พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3996/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่รับฎีกาและการอุทธรณ์คำสั่งนั้น ต้องดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่การขยายเวลายื่นฎีกา
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาและค่าทนายความที่จะใช้แทนโจทก์ออกไปอีก และต่อมามีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 นั้น เป็นคำสั่งศาลที่เกี่ยวเนื่องกับการรับหรือ ไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่เป็นเรื่องการขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 อย่างเดียว เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 จึงต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกามายังศาลฎีกา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาลและคำสั่งไม่รับฎีกา: การอุทธรณ์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา และค่าทนายความที่จะใช้แทนโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ออกไปอีก และต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 เป็นคำสั่งศาลที่เกี่ยวเนื่องกับการรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 หาใช่เป็นเรื่องการขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 อย่างเดียว แต่อย่างใดไม่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกามายังศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเกี่ยวกับการรับฎีกาและการขยายระยะเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาไปยังศาลฎีกาโดยตรง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกาและค่าทนายความที่จะใช้แทนโจทก์ให้แก่จำเลย และต่อมามีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยนั้นเป็นคำสั่งศาลที่เกี่ยวเนื่องกับการรับหรือไม่รับฎีกาของจำเลย หาใช่เป็นเรื่องการขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 อย่างเดียวไม่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งไม่รับฎีกา จำเลยต้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาไปยังศาลฎีกาตามมาตรา 252 จำเลยอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3938/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการรับฎีกา: ศาลชั้นต้นทำหน้าที่แทนศาลฎีกา การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นต่อศาลฎีกาโดยตรง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยก คำร้อง ของจำเลยในกระบวนพิจารณาชั้นรับฎีกา เป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำแทนศาลฎีกา หากจำเลยไม่พอใจก็ชอบที่จะร้องอุทธรณ์คำสั่ง ดังกล่าวต่อศาลฎีกาโดยตรงที่จำเลยอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ และศาลชั้นต้นได้ส่งอุทธรณ์ของจำเลยตรงมายังศาลฎีกานั้น พอถือได้ว่าจำเลยได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวต่อศาลฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยในปัญหาที่จำเลยอุทธรณ์มานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาวางค่าขึ้นศาลฎีกาชอบด้วยวิธีพิจารณา และสิทธิผู้เช่าที่ดินตามพ.ร.บ.ควบคุมการเช่านา
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาให้โจทก์ เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา เมื่อจำเลยไม่เห็นด้วย ก็ชอบที่จะคัดค้านต่อ ศาลฎีกาได้ การที่โจทก์ยื่นคำขอขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาโดย ทำเป็นคำแถลง มิใช่การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่ง เป็นเรื่องที่จะทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โจทก์มีความประสงค์เพียงว่า ขอให้ศาลชั้นต้นใช้ อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาชำระค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาให้ใหม่ และศาลชั้นต้นก็ได้ กำหนดเวลาให้โจทก์ได้มีโอกาสวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาได้ ต่อมาโจทก์ได้ วางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาจนครบภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาและสั่งรับฎีกาของโจทก์ภายหลังที่โจทก์วางเงินค่าขึ้นศาลชั้น ฎีกาครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วย วิธีพิจารณา ในขณะที่จำเลยที่ 2 โอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 ยังมีผลใช้ บังคับอยู่ โจทก์ทั้งสี่ซึ่ง เป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเฉพาะ ส่วนของจำเลยที่ 2 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัตินี้ แม้ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวถูก ยกเลิกโดย มาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการเช่า ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ. 2524 ก็ไม่ลบล้างสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2โอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะ ส่วนของตน ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทั้งสี่ทราบพร้อมทั้งราคาที่จะขายและวิธีการชำระเงิน โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิซื้อ ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 คืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ ในราคาและตาม วิธี การชำระเงินที่จำเลยที่ 2 ได้ ขายให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ตาม มาตรา 41วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 216/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิซื้อคืนที่ดินของผู้เช่าเมื่อมีการโอนขาย และการขยายเวลาวางเงินค่าขึ้นศาล
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้โจทก์ทั้งสี่ เป็นคำสั่งที่เกี่ยวเนื่องกับคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา เมื่อจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ไม่เห็นด้วย ก็ชอบที่จะคัดค้านต่อศาลฎีกาได้ การที่โจทก์ยื่นคำขอขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาโดยทำเป็นคำแถลง มิใช่การขอขยายระยะเวลาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ซึ่งเป็นเรื่องที่จะทำได้เมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ โจทก์มีความประสงค์เพียงว่าขอให้ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาชำระค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาให้ใหม่และศาลชั้นต้นก็ได้กำหนดเวลาให้โจทก์ได้มีโอกาสวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาได้ ต่อมาโจทก์ได้วางเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาจนครบภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดแล้ว คำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยวิธีพิจารณา ในขณะที่จำเลยที่ 2 โอนขายกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านาพ.ศ. 2517 ยังมีผลใช้บังคับอยู่ โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 41แห่งพระราชบัญญัตินี้ แม้ต่อมาพระราชบัญญัติดังกล่าวถูกยกเลิกโดยมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524ก็ไม่ลบล้างสิทธิของโจทก์ที่มีอยู่ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 โอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 โดยไม่ได้แจ้งเป็นหนังสือให้โจทก์ทั้งสี่ทราบพร้อมทั้งราคาที่จะขายและวิธีการชำระหนี้โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีสิทธิซื้อที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 2 คืนจากจำเลยที่ 3 ที่ 4 ได้ในราคาและตามวิธีการชำระเงินที่จำเลยที่ 2ได้ขายให้แก่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ตามมาตรา 41 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นคดีมีทุนทรัพย์/ไม่มีทุนทรัพย์ หลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้แล้วอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ก่อนส่งสำนวนมายังศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ประสงค์จะขอให้ศาลวินิจฉัยเป็นแบบอย่างว่าคดีทำนองเดียวกันนี้ควรจะเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา143จำต้องขอต่อศาลที่มีอำนาจซึ่งกรณีนี้หากศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งในเรื่องนี้ย่อมจะต้องขอต่อศาลชั้นต้นแต่ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งกรณีนี้ไปแล้วจึงชอบที่จะขอต่อศาลฎีกา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาเพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาเสียแล้วจึงไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกต่อไปฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นฎีกาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2810/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาค่าขึ้นศาลคดีล้มละลาย: การขอคำสั่งศาลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย และอำนาจศาล
ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้แล้วอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ก่อนส่งสำนวนไปยังศาลฎีกาได้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียค่าขึ้นศาลเพิ่มอย่างคดีมีทุนทรัพย์เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ประสงค์จะขอให้ศาลวินิจฉัยเป็นแบบอย่างว่าคดีทำนองเดียวกันนี้ควรจะเป็นคดีมีทุนทรัพย์หรือไม่มีทุนทรัพย์อุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เช่นนี้จึงมีลักษณะเป็นคำขอให้ศาลมีคำสั่งเกี่ยวกับการใดที่เป็นปัญหาในการปฏิบัติการตามหน้าที่ตามพ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา143จำต้องขอต่อศาลที่มีอำนาจซึ่งกรณีนี้หากศาลชั้นต้นยังไม่มีคำสั่งในเรื่องนี้ย่อมจะต้องขอต่อศาลชั้นต้นแต่เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งกรณีนี้ไปแล้วจึงชอบที่จะขอต่อศาลฎีกา เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ฎีกาเพื่อขอให้ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งเมื่อศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจรับไว้พิจารณาเสียแล้วจึงไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อีกต่อไปฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงเป็นฎีกาข้อกฎหมายที่ไม่เป็นสาระแก่คดีศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของวัด/สำนักสงฆ์ในการครอบครองที่ดิน: การพิพาทเกี่ยวกับที่ดินที่ยกให้วัด/สำนักสงฆ์ และสิทธิในการครอบครอง
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับ จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาข้อเท็จจริงของจำเลยจึงเป็นอันยุติ คงมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1932/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการครอบครองที่ดินของสำนักสงฆ์และวัด: อำนาจฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก
คดีที่พิพาทกันเกี่ยวด้วยอสังหาริมทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยเฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย ส่วนข้อเท็จจริงไม่รับ จำเลยมิได้ฎีกาคัดค้านคำสั่งดังกล่าว ฎีกาข้อเท็จจริงของจำเลยจึงเป็นอันยุติ คงมีปัญหาขึ้นสู่ศาลฎีกาเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายเท่านั้น
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้
วัดโจทก์ตั้งเป็นสำนักสงฆ์มาตั้งแต่ พ.ศ. 2500 ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 บัญญัติว่าวัดมีสองอย่าง คือวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและสำนักสงฆ์ สำนักสงฆ์ที่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายแล้ว แม้จะยังมิได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาก็เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 จึงมีสิทธิครอบครองที่ดินที่มีผู้ยกให้เป็นของวัดได้