พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลเรื่องค่าขึ้นศาล ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับฎีกา การเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับ มีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฏชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาโดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกา ต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกา ที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่า ทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่ การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้น ในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลา มาเป็นเวลานานถึง 1 เดือน ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่ง ไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้ เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไป ดังนี้แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวาง ศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจาก เหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่ง ที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5721/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่นำค่าขึ้นศาลมาวางภายในกำหนดทำให้ศาลไม่รับฎีกา และคำสั่งเพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกาเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในวันเดียวกับที่โจทก์ยื่นฎีกาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายใน 15 วัน มิฉะนั้นถือว่าโจทก์ไม่ติดใจฎีกาประกอบกับมีข้อความท้ายฎีกาของโจทก์ปรากฎชัดว่าโจทก์รอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วโดยทนายโจทก์ลงชื่อเป็นผู้ฎีกา โดยโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาโดยระบุในใบมอบฉันทะว่า นอกจากโจทก์มอบฉันทะให้เสมียนทนายมายื่นฎีกาต่อศาลชั้นต้นแล้ว โจทก์ยังมอบฉันทะในเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจนเสร็จการโดยโจทก์ยอมรับผิดชอบในการที่ผู้รับมอบฉันทะได้กระทำไปทุกประการ ถือว่าโจทก์ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวในวันที่โจทก์ยื่นฎีกานั้นเอง โจทก์จะอ้างว่าโจทก์ไม่ทราบคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว เนื่องจากทนายโจทก์อยู่กรุงเทพมหานคร และแบบพิมพ์ท้ายฎีกาที่มีข้อความว่าข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วเป็นเพียงแบบฟอร์มที่ใช้ในศาลเท่านั้น โดยตัวโจทก์มิได้ลงชื่อรับทราบหาได้ไม่การที่โจทก์มิได้นำเงินค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่ขาดมาชำระต่อศาลชั้นต้นในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจนกระทั่งล่วงเลยเวลามาเป็นเวลานานถึง 1 เดือนศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 18ประกอบด้วยมาตรา 246 และ 247 แล้ว
เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 232 ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไปดังนี้ แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
เมื่อมิใช่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์โดยผิดหลงหรือเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบตามมาตรา 27 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีเหตุที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ส่งไปรับฎีกานั้นได้
เมื่อศาลชั้นต้นตรวจฎีกาของโจทก์และมีคำสั่งไม่รับฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 232 ประกอบมาตรา 247 แล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิเพียงอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 เท่านั้น และเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว คดีย่อมไม่อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะสั่งฎีกาอีกต่อไปดังนี้ แม้โจทก์จะนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ยังขาดมาวางศาลโดยอ้างในคำร้องว่าเพิ่งทราบคำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกา ก็เป็นการนำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่ขาดมาวางศาลภายหลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของโจทก์แล้ว 5 วัน และหลังจากครบกำหนดที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำเงินมาวางศาลเป็นเวลานานถึง 21 วัน ก็โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่รับฎีกาและมีคำสั่งใหม่เป็นรับฎีกาของโจทก์จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายวิธีพิจารณาความ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4361/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาเมื่อศาลอุทธรณ์ไม้ยืนตามคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ – การปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ.มาตรา 234
เมื่อคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งยืนตามคำปฎิเสธของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 วรรคแรก แต่เป็นคำสั่งในกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามป.วิ.พ.มาตรา 234 คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้
ป.วิ.พ.มาตรา 234 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
ป.วิ.พ.มาตรา 234 ที่บัญญัติว่า ถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4361/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ม.234 คือ นำเงินชำระหนี้หรือหาประกันให้ได้
เมื่อคำสั่งศาลอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น ที่สั่งไม่รับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคแรกแต่เป็นคำสั่งในกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์มิได้นำเงินมาชำระ ตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุด จำเลยจึงมีสิทธิฎีกาได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ที่บัญญัติว่าถ้าศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์ผู้อุทธรณ์คำสั่งศาลนั้นไปยังศาลอุทธรณ์โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นและนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง เมื่อปรากฏว่า จำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ มาวางศาล โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกัน ให้ไว้ต่อศาล จึงถือว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยจะฎีกาอ้างว่า เหตุที่จำเลยไม่นำเงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา เพราะกำลังมีการโต้แย้งกันอยู่และศาลมิได้มีคำสั่งหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาไม่ชอบเนื่องจากไม่ทำตามขั้นตอนการอุทธรณ์คำสั่งศาล และฎีกาพ้นกรอบเวลาที่กำหนด
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเท่ากับจำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลยเมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตจึงยังมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาของจำเลยจำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา247ประกอบมาตรา234จำเลยจะฎีกาคำสั่งที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้ฎีกาไม่ได้เพราะได้ถึงที่สุดแล้วตามมาตรา230วรรคสามและจะแปลความในฎีกาของจำเลยเป็นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาก็ไม่ได้เพราะมิได้ทำเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกาตามมาตรา252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาข้อเท็จจริงเกินกำหนด – คำสั่งไม่รับฎีกา & การยื่นคำร้อง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลย เพราะเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 จำเลยยื่นคำร้องต่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริง อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องเนื่องจากยื่นมาเกินเจ็ดวัน คำสั่งดังกล่าวนี้ย่อมเป็นที่สุดตามป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสาม หากจำเลยจะกลับมาฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาของจำเลย จำเลยก็ต้องยื่นภายใน 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 234 เมื่อล่วงเลยกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฎีกาเกินกำหนด: การแจ้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และการขอขยายระยะเวลา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง หรือถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ.มาตรา 223 เมื่อผู้ร้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมาขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาเมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมาขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกาเมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาและการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยอ้างเหตุว่าศาลชั้นต้นไม่ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟัง หรือถือไม่ได้ว่าผู้ร้องได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยชอบคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223เมื่อผู้ร้องยกเหตุดังกล่าวเป็นข้อฎีกาขึ้นมาแล้วศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยเสียเองโดยไม่ต้องย้อนสำนวน คดีนี้ได้มีการส่งหมายนัดอ่านคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์ไปให้ทนายผู้ร้องทราบโดยชอบแล้ว ส่วนคำแถลงของผู้ร้องที่ขอให้ส่งคำคู่ความ ไปยังภูมิลำเนาของผู้ร้องนั้น ปรากฏว่าผู้ร้องได้ยื่นไว้ ในคดีอื่น มิได้ยื่นไว้ในคดีนี้ ดังนั้น จึงต้องถือว่า ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้ผู้ร้องฟังโดยชอบแล้ว ไม่ชอบที่ผู้ร้องจะมา ขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องฎีกา เมื่อล่วงเลยกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น ได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ต้องยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจพิจารณา
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 กรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่ยอมรับฎีกาเพราะเหตุใดก็ตาม หากคำสั่งนั้นไม่เป็นที่พอใจของผู้ฎีกาและประสงค์จะดำเนินคดีต่อไป ก็ต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาโดยตรง เพื่อศาลฎีกาจะได้พิจารณาว่าคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกานั้นชอบหรือไม่ เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาแล้ว แทนที่จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลฎีกากลับยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ การปฏิบัติของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณาความ แต่การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยอุทธรณ์คำสั่งเกิน 10 วันแล้วนั้น กรณีหาใช่การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ยอมรับฎีกาตามมาตรา 252ดังศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่ หากแต่เป็นการสั่งโดยอาศัย ป.วิ.พ.มาตรา 232 และ 234 ซึ่งเป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับระยะเวลาอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5786/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา: ต้องยื่นต่อศาลฎีกาโดยตรง การวินิจฉัยเรื่องระยะเวลาอุทธรณ์เป็นอำนาจศาลอุทธรณ์
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา ต้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกา ในกรณีที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาแล้วแทนที่จำเลยจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลฎีกา จำเลยกลับยื่นอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยอ้างว่าจำเลยอุทธรณ์คำสั่งเกิน 10 วัน จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ ดังนี้หาใช่การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกาตามมาตรา 252 ไม่ แต่เป็นการสั่งโดยอาศัยมาตรา 232 และ 234 ซึ่งเป็นการอุทธรณ์เกี่ยวกับระยะเวลาอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงต้องรับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวของจำเลย.