คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 544

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1430-1432/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: ผลกระทบจากการบอกเลิกสัญญาเช่าหลัก และสิทธิเรียกร้องเงินค่าเช่าล่วงหน้าคืน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินจากเจ้าของที่ดินเพื่อปลูกสร้างตึกแถวให้เช่า โดยเมื่อจำเลยสร้างตึกเสร็จ ตึกตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทีดิน แต่เจ้าของที่ดินยอมให้จำเลยมีสิทธิครอบครองและให้เช่าช่วงต่อไปได้ การที่โจทก์เช่าตึกรายนี้จากจำเลยจึงเป็นการเช่าช่วงโดยชอบ แต่เมื่อต่อมาเจ้าของที่ดินบอกเลิกสัญญาเช่ากับจำเลย และใช้สิทธิครอบครองตึกเพราะจำเลยผิดสัญญา จำเลยก็หมดสิทธิที่จะครอบครองและให้โจทก์เช่าช่วงได้ต่อไป ถือได้ว่าจำเลยประพฤติผิดสัญญาเช่าที่ทำไว้กับโจทก์ เพราะจำเลยไม่สามารถให้โจทก์ได้ใช้ประโยชน์ในตึกที่เช่าได้ตามสัญญา และกรณีเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยโอนกรรมสิทธิ์ตึกพิพาทให้เจ้าของที่ดินหลังจากที่จำเลยให้โจทก์เช่า จึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 เจ้าของที่ดินไม่ต้องรับเอาผลของสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยแต่ประการใด
ฟ้องเรียกเงินค่าเช่าที่ชำระให้ผู้เช่าไปล่วงหน้าคืน มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าห้องหลังหย่า: การอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่าเดิม ผู้ให้เช่าไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญา
ภริยาอยู่ในห้องพิพาทกับสามีซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเช่าจากผู้ให้เช่าต่อมาได้หย่าขาดกัน สามีแยกไปอยู่ที่อื่น โดยยอมยกห้องพิพาทให้เป็นสิทธิแก่ภริยา แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้รู้เห็นตกลงด้วย การที่ภริยาคงอยู่ในห้องเช่าต่อมาจนครบสัญญาเช่า ถือว่าเป็นการอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่า
อยู่ในห้องเช่าในฐานะเป็นบริวารของผู้เช่า ไม่ใช่ในฐานะผู้เช่าผู้ให้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกการเช่าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1423/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะผู้เช่า-บริวารหลังหย่า: สิทธิในสัญญาเช่าเดิมเป็นของผู้เช่าเดิม แม้มีการตกลงระหว่างคู่หย่า
ภริยาอยู่ในห้องพิพาทกับสามีซึ่งเป็นผู้ทำสัญญาเช่าจากผู้ให้เช่า ต่อมาได้หย่าขาดกัน สามีแยกไปอยู่ที่อื่น โดยยอมยกห้องพิพาทให้เป็นสิทธิแก่ภริยา แต่ผู้ให้เช่าไม่ได้รู้เห็นตกลงด้วย การที่ภริยาคงอยู่ในห้องเช่าต่อมาจนครบสัญญาเช่า ถือว่าเป็นการอยู่ในฐานะบริวารของผู้เช่า
อยู่ในห้องเช่าในฐานะเป็นบริวารของผู้เช่า ไม่ใช่ในฐานะผู้เช่า ผู้ให้เช่าไม่จำต้องบอกกล่าวเลิกการเช่าก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัว แม้เป็นคู่สมรสก็ไม่มีสิทธิร่วมตามสัญญา
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าแต่ผู้เดียว แม้ภรรยาจะเป็นผู้เช่า สามีก็เป็นบุคคลภายนอก จะเข้ามามีสิทธิด้วยตามสัญญาเช่าไม่ได้และถือไม่ได้ว่าสามีหรือภรรยาซึ่งลงชื่อในสัญญาเช่า ได้ทำการเพื่อทั้งสองฝ่าย
แม้จะถือว่าสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แต่ก็เป็นสิทธิตามสัญญาอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว การโอนสิทธิการเช่าของภรรยาให้แก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของภรรยาแต่ผู้เดียว ไม่ต้องรับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1778/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า แม้เป็นสามีภรรยาก็ไม่สามารถอ้างสิทธิร่วมกันได้
สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่าแต่ผู้เดียว แม้ภรรยาจะเป็นผู้เช่า สามีก็เป็นบุคคลภายนอก จะเข้ามามีสิทธิด้วยตามสัญญาเช่าไม่ได้ และถือไม่ได้ว่าสามีหรือภรรยาซึ่งลงชื่อในสัญญาเช่า ได้ทำการเพื่อทั้งสองฝ่าย
แม้จะถือว่าสิทธิการเช่าเป็นทรัพย์สิน แต่ก็เป็นสิทธิตามสัญญาอันเป็นสิทธิเฉพาะตัว การโอนสิทธิการเช่าของภรรยาให้แก่บุคคลอื่น ย่อมเป็นสิทธิของภรรยาแต่ผู้เดียวไม่ต้องรับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการมีอำนาจฟ้องคดี เมื่อผู้เช่าไม่สามารถเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าได้
ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องพิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้อื่นซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ร่วม จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ กับโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่โจทก์เช่าห้องรายพิพาทจากผู้ให้เช่าแล้วเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าไม่ได้โดยมีผู้ขัดขวางโจทก์หามีสิทธิจะฟ้องขับไล่โดยลำพังตนเองไม่ แต่ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 และเมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้โดยได้ขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยแล้วโจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
(อ้างฎีกาที่ 676 ถึง 689/2498)
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวแต่ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
ในชั้นแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้อ้างเหตุความจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(3) ขึ้นมาศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างเหตุว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าห้องรายพิพาทมาจากผู้ให้เช่า แต่โจทก์เข้าครอบครองห้องรายพิพาทไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หากศาลไม่เรียกเจ้าของห้องเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย หากโจทก์แพ้คดีโจทก์จะไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากใครได้ ดังนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งใหม่และสั่งอนุญาตให้หมายเรียกเจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1053/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จำเลยที่เข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าโดยไม่สุจริต และอำนาจโจทก์ในการขอให้ผู้ให้เช่าเข้าร่วมเป็นโจทก์
ทรัพย์สินซึ่งเช่านั้น ผู้เช่าจะให้เช่าช่วงไม่ได้ เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาเช่า
โจทก์ร่วมเป็นเจ้าของห้องพิพาท จำเลยเป็นบริวารของผู้อื่นซึ่งไม่ได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ร่วม จึงไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยได้
การที่โจทก์เช่าห้องรายพิพาทจากผู้ให้เช่าแล้วเข้าครอบครองทรัพย์ที่เช่าไม่ได้โดยมีผู้ขัดขวาง โจทก์หามีสิทธิจะฟ้องขับไล่โดยลำพังตนเองไม่ แต่ชอบที่จะขอให้ศาลเรียกผู้ให้เช่าเข้ามาร่วมเป็นโจทก์ด้วยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 477 และ 549 และเมื่อโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้โดยได้ขอให้เจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วยแล้ว โจทก์และโจทก์ร่วมจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ (อ้างฎีกาที่ 676 ถึง 689/2498)
ประเด็นที่มิได้ยกขึ้นมาว่ากล่าวแต่ในศาลชั้นต้นจะยกขึ้นมาในชั้นฎีกาไม่ได้
ในชั้นแรก โจทก์ยื่นคำร้องขอให้เรียกผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยไม่ได้อ้างเหตุความจำเป็นอย่างหนึ่งอย่างใดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(3) ขึ้นมาศาลชั้นต้นจึงสั่งให้ยกคำร้องของโจทก์ ต่อมาโจทก์ได้ยื่นคำร้องอ้างเหตุว่าโจทก์ได้ทำสัญญาเช่าห้องรายพิพาทมาจากผู้ให้เช่า แต่โจทก์เข้าครอบครองห้องพิพาทไม่ได้เพราะจำเลยไม่ยอมออกไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย หากศาลไม่เรียกเจ้าของห้องเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมด้วย หากโจทก์แพ้คดีโจทก์จะไม่สามารถเรียกร้องเอาค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากใครได้ ดังนี้ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งใหม่และสั่งอนุญาตให้หมายเรียกเจ้าของผู้ให้เช่าเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่ากรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงและการอุทธรณ์ฎีกาข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัด
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงนั้นให้ย่อมจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกมิได้ เพราะข้อเท็จจริงนั้นมิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249
ในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า โดยเอาห้องพิพาทไปให้เช่าช่วงอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา544 นั้น การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่จำต้องกำหนดให้เวลาผู้เช่าเหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 560 และ 566

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาเช่ากรณีผิดสัญญาเช่าช่วง และการอุทธรณ์ฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์
คดีที่ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงและศาลอุทธรณ์ก็ไม่รับวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงนั้นให้ ย่อมจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงอีกมิได้ เพราะข้อเท็จจริงนั้นมิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249
ในกรณีที่ผู้เช่าผิดสัญญาเช่า โดยเอาห้องพิพาทไปให้เช่าช่วงอันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544 นั้น การบอกเลิกสัญญาเช่าไม่จำต้องกำหนดให้เวลาผู้เช่าเหมือนดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 560 และ 566.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1003/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินจากการยืมเงินเพื่อปลูกสร้าง: การโอนสิทธิยังไม่สมบูรณ์แบบ
จำเลยดำเนินการปลูกสร้างแต่ยังไม่สำเร็จบริบูรณ์เพราะขาดเงิน จำเลยจึงยืมเงินผู้ร้องโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะทำการปลูกสร้างต่อไปให้แล้วเสร็จ ตึกแถวที่ปลูกสร้างนี้จำเลยจะเป็นผู้จัดหาผู้เช่าเข้ามาเช่าโดยตกลงทำสัญญากับผู้ร้องแต่ละห้อง และเจ้าของที่ดินได้ให้ความยินยอมด้วย จำเลยกับผู้ร้องยังได้ตกลงกันอีกว่า ถ้าจำเลยชำระเงินที่ยืมคืนเมื่อใด ผู้ร้องจะโอนสิทธิในการปลูกสร้าง รวมทั้งสิทธิให้เช่าตึกแถวแก่จำเลยทันที ผู้ร้องยังรับรองต่อไปด้วยว่า ถ้าจำเลยสร้างไม่เสร็จ ผู้ร้องจะเป็นผู้สร้างและออกทุนเองแทนจำเลย ปรากฏว่าจำเลยสร้างไม่เสร็จ ผู้ร้องจึงต้องปลูกสร้างต่อจนเสร็จ ข้อตกลงดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องคงมีสิทธิเพียงเป็นผู้ทำการปลูกสร้างต่อไป รวมทั้งสิทธิที่จะทำสัญญาเช่ากับผู้เช่าที่จำเลยจัดหามาเท่านั้น ส่วนกรรมสิทธิ์และสิทธิในการจัดหาคนมาเช่าก็ยังคงเป็นของจำเลยอยู่ตามเดิมและไม่เป็นการโอนสิทธิของจำเลยให้ผู้ร้องโดยเด็ดขาด ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องขัดทรัพย์.
of 22