คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 252

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4470/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องขอทุเลาการบังคับ: จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรง
จำเลยอุทธรณ์คัดค้านการสั่งคำร้องขอทุเลาการบังคับของศาลอุทธรณ์ภาค 2 โดยขอให้แก้ไขหรือกลับคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 2 และอนุญาตให้จำเลยทุเลาการบังคับระหว่างอุทธรณ์โดยไม่ต้องนำค่าเสียหายตามฟ้องมาวางศาล อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับ จำเลยต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกา จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ไม่ได้ ตามความใน ป.วิ.พ. มาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1022/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากข้อเท็จจริง, อุทธรณ์ไม่สำเร็จ, คดีถึงที่สุดเมื่อไม่วางเงินตามคำพิพากษา
จำเลยยื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาเพราะต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้จำเลยนำเงินที่ต้องชำระตามคำพิพากษามาวางหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยไม่ดำเนินการดังกล่าวจนพ้นกำหนดเวลาศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา คดีย่อมถึงที่สุดไปแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยไม่อาจยื่นคำร้องขอให้คำพิพากษาเป็นโมฆะได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเพิกถอนการไม่รับฎีกาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาที่ไม่เป็นเหตุพิเศษ
วันที่ 25 ตุลาคม 2545 จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง วันที่ 31 ตุลาคม 2545 จำเลยทั้งสองยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 ว่าจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2545 จึงไม่รับ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อมาวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ว่าเพื่อให้คดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงถือกรณีการสั่งตามคำร้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 เป็นไปโดยหลงผิด จึงให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 และสั่งในฎีกาของจำเลยทั้งสองฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 ว่า เพื่อมิให้การดำเนินคดีล่าช้าเป็นผลเสียแก่คู่ความ จึงถือว่ากรณีเป็นการสั่งโดยผิดหลง อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกา สั่งใหม่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แล้วศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่า เนื่องจากศาลรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุตามอุทธรณ์อีก อุทธรณ์ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่รับ การที่ศาลชั้นต้นเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 และสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 มีลักษณะเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมย้อนหลังแทนที่จะส่งอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งตามมาตรา 252 และเหตุผลที่สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมไม่ใช่เกิดจากการผิดหลงไม่ต้องด้วยมาตรา 27 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 236 และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยที่ 1 อ้างเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน ปรากฏว่ากรรมการดังกล่าวเดินทางไปประกอบธุรกิจที่ต่างจังหวัด ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถเสนอให้ตรวจได้เหตุดังกล่าวเป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งศาลย้อนหลังและการส่งอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกาไปยังศาลฎีกา
จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวพร้อมกับมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 และไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองแล้วมีคำสั่งใหม่ให้ขยายระยะเวลาฎีกาและรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง โดยอ้างว่า เพื่อให้คดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงถือว่าคำสั่งเดิมดังกล่าวเป็นไปโดยผิดหลงนั้น มีลักษณะเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมย้อนหลังหลังจากจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง โดยเหตุผลที่สั่งเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวไม่ใช่เกิดจากการผิดหลงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เมื่อจำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นต้องส่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกามายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาและคำสั่งเพิกถอนดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 และมาตรา 236
เหตุที่จำเลยที่ 1 อ้างเพื่อขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน เป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาโดยคนอนาถา ต้องชำระเงินตามคำพิพากษาหรือหาประกัน แม้ยกเว้นค่าธรรมเนียม
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 คือนอกจากเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องชดใช้ตามมาตรา 229 มาวางศาลแล้ว จะต้องนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้นด้วย จำเลยทั้งสองได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกาแม้ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา และไม่ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงที่ต้องชดใช้มาวางศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 157 แต่บทบัญญัติดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาหรือการหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยทั้งสองวางเงินหรือหาประกันภายใน 20 วัน จำเลยทั้งสองไม่ปฏิบัติและไม่ใช่กรณีที่อาจขออนาถาได้ คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรับฎีกา, การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา, และหน้าที่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ในชั้นที่จำเลยยื่นฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 232 ให้อำนาจศาลชั้นต้นไว้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา และจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาเสียเองเป็นการไม่ชอบ และเมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ต่อมาศาลฎีกาเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาหรือไม่ แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินตามคำพิพากษาในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ทำให้คำร้องอุทธรณ์นั้นไม่ชอบ
จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นยกคำร้องเพราะจำเลยวางเงินไม่ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและมีคำสั่งใหม่ให้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับฎีกาและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาสั่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 232 ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและสั่งรับหรือไม่รับฎีกา แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา และจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเสียเองจึงเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งต่อมาอันเนื่องจากคำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาได้หรือไม่แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับฎีกา ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ยื่นคำร้องมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ต้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินตามคำพิพากษาตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 252 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเสียเองจึงเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งต่อมาอันเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงชอบแล้วและเมื่อขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยจึงต้องวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาได้หรือไม่ แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือคำสั่งให้รับฎีกา
การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ยื่นคำร้องมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ซึ่งนำมาใช้ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาด้วยตามมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาที่ไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย และการเพิ่มทุนทรัพย์โดยพลการ ทำให้ไม่สามารถฎีกาในข้อเท็จจริงได้
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน 49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาล ในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวน ทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ รับรอง หรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการ พิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้อง ของ โจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือ ให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่ง ยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้น ไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มทุนทรัพย์เพื่อฎีกาโดยไม่ได้รับอนุญาต และผลกระทบต่อการพิจารณาคดี
ศาลฎีกาวินิจฉัยคดีว่า ที่ดินพิพาทราคาไร่ละ 4,000 บาท ที่ดิน49 ไร่ 2 งาน 20 ตารางวา เป็นเงิน 198,000 บาท และโจทก์ได้เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นโดยถือทุนทรัพย์ดังกล่าว การที่โจทก์ตั้งทุนทรัพย์ไว้ในชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีการะบุทุนทรัพย์ จำนวน 250,000 บาท เป็นเรื่องที่โจทก์เพิ่มจำนวนทุนทรัพย์ขึ้นเองโดยพลการ เพื่อการใช้สิทธิฎีกาในภายหลัง ทั้ง ๆ ที่โจทก์เองทราบดีว่าราคาทรัพย์พิพาทที่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นมีเพียงใด แต่โจทก์ก็มิได้ดำเนินการให้ผู้พิพากษาในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ผู้มีอำนาจ หรืออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ได้รับรองหรืออนุญาตให้ฎีกาในข้อเท็จจริงเสียให้ถูกต้องขณะยื่นฎีกา กรณีจึงเป็นไปในลักษณะโจทก์จงใจหรือละเลยไม่ดำเนินการพิจารณาเรื่องนั้นภายในระยะเวลาซึ่งกฎหมายกำหนด ย่อมไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะดำเนินกระบวนพิจารณานี้ใหม่อีก
โจทก์ฎีกาและศาลฎีกาพิพากษายกฎีกาโจทก์ไปแล้ว ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นส่งคำร้องของโจทก์ไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์อนุญาตเป็นหนังสือให้โจทก์ฎีกาในข้อเท็จจริงอีกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่ศาลชั้นต้นไม่ยอมรับฎีกาโจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 252 โจทก์จึงใช้สิทธิฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวโดยตรงมายังศาลฎีกาไม่ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะได้สั่งรับฎีกาโจทก์ข้อนี้มา ศาลฎีกาก็ไม่วินิจฉัย
of 14