คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลพิเศษ มิใช่เกิดจากความขัดแย้งกับทนาย หรือการประวิงคดี
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไป 7 วัน ครั้นถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ทนายจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนาย และจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วัน อ้างว่าทนายจำเลยที่ 1 ถอนตัว ไม่อาจหาทนายใหม่ได้ทัน เป็นพฤติการณ์ที่ส่อไปในทางประวิงคดี ถือไม่ได้ว่าเป็นพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย-การเลิกห้าง-ภาษีค้างชำระ: ศาลยืนฟ้องล้มละลายได้
อำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยจะมิได้ว่ากล่าวกันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้
เมื่อจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการล้มละลาย ห้างจำเลยที่ 1 ต้องเลิกกันและต้องมีการชำระบัญชี ซึ่งห้างยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการย่อมเป็นผู้ชำระบัญชีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 1251 และมีอำนาจแก้ต่างว่าต่าง ในนามห้างได้ตาม มาตรา 1259(1) โจทก์จึงฟ้องจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการให้รับผิดในหนี้ภาษีอากรได้
จำเลยที่ 3 เคยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2514 ถึง วันที่ 7 กันยายน 2526 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2528 ก่อนครบกำหนด 2 ปี นับแต่จำเลยที่ 3 ออกจากหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 3 จึงยังคงต้องรับผิดในหนี้ของห้างอยู่ ตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 10681080 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ยื่นแบบแสดงรายการการค้าไม่ครบถ้วน ส่วนที่ยื่นไว้ก็ปรากฏว่าแสดงรายการการค้าต่ำกว่ากำหนดรายรับขั้นต่ำตามที่กองภาษีการค้ากำหนดไว้เจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงมีหมายเรียกจำเลยที่ 1 ให้มาไต่สวนกับให้ส่งมอบเอกสารที่ได้ดำเนินกิจการมาให้ตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงทำการตรวจสอบและทำรายงานการตรวจสอบภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 กับประเมินภาษีในปี พ.ศ. 2522, 2523 แล้วแจ้งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ฉะนั้น ภาษีการค้าที่เจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 87 ทวิ 88 และจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในปี พ.ศ. 2519 ถึง 2521 เจ้าหน้าที่ของโจทก์ได้ มีหมายเรียกมาไต่สวนและให้ส่งเอกสารเพื่อทำการตรวจสอบ แต่จำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ไต่สวนและไม่ส่งเอกสารเจ้าพนักงานประเมินจึงได้ ประเมินและแจ้งผลการประเมินให้จำเลยที่ 1 ทราบแล้ว ฉะนั้น ภาษีเงินได้นิติบุคคลดังกล่าวจึงเป็นหนี้เด็ดขาด ตามนัยประมวลรัษฎากร มาตรา 71(1) 21 เมื่อรวมเงินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลกับภาษีเงินได้นิติบุคคล พร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแล้วรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,278,593.69 บาท จำนวนเงินดังกล่าวเป็นหนี้แน่นอนและไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2587/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย พิจารณาจากเจตนาลูกหนี้และราคาซื้อขายที่สมเหตุสมผล
ลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ทำการโอนที่ดินและตึกแถวให้แก่ผู้คัดค้านภายในสามเดือนก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่การโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านดังกล่าวเป็นการโอนที่สืบเนื่องมาจากลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินและตึกแถวให้ผู้คัดค้านไว้ตั้งแต่ก่อนโจทก์ฟ้องให้ลูกหนี้ (จำเลย) ทั้งสองเป็นบุคคลล้มละลายประมาณ 2 ปีเศษ โดยลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 จะต้องโอนที่ดินและตึกแถวแก่ผู้คัดค้านเมื่อสร้างเสร็จ ผู้คัดค้านชำระราคาแล้ว 200,000 บาท ยังเหลืออีก 200,000 บาท แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 นำที่ดินและตึกแถวไปจำนองบริษัท เครดิตฟองซิเอร์เอเซีย จำกัด ไว้ และไม่สามารถไถ่ถอนจำนองมาเพื่อโอนให้แก่ผู้คัดค้านได้ ฝ่ายผู้คัดค้านจึงได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 300,000 บาท เพื่อไถ่ถอนจำนอง ทำให้ผู้คัดค้านต้องเสียค่าโอนเกินกว่าที่สัญญากำหนดถึง 100,000 บาท การโอนดังกล่าวเป็นการโอนตามสัญญาที่ลูกหนี้จำต้องโอนให้ผู้คัดค้านอยู่แล้ว ซึ่งราคาที่ดินและตึกแถวที่ผู้คัดค้านรับโอนนั้นก็ใกล้เคียงกับราคาที่เจ้าพนักงานประเมินราคาทรัพย์ของกรมบังคับคดีประเมินไว้ในปี 2529 เป็นเงิน 545,300 บาท แต่ ปรากฏว่าผู้คัดค้านรับโอนในปี 2524 ก่อนการประเมินถึง 5 ปี แสดงว่าราคาขณะรับโอนนั้นผู้รับโอนได้ รับโอนในราคาที่สูงกว่าปกติ พฤติการณ์ดังกล่าวไม่มีข้อเท็จจริงใดส่อแสดงว่าลูกหนี้ (จำเลย) ที่ 1 มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจึงไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนตาม มาตรา 115 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2300/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการหักบัญชีชำระหนี้หลังล้มละลาย - เจ้าหนี้ได้ประโยชน์เกินควร - การชำระหนี้เป็นโมฆะ
ตาม หนังสือสัญญากู้เงินเครดิตเงินสด ข้อ 8 วรรคสอง คู่สัญญาตกลง กันว่า "ผู้กู้ยินยอมให้ธนาคารหักบัญชีเงินฝากของผู้กู้เพื่อชำระดอกเบี้ย หรือต้นเงินกู้ซึ่ง ถึง กำหนดชำระหรือถูก เรียกคืนตามสัญญา ข้อ 25 โดย ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าแต่ อย่างใด" เห็นได้ ว่าเมื่อต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ถึง กำหนดชำระนั้นเงินในบัญชีเงินฝากของจำเลยผู้กู้จะต้อง มีอยู่ ธนาคารโจทก์จึงจะหักเงินในบัญชีนั้นชำระหนี้เงินกู้หรือดอกเบี้ย ค้าง ชำระได้ แต่ ถ้า เงินในบัญชีไม่มีหรือมีแต่ ได้ หักชำระหนี้ต้นเงินกู้หรือดอกเบี้ย ที่ถึงกำหนดชำระหมดแล้ว การหักเงินชำระหนี้ตาม สัญญาข้อ 8 วรรคสองในภายหลังอีกย่อมไม่อาจกระทำได้ เพราะไม่มีเงินในบัญชีที่จะให้หัก โจทก์หักเงินในบัญชีทั้งหมดชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระแล้วจึงนำหนี้ที่คงเหลือมาฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย การที่จำเลย ส่งเงินเข้าบัญชีเงินฝากภายหลังที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายแล้วโดย จำเลยไม่มีเงินพอที่จะชำระหนี้ให้ผู้ร้องและโจทก์นำเงินในบัญชีนั้นไปหักชำระหนี้โจทก์อีก ก็เป็นการที่จำเลย นำเงินนั้นไปชำระหนี้ให้โจทก์โดยตรง จึงทำให้โจทก์ได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ดังนี้ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะมีคำขอให้ เพิกถอน การกระทำเช่นนั้นได้ การที่จำเลยนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อชำระหนี้โจทก์หลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้ว เป็นการฝ่าฝืนต่อ มาตรา 2224แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลายฯ นั้นกรณีตกเป็นโมฆะไม่มี ผลบังคับ ดังนี้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจขอให้ศาลเพิกถอน การชำระหนี้นั้นได้ การที่โจทก์ต้อง คืน เงินแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพราะ การชำระหนี้ได้ ถูก เพิกถอนนั้นเป็นไปโดย ผลของคำพิพากษา กรณี ยังถือ ไม่ ได้ว่าได้ มีการผิดนัดอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ต้อง รับผิดเรื่องดอกเบี้ย เพราะตราบใด ที่การชำระหนี้ระหว่างจำเลยกับโจทก์ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลให้เพิกถอน ก็ยังถือ ว่าเป็นการ ชำระหนี้โดย ชอบอยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดเรื่องดอกเบี้ย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2269/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลายที่เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้หนี้กลายเป็นหนี้เด็ดขาด
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านหนังสือยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เกินกำหนดสิบสี่วันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสาม จึงถือว่าหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันไปเป็นหนี้เด็ดขาดแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3910/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้เช็ค: การแสดงเจตนาในบัญชีและการเปลี่ยนตั๋วไม่ทำให้สะดุดหยุด
การที่ปรากฏในบัญชีเจ้าหนี้ที่ลูกหนี้ทำไว้ว่าลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ตามเช็คนั้น เป็นแต่เพียงหลักฐานที่ลูกหนี้ทำไว้เพื่อใช้ในการประกอบธุรกิจของตน มิใช่กระทำต่อเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ และยังถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นต่อเจ้าหนี้ อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 ส่วนการที่เจ้าหนี้ได้นำเช็คไปแสดงเจตนาขอเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินต่อบริษัท ส. เมื่อได้ความว่า บริษัท ส. ไม่ได้เป็นตัวแทนของลูกหนี้ กรณีจึงมิใช่เป็นการกระทำของลูกหนี้อันจะเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2557/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย จากการมีหนี้สินล้นพ้นตัว และไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาคดีแพ่ง จำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ย เมื่อครบกำหนดตามคำบังคับแล้ว จำเลยไม่ได้ชำระหนี้ศาลออกหมายบังคับคดี ปรากฏว่า จำเลยมีเงินฝากในบัญชีกระแสรายวันและบัญชีออมทรัพย์เหลือประมาณ 400 บาท และ 200 บาทตามลำดับ และไม่มีทรัพย์สินอื่นใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 8(5) ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5898/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนัดพิจารณาคดีล้มละลายที่ไม่เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ศาลชั้นต้นออกหมายเรียกและส่งสำเนาคำฟ้องไปยังลูกหนี้ให้ทราบก่อนวันนัดพิจารณาคดีล้มละลายน้อยกว่า 7 วัน การนัดสืบพยานโจทก์จึงมิได้เป็นไปตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ที่ศาลชั้นต้นสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาและดำเนินการสืบพยานโจทก์ไปจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบศาลอุทธรณ์สั่งเพิกถอนเสียได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง โดยมิต้องคำนึงว่าคู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ดำเนินการอันใดขึ้นใหม่หลังจากที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้วหรือไม่ เพราะมิใช่เป็นกรณีที่คู่ความยกขึ้นคัดค้านตามมาตรา 27วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ และขอบเขตการขออนุญาตตัวแทนตาม พ.ร.บ.ธุรกิจหลักทรัพย์
ปัญหาที่ว่าการมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยไม่ขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นโมฆะหรือไม่ และโจทก์ซึ่งเป็นตัวแทนประกอบการงานของจำเลยจะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในการกระทำที่จัดการงานให้จำเลยได้หรือไม่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับอำนาจฟ้อง จึงเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้เป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ จำเลยก็มีอำนาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามบทบัญญัติ มาตรา 44 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 ที่กำหนดให้การตั้งบุคคลใดเป็นตัวแทนหรือนายหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน นั้น หมายความเฉพาะการตั้งตัวแทนหรือนายหน้าเพื่อให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์เท่านั้นส่วนการมอบอำนาจให้ฟ้องคดี แม้จะถือว่าเป็นการตั้งตัวแทน ก็ไม่ต้องขออนุญาตต่อธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะเป็นอำนาจทั่วไปที่บุคคลมีอยู่ตามกฎหมาย โจทก์ฟ้องให้จำเลยล้มละลายในจำนวนหนี้ซึ่งเกิดจากการซื้อขายหลักทรัพย์ เมื่อจำเลยเป็นหนี้โจทก์เนื่องจากการเป็นตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์ตามข้อตกลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยล้มละลายอันเนื่องมาจากหนี้ที่มีอยู่นั้นได้ บทบัญญัติมาตรา175(4) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 เป็นเรื่องความรับผิดทางอาญาของตัวแทนในกิจการที่ได้กระทำในขณะที่เป็นผู้ประกอบการงานของลูกหนี้ จำเลยจะนำมากล่าวอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางนิติกรรม: ตัวแทน vs. คู่สัญญาโดยตรง ในคดีล้มละลาย
มูลหนี้ตามที่โจทก์นำมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเป็นกรณีซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งพี่ชายจำเลยได้อาศัยใช้ชื่อจำเลยเล่นหุ้น การที่จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ก็โดยในฐานะเป็นตัวแทนให้กับพี่ชาย บรรดาหนี้สินที่โจทก์อ้างมาเป็นเหตุเพื่อขอให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลาย จึงหาเป็นหนี้สินค้างชำระของจำเลยโดยตรงไม่ ดังนั้นการที่จะอ้างคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นนำสืบก็ดีหรือการนำสืบความจริงดังกล่าวฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ที่ห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารก็ดี อันเป็นการตัดรอน มิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว ย่อมขัดต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลายฯ อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยชอบที่จะเสนอพยานหลักฐานดังกล่าวได้
of 13