คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 544

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 212 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5434/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง: ฝ่ายใดผิดสัญญาเมื่อมีคดีความและไม่จดทะเบียน, การคืนเงินค่าตอบแทน
โจทก์ทำสัญญาเช่าช่วงอาคารจากจำเลยทั้งสอง และตกลงจะไปจดทะเบียนการเช่าช่วงโดยทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการในการที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่และได้กำหนดวันที่จะจดทะเบียนการเช่าช่วงแล้ว เป็นการที่จำเลยได้ปฏิบัติตามสัญญาไปแล้วทุกประการ การที่จำเลยที่ 1 ถูกผู้ให้เช่าเดิมฟ้องขับไล่ออกจากทรัพย์ที่เช่าและศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ และผู้ให้เช่าเดิมได้คัดค้านการให้เช่าช่วงนั้น ไม่อาจจะถือว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาแต่ประการใดโจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญากับจำเลยที่ 1 การบอกเลิกสัญญาของโจทก์จึงเป็นการไม่ชอบ เงินที่จำเลยที่ 1 รับจากโจทก์ในวันทำสัญญาเป็นส่วนหนึ่งของเงินค่าตอบแทนการที่จำเลยที่ 1 ให้เช่าช่วง เมื่อมิได้มีการจดทะเบียนการเช่าช่วงกัน จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีสิทธิอันใดที่จะได้เงินค่าตอบแทนจากโจทก์ ชอบที่จะให้โจทก์กลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินนั้นให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าอาคารราชพัสดุ: สัญญาจองเซ้งไม่ทำให้โอนสิทธิการเช่าได้ ผู้ล้มละลายทำสัญญาโอนสิทธิการเช่าให้เจ้าหนี้ชอบ
จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้วจำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.เงินที่ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท. เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลังจึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท. จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลังและต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท. ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตามมาตรา 146.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3241/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเช่าที่จำกัด: สิทธิการจองเซ้งไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย
การที่จำเลยทำสัญญาให้ ท.จองเซ้งอาคารพิพาทที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างขึ้นในที่ดินราชพัสดุแล้วมีสิทธิให้บุคคลอื่นเช่า ก่อนที่จำเลยจะทำสัญญาเช่าอาคารพิพาทกับกระทรวงการคลังผู้ให้เช่านั้น จำเลยหาได้มีสิทธิการเช่าที่จะโอนให้แก่ ท.ได้ไม่ แม้สัญญาระหว่างจำเลยกับ ท.จะระบุว่าเป็นสัญญาจองเซ้งอาคารพร้อมสิทธิการเช่า ก็เป็นเพียงสัญญาจองเซ้งอาคารพิพาทเท่านั้น หาใช่เป็นสัญญาโอนสิทธิการเช่าไม่ เมื่อจำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทเสร็จและได้ทำสัญญาเช่ากับกระทรวงการคลังแล้ว จำเลยก็ไม่ได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท. เงินที่ ท.ชำระให้แก่จำเลยจึงเป็นเงินค่าจองเซ้งอาคารพิพาทซึ่งคาดว่าจะได้สิทธิการเช่าต่อไปเท่านั้น หาใช่เป็นการชำระค่าโอนสิทธิการเช่าไม่ การที่ ท.เข้าอยู่ในอาคารพิพาทและชำระค่าเช่าให้แก่กระทรวงการคลัง จึงเป็นการอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลยและทำแทนจำเลย ท.จึงไม่ได้สิทธิการเช่าอาคารพิพาท เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้นำสิทธิการเช่าอาคารพิพาทไปวางเป็นประกันหนี้ไว้แก่ผู้ร้อง โดยได้รับความยินยอมจากกระทรวงการคลัง และต่อมาจำเลยได้ตกลงโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวตีใช้หนี้ให้แก่ผู้ร้องโดยชอบแล้ว สิทธิการจองเซ้งอาคารพิพาทระหว่างจำเลยกับ ท.จึงมิใช่สิทธิตามสัญญาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องยอมปฏิบัติ ตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้โอนสิทธิการเช่าอาคารพิพาทให้แก่ ท.โดยให้ ท.ชำระเงินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มขึ้นอีกบางส่วนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายย่อมมีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวเสียได้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าที่ดินต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน แม้มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับบุคคลภายนอกก็ไม่ผูกพันเจ้าของที่ดิน
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 เช่าที่ดินของ ม. มาปลูกสร้างโรงเรียน แล้วจำเลยที่ 1ทำสัญญาขายฝากอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1ที่ 2 ทำสัญญาเช่าอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าหากไม่ไถ่คืนยอมให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. ตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดจำเลยที่ 1 ไม่ไถ่คืนอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์ตกเป็นของโจทก์ แต่ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าที่ดินให้โจทก์ไม่ได้รับความยินยอมจาก ม.จึงไม่มีผลให้สิทธิการเช่าระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. โอนไปยังโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินแทนจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า และสิทธิการเช่าไม่สามารถโอนได้โดยอัตโนมัติ แม้มีข้อตกลงระหว่างผู้เช่ากับบุคคลภายนอก
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1เช่าที่ดินของ ม.มาปลูกสร้างโรงเรียน แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาขายฝากอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์แก่โจทก์ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ทำสัญญาเช่าอาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์จากโจทก์ โดยมีข้อตกลงว่าหากไม่ไถ่คืนยอมให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม.เจ้าของที่ดินตกเป็นของโจทก์ ครบกำหนดจำเลยที่ 1ไม่ไถ่คืน อาคารเรียนพร้อมอุปกรณ์ตกเป็นของโจทก์ แต่ข้อตกลงที่จำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนสิทธิการเช่าให้โจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า ไม่มีผลให้สิทธิการเช่าของจำเลยที่ 2 ผู้เช่าโอนไปยังโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าที่ดินหรือค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าที่ดินจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการเช่าต้องมีข้อตกลงในสัญญาเช่าหรือได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่า โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าหากไม่มีโอนสิทธิที่ถูกต้อง
เมื่อสัญญาเช่าที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 กับ ม. ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเรื่องการโอนการเช่าไว้ในสัญญาเช่า จำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจึงไม่มีอำนาจทำสัญญาตกลงให้สิทธิอันพึงมีตามสัญญาเช่าตกเป็นของโจทก์ โจทก์จึงไม่ได้รับโอนสิทธิการเช่าและไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทแทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2369/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาต่างตอบแทน, การเช่าช่วง, ล้มละลาย, สิทธิการเช่า, การขับไล่
เมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นมจำกัด ลูกหนี้แล้ว อำนาจในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ รวมทั้งการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมตกอยู่แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 22 ดังนั้น เมื่อมีกรณีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่า การกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิของบริษัทลูกหนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็มีอำนาจที่จะฟ้องคดีได้ เดิมจำเลยที่ 1 ออกทุนช่วยการก่อสร้างเป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท แล้วบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ ตกลงให้จำเลยที่ 1เช่าตึกอาคารและโรงงานพิพาทมีกำหนด 20 ปี ซึ่งต่อมาได้มีการจดทะเบียนการเช่าไว้ตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 16 กรกฎาคม 2513ข้อตกลงให้จำเลยที่ 1 เช่ามีกำหนด 20 ปีดังกล่าว มีลักษณะเป็นการต่างตอบแทนนอกเหนือจากสัญญาเช่าที่ได้จดทะเบียนไว้ ความผูกพันระหว่างคู่กรณีจึงมิใช่เฉพาะที่ปรากฏในสัญญาเช่าเท่านั้น แต่ต้องผูกพันต่อกันในลักษณะของสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดาดังนั้น ถึงแม้ต่อมาการจดทะเบียนการเช่าระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1 จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลบทะเบียนการเช่าในคดีที่ธนาคารกรุงไทย จำกัดฟ้องบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้และจำเลยที่ 1 เป็นจำเลยก็เป็นกรณีที่การเช่าที่จดทะเบียนไว้นั้นถูกลบไปเพื่อประโยชน์ของธนาคารกรุงไทย จำกัด เจ้าหนี้ผู้รับจำนอง ในการที่จะบังคับชำระหนี้เอาจากทรัพย์จำนอง ในทางที่มิให้มูลค่าของทรัพย์จำนองต้องลดลงเพราะมีภาระติดพันในเรื่องการเช่าที่จดทะเบียนไว้เท่านั้นไม่มีผลที่จะเป็นการยกเลิกหรือเพิกถอนข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ กับจำเลยที่ 1การที่สัญญาต่างตอบแทนระหว่างคู่กรณียังมีอยู่ แม้ต่อมาบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้เข้ามาจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ก็มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามสัญญาต่างตอบแทนของลูกหนี้ผู้ล้มละลายที่มีอยู่เดิม และแม้ว่าพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 122ได้ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาก็ตามแต่กรณีการฟ้องคดีนี้นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ใช้อำนาจตามบทกฎหมายดังกล่าว คงอ้างสิทธิในการขับไล่จำเลยที่ 1โดยอาศัยผลของคำพิพากษาที่ถึงที่สุดให้ลบสิทธิการเช่าจากทะเบียนเท่านั้นซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจนำมาอ้างเพื่อลบล้างหรือยกเลิกข้อตกลงอันเป็นการต่างตอบแทนระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ผู้ล้มละลายกับจำเลยที่ 1 ได้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงยังไม่มีอำนาจที่จะฟ้องขับไล่จำเลยที่ 1เพราะสิทธิที่จะอยู่ในที่พิพาทตามสัญญาต่างตอบแทนของจำเลยที่ 1นั้นยังมีผลบังคับอยู่ กรณีนี้ สำหรับจำเลยที่ 2 โจทก์จะขอให้ขับไล่ได้หรือไม่ก็อยู่ที่ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิให้เช่าช่วงทรัพย์ที่ตนมีข้อตกลงเป็นการต่างตอบแทนกับบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้หรือไม่ซึ่งตามสัญญาต่อท้ายสัญญาเช่าที่จดทะเบียนไว้ระบุไว้ชัดแจ้งว่า"ผู้เช่ารับว่าจะไม่เอาสถานที่เช่านี้ไปให้ผู้อื่นเช่าช่วงหรือโอนต่อไปอีกทอดหนึ่งเป็นอันขาด เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้ให้เช่าก่อน" อันเป็นการแสดงว่าข้อตกลงที่เป็นการต่างตอบแทนกันระหว่างบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้กับจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 1 จะนำทรัพย์ที่เช่าไปให้เช่าช่วงไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ยินยอมให้เช่าช่วงตามสัญญาแล้วจำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเข้ามาอยู่ในทรัพย์สินที่จำเลยที่ 1 มีสิทธิจะอยู่โดยอาศัยสัญญาต่างตอบแทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 ออกไปได้ การที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเรื่องค่าเสียหายไว้ว่า"ค่าเสียหายของโจทก์มีหรือไม่เพียงใด" ประเด็นที่กำหนดไว้ดังกล่าวจึงไม่มีข้อที่จะต้องวินิจฉัยว่ามีการปลดหนี้ค่าเช่าตามที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นมาในฎีกา เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งการกำหนดประเด็นของศาลชั้นต้นไว้ถือว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมดำเนินกระบวนพิจารณาเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้เท่านั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาข้อนี้ให้ สำหรับจำเลยที่ 3 ซึ่งเช่าช่วงตึกอาคารและโรงงานพิพาทจากจำเลยที่ 2 อีกต่อหนึ่งนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิจะนำทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัด ลูกหนี้ไปให้เช่าช่วง เมื่อมีการนำไปให้เช่าช่วงจึงเป็นการกระทำที่ไม่มีอำนาจ การที่จำเลยที่ 3เข้าไปอยู่ในอาคารอันเป็นทรัพย์ของบริษัทป๊อบผลิตภัณฑ์นม จำกัดลูกหนี้ จึงเป็นการเข้าไปอยู่โดยละเมิดตั้งแต่ต้น มิใช่จะเป็นละเมิดเมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยที่ 3 ออกจากอาคาร จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในการที่ได้เข้าไปใช้ประโยชน์ในอาคารที่พิพาทด้วยส่วนเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ฎีกาว่า ค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดเป็นหนี้รายเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 พิพาทกับโจทก์ในอีกคดีหนึ่งนั้น มิใช่ประเด็นที่ยกขึ้นว่ากันมาในศาลล่างทั้งสองศาลฎีกาไม่เห็นสมควรที่จะรับวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้เช่าช่วงที่ไม่ได้รับความยินยอม: ไม่มีอำนาจพิเศษเหนือทรัพย์สิน
ผู้ร้องเป็นผู้เช่าตึกแถวพิพาทจากจำเลย แต่มิได้เป็น ผู้เช่าช่วงโดยชอบด้วยความยินยอมจากโจทก์และเจ้าของตึกแถวพิพาท ทั้ง ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยห้ามมิให้จำเลยนำตึกแถวพิพาท ไป ให้เช่าช่วงด้วย ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลย ผู้ร้อง จึง ไม่มี อำนาจพิเศษเหนือตึกแถวพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า: อำนาจฟ้อง แม้ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สิน, การยกข้อต่อสู้ใหม่, และการส่งมอบทรัพย์สินหลังคำพิพากษา
แม้ทรัพย์สินที่ให้เช่าจะมิใช่ทรัพย์สินของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้ว ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องผูกพันตามสัญญา เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย การที่กรรมการบริษัทพ.จะมีมติให้โจทก์นำทรัพย์สินของบริษัทออกให้เช่าหรือไม่และน้องสาวโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่เช่าจะให้อำนาจโจทก์นำทรัพย์สินออกให้เช่าช่วงได้หรือไม่ มิใช่ข้อสำคัญเพราะกรณีเป็นข้อพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาในสัญญาเช่ามิใช่เป็นเรื่องการพิพาทกันระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ากับจำเลยซึ่งเป็นผู้เช่า และเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าก็มิได้โต้แย้งอำนาจของโจทก์ในการนำทรัพย์สินดังกล่าวออกให้เช่าแต่ประการใด ข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะตัวแทนของบริษัทฉ.นั้น มิได้มีอยู่ในคำให้การของจำเลย ทั้งประเด็นดังกล่าวมิใช่เป็นส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้เรื่องอำนาจฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ว่า ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยได้ส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าบางส่วนคืนแก่โจทก์แล้ว ซึ่งโจทก์แก้ฎีกาว่าไม่เคยได้รับมอบทรัพย์สินดังกล่าวคืนจากจำเลย เป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 302 วรรคแรก เมื่อศาลชั้นต้นอันเป็นศาลที่ได้พิจารณาชี้ขาดคดีในชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาดังกล่าวจำเลยจะฎีกาข้ามขั้นขึ้นมาหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 107/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องสัญญาเช่า, การบังคับคดี, และการข้ามขั้นตอนศาล
แม้ทรัพย์สินที่ให้เช่าจะมิใช่ของโจทก์ แต่เมื่อจำเลยยอมทำสัญญาเช่ากับโจทก์แล้วย่อมต้องผูกพันตามสัญญา และเมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยตามสัญญาเช่าได้ ส่วนเจ้าของทรัพย์สินจะให้อำนาจโจทก์นำทรัพย์สินออกให้เช่าหรือให้เช่าช่วงได้หรือไม่มิใช่ข้อสำคัญ เพราะมิใช่เป็นเรื่องพิพาทกันระหว่างเจ้าของทรัพย์สินกับจำเลยผู้เช่า และเจ้าของทรัพย์สินก็มิได้โต้แย้งอำนาจของโจทก์ในการนำทรัพย์สินออกให้จำเลยเช่า ข้อที่จำเลยต่อสู้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะตัวแทนของบริษัทฉ.นั้นมิได้อยู่ในคำให้การ และประเด็นข้อนี้มิใช่ส่วนหนึ่งของข้อต่อสู้ในเรื่องอำนาจฟ้อง จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะไม่รับวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าว ปัญหาว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วจำเลยได้ส่งมอบทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาเช่าคืนแก่โจทก์แล้วหรือไม่นั้น เป็นเรื่องอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นที่จะทำคำวินิจฉัยชี้ขาดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 302 วรรคแรก เมื่อศาลชั้นต้นอันเป็นศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อนี้ จำเลยจะฎีกาข้ามขั้นขึ้นมาให้ศาลฎีกาวินิจฉัยหาได้ไม่
of 22