คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 93 (3)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15496/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าปรับจากสัญญาประกันในคดีอาญา และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ค่าปรับตามสัญญาประกันในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต โดยแนบสำเนาคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว สำเนาสัญญาประกัน สำเนารายงานกระบวนพิจารณา และสำเนาหมายบังคับคดี ซึ่ง ป. ผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้ลงชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเป็นหลักฐานไว้ท้ายคำขอรับชำระหนี้ เมื่อต้นฉบับเอกสารดังกล่าวอยู่ในความควบคุมของศาลแขวงดุสิต สำเนาเอกสารที่ ป. ซึ่งเป็นข้าราชการตำแหน่งนิติกร 5 ในหน่วยงานของรัฐดังกล่าวรับรองความถูกต้องย่อมรับฟังแทนต้นฉบับได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (3)
ลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญาประกันต่อศาลในคดีอาญาของศาลแขวงดุสิต และศาลมีคำสั่งปรับลูกหนี้ที่ 1 ตามสัญญาประกันเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2538 ซึ่งกรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ป.วิ.อ. มาตรา 119 วรรคหนึ่ง ให้ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันโดยมิต้องฟ้อง ดังนี้ สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าปรับที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้จึงเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุด มีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 เมื่อคำสั่งปรับผู้ประกันถึงที่สุดโดยไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2538 เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2550 จึงเกินระยะเวลา 10 ปี นับแต่วันที่คำสั่งศาลถึงที่สุด สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าปรับดังกล่าวเป็นอันขาดอายุความถือเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้อันต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94 (1) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7698/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีพ้นกำหนดเวลา 2 ปี ต้องได้รับการอนุมัติจากอธิบดี หากไม่มีหลักฐานการมอบหมายอำนาจ การประเมินนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำให้การของจำเลยรับข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงตามคำฟ้องว่า การประเมินภาษีรายพิพาทเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินต้องกระทำภายในกำหนดเวลาสองปีนับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการภาษี ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 88/6 (1) (ก) เจ้าพนักงานประเมินไม่ได้ประเมินภาษีรายพิพาทภายในกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว ข้อต่อสู้ตามคำให้การของจำเลยที่ว่า เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีรายพิพาทภายในกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันดังกล่าวได้ โดยอนุมัติอธิบดี ตามมาตรา 88/6 วรรคสอง แห่ง ป. รัษฎากร เป็นการยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ และกล่าวอ้างข้อเท็จจริงที่อยู่ในความรู้เห็นของจำเลยฝ่ายเดียว ภาระการพิสูจน์ในปัญหานี้จึงตกแก่จำเลย แม้ศาลภาษีอากรกลางกำหนดให้โจทก์นำสืบพยานก่อน และโจทก์ไม่ได้สืบพยานในปัญหานี้ จำเลยก็มีหน้าที่นำสืบพยานให้รับฟังได้ว่า การประเมินภาษีรายพิพาทเจ้าพนักงานประเมินกระทำโดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรแล้ว
เอกสารที่อนุมัติให้ประเมินภาษีโจทก์เกินสองปี ผู้อนุมัติมีตำแหน่งเป็นสรรพากรภาค 5 และระบุว่าผู้อนุมัติปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมสรรพากร แม้คำว่า "อธิบดี" จะหมายความรวมถึง ผู้ที่อธิบดีมอบหมาย ตามมาตรา 2 แห่ง ป. รัษฎากร แต่จำเลยไม่นำสืบให้ปรากฏว่า สรรพากรภาค 5 เป็นผู้ที่อธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินแทนอธิบดีกรมสรรพากรได้ การที่จำเลยส่งเอกสารหมาย ล. 1 แผ่นที่ 1 ถึง 3 ที่เป็นคำสั่งของอธิบดีกรมสรรพากรมอบหมายให้สรรพากรภาคมีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวได้ พร้อมกับเอกสารอื่น มีผลแต่เพียงว่าจำเลยมีสิทธินำสืบเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้เท่านั้น หามีผลให้ศาลต้องรับฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในเอกสารนั้นด้วยไม่ จำเลยไม่ได้นำสืบถึงความถูกต้องแท้จริงของเอกสารดังกล่าว ซึ่งเป็นสำเนา ทั้งไม่ได้นำสืบให้เห็นว่าผู้ลงนามรับรองถูกต้องเป็นผู้ที่รับรองเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 (3) โจทก์ก็ไม่ได้รับข้อเท็จจริงว่าเอกสารนั้นถูกต้องแล้ว จึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวได้ว่า สรรพากรภาค 5 เป็นผู้ที่อธิบดีมอบหมายให้มีอำนาจอนุมัติให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีรายพิพาท การประเมินของเจ้าพนักงานจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลระหว่างพิจารณา และการรับฟังพยานหลักฐานจากเอกสารที่เจ้าหน้าที่รับรอง
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 226 (2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้
การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้น ก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้
แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์ แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 570/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโต้แย้งคำสั่งศาลและการรับฟังพยานหลักฐานเอกสาร การออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท
การชี้สองสถานของศาลชั้นต้น หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่ชอบอย่างไรก็ชอบที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพราะคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งนั้นต่อไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) เมื่อจำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวจำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหานี้ได้ การที่ศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีซึ่งหากจำเลยมีความจำนงที่จะดำเนินการเช่นนั้นก็ชอบที่จะแสดงความจำนงต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 แต่จำเลยมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาให้เป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยจึงฎีกาว่าศาลชั้นต้นไม่ได้มีการนำชี้หรือทำแผนที่พิพาทประกอบคดีเป็นการไม่ชอบไม่ได้ แบบแจ้งการครอบครองที่ดินแบบบันทึกการสอบสวนสิทธิและพิสูจน์การทำประโยชน์และหนังสือรับรองการทำประโยชน์แม้จะเป็นสำเนาเอกสารก็ตาม แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินรับรองความถูกต้องแล้วและคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมิได้ซักค้านหรือนำสืบให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่บริหารงานที่ดินนั้นไม่มีหน้าที่รับรองเอกสารดังกล่าวอย่างไร ย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานจากรายงานทางการแพทย์ (สำเนา) ที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรับรอง และการพิสูจน์ตัวผู้ขับขี่ในคดีประกันภัย
รายงานการตรวจรักษาผู้ป่วยที่จำเลยอ้างเป็นพยานต่อศาลแม้เป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารแต่ก็เป็นสำเนาเอกสารที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของทางราชการส่งต่อศาลตามคำสั่งเรียกของศาลโดยมีหนังสือราชการนำส่งเป็นทางการถือได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้วรับฟังเป็นพยานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา93(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำเนาเอกสารทางการแพทย์ที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรับรอง ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
รายงานการตรวจรักษาผู้ป่วยที่จำเลยอ้างเป็นพยานต่อศาลแม้เป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสาร แต่ก็เป็นสำเนาเอกสารที่ผู้อำนวยการโรงพยาบาลของทางราชการส่งต่อศาล ตามคำสั่งเรียกของศาล โดยมีหนังสือราชการนำส่งเป็นทางการ ถือได้ว่าผู้อำนวยการโรงพยาบาลได้รับรองสำเนาถูกต้องแล้ว รับฟังเป็นพยานได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 93 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4131/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับรองบริษัท, สัญญาค้ำประกัน, ตัวแทนช่วง, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, การรับคำเบิกความ
หนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเป็นเอกสารมหาชนแม้จะเป็นสำเนาแต่เจ้าพนักงานก็รับรองความถูกต้องจึงรับฟังได้ ส่วนหนังสือรับรองท้ายฟ้องโจทก์มีข้อความตรงกับหนังสือรับรองการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทสาขาหาใช่หนังสือรับรองสาขาโจทก์ การที่ปรากฏข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์การที่ปรากฎข้อความแสดงที่ตั้งของสำนักงานโจทก์ต่าง จึงไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะเป็นเอกสารที่โจทก์อ้างประกอบคำฟ้องแสดงฐานะและอำนาจกรรมการของโจทก์เท่านั้น
เมื่อสัญญาค้ำประกันระบุว่าจำเลยที่ 3 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์อย่างลูกหนี้ร่วม จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจต่อสู้โจทก์บังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยที่ 1 ก่อนได้
ตามหนังสือมอบอำนาจให้ อ.ผู้รับมอบอำนาจตั้งตัวแทนช่วงเพื่อดำเนินการแทนได้ ซึ่งรวมถึงการบอกกล่าวบังคับชำระหนี้เอาแก่จำเลยทั้งสามตามสัญญา แม้ อ.มอบอำนาตจโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อโจทก์รับเอาการกระทำของ ธ.ตัวแทนช่วงแล้วถือได้ว่าให้ส้ตยาบันตาม ป.พ.พ. มาตรา 823และถือได้ว่าโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว
การที่ ธ.เบิกความภายหลังพยานโจทก์ปากอื่นเบิกความไปแล้วก็ปรากฏว่า โจทก์อ้าง ธ.เป็นพยานโจทก์เอาไว้และนำเข้าสืบตามกระบวนพิจารณาคำเบิกความของ ธ.รับฟังได้เพียงใดอยู่ที่ดุลพินิจของศาล ไม่มีเหตุจะให้ศาลเพิกถอนกระบวนพิจารณาส่วนนี้ได้
ที่ ธ.มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปถึงจำเลยทั้งสามปรากฏว่าคนใช้และคนในบ้านของจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับ ย่อมถือว่าจำเลยทั้งสามได้รับหนังสือบอกกล่าวแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีหลังการแบ่งส่วนราชการ และการรับฟังพยานเอกสาร การประเมินภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
พ.เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 7 ได้รับคำสั่งกรมสรรพากรให้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบและประเมินภาษีอากรประจำสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 อันเป็นสำนักงานที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2515 ย่อมถือว่าเป็นเจ้าพนักงานประเมินผู้ได้รับแต่งตั้งจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ 121) เรื่อง ประกาศยกเลิกและแต่งตั้งเจ้าพนักงานตามประมวลรัษฎากร ที่กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ 3 ขึ้นไปเป็นเจ้าพนักงานประเมิน การแบ่งส่วนราชการภายในของกรมสรรพากรเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพในปัจจุบันไม่กระทบถึงอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบภาษีที่ทำต่อเนื่องกันมา ดังนั้น เมื่อกองภาษีการค้าซึ่งเป็นหน่วยงานดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีของโจทก์ถูกยุบเลิกไป โดยมีการจัดตั้งสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ขึ้นมาแทน และปรากฏว่าภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์อยู่ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7 แต่กรมสรรพากรมีคำสั่งให้ ว.ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีภายในของโจทก์อยู่เดิมมีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ต่อไป แม้ ว.จะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ก็มีอำนาจตรวจสอบภาษีของโจทก์ได้ ภาพถ่ายจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขาหรือในความควบคุมของทางราชการเป็นสำเนาเอกสารที่ต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งรับรองความถูกต้องจึงจะรับฟังได้ แต่เมื่อจำเลยอ้างส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลโดยโจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มี หรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องเช่นนี้ ศาลภาษีอากรกลางจึงมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 17 โจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการ แต่ไม่มีหลักฐานแสดงการจ่ายของโจทก์ ซึ่งต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับของโจทก์ การที่เจ้าพนักงานประเมินนำข้อมูลจากหน่วยงานที่ควบคุมการทำงานของโจทก์มาคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์รวมจำนวนถึงร้อยละ 80ซึ่งเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจกระทำได้ โจทก์เพิกเฉยไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลยเมื่อถูกประเมินก็ไม่ยอมมารับผลการประเมินโดยอ้างว่าสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์ไม่ได้อยู่ในเขตรับผิดชอบของสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 จึงไม่ไปรับทราบผลการประเมินเช่นนี้ ย่อมไม่มีเหตุจะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5519/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการประเมินภาษี เจ้าพนักงานมีสิทธิพิจารณาค่าใช้จ่ายโดยอ้างอิงข้อมูลจากหน่วยงานอื่น และการไม่อยู่ร่วมตรวจสอบภาษีไม่สมเหตุผล
การที่มีการแบ่งส่วนราชการตาม พ.ร.ฎ.แบ่งส่วนราชการกรมสรรพากรกระทรวงการคลัง พ.ศ.2515 ให้สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 7รับผิดชอบเขตพื้นที่บางกอกน้อย ซึ่งเป็นภูมิลำเนาและสถานที่ประกอบการค้าของโจทก์นั้นเป็นเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินภายในของจำเลยเพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพ เมื่องานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์เป็นงานที่ดำเนินการค้างมาจากงานกองภาษีการค้าและยังไม่เสร็จสิ้น กองภาษีการค้าถูกยุบเลิกไป ว.เจ้าพนักงานตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี 6 ฝ่ายตรวจสอบ สำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ย่อมมีอำนาจดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะเสร็จงาน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.164/2525 โจทก์จึงไม่อาจอ้างว่าสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ 8 ไม่มีอำนาจตรวจสอบและประเมินภาษีรายของโจทก์ แม้หลักฐานเกี่ยวกับภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่ายและภาษีการค้าหัก ณ ที่จ่ายสำหรับปี 2519 และปี 2520 ที่โจทก์ถูกทางราชการหักภาษีไว้เป็นภาพถ่ายมาจากต้นฉบับเอกสารที่อยู่ในความอารักขา หรือในความควบคุมของทางราชการ การอ้างภาพถ่ายเอกสารลักษณะเช่นนี้เท่ากับเป็นการอ้างสำเนาเอกสารจะต้องมีบุคคลดังที่ระบุไว้ในมาตรา 93(3) แห่ง ป.วิ.พ. รับรองความถูกต้องแล้วจึงจะรับฟังได้ก็ตาม แต่ตาม มาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งตามมาตรา 125 แห่ง ป.วิ.พ. บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอีกฝ่ายหนึ่งอ้างอิงเอกสารมาเป็นพยานหลักฐานยันตน จะต้องคัดค้านการอ้างเอกสารหรือความถูกต้องของสำเนาเอกสารก่อนวันสืบพยานหรือก่อนศาลพิพากษาแล้วแต่กรณีแต่โจทก์มิได้คัดค้านว่าต้นฉบับเอกสารไม่มีหรือเอกสารนั้นปลอมหรือสำเนาไม่ถูกต้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ดังนั้น ศาลภาษีอากรกลางย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาพยานเอกสารดังกล่าวแทนต้นฉบับได้ เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าโจทก์มีรายได้จากการประกอบกิจการของโจทก์ โจทก์ย่อมมีเงินได้ที่จะต้องเสียภาษีภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังที่บัญญัติไว้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65,65 ทวิ และ65 ตรี เมื่อโจทก์ไม่มีหลักฐานใดมาแสดงว่าเป็นรายจ่าย จึงต้องถือว่าโจทก์มีเงินกำไรสุทธิที่จะต้องเสียภาษีตามจำนวนที่เป็นรายรับการที่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณกำไรสุทธิของโจทก์โดยยินยอมให้มีการหักค่าใช้จ่ายด้วยการนำเอาข้อมูลจากกรมโยธาธิการที่เป็นหน่วยงานที่ควบคุมงานก่อสร้างสถานที่ราชการที่โจทก์ดำเนินการซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงก่อสร้างมาเป็นแนวทางตรวจสอบกิจการก่อสร้างของโจทก์ แล้วคำนวณกำไรสุทธิด้วยการหักค่าใช้จ่ายให้แก่โจทก์เป็นค่าวัสดุก่อสร้างและค่าแรงก่อสร้างรวมจำนวนถึงร้อยละ 80 นับว่าเป็นการกระทำโดยมีเหตุสมควรและเป็นธรรมแก่โจทก์ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจที่จะกระทำได้ ในการตรวจสอบภาษีรายของโจทก์ โจทก์มอบอำนาจให้ ส. มาให้การต่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษีจำเลยเพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นเจ้าพนักงานประเมินได้มีหนังสือถึงโจทก์สามครั้ง ให้โจทก์ไปพบพร้อมกับส่งเอกสารให้แก่เจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ก็เพิกเฉยไม่ได้ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบภาษีของจำเลย เมื่อโจทก์ถูกประเมินภาษีก็ไม่ยอมมารับทราบผลการประเมิน กรณีเช่นนี้ย่อมไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับและเงินเพิ่มให้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4299/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดอากรแสตมป์สัญญา, การรับรองสำเนาเอกสารราชการ, และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของเจ้ามรดก
สัญญากู้เป็นแบบพิมพ์มีสองหน้า ด้านหน้าเป็นแบบพิมพ์สัญญากู้ด้านหลังเป็นแบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเงินกู้ซึ่งไม่มีการกรอกข้อความดังนี้การปิดอากรแสตมป์ที่แบบพิมพ์สัญญาค้ำประกันเป็นการปิดอากรแสตมป์สำหรับสัญญากู้ด้วย เมื่อรวมอากรแสตมป์ที่ปิดด้านหน้าและด้านหลังครบถ้วนตามที่ระบุในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรแล้ว ย่อมอ้างสัญญากู้ดังกล่าวเป็นพยานได้ โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 และนาง ค. ในฐานะเป็นผู้ร่วมกันกู้เงินโจทก์ ชดใช้เงินกู้ และขอให้จำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของนาง ค.รับผิดหนี้เงินกู้ที่นางค. ต้องใช้คืนแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ที่ 4 ให้การว่าลายมือชื่อจำเลยที่ 1ในสัญญากู้ปลอม ดังนี้ไม่เป็นประเด็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 3 ที่ 4 เพราะไม่ว่าลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ในสัญญากู้จะปลอมหรือไม่ก็ไม่เกี่ยวกับจำเลยที่ 3 ที่ 4 ซึ่งต้องรับผิดในฐานะทายาทของนาง ค. ผู้กู้ร่วม พยานผู้เชี่ยวชาญเป็นพยานแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการซึ่งปกติศาลก็รับฟังแต่มิใช่ว่าจะต้องเชื่อพยานผู้เชี่ยวชาญเสมอไป คำพยานผู้เชี่ยวชาญจะมีน้ำหนักกว่าประจักษ์พยานหรือไม่ก็ต้องพิจารณาตามรูปเรื่องและต้องอาศัยเหตุผลและพยานหลักฐานอื่นประกอบ ซึ่งผิดกับประจักษ์พยานซึ่งเป็นผู้ได้ยินกับหูเห็นด้วยตาของ ตนเองจึงน่าเชื่อว่าพยานผู้เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะการที่อ้างแต่เพียงรายงานผลการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญโดยมิได้นำตัวผู้เชี่ยวชาญมาเบิกความอธิบายประกอบรายงานนั้นว่ามีความเป็นมาอย่างไรกับทั้งทำให้อีกฝ่ายไม่มีโอกาสถามค้านผู้เชี่ยวชาญด้วยดังนี้ ลำพังรายการการตรวจพิสูจน์ดังกล่าวจึงไม่มีน้ำหนักพอที่จะหักล้างประจักษ์พยานอีกฝ่ายได้ สำเนาหนังสือราชการที่เจ้าหน้าที่รับรองความถูกต้อง ซึ่งส่งเข้ามาในคดีตามที่คู่ความอ้างเป็นพยานไว้โดยชอบแล้ว ดังนี้คู่ความที่อ้างไม่จำต้องสืบพยานบุคคลประกอบ สำเนาหนังสือราชการดังกล่าวรับฟังได้เหมือนต้นฉบับ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93(3) โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 3 ที่ 4 ในฐานะทายาทโดยธรรมของนาง ค. เจ้ามรดกซึ่งเป็นหนี้เงินกู้โจทก์อยู่และได้ถึงแก่กรรมลง ดังนี้ โจทก์มีเพียงสิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้เอาจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้เท่าที่ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้รับศาลจึงไม่จำต้องกล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าให้จำเลยที่ 3 ที่ 4รับผิดต่อโจทก์ไม่เกินจำนวนทรัพย์มรดกที่ได้รับจากเจ้ามรดกเพราะเป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากันในชั้นบังคับคดี.
of 2