คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 19

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6522/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันของผู้เยาว์: โมฆะหากไม่ได้รับอนุญาตจากศาล
จำเลยที่ 3 ลงลายมือชื่อในสัญญาค้ำประกันสองฉบับ เพื่อค้ำประกันหนี้ที่จำเลยที่ 1 มีต่อบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ร. เจ้าหนี้เดิม เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2540 และ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ตามลำดับ ในขณะที่จำเลยที่ 3 อายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ จึงยังไม่บรรลุนิติภาวะตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 เพราะจำเลยที่ 3 เกิดวันที่ 11 มีนาคม 2520 การทำสัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นการประกันโดยประการใด ๆ อันอาจมีผลให้จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) หรือแทนบุคคลอื่น (จำเลยที่ 1) จึงเป็นการทำนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ ซึ่งตามมาตรา 1574 (10) แห่ง ป.พ.พ. ได้บัญญัติว่า ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงพยานหลักฐานให้เห็นว่าในขณะที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกัน ผู้ใช้อำนาจปกครองของจำเลยที่ 3 ได้รับอนุญาตจากศาลให้จำเลยที่ 3 ทำสัญญาค้ำประกันได้ การทำสัญญาค้ำประกัน จึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าว ตกเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามสัญญาค้ำประกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1790/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์: ใช้กฎหมายแพ่งฯ แม้เป็นอิสลามและอยู่ในเขตพื้นที่ใช้กฎหมายอิสลาม
แม้ผู้ร้องและผู้เยาว์เป็นอิสลามศาสนิกซึ่งมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามในเขตปัตตานี นราธิวาส ยะลา และสตูล พ.ศ.2489 บัญญัติให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกบังคับแทนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการนั้น แต่คดีนี้เป็นกรณีที่ผู้ร้องขออนุญาตศาลทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 การขออนุญาตศาลดังกล่าว เป็นการคุ้มครองผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียของผู้เยาว์ อันเป็นการจำกัดสิทธิของผู้ใช้อำนาจปกครอง สภาพแห่งข้อหาจึงไม่ใช่เป็นเรื่องครอบครัวและมรดกโดยตรงที่ให้ใช้กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกการบรรลุนิติภาวะของผู้เยาว์อันเป็นเรื่องความสามารถในการทำนิติกรรมได้ด้วยตนเอง จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมพ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์ เมื่อผู้เยาว์อายุ 19 ปี จึงยังไม่พ้นจากภาวะผู้เยาว์ ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีเหตุต้องขออนุญาตศาลทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 ที่ศาลชั้นต้นใช้หลักกฎหมายอิสลามว่า บุคคลบรรลุนิติภาวะเมื่อมีอายุ 15 ปี บริบูรณ์ มายกคำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ พร้อมประเด็นอายุความสามารถของโจทก์ร่วม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องผู้เยาว์ & การขาดไร้อุปการะจากละเมิดของผู้อื่น: ศาลแก้ไขความสามารถ/พิจารณาค่าเสียหายได้
โจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อ พ.ศ. 2495 เมื่อไม่ปรากฏว่าเกิดวันใด ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 16 บัญญัติให้นับอายุตั้งแต่วันต้นแห่งปีปฏิทินหลวงซึ่งเป็นปีที่เกิด จึงต้องถือว่าโจทก์ที่ 4 เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2495 เมื่อนับถึงวันเกิดเหตุโจทก์ที่ 4 ยังเป็นผู้เยาว์ จึงมีอำนาจฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ต้องขาดไร้อุปการะ ขณะฟ้องคดีโจทก์ทั้ง 4 เป็นผู้เยาว์ ก็เป็นเพียงบกพร่องในเรื่องความสามารถ ซึ่งศาลมีอำนาจไต่สวนและแก้ไขให้บริบูรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 56 มิใช่ไม่มีอำนาจฟ้อง
เมื่อคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ที่ 4 ผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องแก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถอีก และถือได้ว่าโจทก์ที่ 4 มีอำนาจฟ้องมาแต่ต้น (อ้างฎีกาที่ 1638/2511)
เรื่องอำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1537 วรรค 2 นั้นเป็นเรื่องหนึ่ง และเรื่องการอุปการะเลี้ยงดูก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1536 ไม่ใช่แต่เพียงบิดาเท่านั้นที่มีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตร มารดาก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน
การขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรค 3 หมายถึงการขาดสิทธิในอันที่จะได้รับการอุปการะ จำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 กระทำละเมิดในทางการที่จ้าง ทำให้มารดาโจทก์ตาย โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ขาดไร้อุปการะตามกฎหมาย จึงชอบที่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้นจากจำเลยทั้งสองได้โดยไม่ต้องพิจารณาว่า บิดาโจทก์จะได้อุปการะเลี้ยงดูโจทก์อยู่หรือไม่ (อ้างฎีกาที่ 1742/2499)
การจะให้มีการวินิจฉัยปัญหาใดในคดีเรื่องใดโดยที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา เป็นอำนาจหน้าที่ของประธานศาลฎีกา คู่ความจะร้องขึ้นมาหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของหน่วยงานราชการต่อหนี้สินของกิจการสวัสดิการที่จัดตั้งขึ้นโดยไม่ใช้เงินงบประมาณ
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนมิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้นอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้นเพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค.ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหากมิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของ ร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1852/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหน่วยงานรัฐต่อหนี้สินของกิจการสงเคราะห์ที่จัดตั้งขึ้น แม้จะมิได้มีวัตถุประสงค์ในการค้า
กรมไปรษณีย์โทรเลขเป็นกรมในรัฐบาลและเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมีหน้าที่เกี่ยวกับการจัดการสื่อสาร การไปรษณีย์โทรเลข วิทยุ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน มิได้มีวัตถุประสงค์ในการประกอบการค้า โดยมีอธิบดีเป็นผู้บังคับบัญชาข้าราชการในสังกัดและรับผิดชอบในราชการของกรมตามอำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข หรือ อ.ส.ค. นั้น อธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขแต่งตั้งประธานกรรมการขึ้นเป็นผู้ดำเนินงานพร้อมด้วยคณะกรรมการและจัดตั้งร้านค้า อ.ส.ค. ขึ้น เพื่อจำหน่ายเครื่องอุปโภคบริโภคช่วยเหลือข้าราชการในกรมไปรษณีย์โทรเลข โดยมิได้ใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน และประธานกรรมการแต่งตั้งผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. ร้านค้า อ.ส.ค.นี้จึงเป็นกิจการต่างหาก มิได้อยู่ในวัตถุประสงค์และหน้าที่ของกรมไปรษณีย์โทรเลขแม้ผู้จัดการร้านค้า อ.ส.ค. จะซื้อสินค้าจากบุคคลอื่นมาในนามของร้านค้าและค้างชำระราคา กรมไปรษณีย์โทรเลขก็หาจำต้องร่วมรับผิดในหนี้สินนั้นด้วยไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1076/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์แทนผู้อื่นและสิทธิในทรัพย์มรดก โดยปราศจากผู้แทนโดยชอบธรรม
บิดาโดยพฤตินัย อยู่กินกับมารดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรส แม้จะได้ปกครองเลี้ยงดูโจทก์ตลอดมาก็ไม่อาจเป็นบิดาหรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายได้
จำเลยครอบครองทรัพย์สินแแทนโจทก์อยู่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ไม่ว่าเจตนาจะยึดถือดังกล่าวต่อไป หรือฝ่ายจำเลยครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลนอกตราบนั้นจำเลยก็ยังไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของ
โจทก์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ฟ้องเรียกมรดกเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วสามเดือนเศษ แม้เจ้ามรดกจะตายมาสิบกว่าปีแล้ว ก็ยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 760/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์แทนผู้อื่นและสิทธิในการคืนทรัพย์เมื่อผู้รับประโยชน์บรรลุนิติภาวะ โดยสถานะบิดาโดยพฤตินัยมิอาจเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม
บิดาโดยพฤตินัย อยู่กินกับมารดาโจทก์โดยมิได้จดทะเบียนสมรสแม้จะได้ปกครองเลี้ยงดูโจทก์ตลอดมาก็ไม่อาจเป็นบิดาหรือเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์โดยชอบด้วยกฎหมายได้
จำเลยครอบครองทรัพย์สินแทนโจทก์อยู่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าไม่เจตนาจะยึดถือดังกล่าวต่อไป หรือฝ่ายจำเลยครอบครองโดยสุจริตอาศัยอำนาจใหม่อันได้จากบุคคลภายนอกตราบนั้นจำเลยก็ยังไม่มีสิทธิที่จะเป็นเจ้าของ
โจทก์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรม ฟ้องเรียกมรดกเมื่อบรรลุนิติภาวะแล้วสามเดือนเศษแม้เจ้ามรดกจะตายมาสิบกว่าปีแล้ว ก็ยังไม่ขาดอายุความ