คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 128 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15643/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องคดีล้มละลาย: ผลต่อการสะดุดหยุดอายุความ
หนี้ที่เจ้าหนี้นำมาขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม จึงมีอายุความ 10 ปี นับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12 และ 193/32 เมื่อปรากฏว่าก่อนครบระยะเวลา 10 ปี นับจากวันที่เจ้าหนี้อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ เจ้าหนี้นำหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวไปรวมกับหนี้อื่นฟ้องลูกหนี้และลูกหนี้ร่วมรายอื่นเป็นคดีล้มละลาย จึงเป็นการฟ้องคดีเพื่อตั้งหลักฐานสิทธิเรียกร้องหรือเพื่อให้ชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (2) มีผลทำให้อายุความตามสิทธิเรียกร้องสะดุดหยุดลง ระยะเวลาที่ล่วงไปก่อนนั้นไม่นับเข้าในอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 วันที่ 30 กรกฎาคม 2552 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้คดีดังกล่าวไว้เด็ดขาด ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลว่าลูกหนี้เคยถูกศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2551 อันเป็นระยะเวลาก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้คดีดังกล่าวไว้เด็ดขาด จึงขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ วันที่ 30 สิงหาคม 2553 ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีลูกหนี้ออกจากสารบบความ กรณีมิใช่คดีเสร็จไปโดยการจำหน่ายคดีเพราะเหตุถอนฟ้องหรือทิ้งฟ้อง ที่จะให้ถือว่าอายุความไม่เคยสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/17 ดังนั้น การที่เจ้าหนี้นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งดังกล่าวมายื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ในวันที่ 6 มีนาคม 2552 หนี้ของเจ้าหนี้จึงยังไม่ขาดอายุความ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาหลังหักราคาขายทอดตลาดทรัพย์จำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4064/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แม้ใบมอบฉันทะไม่ตรงตามแบบพิมพ์ หากข้อความครบถ้วนและไม่กระทบถึงการมอบฉันทะ
แม้เจ้าหนี้จะใช้ใบมอบฉันทะไม่ถูกต้องตามแบบพิมพ์ของศาลล้มละลายกลาง ตามประกาศศาลล้มละลายกลาง ที่ 1/2542 แต่ข้อความในใบมอบฉันทะดังกล่าวก็ครบถ้วนดังเช่นข้อความในแบบพิมพ์ใบมอบฉันทะ (แบบ ล.6) ท้ายประกาศศาลล้มละลายกลางจะผิดไปก็เพียงขนาดใบมอบฉันทะของเจ้าหนี้ยาวกว่าใบมอบฉันทะตามแบบพิมพ์ที่ศาลล้มละลายกลางประกาศไว้ประมาณ 2 นิ้ว ซึ่งอาจจะเป็นเพียงไม่เรียบร้อยเท่านั้น หาได้มีผลถึงกับทำให้ใบมอบฉันทะเสียไปแต่อย่างใดไม่ และในชั้นตรวจคำร้องคัดค้านหากศาลล้มละลายกลางเห็นว่า ใบมอบฉันทะใช้กระดาษผิดขนาดไปก็ควรสั่งคืนให้เจ้าหนี้ไปทำมาใหม่ภายในเวลาที่ศาลล้มละลายกลางเห็นสมควรกำหนดก็ได้ ดังนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงสมควรรับคำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหนี้ไว้เพื่อให้ศาลล้มละลายกลางพิจารณาดำเนินการต่อไปตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิจัดการทรัพย์สินก่อนล้มละลายขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าข้อกล่าวอ้างไม่ชัดเจน
การที่จำเลยยื่นคำร้องอ้างว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าไปจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ก่อนที่ศาลจะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายอาจจะเป็นการจำกัดสิทธิของจำเลยในการจัดการทรัพย์สินของตนเอง ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 29 วรรคหนึ่งนั้น ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวไม่เป็นการโต้แย้งที่ชัดแจ้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและไม่อาจถือได้ว่าเป็นการโต้แย้งโดยชัดแจ้งว่า พระราชบัญญัติล้มละลายฯ ทุกมาตราให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้เข้าจัดการทรัพย์สินของตนขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญดังกล่าว จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องรอการพิจารณาพิพากษาไว้ชั่วคราวและส่งความเห็นของจำเลยไปศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4481/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีอาญาของบุคคลล้มละลาย แม้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ก็ต้องรับผิดชอบการกระทำผิดก่อนหน้านี้
ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าบุคคลที่ถูกพิทักษ์ทรัพย์ ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีในทางอาญาแทนโดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ได้ร่วมสั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสามฉบับให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2540 และธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช็คทั้งสามฉบับเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2540 แต่จำเลยที่ 2 ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2541 การกระทำผิดของจำเลยที่ 2ในคดีนี้จึงเกิดขึ้นก่อนจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์โดยไม่มีเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ามาดำเนินคดีแทนจำเลยจึงชอบแล้ว เช็คแต่ละฉบับที่จำเลยทั้งสองร่วมกันสั่งจ่ายให้โจทก์ มีจำนวนเงินสูง และจำเลยทั้งสองไม่ได้ผ่อนชำระหนี้ ตามเช็คให้โจทก์ตามที่ได้ตกลงกันไว้ แม้ว่าโจทก์จะยื่นขอ รับชำระหนี้ตามเช็คทั้งสามฉบับต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้วก็ไม่ได้หมายความว่าโจทก์ไม่ประสงค์ที่จะดำเนินคดีนี้ กับจำเลยทั้งสองอีกต่อไป จึงไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษให้จำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1885/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ความสามารถในการชำระหนี้ แม้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ศาลพิจารณาจากรายได้และพฤติการณ์
เมื่อโจทก์บังคับคดีแล้ว จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระเงินให้แก่ โจทก์ครั้งละ 10,000 บาทบ้าง ครั้งละ 15,000 บาทบ้างเป็นระยะเวลานานถึง 13 ครั้ง แสดงว่าจำเลยทั้งสองได้ขวนขวายรวบรวมเงินที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ยังมิได้ละเลยที่จะไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาแม้จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ แต่การที่จะให้บุคคลใดสมควรเป็นบุคคลล้มละลายนั้น ใช่แต่ฟังว่าลูกหนี้เป็นหนี้แล้วต้องเป็นบุคคลล้มละลายเสมอไป ทั้งพฤติการณ์ที่จำเลยทั้งสองเป็นหนี้โจทก์ก็สืบเนื่องมาจาก การค้าขายขาดทุน ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองประกอบกิจการ หรือก่อหนี้โดยทุจริตหรือประพฤติเล่นการพนัน จำเลยทั้งสอง มิได้เป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่น ๆ อีก โดยสภาพหากให้จำเลยทั้งสองต้องเป็นบุคคลล้มละลายแล้ว นอกจากจำเลยทั้งสองต้อง ออกจากการทำงาน จำเลยทั้งสองยังต้องขาดสภาพที่จะหาเงิน มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์และยังก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ ครอบครัวทั้งหมดอีกด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองประกอบอาชีพเป็นหลักแหล่งมีที่ทำงานที่แน่นอนมีรายได้ตามภาวะเศรษฐกิจ ที่จะยังชำระหนี้ให้แก่โจทก์บางส่วนได้ ถือได้ว่าจำเลยทั้งสอง ยังมีความสามารถในการรวบรวมเงินชำระหนี้ กรณีจึงเป็นเหตุอื่น ที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ (จำเลยทั้งสอง) ล้มละลายตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันศาลมีคำสั่งเพิกถอน
การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบ และจะถือว่ามีการผิดนัดกันแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องล้มละลายของผู้กู้ยืมเงินตามพรบ.การกู้ยืมเงินฯ และการพิสูจน์การมีส่วนร่วมในการกระทำผิด
เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 อยู่ในฐานะเป็นผู้กู้ยืมเงิน และได้ตกเป็นผู้ต้องหาตาม พ.ร.ก. การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนพ.ศ. 2527 มาตรา 4,5 ทั้งได้ถูกฟ้องต่อศาลอาญาไว้แล้วพนักงานอัยการย่อมฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลายได้ตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 10 ส่วนจำเลยที่ 6 เมื่อมิได้เป็นผู้กู้ยืมเงิน พนักงานอัยการย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 6 ให้เป็นบุคคลล้มละลายตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว มาตรา 10.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการคัดค้านการขายทอดตลาดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ย่อมหมดอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เนื่องจากกฎหมายบัญญัติให้อำนาจดังกล่าวตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว การที่จำเลยซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินของตนในคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22(3) จำเลยหามีอำนาจที่จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเข้ามาด้วยตนเองไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5590/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องรอการประเมินภาษีจากเจ้าหน้าที่ และห้ามคิดดอกเบี้ยซ้อนจากเงินเพิ่ม
แม้ลูกหนี้จะมีหน้าที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นรายปีก็ตาม แต่จะต้องเสียเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ประเมินภาษีและแจ้งรายการประเมินให้ลูกหนี้ทราบแล้วตามความในภาค 3เรื่องวิธีดำเนินการประเมินและจัดเก็บภาษีแห่งพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 ซึ่งผู้รับการประเมินจะต้องเสียภาษีในกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินตามมาตรา 38ฉะนั้นเมื่อเจ้าหนี้ยังมิได้ประเมินภาษีและแจ้งให้ลูกหนี้ทราบจำนวนภาษีที่จะต้องเสีย ลูกหนี้ก็ยังไม่ต้องชำระหนี้ภาษีดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ภาษีนั้น
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 43บัญญัติทางแก้สำหรับกรณีลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระเงินค่าภาษีที่ค้างชำระไว้โดยเฉพาะแล้วว่า ผู้ค้างชำระจะต้องเสียเงินเพิ่มคิดเป็นร้อยละตามจำนวนค่าภาษีที่ค้างและมีอัตราเงินเพิ่มสูงขึ้นตามเวลาที่ค้างชำระ จึงคิดดอกเบี้ยซ้อนเข้าไปอีกในระหว่างผิดนัดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี ต่ออายุโดยปริยาย การคิดดอกเบี้ย และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนดแล้วลูกหนี้ยังคงนำเงินเข้าบัญชีและเบิกเงินไปจากบัญชี ถือว่าได้มีการต่ออายุสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีออกไปโดยไม่มีกำหนด เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันเลิกสัญญา เจ้าหนี้ได้ทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนองภายใน 30 วัน ลูกหนี้ได้รับหนังสือบอกกล่าวในวันที่ 29 มิถุนายน 2528 จึงถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2528 เจ้าหนี้จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2528
เมื่อเจ้าหนี้เป็นโจทก์ฟ้องลูกหนี้ เจ้าหนี้มีหน้าที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 149 ซึ่งเป็นความรับผิดที่โจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องจะต้องชำระต่อศาล ยังไม่เกิดมูลหนี้ระหว่างโจทก์และจำเลย เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาและให้จำเลยชำระค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์แล้วจำเลยจึงจะมีความรับผิดชั้นที่สุดสำหรับค่าฤชาธรรมเนียมตามมาตรา 161มูลหนี้ค่าฤชาธรรมเนียมจึงเกิดขึ้นตามคำพิพากษา หาใช่เกิดขึ้นเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีไม่ เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธินำค่าฤชาธรรมเนียมมาขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94.
of 13