คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 117

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15503/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่ในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาการยื่นคำร้องและผลของการส่งหมายเรียก
กระบวนพิจารณาในกรณีขอให้พิจารณาคดีใหม่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 และการยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่นั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา บัญญัติให้ยื่นต่อศาลภายในสิบห้าวันนับจากวันที่ได้ส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งให้แก่จำเลยที่ขาดนัดยื่นคำให้การ ซึ่งในคดีล้มละลายแม้จะไม่มีการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังเช่นในคดีแพ่งก็ตาม แต่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหมายเรียกไปยังจำเลยเพื่อไปให้การเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 117 ถือเสมือนว่าเป็นการส่งคำบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งจำเลยมีสิทธิยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายในกำหนด 15 วัน นับแต่ได้รับหมายเรียกดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: แม้ศาลสั่งปิดคดี แต่หากเจ้าหนี้ยังต้องสอบสวนทรัพย์สิน คดีอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 กำหนดให้บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองวันที่ 28 เมษายน2538 ก่อนวันที่ พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับและศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดวันที่ 4 ตุลาคม2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายวันที่ 19 มิถุนายน 2538โดยจำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุดทำให้คดีมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
แม้การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไปกับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดีและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินจนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 ซึ่งหากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 117 เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้เป็นการชั่วคราวและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 134 และ 160 กรณีจึงยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จะร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ไม่ได้รวมทั้งไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายเดิม แม้มีการปิดคดี หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีอำนาจหน้าที่อยู่
พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2538 ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2539 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด คดีจึงมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย อนึ่งแม้ตามหนังสือของผู้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง รายงานศาลปิดคดี ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไป กับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 หากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 117 เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ไว้เป็นการชั่วคราว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 134 และ 160 กรณียังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จึงร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35 ไม่ได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8780/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายล้มละลายเดิม แม้มีการปิดคดีชั่วคราว เนื่องจากยังมีอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 มาตรา 34 บัญญัติว่า บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คดีนี้โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2538 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองเด็ดขาดเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2538 และพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายเมื่อวันที่19 มิถุนายน 2539 จำเลยทั้งสองมิได้อุทธรณ์ คดีถึงที่สุด คดีจึงมิได้ค้างพิจารณาอยู่ในศาลในขณะจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย อนึ่งแม้ตามหนังสือของผู้ปฏิบัติราชการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง รายงานศาลปิดคดี ได้ความว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รวบรวมทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองไม่ได้และไม่มีการงานอย่างใดจะต้องกระทำต่อไป กับเจ้าหนี้ไม่คัดค้านที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลปิดคดี และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปิดคดีก็ตาม แต่ตามข้อเท็จจริงในสำนวนปรากฏว่า จำเลยที่ 2 ขัดขืนไม่ไปให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สิน จนเป็นเหตุให้ศาลชั้นต้นออกหมายจับจำเลยที่ 2 หากจับจำเลยที่ 2 ได้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะต้องสอบสวนเกี่ยวกับกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 117เพื่อประโยชน์แก่การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะใช้เป็นหลักฐานในการรวบรวมทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ประกอบกับคำสั่งปิดคดีมีผลเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆไว้เป็นการชั่วคราว และเจ้าพนักงานพิทักษ์ยังคงมีอำนาจหน้าที่บางประการตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 134 และ 160 กรณียังอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ต้องบังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับ จำเลยที่ 2 จึงร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 35ไม่ได้ และไม่มีเหตุให้เพิกถอนหมายจับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เลิกสัญญาขายฝากแล้ว ธนาคารมีสิทธิรับเงินฝากเพื่อชำระหนี้ได้
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทยจำกัดแล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปีและในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิกลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1336/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาขายฝากและการบังคับสิทธิในเงินฝากเพื่อชำระหนี้: สิทธิของธนาคารผู้รับฝากเมื่อสัญญาขายฝากถูกยกเลิก
เดิมลูกหนี้ได้เอาที่ดินอันเป็นที่ตั้งโรงงานพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างจำนองค้ำประกันการกู้เบิกเงินเกินบัญชีไว้กับธนาคารนครหลวงไทย จำกัด แล้วธนาคารนั้นได้โอนสิทธิการจำนองให้ธนาคารผู้ร้องโดยความยินยอมของลูกหนี้ ต่อจากนั้นลูกหนี้ได้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารผู้ร้องเรื่อยมา ต่อมาลูกหนี้ต้องการเงินกู้เพิ่มขึ้น จึงได้ขายฝากเครื่องจักรและอุปกรณ์ในการผลิตน้ำตาลซึ่งติดตั้งและเก็บรักษาไว้ในโรงงานของลูกหนี้ไว้กับธนาคารผู้ร้องเป็นเงิน 4 ล้านบาท มีกำหนดสามปี และในวันเดียวกันนั้นลูกหนี้ได้นำเงิน 4 ล้านบาทที่ธนาคารผู้ร้องจ่ายเป็นค่าขายฝากดังกล่าว ฝากประจำไว้กับธนาคารผู้ร้องโดยลูกหนี้ตกลงให้ธนาคารผู้ร้องมีสิทธิรับเงินตามใบฝากนี้ตลอดจนดอกเบี้ยเงินฝากแทนลูกหนี้เพื่อชดใช้บรรดาหนี้สินและภาระผูกพันทั้งมวลของลูกหนี้ซึ่งมีต่อธนาคารผู้ร้องได้โดยไม่มีเงื่อนไข ซึ่งได้บันทึกข้อความนี้ไว้ด้านหลังใบรับฝากเงินประจำดังกล่าว ต่อมาลูกหนี้ขอเบิกเงินที่ได้ฝากไว้กับธนาคารผู้ร้อง 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้จ่ายในการดำเนินงานผลิตน้ำตาล ธนาคารผู้ร้องไม่ยอมให้เบิก ลูกหนี้จึงมีหนังสือขอบอกเลิกสัญญาขายฝาก เพื่อจะได้นำหลักทรัพย์ไปใช้เป็นหลักประกันในอันที่จะได้เงินมาดำเนินงานของลูกหนี้ ธนาคารผู้ร้องยอมให้เลิกสัญญาได้ ฉะนั้น เมื่อธนาคารผู้ร้องตกลงยกเลิกการขายฝากตามที่ลูกหนี้เสนอ ธนาคารผู้ร้องย่อมมีสิทธิเอาเงินฝากดังกล่าวของลูกหนี้กลับคืนมาเป็นของธนาคารผู้ร้องได้ เพราะเมื่อคู่สัญญาได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม อนึ่ง จำนวนเงินตามใบฝากประจำก็มีอยู่เท่าจำนวนเงินที่ขายฝากไว้ ธนาคารผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ซื้อฝากก็ได้เป็นผู้รับฝากเงินจำนวนนี้จากลูกหนี้ผู้ขายฝากอยู่แล้วจึงย่อมยกเลิกใบฝากเงินนั้นเสีย โดยอาศัยสิทธิที่ลูกหนี้ได้สลักหลังใบฝากเงินนั้นไว้ นำเงินดังกล่าวชำระหนี้ค่าขายฝากได้