พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก: ศาลพิจารณาโรคซึมเศร้าและพฤติกรรมรุนแรงของผู้ร้องในการกำหนดสิทธิเลี้ยงดู
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนรับผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้องมิได้ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ผู้ร้องเป็นบิดาของผู้เยาว์ทั้งสาม ก็ชอบที่จะพิพากษาให้ผู้ร้องไปจดทะเบียนรับผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1548 การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าผู้เยาว์ทั้งสามเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ร้อง เป็นการพิพากษาที่เกินคำขอและขัดต่อบทบัญญัติดังกล่าว อันเป็นการไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 252 ประกอบ พ.ร.บ.เยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มาตรา 182/1 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3626/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืนเกิน 5 ปีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 345 ทำให้เงินตกเป็นของแผ่นดิน
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 345 หมายถึงให้คู่ความหรือผู้ที่มีสิทธิได้รับดำเนินการขอรับเงินดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดห้าปี หากไม่ดำเนินการขอรับไปภายในห้าปีนับแต่คดีถึงที่สุด เงินดังกล่าวยังคงค้างจ่ายอยู่ก็ให้ตกเป็นของแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดทำระบบบัญชีการเงินต่าง ๆ ของศาลและการนําเงินส่งเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2557 ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมและสั่งคืนค่าขึ้นศาล 10,000 บาท แก่โจทก์ โดยทนายโจทก์และในฐานะผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์มาศาลจึงถือว่าทราบคำสั่งในวันดังกล่าวแล้ว ครั้นวันที่ 28 มกราคม 2558 โจทก์ยื่นคําแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตรวจคืนและออกเช็คคืนค่าขึ้นศาลแล้ว แต่โจทก์ไม่มารับ แสดงว่าเงินค่าขึ้นศาลที่ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้คืนแก่โจทก์ยังค้างจ่ายอยู่ในศาล เมื่อโจทก์เพิ่งมาแถลงขอรับเงินดังกล่าวในวันที่ 27 ธันวาคม 2562 จึงพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่คดีถึงที่สุด เงินดังกล่าวจึงตกเป็นของแผ่นดินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 345 ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาตรา 7 ดังนั้น หากนับระยะเวลาดังที่โจทก์อ้างว่าเมื่อศาลอนุญาตแล้วจะมารับเมื่อใดก็ได้ จะทำให้ระยะเวลาการรับเงินยืดเยื้อออกไปไม่สิ้นสุด ซึ่งมิใช่เจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรานี้
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ทนายโจทก์และในฐานะผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ยื่นคําแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืนเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาเงินค้างจ่ายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและต้องเริ่มนับระยะเวลาสิทธิการเรียกเอาเงินค้างจ่ายนับแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามคำสั่งอนุญาตของศาลนั้น เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ส่วนที่โจทก์ฎีกาว่า ทนายโจทก์และในฐานะผู้รับมอบอำนาจช่วงโจทก์ยื่นคําแถลงขอรับเงินค่าขึ้นศาลคืนเป็นการที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเอาเงินค้างจ่ายภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดและต้องเริ่มนับระยะเวลาสิทธิการเรียกเอาเงินค้างจ่ายนับแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่โจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามคำสั่งอนุญาตของศาลนั้น เป็นฎีกาข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3591/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีมรดกอย่างถูกต้อง: การส่งหมายเรียกและแจ้งสิทธิแก่ทายาทและผู้มีส่วนได้เสียทั้งหมด
เดิมผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท ขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรมของ ร. ผู้ตาย โดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือพินัยกรรมของ ร. ฉบับลงวันที่ 6 ธันวาคม 2557 ซึ่งพินัยกรรมระบุให้ผู้ร้องทั้งสองเป็นทายาทตามพินัยกรรม และให้ร่วมกันเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งประกาศตามคำร้องของผู้ร้องทั้งสองโดยชอบ ต่อมาผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา คือสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมเพียงคนเดียวของผู้ตาย มีคำขอบังคับให้เพิกถอนพินัยกรรม อ้างว่าผู้ตายทำพินัยกรรมจริง แต่ทำโดยการใช้กลฉ้อฉลและสำคัญผิด ตกเป็นโมฆะ และผู้ร้องทั้งสองมิใช่ทายาทโดยธรรม หรือผู้มีส่วนได้เสีย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำคัดค้านว่ารับคำคัดค้าน สำเนาให้ผู้ร้องทั้งสอง จึงให้ดำเนินคดีไปอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ซึ่งบัญญัติว่า "ในคดีที่ไม่มีข้อพิพาท ให้ใช้ข้อบังคับดังต่อไปนี้ (1) ให้เริ่มคดีโดยการยื่นคำร้องขอต่อศาล ...(4) บุคคลอื่นใดนอกจากคู่ความที่ได้ยื่นฟ้องคดีอันไม่มีข้อพิพาทได้เข้ามาเกี่ยวข้องในคดีโดยตรงหรือโดยอ้อม ให้ถือว่าบุคคลเช่นว่านี้มาเป็นคู่ความ และให้ดำเนินคดีไปตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยคดีอันมีข้อพิพาท..." ซึ่ง ป.วิ.พ. มีบทบัญญัติเกี่ยวกับคดีมีข้อพิพาทไว้ในภาค 2 ลักษณะ 1 มาตรา 170 ถึงมาตรา 188 เมื่อคำคัดค้านของผู้คัดค้านมีคำขอบังคับเป็นประเด็นสำคัญสองประการคือ 1. ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนพินัยกรรมของผู้ตายโดยกล่าวอ้างว่าพินัยกรรมตกเป็นโมฆะ ด้วยเหตุการใช้กลฉ้อฉล และสำคัญผิด เท่ากับผู้คัดค้านโต้แย้งสิทธิโดยตรงต่อทายาทตามพินัยกรรมทุกคน เพราะหากฟังได้ตามคำคัดค้านเท่ากับทายาทตามพินัยกรรมย่อมไม่ได้รับสิทธิที่ระบุไว้ในพินัยกรรม คำคัดค้านของผู้คัดค้านจึงเท่ากับเป็นคำฟ้องต่อทายาทตามพินัยกรรมทุกคน และเป็นฟ้องแย้งต่อผู้ร้องทั้งสองด้วย ทั้งกรณีจะถือว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นตัวแทนของทายาทตามพินัยกรรมทุกคนก็มิได้ เนื่องจากยังไม่มีการตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านนำส่งหมายเรียกพร้อมสำเนาคำคัดค้านต่อทายาทตามพินัยกรรมทุกคนและผู้ร้องทั้งสองเพื่อให้การต่อสู้คดี 2. ผู้คัดค้านมีคำขอให้ตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยอ้างสิทธิในฐานะทายาทโดยธรรมแต่เพียงผู้เดียว เมื่อปรากฏตามบัญชีเครือญาติเอกสารท้ายคำร้องของผู้ร้องทั้งสองว่ายังมีทายาทที่มีสิทธิได้รับมรดกแทนที่อีก 7 คน รวมถึงผู้ร้องสอดในคดีด้วย และอาจยังมีทายาทโดยธรรมอื่นที่ยังไม่ปรากฎ รวมถึงอาจมีผู้มีส่วนได้เสียอื่นอีก ซึ่งบุคคลเหล่านี้ย่อมมีสิทธิโดยชอบที่จะเข้ามาในคดี เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทแล้ว ชอบที่จะสั่งให้ผู้คัดค้านส่งหมายนัดพร้อมสำเนาคำคัดค้านให้ทายาทโดยธรรมทุกคนตามรายชื่อที่ปราฏในขณะนั้น รวมถึงให้มีการประกาศสาธารณะคำคัดค้านเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียอื่นที่อาจมีได้ทราบและเข้ามาปกป้องสิทธิ กรณีถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรม และเป็นกรณีเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนในเรื่องการส่งคำคู่ความและการพิจารณาคดี อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 246 และ 252 เห็นควรให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3529/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้างกรณีทำละเมิด: กฎหมายเฉพาะ (พรบ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่) ไม่เปิดช่องให้ไล่เบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่ง
การนำบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมาใช้บังคับแก่คดี เป็นปัญหาข้อกฎหมายสำคัญที่ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษควรวินิจฉัยให้ เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาโดยมีข้อเท็จจริงเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวนี้ไปเสียทีเดียวได้ และเพื่อความรวดเร็ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษพิจารณาพิพากษาใหม่
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ... และคำว่า หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า... รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นองค์การของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 อันอยู่ในนิยามของคำว่า หน่วยงานของรัฐ และจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์อันอยู่ในนิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ จึงต้องใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดีนี้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ มิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างในกรณีทั่วไป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีเหตุผลในการประกาศใช้บังคับซึ่งปรากฏอยู่ที่ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม... ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น... จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่มีเจตนารมณ์ไม่ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการไล่เบี้ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเกิดจากลูกจ้างทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกมาใช้บังคับ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 426
ที่โจทก์ฎีกาว่า คำสั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ในฐานะนายจ้างชดใช้แก่ผู้เสียหายคืนแก่โจทก์ยังไม่ได้ถูกฟ้องขอให้เพิกถอน จึงมีผลในทางปฏิบัติต่อไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ก็มีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคหนึ่ง
จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาจากการกระทำของจำเลยแล้วปรับเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลย บทบัญญัติของกฎหมาย และรูปคดีนี้แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้คำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเพิกถอน ก็ถือได้ว่าคำสั่งดังกล่าวสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 4 ให้คำนิยามของคำว่า เจ้าหน้าที่ หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือ... และคำว่า หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า... รัฐวิสาหกิจที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และมาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อโจทก์เป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นองค์การของรัฐบาลที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล พ.ศ. 2496 และ พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 อันอยู่ในนิยามของคำว่า หน่วยงานของรัฐ และจำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์อันอยู่ในนิยามคำว่า เจ้าหน้าที่ จึงต้องใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับแก่คดีนี้ ข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยกระทำด้วยความประมาทเลินเล่อ มิได้ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 426 บัญญัติว่า นายจ้างซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกเพื่อละเมิดอันลูกจ้างได้ทำนั้น ชอบที่จะได้ชดใช้จากลูกจ้างนั้น แต่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่นายจ้างและลูกจ้างในกรณีทั่วไป พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มีเหตุผลในการประกาศใช้บังคับซึ่งปรากฏอยู่ที่ท้ายพระราชบัญญัติดังกล่าวว่า การที่เจ้าหน้าที่ดำเนินกิจการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐนั้น หาได้เป็นไปเพื่อประโยชน์อันเป็นการเฉพาะตัวไม่ การปล่อยให้ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงานในหน้าที่และเกิดความเสียหายแก่เอกชนเป็นไปตามหลักกฎหมายเอกชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จึงเป็นการไม่เหมาะสม... ดังนั้น จึงสมควรกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องรับผิดทางละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเมื่อเป็นการจงใจกระทำเพื่อการเฉพาะตัว หรือจงใจให้เกิดความเสียหายหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเท่านั้น... จึงเห็นได้ว่าพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเฉพาะที่มีเจตนารมณ์ไม่ให้นำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการไล่เบี้ยระหว่างนายจ้างและลูกจ้างซึ่งเกิดจากลูกจ้างทำละเมิดต่อบุคคลภายนอกมาใช้บังคับ ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิไล่เบี้ยเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 426
ที่โจทก์ฎีกาว่า คำสั่งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้จำเลยชำระเงินค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ในฐานะนายจ้างชดใช้แก่ผู้เสียหายคืนแก่โจทก์ยังไม่ได้ถูกฟ้องขอให้เพิกถอน จึงมีผลในทางปฏิบัติต่อไป จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ตามฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลางและในชั้นอุทธรณ์ โจทก์ก็มีอำนาจยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง และมาตรา 252 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 57/1 วรรคหนึ่ง
จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาจากการกระทำของจำเลยแล้วปรับเข้ากับบทบัญญัติของกฎหมาย เมื่อพิจารณาการกระทำของจำเลย บทบัญญัติของกฎหมาย และรูปคดีนี้แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้คำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ดังกล่าวยังไม่ได้ถูกเพิกถอน ก็ถือได้ว่าคำสั่งดังกล่าวสิ้นผลบังคับไปโดยปริยาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3432/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฎีกาขัดแย้งกับคำรับสารภาพ และดุลพินิจการริบของกลางในคดีโรคระบาดสัตว์
เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงต้องรับฟังยุติตามที่โจทก์บรรยายฟ้อง ที่จำเลยฎีกาทำนองว่า จำเลยไม่ทราบประกาศของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเรื่องห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์นั้น เป็นการขอให้ศาลฎีการับฟังข้อเท็จจริงใหม่ผิดไปจากที่ศาลชั้นต้นรับฟังมาและขัดแย้งกับคำรับสารภาพของจำเลย ถือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ความผิดฐานเคลื่อนย้ายสัตว์ เข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตประกาศกำหนดเฝ้าระวังโรคระบาดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้น เป็นความผิดเพียงเพราะเคลื่อนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้นตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 65 หากได้รับอนุญาตก็ไม่เป็นความผิด และตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ใดเนื่องจากกระทำผิดตาม... มาตรา 65... ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบสัตว์... ยานพาหนะ... ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเสียทั้งสิ้น... ก็เป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการริบสัตว์หรือยานพาหนะที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การริบสัตว์และยานพาหนะตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 จึงเป็นดุลพินิจของศาล ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นสุกรของกลางที่จำเลยไม่ได้ฎีกาได้ ซึ่งได้ความจากข้อเท็จจริงในสำนวนว่า จำเลยมีอาชีพรับจ้างบรรทุกสิ่งของทั่วไปไม่ได้รับจ้างบรรทุกสุกรเป็นอาชีพ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าสุกร 9 ตัว ของกลางติดโรคระบาดแต่อย่างใด จึงไม่สมควรริบสุกร 9 ตัว และรถบรรทุกของกลาง
ความผิดฐานเคลื่อนย้ายสัตว์ เข้า ออก ผ่าน หรือภายในเขตประกาศกำหนดเฝ้าระวังโรคระบาดโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้น เป็นความผิดเพียงเพราะเคลื่อนย้ายสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากสัตวแพทย์ผู้ทำหน้าที่รับผิดชอบประจำเขตนั้นตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 65 หากได้รับอนุญาตก็ไม่เป็นความผิด และตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มาตรา 78 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า เมื่อศาลได้พิพากษาลงโทษผู้ใดเนื่องจากกระทำผิดตาม... มาตรา 65... ให้ศาลมีอำนาจสั่งริบสัตว์... ยานพาหนะ... ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเสียทั้งสิ้น... ก็เป็นบทบัญญัติที่ให้ศาลใช้ดุลพินิจในการริบสัตว์หรือยานพาหนะที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด การริบสัตว์และยานพาหนะตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 จึงเป็นดุลพินิจของศาล ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยในประเด็นสุกรของกลางที่จำเลยไม่ได้ฎีกาได้ ซึ่งได้ความจากข้อเท็จจริงในสำนวนว่า จำเลยมีอาชีพรับจ้างบรรทุกสิ่งของทั่วไปไม่ได้รับจ้างบรรทุกสุกรเป็นอาชีพ อีกทั้งไม่ปรากฏว่าสุกร 9 ตัว ของกลางติดโรคระบาดแต่อย่างใด จึงไม่สมควรริบสุกร 9 ตัว และรถบรรทุกของกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2998/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาศาลฎีกาแก้ไขคำสั่งศาลล่างเรื่องอำนาจปกครองบุตรหลังมีคำพิพากษาใหม่
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. และเด็กชาย ศ. บุตรผู้เยาว์ทั้งสองแต่เพียงผู้เดียวเป็นการชั่วคราวโดยเป็นการทดลองปกครองเลี้ยงดู ซึ่งศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษมิได้พิพากษาแก้ไขในส่วนนี้ แต่เมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ป. แต่เพียงผู้เดียว และให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ศ. แต่เพียงผู้เดียวแยกออกจากกันเช่นนี้แล้ว ย่อมมีผลทำให้คำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองเกี่ยวกับการใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสองของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นการชั่วคราวนั้น ไม่อาจบังคับได้ต่อไป เนี่องจากต้องปฏิบัติไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าว ฎีกาของโจทก์จึงไม่เป็นประโยชน์ที่ศาลฎีกาจะพิจารณาต่อไป แต่หากจะจำหน่ายคดีโดยยังคงผลของคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองไว้ในคดีนี้ จะเป็นการขัดแย้งกับผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1781/2565 ที่ให้โจทก์และจำเลยที่ 1 แยกกันใช้อำนาจในการปกครองบุตรผู้เยาว์ทั้งสอง จึงเห็นสมควรแก้ไขในส่วนนี้ให้ถูกต้องเสียด้วย พิพากษายกคำสั่งและคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง แล้วให้จำหน่ายคดีนี้ออกจากสารบบความของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1879/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าปรับปรุง เหตุมิได้เกิดจากการไม่ชำระหนี้ แต่เกิดจากการดัดแปลงมิเตอร์ของผู้ใช้ไฟฟ้า
โจทก์ทำสัญญาตั้งจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนจดหน่วยพร้อมแจ้งค่าไฟฟ้าให้แก่โจทก์ แต่พนักงานของจำเลยที่ 1 ไม่ไปจดหน่วยมิเตอร์ไฟฟ้า โจทก์ตรวจสอบพบว่ามิเตอร์ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าถูกดัดแปลงทำให้มิเตอร์ไฟฟ้าหมุนช้าลงและแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อน ซึ่งเกิดการกระทำละเมิดของผู้ใช้ไฟฟ้า ค่าเสียหายที่โจทก์เรียกร้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดชดใช้ค่าไฟฟ้าปรับปรุงอันเกิดจากการที่มิเตอร์ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าหมุนช้าลงและแสดงหน่วยการใช้ไฟฟ้าคลาดเคลื่อน จึงมิใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามสัญญาตั้งตัวแทนจดหน่วยพร้อมแจ้งค่าไฟฟ้า ทั้งไม่อาจถือได้ว่าเป็นความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้คาดเห็นหรือควรจะคาดเห็นพฤติกรรมเช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 222 ย่อมไม่มีค่าเสียหายซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจะต้องชำระหนี้เป็นอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1 ถือเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งมิได้ขออนุญาตฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1800/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานในคดีแรงงาน: การเชื่อมโยงพยานหลักฐานกับประเด็นแห่งคดีและการวินิจฉัยเหตุผลที่ชัดเจน
การที่ศาลจะรับฟังพยานหลักฐานใดย่อมจะต้องพิจารณาว่าพยานหลักฐานนั้นเกี่ยวกับประเด็นในคดีหรือไม่ หากพยานหลักฐานใดไม่เกี่ยวกับประเด็นหรือนอกประเด็น แม้คู่ความจะนำสืบกล่าวอ้างพยานหลักฐานนั้นต่อศาล ศาลย่อมมีอำนาจที่จะไม่รับฟังพยานหลักฐานนั้น
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตต่อโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ตั้งระบบอัตโนมัติในเครื่องคอมพิวเตอร์และบันทึกข้อมูลในระบบว่ามีการหักเงินบางส่วนของบัญชีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ แล้วนำไปตั้งพักไว้ในบัญชีตั้งพักของธนาคารโจทก์ หลังจากนั้นได้ล้างรายการเงินฝากของโจทก์โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจ แล้วโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ได้เบิกถอนเงินจากบัญชีของตนไป การที่โจทก์นำสืบถึงการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่เกี่ยวข้องกับค่าตรวจสอบบัญชี จำนวน 700,000 บาท เศษ โดยมีการระบุถึงรหัสประจำตัวพนักงานของจำเลยที่ 2 เป็นผู้บันทึกข้อมูล และจำเลยที่ 1 เป็นผู้อนุมัติรายการต่อศาลแรงงานกลาง จึงเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง เนื่องจากเป็นเรื่องความเป็นมาที่โจทก์ตรวจพบการทุจริตของจำเลยทั้งสองก่อนหน้าที่จะมีการกระทำผิดตามคำฟ้อง และอาจใช้สนับสนุนพยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการทุจริตของจำเลยที่ 2 ไม่ใช่การนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยพยานหลักฐานขัดกับสำนวน เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์ฟังได้ว่าพฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 เป็นการร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 กระทำความผิดหรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิด อันเป็นการร่วมกันกระทำทุจริตและผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ เป็นอุทธรณ์ที่ขอให้ศาลอุทธรณ์คดีชํานัญพิเศษวินิจฉัยว่าคำพิพากษาศาลแรงงานกลางชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 หรือไม่ อุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนของการวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีจะต้องมีเหตุผลแห่งคำวินิจฉัย เพื่อให้ทราบว่าศาลแรงงานได้นำข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดเป็นหลักในการวินิจฉัยคดีและถูกต้องตามหลักเกณฑ์ในการรับฟังพยานหลักฐานและการแปลความบทบัญญัติของกฎหมายหรือไม่ คดีนี้ ข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีการล้างรายการเงินฝากในบัญชีตั้งพัก เพื่อโอนเงินมาเข้าบัญชีของจำเลยทั้งสองกับพวก โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 ได้รับโอนเงินของโจทก์เข้าบัญชีถึง 2 ครั้ง จำนวน 240,000 บาท และ 250,000 บาท แต่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยลอย ๆ เพียงว่า โจทก์ไม่มีพยานบุคคลมานำสืบให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกระทำความผิด มิได้วินิจฉัยถึงพยานเอกสารอื่นว่าไม่อาจรับฟังเชื่อมโยงว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทุจริตเงินตามคำฟ้องเพราะเหตุใด นอกจากนั้น เงินที่โอนเข้าบัญชีจำเลยที่ 2 รวมสองครั้งมิใช่เงินจำนวนเล็กน้อย จำเลยที่ 2 ย่อมต้องให้ความสำคัญและย่อมทราบว่าเงินดังกล่าวมีที่มาอย่างไร แต่ศาลแรงงานกลางกลับวินิจฉัยเพียงว่าเงินที่เข้าบัญชีจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ได้ถอนให้จำเลยที่ 1 ไป จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 เอาเงินของโจทก์ไปโดยทุจริตเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานต่อโจทก์ แต่ฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกันกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำความผิดเท่านั้น โดยไม่วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ทราบถึงที่มาของการโอนเงินดังกล่าวอย่างไร เพื่อให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 หรือไม่ เช่นนี้ แม้คำพิพากษาศาลแรงงานกลางจะยังไม่ถึงกับเป็นการวินิจฉัยขัดกับพยานหลักฐานในสำนวนดังที่โจทก์อุทธรณ์ แต่ก็เป็นคำพิพากษาที่มิได้แสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปและคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในประเด็นว่า จำเลยที่ 2 มีส่วนร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 1 หรือรู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ จึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีเพิกถอนมติคณะกรรมการอาคารชุด ต้องแสดงให้เห็นถึงความเสียหายหรือกระทบสิทธิของผู้ฟ้อง
โจทก์เป็นเจ้าของร่วมคนหนึ่งในอาคารชุด ศ. แต่ไม่ได้เป็นกรรมการและไม่ได้เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดจําเลยที่ 1 ทั้งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการงานของนิติบุคคลอาคารชุดจําเลยที่ 1 ฟ้องขอเพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560 ซึ่งมีมติให้จําเลยที่ 3 ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ จําเลยที่ 4 ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการ และจําเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด และเพิกถอนการประชุมคณะกรรมการในวาระพิเศษเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ซึ่งมีมติอนุมัติว่าจ้างบริษัท ว. เข้าบริหารจัดการอาคารชุดรายใหม่ โดยกล่าวอ้างในฟ้องเพียงว่า ในการประชุมคณะกรรมการทั้งสองครั้ง ไม่มีการเชิญหรือแจ้งนัดประชุมให้แก่ อ. และ ณ. ซึ่งเป็นกรรมการทราบ ทำให้ อ. และ ณ. ไม่ได้เข้าร่วมประชุม ซึ่ง อ. และ ณ. ผู้ที่ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงไม่ได้เป็นผู้ฟ้อง เมื่อคําฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า มติที่ประชุมทั้งสองครั้งก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ หรือนิติบุคคลอาคารชุดจําเลยที่ 1 หรือบรรดาเจ้าของร่วมอย่างไร หรือมติที่ประชุมคณะกรรมการนิติบุคคลทั้งสองครั้งกระทบต่อสิทธิของโจทก์อย่างไร จําเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการคนหนึ่งที่คณะกรรมการมีมติแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2560 ตามที่ที่ประชุมใหญ่เจ้าของร่วมให้อำนาจไว้ และบริษัท ว. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่คณะกรรมการมีมติอนุมัติว่าจ้างให้เข้าบริหารจัดการอาคารชุดรายใหม่เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าจําเลยที่ 2 และบริษัท ว. ได้ปฏิบัติหน้าที่หรือทำงานผิดพลาดบกพร่องหรือทุจริตแต่อย่างใด ทั้งมติที่ประชุมที่โจทก์ขอเพิกถอนนั้นมีการลงมติตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2560 และวันที่ 3 ธันวาคม 2560 ตามลำดับ แต่โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2561 ล่วงเลยเวลานานหลายเดือน และยังขอให้จําเลยที่ 2 คืนเงินเดือนหรือค่าตอบแทนที่ได้รับจากจําเลยที่ 1 ทั้งหมดตั้งแต่วันที่ 3 มิถุนายน 2560 โดยอ้างเรื่องไม่ได้มีการเชิญหรือแจ้งนัดประชุมให้ อ. และ ณ. กรรมการทราบเท่านั้น โดยไม่ปรากฏว่าจําเลยที่ 2 ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดบกพร่องหรือทุจริตแต่ประการใด จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จําเลยทั้งห้าได้กระทำสิ่งใดอันเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1148/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีใหม่หลังมีสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ศาลต้องพิจารณาในคดีเดิม
สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมคดีก่อนถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยอยู่ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ส่วนจำเลยถือได้ว่าเป็นบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้แก่โจทก์ทั้งสองโดยอยู่ในฐานะลูกหนี้ตามคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 274 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งสองชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมเข้าไปในคดีเดิมตาม มาตรา 7 (2) โจทก์ทั้งสองไม่อาจนำข้อพิพาทในชั้นบังคับคดีดังกล่าวมาฟ้องร้องจำเลยให้รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งได้มีคำพิพากษาตามยอมเป็นคดีใหม่ได้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ทั้งสองได้ตาม มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252