พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสิทธิการเช่าเมื่อผู้เช่าเสียชีวิต และขอบเขตของสิทธิการโอนการเช่าตามสัญญา
การเช่าทรัพย์สินนั้นปกติฝ่ายผู้ให้เช่าย่อมเพ่งเล็งถึงคุณสมบัติของผู้เช่าว่าจะสมควรได้รับความไว้วางใจในการใช้ทรัพย์สินที่เช่าและในการดูแลทรัพย์สินที่เช่าหรือไม่ฉะนั้นสิทธิของผู้เช่าจึงมีสภาพเป็นการเฉพาะตัวเมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าเป็นอันระงับไปไม่ตกทอดไปถึงทายาทที่สัญญาเช่าข้อ4ระบุว่าในระหว่างสัญญาเช่ายังไม่ครบกำหนดอายุสัญญาผู้เข่ามีสิทธิที่จะโอนการเช่าให้แก่ผู้อื่นได้แต่ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินให้แก่ผู้ให้เช่านั้นเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับการโอนการเช่าในระหว่างที่ผู้ให้เช่าและผู้เช่ายังมีชีวิตอยู่ซึ่งอาจทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา544และเป็นเพียงบุคคลสิทธิผูกพันเฉพาะคู่สัญญาหาได้ตกทอดมายังจำเลยแต่อย่างใดไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9544/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าร่วมกัน: ผู้เช่าร่วมรับผิดชอบการผิดสัญญาของผู้อื่น
จำเลยทั้งห้าได้สิทธิการเช่าในอาคารพิพาทต่อจากบิดามารดาซึ่งได้เช่าอาคารพิพาททั้งหลังจากโจทก์ มิได้แบ่งแยกว่าจำเลยคนใดเช่าส่วนใดของอาคารพิพาทนั้นและจำเลยทั้งห้ามิได้ให้การปฏิเสธว่ามิได้ร่วมกันเช่าอาคารพิพาท จำเลยทั้งห้าจึงต้องมีหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาเช่านั้นร่วมกันต่อโจทก์ จำเลยที่ 5 นำอาคารพิพาทบางส่วนไปให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ถือว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1ถึงที่ 4 ได้ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 5 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9544/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าร่วมกัน การผิดสัญญาเช่าช่วง และความรับผิดของผู้เช่าร่วม
จำเลยทั้งห้าเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน เมื่อปี 2508บิดามารดาของจำเลยทั้งห้าได้ปลูกสร้างอาคารพิพาทในที่ดินของโจทก์ แล้วยกให้แก่โจทก์โดยมีสิทธิเช่าอยู่ได้นาน 15 ปี เมื่อครบกำหนดแล้วบิดามารดาของจำเลยทั้งห้าก็ยังคงเช่าอยู่ต่อมาจนกระทั่งบิดาถึงแก่กรรม จำเลยทั้งห้าเป็นผู้เช่าต่อโดยเป็นผู้ทำสัญญาเช่าโดยตรงกับโจทก์ จำเลยทั้งห้าได้สิทธิการเช่าในอาคารพิพาทต่อจากบิดามารดาซึ่งได้เช่าอาคารพิพาททั้งหลังจากโจทก์ มิได้แบ่งแยกว่าจำเลยคนใดเช่าส่วนใดของอาคารพิพาท ดังนี้จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งห้าร่วมกันเช่าอาคารพิพาทจากโจทก์ตามฟ้อง จำเลยทั้งห้าจึงต้องมีหน้าที่และความรับผิดตามสัญญาเช่านั้นร่วมกันต่อโจทก์ การที่จำเลยที่ 5 นำอาคารพิพาทบางส่วนไปให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ ซึ่งเป็นการผิดสัญญาเช่านั้น ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นผู้ผิดสัญญาเช่าด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 เป็นคดีนี้ได้ ส่วนการกระทำของจำเลยที่ 5 ก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 อย่างไรก็ต้องไปว่ากล่าวกันต่างหากเป็นอีกเรื่องหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงและการโอนสิทธิเช่าหลังเลิกบริษัท: สิทธิของผู้ให้เช่าช่วงและผู้รับโอน
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้ว แต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่จะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชี โจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และ อ.ได้
แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับ ด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่า ด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดี กำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดี หรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของ ด.ก็ตาม ล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.ทั้งสิ้น คู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้ เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้น หาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ม.และ อ. ข้อ 6 และ ข้อ 7 แล้ว จะเห็นได้ว่าในข้อ 7 นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้ แต่ในข้อ 6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่น จะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ 2,000 บาท ดังนั้น ในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรง แต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่ สัญญาระหว่างโจทก์กับ ด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่า โจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับ ม.และ อ.อยู่ ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่า การโอนสิทธิการเช่าให้ ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.เป็นบุตรและผู้จัดการ-มรดกของ ด.ผู้เช่าช่วง เมื่อ ด.ถึงแก่กรรมไป โจทก์และ ม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับ ด.ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.เลิกกันไปเพราะความตายของ ด.แล้ว โจทก์ยินยอมให้ ม.สืบสิทธิของ ด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของ ม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตาม ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ 1259 (2)(3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับ ด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่า ด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดี กำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดี หรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของ ด.ก็ตาม ล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.ทั้งสิ้น คู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้ เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้น หาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับ ม.และ อ. ข้อ 6 และ ข้อ 7 แล้ว จะเห็นได้ว่าในข้อ 7 นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้ แต่ในข้อ 6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่น จะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ 2,000 บาท ดังนั้น ในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรง แต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่ สัญญาระหว่างโจทก์กับ ด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่า โจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับ ม.และ อ.อยู่ ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้
แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่า การโอนสิทธิการเช่าให้ ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไร แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ม.เป็นบุตรและผู้จัดการ-มรดกของ ด.ผู้เช่าช่วง เมื่อ ด.ถึงแก่กรรมไป โจทก์และ ม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับ ด.ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับ ด.เลิกกันไปเพราะความตายของ ด.แล้ว โจทก์ยินยอมให้ ม.สืบสิทธิของ ด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของ ด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของ ม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตาม ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1250 และ 1259 (2)(3) โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2037/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สภาพการเป็นนิติบุคคลหลังเลิกบริษัท สิทธิในการเช่าช่วง และการโอนสิทธิการเช่าเพื่อชำระบัญชี
แม้โจทก์จะถูกศาลสั่งให้เลิกบริษัทแล้วแต่ก็ยังหาได้สิ้นสภาพการเป็นนิติบุคคลไปทันทีไม่ว่าจะยังคงมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1249เมื่อโจทก์ยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่และยังอยู่ในระหว่างการชำระบัญชีโจทก์ก็ย่อมจะรับสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้กับม. และอ. ได้ แม้ในสัญญาเช่าช่วงอาคารพิพาทระหว่างโจทก์โดยผู้ชำระบัญชีผู้ให้เช่าช่วงกับด.ผู้เช่าช่วงจะมีข้อตกลงว่าด.ให้เงินค่าตอบแทนแก่โจทก์ก็ดีกำหนดให้อายุของสัญญาเช่าช่วงเท่ากับอายุของสัญญาเช่าที่เหลืออยู่จากการที่โจทก์ทำสัญญาเช่าเดิมก็ดีหรือกำหนดให้สิทธิและหน้าที่ซึ่งโจทก์มีอยู่ตามสัญญาซึ่งเดิมตกเป็นของด.ก็ตามล้วนแต่เป็นข้อตกลงอันเกิดจากสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด.ทั้งสิ้นคู่สัญญาย่อมทำข้อตกลงให้ผูกพันกันได้เจตนาของคู่สัญญาให้มีผลผูกพันอย่างการเช่าช่วงก็ย่อมต้องเป็นไปตามเจตนาของคู่สัญญานั้นหาทำให้ข้อความในสัญญาแปรเปลี่ยนไปเป็นการขายหรือโอนสิทธิการเช่าไม่ยิ่งเมื่อพิจารณาจากสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับม.และอ. ข้อ6และข้อ7แล้วจะเห็นได้ว่าในข้อ7นั้นเป็นกรณีที่ผู้ให้เช่าตกลงยอมให้ผู้เช่านำอาคารที่เช่าบางส่วนหรือทั้งหมดให้บุคคลอื่นเช่าช่วงได้แต่ในข้อ6เป็นกรณีที่ผู้เช่าจะโอนสิทธิให้บุคคลอื่นจะต้องจ่ายค่าแก้ไขสัญญาเช่าให้ผู้ให้เช่าครั้งละ2,000บาทดังนั้นในกรณีโอนสิทธิการเช่าจึงต้องมีการแก้ไขสัญญาให้ผู้ที่จะรับโอนสิทธิการเช่าเข้าเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงแต่โจทก์หาได้แก้ไขสัญญาให้ด.ไปผูกพันเป็นคู่สัญญากับผู้ให้เช่าโดยตรงไม่สัญญาระหว่างโจทก์กับด.จึงมิใช่การโอนสิทธิการเช่าโจทก์ยังมีสิทธิในฐานะคู่สัญญากับม. และอ. อยู่ย่อมอ้างถึงสิทธิตามสัญญาเช่าเดิมที่ทำไว้นั้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้นำสืบอธิบายว่าการโอนสิทธิการเช่าให้ม.เกี่ยวข้องกับการชำระบัญชีอย่างไรแต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม.เป็นบุตรและผู้จัดการมรดกของด.ผู้เช่าช่วงเมื่อด.ถึงแก่กรรมไปโจทก์และม.ยังมีเจตนาจะให้มีความผูกพันกันตามสัญญาเช่าช่วงที่โจทก์ทำไว้กับด.ต่อไปไม่ว่าจะเป็นเพราะสัญญาเช่าช่วงระหว่างโจทก์กับด. เลิกกันไปเพราะความตายของด.แล้วโจทก์ยินยอมให้ม.สืบสิทธิของด.ต่อไปในฐานะผู้จัดการมรดกของด.โดยวิธีโอนสิทธิการเช่าของโจทก์ให้เลยทีเดียวหรือในฐานะส่วนตัวของม.ที่ขอโอนสิทธิการเช่ากับโจทก์ก็ตามผู้ชำระบัญชีของโจทก์ย่อมมีอำนาจกระทำได้เพราะเป็นการจำหน่ายสิทธิในการเช่าซึ่งเป็นทรัพย์สินและเป็นการชำระสะสางกิจการของโจทก์ให้เสร็จสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1250และ1259(2)(3)โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่ากรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้ให้เช่ามีอำนาจฟ้องขับไล่ได้
กรณีที่ผู้เช่าประพฤติ ผิดสัญญาเช่าด้วยการนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงโดย ไม่มี ข้อตกลงให้ทำได้ไว้ใน สัญญาเช่า ผู้ให้เช่าชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา544วรรคสองซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วกรณีดังกล่าวมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา387แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นบททั่วไปว่าด้วยการเลิกสัญญาทั้งสัญญาเช่าก็ระบุไว้ชัดแจ้งว่าผู้ให้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าได้ทันทีหากผู้เช่าผิดสัญญาเช่าข้อใดข้อหนึ่งดังนั้นก่อนบอกเลิกสัญญาเช่าและก่อนฟ้องคดีโจทก์ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่1ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาเช่าภายในระยะเวลาอันสมควรตามที่โจทก์กำหนดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1050/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาเช่ากรณีผู้เช่าให้เช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอม ผู้ให้เช่ามีอำนาจฟ้องขับไล่ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าว
กรณีที่ผู้เช่าประพฤติผิดสัญญาเช่าด้วยการนำทรัพย์สินที่เช่าไปให้ผู้อื่นเช่าช่วง โดยไม่มีข้อตกลงให้ทำได้ไว้ในสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าชอบที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 544 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 387ซึ่งเป็นบททั่วไปว่าด้วยการเลิกสัญญา ดังนั้น ก่อนบอกเลิกสัญญาเช่าและก่อนฟ้องคดี โจทก์ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวให้จำเลยที่ 1 ปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาเช่าภายในระยะเวลาอันสมควรตามที่โจทก์กำหนดเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสิทธิการเช่า: การบังคับให้โอนสิทธิการเช่าและการแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่า
สัญญาขายสิทธิการเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยจำเลยเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะเรียกร้องเอาราคาค่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันก็เป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ และเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระราคาค่ารับโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมายเมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6444/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายสิทธิการเช่า: หน้าที่ของคู่สัญญาและการบังคับตามสัญญา
สัญญาขายสิทธิการเช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งก่อให้เกิดหนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยโดยจำเลยเป็นเจ้าหนี้ในการที่จะเรียกร้องเอาราคาค่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ ในขณะเดียวกันก็เป็นลูกหนี้ในการที่จะต้องแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยในการที่จะเรียกร้องให้จำเลยดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ และเป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระราคาค่ารับโอนสิทธิการเช่าให้แก่จำเลย และข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยจึงเป็นสัญญาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่ดำเนินการโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้
การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
การโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทจะมีผลต่อเมื่อผู้ให้เช่ายินยอมเสียก่อนจึงจะโอนกันได้ จะถือเอาคำพิพากษาบังคับผู้ให้เช่ายอมให้โจทก์เช่าห้องพิพาทไม่ได้ ต้องพิพากษาให้จำเลยแสดงเจตนาต่อผู้ให้เช่ายอมโอนสิทธิการเช่าให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วง: ฝ่ายใดผิดสัญญาเมื่อมีคดีความและไม่จดทะเบียน, การคืนเงินค่าตอบแทน
โจทก์ทำสัญญาเช่าช่วงอาคารจากจำเลยทั้งสอง และตกลงจะไปจดทะเบียนการเช่าช่วงโดยทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในการที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้กำหนดวันที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงแล้ว เป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาไปแล้วทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ให้เช่าเดิมฟ้องขับไล่ออกจากทรัพย์ที่เช่าและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และผู้ให้เช่าเดิมได้คัดค้านการให้เช่าช่วงนั้น ไม่อาจจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแต่ประการใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์