คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 537

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,443 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของธนาคารต่อการลักทรัพย์ในตู้นิรภัยจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอันเป็นธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน แต่การลักทรัพย์ที่อยู่ในตู้นิรภัยของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 1เช่าเก็บทรัพย์สินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมิใช่งานในหน้าที่ของจำเลยที่ 4การที่จำเลยที่ 4 ลักทรัพย์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1
การที่โจทก์ที่ 1 กับ น.เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้าง เมื่อโจทก์ที่ 1กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น.เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืน สัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 657
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไป ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น.ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลเยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6704/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และความประมาทเลินเล่อในการดูแลทรัพย์สินของผู้อื่น
จำเลยที่ 1 เป็นธนาคารประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการเงินอันเป็นธุรกิจที่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 4 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1มีหน้าที่รับและจ่ายเงิน แต่การลักทรัพย์ที่อยู่ในตู้นิรภัยของจำเลยที่ 1 ที่ให้โจทก์ที่ 1 เช่าเก็บทรัพย์สินเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายและมิใช่งานในหน้าที่ของจำเลยที่ 4 การที่จำเลยที่ 4ลักทรัพย์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 การที่โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์นั้น ทุกครั้งที่โจทก์ที่ 1 กับ น.ภริยาโจทก์ที่ 1 นำทรัพย์ไปเก็บโจทก์ที่ 1 กับ น. มิได้ส่งมอบทรัพย์ที่เก็บให้แก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็มิได้มีส่วนรู้เห็นว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. นำทรัพย์อะไรไปเก็บไว้บ้างเมื่อโจทก์ที่ 1 กับ น. ต้องการนำทรัพย์ที่เก็บไว้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนกลับคืนก็ไปนำกลับมาเองโดยโจทก์ที่ 1 กับ น. เพียงแต่ยื่นคำร้องขอให้จำเลยที่ 1 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารมาร่วมไขเปิดตู้นิรภัยด้วยเท่านั้น โดยจำเลยที่ 1 มิได้ทำการส่งมอบทรัพย์คืนสัญญาเช่าตู้นิรภัยจึงมิใช่สัญญาฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 657 โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า โจทก์ที่ 1 กับ น. เช่าตู้นิรภัยจากจำเลยที่ 1 เพื่อใช้เป็นที่เก็บทรัพย์ แล้วจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อไม่ดูแลกุญแจธนาคารให้ดี ปล่อยให้จำเลยที่ 4นำกุญแจธนาคารไปไขตู้นิรภัยของโจทก์ แล้วลักเอาทรัพย์ที่เก็บไว้ไปทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยทั้งสี่จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ทั้งสอง คำฟ้องดังกล่าวชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์ทั้งสองจึงไม่เคลือบคลุม จำเลยที่ 3 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่เก็บรักษากุญแจต้นแบบของธนาคารและมีหน้าที่นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยร่วมกับลูกค้าของธนาคาร เมื่อจำเลยที่ 3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความประมาทเลินเล่อปล่อยให้จำเลยที่ 4 นำกุญแจต้นแบบของธนาคารไปเปิดตู้นิรภัยเองตามลำพังเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ถือโอกาสลักกุญแจของโจทก์ที่ 1 และ น. มาเปิดตู้นิรภัยลักเอาทรัพย์มีค่าของโจทก์ที่ 1 และ น. ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 3ประมาทเลินเล่อในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ต่อโจทก์ทั้งสองด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ไม่ต้องอ้างสัญญาเช่า หากจำเลยเข้าครอบครองที่ดินโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่า แต่ฟ้องขับไล่เนื่องจากจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิ ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดว่า จำเลยเช่าที่ดินส่วนไหนของที่ดินโจทก์ ที่ดินที่เช่ามีจำนวนเท่าใด ทำสัญญาเช่ากันหรือไม่ และคิดค่าเช่าเท่าใด ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเช่าที่ดินจากโจทก์ ที่ดินที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณะ แสดงว่าจำเลยทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่บริเวณใดของที่ดินโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6129/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องขับไล่ไม่จำเป็นต้องระบุรายละเอียดสัญญาเช่า หากจำเลยอ้างว่าไม่เคยเช่า
โจทก์มิได้ฟ้องขอให้บังคับจำเลยโดยอาศัยสัญญาเช่า แต่ฟ้องขับไล่เนื่องจากจำเลยเข้าไปอยู่ในที่ดินพิพาทโดยไม่มีสิทธิฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องระบุรายละเอียดว่า จำเลยเช่าที่ดินส่วนไหนของที่ดินโจทก์ ที่ดินที่เช่ามีจำนวนเท่าใด ทำสัญญาเช่ากันหรือไม่และคิดค่าเช่าเท่าใด ทั้งจำเลยก็ให้การต่อสู้ว่าไม่เคยเช่าที่ดินจากโจทก์ ที่ดินที่จำเลยปลูกโรงเรือนเป็นที่สาธารณะ แสดงว่าจำเลยทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่บริเวณใดของที่ดินโจทก์ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าต่างตอบแทน ผู้ให้เช่าผิดสัญญาเมื่อไม่จดทะเบียนและขายที่ดินก่อนกำหนด
สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งโดยผู้ให้เช่ามีหนี้ต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่ามีหนี้จะต้องชำระค่าเช่าเพื่อการนั้น เมื่อผู้เช่าได้ชำระค่าเช่าตามสัญญาแล้วผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน ซึ่งรวมถึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้ผู้เช่าภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันด้วยการที่ผู้ให้เช่าโอนขายที่ดินที่ให้เช่าให้แก่บุคคลภายนอกไปแม้จะก่อนถึงกำหนดเวลาจดทะเบียนการเช่าจึงเท่ากับผู้ให้เช่าไม่ชำระหนี้ตอบแทนตามสัญญา ผู้ให้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลามาอ้างได้ โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าจำนวนเงิน120,000 บาท ให้ ผ. เจ้ามรดกซึ่งเป็นผู้ให้เช่า และเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ผ.จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ชำระเงินดังกล่าวคืนให้โจทก์แล้วจำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ซึ่งศาลชั้นต้นได้ตั้งประเด็นว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เท่ากับศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นที่ว่าจำเลยคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่รวมเข้าไปด้วยแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่าจำเลยยังไม่คืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แล้ววินิจฉัยให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าและหน้าที่ของผู้ให้เช่าในการจดทะเบียน รวมถึงผลของการผิดสัญญา
สัญญาเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนชนิดหนึ่งโดยผู้ให้เช่ามีหนี้ต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่ามีหนี้ที่จะต้องชำระค่าเช่าเพื่อการนั้น เมื่อผู้เช่าได้ชำระค่าเช่าตามสัญญาแล้ว ผู้ให้เช่าจึงมีหน้าที่ต้องชำระหนี้ตอบแทน ซึ่งรวมถึงต้องไปจดทะเบียนการเช่าให้ผู้เช่าภายในกำหนดเวลาที่ตกลงกันด้วย การที่ผู้ให้เช่าโอนขายที่ดินที่ให้เช่าให้แก่บุคคลภายนอกไปแม้จะก่อนถึงกำหนดเวลาจดทะเบียนการเช่าจึงเท่ากับผู้ให้เช่าไม่ชำระหนี้ตอบแทนตามสัญญา ผู้ให้เช่าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาโดยไม่อาจยกประโยชน์แห่งเงื่อนเวลามาอ้างได้
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ได้ชำระค่าเช่าล่วงหน้าจำนวนเงิน 120,000 บาทให้ ผ.เจ้ามรดกซึ่งเป็นผู้ให้เช่า และเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของ ผ.จำเลยให้การต่อสู้ว่าจำเลยได้ชำระเงินดังกล่าวคืนให้โจทก์แล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์อีก ซึ่งศาลชั้นต้นได้ตั้งประเด็นว่า จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด เท่ากับศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นที่ว่าจำเลยคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวให้แก่โจทก์แล้วหรือไม่รวมเข้าไปด้วยแล้ว ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฟังว่าจำเลยยังไม่คืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์ แล้ววินิจฉัยให้จำเลยคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ไม่ตกทอดถึงทายาท
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าย่อมระงับไม่ตกทอดไปยังทายาท คำพิพากษาในคดีอื่นที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่ามิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าระงับเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต ไม่ตกทอดถึงทายาท คำพิพากษาในคดีเช่าไม่ผูกพันบุคคลภายนอก
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อผู้เช่าตาย สิทธิการเช่าย่อมระงับไม่ตกทอดไปยังทายาท
คำพิพากษาในคดีอื่นที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่ามิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 (2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดีนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4985/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว สิ้นสุดเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต การโอนสิทธิโดยไม่สุจริตไม่ผูกพันเจ้าของกรรมสิทธิ์
แม้ บ. มีสิทธิเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ร่วม แต่สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิเฉพาะตัว เมื่อ บ. ตายสิทธิการเช่าย่อมระงับหรือสิ้นสุดลงไม่ตกทอดไปยังจำเลยซึ่งเป็นทายาท ส่วนคำพิพากษาของศาลอีกคดีหนึ่งที่วินิจฉัยว่า ฮ. ลงชื่อเป็นผู้เช่าอาคารพิพาทของโจทก์ร่วมแทน บ. ในคดีระหว่าง ฮ. กับ บ. นั้นเป็นคำพิพากษาที่วินิจฉัยเกี่ยวกับสิทธิการเช่าอาคาร มิใช่คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใด ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(2) จึงไม่อาจใช้ยันโจทก์และโจทก์ร่วมซึ่งเป็นบุคคลภายนอกคดี เมื่อ ฮ. ผู้เช่าเดิมได้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทแก่โจทก์และโจทก์ร่วมยินยอมและจัดให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับโจทก์ร่วมแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิใช้อาคารพิพาท จำเลยอยู่ในอาคารพิพาทโดยไม่มีสิทธิเป็นการละเมิดโต้แย้งสิทธิโจทก์และโจทก์ร่วมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอาคารพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1255/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิทธิเก็บค่ารักษาความสะอาด: อายุความ 6 เดือน ตามมาตรา 563
ตามสัญญาเช่าสิทธิเพื่อเก็บค่ารักษาความสะอาดพิพาทจำเลยมีสิทธิเก็บค่ารักษาความสะอาดจากพ่อค้าและแม่ค้าซึ่งเป็นผู้เช่าแผงในบริเวณที่ดินของโจทก์ในกำหนด 1 ปี เป็นการที่จำเลยได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินภายในระยะเวลาอันมีจำกัด โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าให้โจทก์เป็นรายเดือนเป็นการตอบแทน ถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537ประกอบมาตรา 99 เดิม แล้ว โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับตามสัญญาเช่าทรัพย์สิน ต้องอยู่ในอายุความ 6 เดือนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563
of 145