในระหว่างที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่ายังมีชีวิตอยู่ซึ่งอาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา544และเป็นเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาหาได้ตกทอดมายังจำเลยแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9544/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าร่วมกัน การผิดสัญญาเช่าช่วง และความรับผิดของผู้เช่าร่วม
จำเลยทั้งห้าเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เมื่อปี 2508บิดามารดาของจำเลยทั้งห้าได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินของโจทก์ แล้วยกให้แก่โจทก์โดยมีสิทธิเช่าอยู่ได้นาน 15 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วบิดามารดาของจำเลยทั้งห้าก็ยังคงเช่าอยู่ต่อมาจนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรม จำเลยทั้งห้าเป็นผู้เช่าต่อโดยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าโดยตรงกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าได้สิทธิการเช่าในอาคารพิพาทต่อจากบิดามารดาซึ่งได้เช่าอาคารพิพาททั้งหลังจากโจทก์ มิได้แบ่งแยกว่าจำเลยคนใดเช่าส่วนใดของอาคารพิพาท ดังนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ตามฟ้อง จำเลยทั้งห้าจึงต้องมีหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาเช่านั้นร่วมกันต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 5 นำอาคารพิพาทบางส่วนไปให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ซึ่งเป็นการผิดสัญญาเช่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นคดีนี้ได้ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 5 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากเป็นอีกเรื่องหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9480/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจองอาคารมีลักษณะเป็นสัญญาเช่า สิทธิขับไล่เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุด
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเรื่องหรือข้อหาไว้ว่า ขับไล่เรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย ในเนื้อหาของคำฟ้องก็ระบุว่า โจทก์ได้รับการเช่าช่วงที่ดินมาจาก ป.เพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ให้เช่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 จำเลยทำสัญญาจองอาคารกับโจทก์ ตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้อง โดยจองห้องเลขที่ 145 และตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องตามสัญญาข้อ 3 ระบุไว้ว่า จะจัดการทำสัญญาเช่ากับผู้จองให้เรียบร้อยภายหลังจากที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราแล้ว และสัญญาข้อ 4 ระบุว่าสัญญาเช่าที่จะทำตามข้อ 3 มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา ทั้งได้มีการกำหนดค่าเช่ากันไว้ตามสัญญาข้อ 5 ด้วย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องที่เช่าดังกล่าว พร้อมเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับสัญญาจองอาคารและเกี่ยวกับเรื่องการเช่าอาคารพิพาทตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ส่วนประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าสัญญาจองอาคารตามเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์อ้าง นอกจากจะมีลักษณะเป็นสัญญาจองแล้ว ยังมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัวด้วย กล่าวคือ เป็นสัญญาซึ่งโจทก์ตกลงให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในที่นี้คืออาคารพิพาทที่โจทก์ได้จัดสร้างขึ้นในระยะเวลาอันมีจำกัดคือ 20 ปี และจำเลยตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น ดังนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า และจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตามนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 537 แล้ว ส่วนที่สัญญาจองอาคารข้อ 3 ระบุให้ไปทำสัญญาเช่ากันภายหลังจากการที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองแล้วนั้น เป็นเพียงเพื่อที่จะให้ไปทำสัญญาเช่าเพื่อจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา20 ปี ตามสัญญาข้อ 4 ให้เป็นที่เรียบร้อยเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงเรื่องการเช่า การบอกเลิกการเช่า และอายุสัญญาเช่าสิ้นไปตามกำหนดในสัญญาเช่า โดยมิได้กล่าวถึงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารไว้ ก็ถือได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ากำหนดระยะเวลาการเช่าไว้จึงย่อมระงับสิ้นไปโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน และเมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคาร-พิพาทจึงเป็นการผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาจองอาคารที่ได้กระทำกันไว้ กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9480/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและจองอาคาร สิทธิขับไล่เมื่อสัญญาหมดอายุ
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุเรื่องหรือข้อหาไว้ว่า ขับไล่เรียกค่าเช่าและค่าเสียหายในเนื้อหาของคำฟ้องก็ระบุว่า โจทก์ได้รับการเช่าช่วงที่ดินมาจาก ป. เพื่อปลูกสร้างอาคาพาณิชย์ให้เช่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 จำเลยทำสัญญาจองอาคารกับโจทก์ตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้อง โดยจองห้องเลขที่ 145 และตามสัญญาจองอาคารเอกสารท้ายฟ้องซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องตามสัญญาข้อ 3 ระบุไว้ว่า จะจัดการทำสัญญาเช่ากับผู้จองให้เรียบร้อยภายหลังจากที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองฉะเชิงเทราแล้ว และสัญญาข้อ 4 ระบุว่าสัญญาเช่าที่จะทำตามข้อ 3 มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา ทั้งได้มีการกำหนดค่าเช่ากันไว้ตามสัญญาข้อ 5 ด้วย คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยออกจากห้องที่เช่าดังกล่าว พร้อมเรียกค่าเช่าและค่าเสียหาย จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวกับสัญญาจองอาคารและเกี่ยวกับเรื่องการเช่าอาคารพิพาทตามประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ส่วนประเด็นที่ศาลชั้นต้นตั้งไว้ว่า จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารพิพาทกับโจทก์หรือไม่ เมื่อปรากฏว่าสัญญาจองอาคารตามเอกสารท้ายฟ้องที่โจทก์อ้าง นอกจากจะมีลักษณะเป็นสัญญาจองแล้ว ยังมีลักษณะเป็นสัญญาเช่าอยู่ในตัวด้วย กล่าวคือ เป็นสัญญาซึ่งโจทก์ตกลงให้จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งในที่นี้คืออาคารพิพาทที่โจทก์ได้จัดสร้างขึ้นในระยะเวลาอันมีจำกัดคือ 20 ปี และจำเลยตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้นดังนี้ โจทก์จึงอยู่ในฐานะเป็นผู้ให้เช่า และจำเลยอยู่ในฐานะเป็นผู้เช่าตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 แล้ว ส่วนที่สัญญาจองอาคารข้อ 3 ระบุให้ไปทำสัญญาเช่ากันภายหลังจากการที่ผู้รับจองได้จัดทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองแล้วนั้น เป็นเพียงเพื่อที่จะให้ไปทำสัญญาเช่าเพื่อจดทะเบียนการเช่าเป็นระยะเวลา 20 ปีตามสัญญาข้อ 4 ให้เป็นที่เรียบร้อยเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงเรื่องการเช่า การบอกเลิกการเช่า และอายุสัญญาเช่าสิ้นไปตามกำหนดในสัญญาเช่าโดยมิได้กล่าวถึงว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาจองอาคารไว้ ก็ถือได้ว่าได้วินิจฉัยตามประเด็นที่ได้กำหนดไว้แล้ว เมื่อสัญญาเช่ากำหนดระยะเวลาการเช่าไว้จึงย่อมระงับสิ้นไปโดยมิจำต้องบอกกล่าวก่อน และเมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทจึงเป็นการผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาจองอาคารที่ได้กระทำกันไว้ กรณีจึงมิใช่เป็นเรื่องที่ศาลวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
สัญญาเช่าทำกันเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2515 และตามสัญญาเช่าระบุไว้ว่า ให้มีอายุการเช่า 20 ปี นับแต่วันทำสัญญา จึงต้องถือว่าให้นับระยะเวลาการเช่าตั้งแต่วันที่ 15มีนาคม 2515 ซึ่งเป็นวันทำสัญญาเป็นต้นไป ซึ่งจะครบกำหนด 20 ปี ตามสัญญาในวันที่ 14 มีนาคม 2535 อันเป็นวันสิ้นสุดอายุสัญญาเช่าที่กำหนดไว้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากอาคารพิพาทโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6491/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อเป็นข้อตกลงเฉพาะคู่สัญญา บุคคลภายนอกผู้รับโอนสิทธิไม่มีผลผูกพัน
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยระบุว่า ผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าต่อระยะเวลาการเช่าไปอีกหลังจากที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วเป็นเพียงข้อตกลงต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าซึ่งเป็นบุคคลสิทธิ ไม่ใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะได้เช่าต่อไป คงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือผู้ให้เช่าห้องพิพาทเดิมกับจำเลยเท่านั้น ไม่มีผลผูกพันโจทก์วึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทซึ่งมิได้ตกลงกับจำเลยในข้อตกลงดังกล่าว จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้โจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีก เมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทต่อไป จำเลยก็ต้องออกไปจากห้องพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6491/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่อที่ไม่ผูกพันผู้รับโอนกรรมสิทธิ์: สิทธิการเช่าเป็นบุคคลสิทธิ ไม่ใช่ทรัพยสิทธิ
สัญญาเช่าระหว่างผู้ให้เช่าเดิมกับจำเลยระบุว่าผู้ให้เช่าตกลงให้ผู้เช่าต่อระยะเวลาการเช่าไปอีกหลังจากที่สัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วเป็นเพียงข้อตกลงต่างหากนอกเหนือจากสัญญาเช่าซึ่งเป็นบุคคลสิทธิไม่ใช่เป็นทรัพยสิทธิที่จะได้เช่าต่อไปคงผูกพันเฉพาะคู่สัญญาคือผู้ให้เช่าห้องพิพาทเดิมกับจำเลยเท่านั้นไม่มีผลผูกพันโจทก์วิ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้รับโอนกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทซึ่งมิได้ตกลงกับจำเลยในข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะขอให้โจทก์ต่อสัญญาเช่าให้อีกเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในห้องพิพาทต่อไปจำเลยก็ต้องออกไปจากห้องพิพาทนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่ารถยนต์โดยไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือและจำเลยได้รับประโยชน์จากค่าเช่า ถือเป็นการเช่าทรัพย์ตามกฎหมาย
โจทก์ดำเนินกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่าจูนคาร์เรนท์ จำเลยประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปเช่นกัน ด.ขอเช่ารถยนต์จากจำเลย แต่จำเลยไม่มีรถยนต์จึงนำรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ไปให้ ด.เช่าเป็นเวลา 7 วัน โดยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของค่าเช่า เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากรถยนต์พิพาทชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและจำเลยได้ตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการที่เอารถยนต์พิพาทไปแล้ว การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 แล้ว และการเช่าสังหาริมทรัพย์ กฎหมายมิได้บัญญัติว่า จำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือ จึงสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของร้านจูน คาร์เรนท์ เพราะถ้าหากจำเลยเป็นตัวแทนแล้วจำเลยจะต้องนำเงินที่ได้รับมามอบให้แก่โจทก์ทั้งหมดไม่มีสิทธิหักเงินบางส่วนเอาไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6430/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าทรัพย์ทางวาจาและการพิสูจน์การเช่าช่วงเทียบกับการเป็นตัวแทน
โจทก์ดำเนินกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปใช้ชื่อว่าจูนคาร์เรนท์ จำเลยประกอบกิจการให้เช่ารถยนต์แก่บุคคลทั่วไปเช่นกัน ด. ขอเช่ารถยนต์จากจำเลย แต่จำเลยไม่มีรถยนต์จึงนำรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ไปให้ ด.เช่าเป็นเวลา7 วัน โดยได้รับประโยชน์จากส่วนต่างของค่าเช่า เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยได้รับประโยชน์จากรถยนต์พิพาทชั่วระยะเวลาอันมีจำกัดและจำเลยได้ตกลงให้ค่าเช่าเพื่อการที่เอารถยนต์พิพาทไปแล้วการกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่าทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 แล้ว และการเช่าสังหาริมทรัพย์ กฎหมายมิได้บัญญัติว่าจำต้องทำหลักฐานเป็นหนังสือจึงสามารถตกลงกันด้วยวาจาได้การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเช่ารถยนต์พิพาทไปจากโจทก์หาใช่เป็นเพียงตัวแทนของร้านจูนคาร์เรนท์เพราะถ้าหากจำเลยเป็นตัวแทนแล้วจำเลยจะต้องนำเงินที่ได้รับมามอบให้แก่โจทก์ทั้งหมดไม่มีสิทธิหักเงินบางส่วนเอาไว้ก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5770/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษ: การปรับปรุงอาคารและระยะเวลาเช่า 6 ปี
โจทก์เช่าอาคารเฉพาะชั้นที่1ถึงชั้นที่6จากจำเลยในอัตราค่าเช่าเดือนละ200,000บาทต่อมาโจทก์ได้ปรับปรุงอาคารที่เช่าให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นห้องพักและสำนักงานสิ้นค่าใช้จ่ายไป6,000,000บาทและจะต้องชำระค่าเช่าให้จำเลยอีกเดือนละ200,000บาททั้งตามข้อสัญญาระบุว่าบรรดาสิ่งที่ผู้เช่าได้นำมาตกแต่งในสถานที่เช่าถ้ามีลักษณะติดตรึงตรากับตัวอาคารแล้วผู้เช่าซื้อจะรื้อถอนไปไม่ได้เว้นแต่จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้ให้เช่าการปลูกสร้างหรือดัดแปลงต่อเติมที่ผู้เช่าได้กระทำขึ้นนั้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้เช่าทั้งสิ้นในการลงทุนปรับปรุงอาคารพิพาทประกอบกับข้อสัญญาดังกล่าวบ่งชี้ว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์ทั้งสามกับจำเลยเป็นสัญญาต่างตอบแทนพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา
of 145