พบผลลัพธ์ทั้งหมด 132 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ต้องมีเจตนาและรู้เห็นการกระทำของผู้อื่น การชดใช้ค่าสินไหมทดแทนต้องชัดเจน
การร่วมกันกระทำความผิดในลักษณะตัวการตาม ป.อ. มาตรา 83 ต้องเป็นการร่วมกระทำความผิดด้วยกันซึ่งต้องพิจารณาทั้งในส่วนการกระทำและเจตนาของผู้ที่ร่วมกระทำ ซึ่งหมายถึงต้องร่วมกระทำความผิดด้วยกันและกระทำโดยเจตนาร่วมกัน ทั้งผู้กระทำความผิดต้องรู้ถึงการกระทำของกันและกัน กับต่างประสงค์ถือเอาการกระทำของแต่ละคนเป็นการกระทำของตนด้วย
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ป.วิ.อ. มาตรา 46 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 47 แม้ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ฎีกาและรับฎีกาโจทก์ข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาโจทก์เป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252 ป.วิ.อ. มาตรา 46 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 47 แม้ศาลฎีกาอนุญาตให้โจทก์ฎีกาและรับฎีกาโจทก์ข้อนี้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2582/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฆ่าโดยเจตนา แต่มีเหตุบรรเทาโทษทางอาญาจากบันดาลโทสะ และประเด็นดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มีการประกาศใช้ พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยมาตรา 3 และมาตรา 4 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าวให้ยกเลิกความในมาตรา 7 และมาตรา 224 แห่ง ป.พ.พ. และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาบวกด้วยอัตราเพิ่มร้อยละสองต่อปี ทำให้ดอกเบี้ยผิดนัดของค่าสินไหมทดแทนซึ่งเป็นหนี้เงินที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 ต้องปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี ดังนี้ เมื่อปัญหาเรื่องอัตราดอกเบี้ยขัดต่อกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและกำหนดดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252 และ ป.วิ.อ. มาตรา 40
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2429/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทซื้อขายที่ดินพร้อมบ้าน และการแก้ไขอัตราดอกเบี้ยผิดนัดตามกฎหมาย
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยชำระเงิน 310,870 บาท พร้อมดอกเบี้ยผิดนัดอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาในปัญหานี้ ก็ปรากฏว่ามีประกาศใช้พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2564 โดยพระราชกำหนดดังกล่าวได้แก้ไข ป.พ.พ. มาตรา 7 และมาตรา 224 วรรคแรก เป็นผลให้ดอกเบี้ยผิดนัดปรับเปลี่ยนจากอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 5 ต่อปี หรืออัตราดอกเบี้ยใหม่ที่กระทรวงการคลังปรับเปลี่ยนโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แต่ไม่กระทบกระเทือนถึงการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในระหว่างก่อนที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ปัญหาการกำหนดดอกเบี้ยตามกฎหมายเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองและกำหนดดอกเบี้ยให้เป็นไปตามพระราชกำหนดดังกล่าวได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2421/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ขัดกับการรับสารภาพเดิม และพิจารณาโทษจำเลยต่างกันตามพฤติการณ์
จำเลยทั้งสองฎีกาว่าจำเลยทั้งสองไม่ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ แต่เมื่อความผิดดังกล่าวจำเลยทั้งสองให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองย่อมรับฟังเป็นยุติได้ตามฟ้องโจทก์ การที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นนอกจากที่ให้การรับสารภาพและเป็นฎีกาข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 และ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีค้ามนุษย์ พ.ศ.2559 มาตรา 47 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดฯ แม้ทุจริตก็ยังเป็นการปฏิบัติหน้าที่
จำเลยที่ 1 ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ให้เป็นเจ้าพนักงานบังคับคดีในการขายทอดตลาดหน่วยลงทุนพิพาท ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1 กระทำโดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือ คำสั่งของจำเลยที่ 2 ในการขายทอดตลาด หรือกระทำโดยทุจริต หรือแม้การกระทำของจำเลยที่ 1 จะเป็นความผิดอาญา ก็หามีผลทำให้การกระทำของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำในการปฏิบัติหน้าที่แต่อย่างใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนให้บุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงและบุคคลภายนอกได้นำหน่วยลงทุนดังกล่าวขายคืนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนพิพาทกลับมาเป็นของ ก. ลูกหนี้ของโจทก์ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเสนอซื้อหรือเสนอขายได้ตลอด ทำให้ไม่มีหน่วยลงทุนพิพาทของลูกหนี้โจทก์หลงเหลืออยู่ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยให้ชดใช้เงินกลับคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 ขายทอดตลาดหน่วยลงทุนให้บุคคลภายนอกในราคาต่ำกว่าราคาซื้อขายที่แท้จริงและบุคคลภายนอกได้นำหน่วยลงทุนดังกล่าวขายคืนให้แก่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ไม่สามารถโอนหน่วยลงทุนพิพาทกลับมาเป็นของ ก. ลูกหนี้ของโจทก์ได้ เนื่องจากเป็นหน่วยลงทุนในกองทุนเปิดซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเสนอซื้อหรือเสนอขายได้ตลอด ทำให้ไม่มีหน่วยลงทุนพิพาทของลูกหนี้โจทก์หลงเหลืออยู่ โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ จำเลยที่ 2 จึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนโดยให้ชดใช้เงินกลับคืนกองทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาห้ามตาม ป.วิ.พ. เนื่องจากจำเลยยกข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกาเพื่ออ้างประโยชน์จากกฎหมายใหม่ที่ใช้บังคับหลังมีคำพิพากษา
จำเลยให้การว่าไม้พะยูงของกลางมิใช่เป็นของจำเลย และไม่ทราบว่าเป็นไม้ของผู้ใด โดยไม่เคยให้การว่าเป็นไม้ที่ขึ้นอยู่ในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. อีกทั้งในชั้นอุทธรณ์จำเลยยังคงโต้เถียงว่าไม้พะยูงของกลางมิใช่เป็นไม้ของจำเลย มิได้กล่าวอ้างว่าเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกาอ้างว่า ไม้พะยูงของกลางเป็นไม้ที่ขึ้นในที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์ของ ป. ถือเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมาย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง ย่อมต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 252 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1682/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินมรดก: สิทธิเรียกร้องของผู้รับมรดก vs. บุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ต. ผู้ตาย มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดก แต่ยังไม่ได้แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท เนื่องจากโจทก์เป็นผู้เยาว์โดยจะรอให้บรรลุนิติภาวะเสียก่อน แต่ น. มารดาของโจทก์เดือดร้อนเรื่องเงินจึงมาขอแบ่งปันทรัพย์มรดก โดยยอมรับเอาบ้าน 1 หลัง เงิน 10,000 บาท และ วัว 4 ตัว เพื่อจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับที่ดินทรัพย์มรดกเป็นการใช้อำนาจปกครองโจทก์ผู้เป็นบุตรซึ่งไม่บรรลุนิติภาวะจำหน่ายไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในฐานะทายาทที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพยสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นนิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ที่มารดาของโจทก์ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาตตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (4) แต่มารดาของโจทก์ไปตกลงแบ่งทรัพย์มรดกโดยมิได้รับอนุญาตจากศาล ย่อมไม่มีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นผู้เยาว์ในขณะที่ น. มารดาของโจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246 และ 252 และถือไม่ได้ว่าการจัดการมรดกสิ้นสุดลง เมื่อฟ้องโจทก์เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง โจทก์ย่อมอยู่ในฐานะทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาท อันถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพย์สิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิของโจทก์ผู้ได้มานั้นยังมิได้จดทะเบียน มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต โดยตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินทรัพย์มรดกมาโดยมิได้เสียค่าตอบแทนและโดยไม่สุจริต และมิได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต ถือว่าคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงที่จะหักล้างบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 6 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ต้องรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินทรัพย์มรดกมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริต โจทก์จึงไม่อาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนขายที่ดินพิพาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1188/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการยึดทรัพย์สินของผู้มีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียน แม้ไม่ใช่ตัวการโดยตรง
โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอให้ยึดทรัพย์สินที่อ้างว่าเป็นของจำเลยลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งมีชื่อบุคคลอื่นเป็นเจ้าของในทะเบียน แต่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งงดการยึด เป็นกรณีโจทก์ใช้สิทธิยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์สินนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 298 วรรคสาม หาใช่กรณีที่จะกระทำได้โดยมีคำสั่งอายัดก่อนดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยมาไม่ ที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานบังคับคดีออกคำสั่งอายัดก่อน เมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยแล้วจึงให้ยึดเพื่อขายทอดตลาดต่อไปนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1028/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดกจากการเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน กรณีผู้รับโอนได้มาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน
คดีนี้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นทายาทและผู้จัดการมรดกของ ซ. ฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งเก้าแปลงที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ถึงที่ 11 เป็นคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก มีอายุความห้าปีนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1733 วรรคสอง คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามที่ต่อสู้ในคำให้การ ประเด็นที่ว่าคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความจึงยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น คดีไม่มีประเด็นเรื่องอายุความในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคสี่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นในอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง การที่โจทก์ฎีกาเรื่องอายุความ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 แก้ฎีกาเรื่องอายุความเช่นกัน จึงเป็นฎีกาและคำแก้ฎีกาที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 252
ซ. กับ ฟ. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย กฎหมายลักษณะผัวเมียมีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดสัญชาติ และตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ และทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่าการสมรสที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่อย่างไร ก็ยังคงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายอยู่อย่างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2479 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งคู่สมรสไม่จำต้องจดทะเบียนสมรส
ซ. เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ จ. เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ จ. ส่วนหนึ่งย่อมตกได้แก่ ซ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แม้ ซ. ไม่ได้เรียกร้องก็ไม่มีผลทำให้เสียสิทธิในมรดกส่วนของตนแต่อย่างใด เพราะไม่ปรากฏว่า ซ. แสดงเจตนาสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 แต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้จัดการทรัพย์มรดกของ จ. ซ. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ซ. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่ ซ. ส่วนหนึ่ง
เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง จ. กับ ค. ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 การคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่าง จ. กับ. ค. มีผลตั้งแต่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตาย และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงจึงต้องแบ่งเป็นมรดกของ จ. และแบ่งให้ ค. คนละส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงกึ่งหนึ่งส่วนที่เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ผู้สืบสันดานของ จ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ซ. บิดาของ จ. ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร และ ค. คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง, 1629 (1) (2), 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) แต่ ซ. ถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการจัดการมรดกของ จ. มรดกในส่วนของ ซ. จึงตกได้แก่ผู้สืบสันดานของ ซ. ทั้งเก้าคน เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายไปก่อน ผู้สืบสันดานของ จ. คือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มีสิทธิรับมรดกแทนที่ จ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 ส่วน ย. ผู้สืบสันดานคนหนึ่งของ ซ. ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้นแม้ไม่ปรากฏว่า ย. ถึงแก่ความตายก่อนหรือหลัง ซ. ผู้สืบสันดานของ ย. ทั้งหกคนย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกของ ย. แล้วแต่กรณี
ซ. กับ ฟ. เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งมิได้บัญญัติให้ใช้บังคับเฉพาะแก่บุคคลผู้มีสัญชาติไทย กฎหมายลักษณะผัวเมียมีผลใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไปโดยไม่จำกัดสัญชาติ และตาม พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477 มาตรา 4 (1) บัญญัติว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสซึ่งได้มีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ และทั้งสัมพันธ์ในครอบครัวอันเกิดแต่การสมรสนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่าการสมรสที่สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่อย่างไร ก็ยังคงสมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมายอยู่อย่างนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2479 ไม่กระทบกระเทือนถึงการสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งคู่สมรสไม่จำต้องจดทะเบียนสมรส
ซ. เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของ จ. เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย ทรัพย์มรดกของ จ. ส่วนหนึ่งย่อมตกได้แก่ ซ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม แม้ ซ. ไม่ได้เรียกร้องก็ไม่มีผลทำให้เสียสิทธิในมรดกส่วนของตนแต่อย่างใด เพราะไม่ปรากฏว่า ซ. แสดงเจตนาสละมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1612 แต่ในระหว่างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยังมิได้จัดการทรัพย์มรดกของ จ. ซ. ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ ซ. ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่ ซ. ส่วนหนึ่ง
เมื่อ จ. ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่าง จ. กับ ค. ย่อมสิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 การคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่าง จ. กับ. ค. มีผลตั้งแต่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตาย และการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาให้อยู่ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงจึงต้องแบ่งเป็นมรดกของ จ. และแบ่งให้ ค. คนละส่วนเท่ากันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาททั้งเก้าแปลงกึ่งหนึ่งส่วนที่เป็นมรดกตกทอดแก่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 ผู้สืบสันดานของ จ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ซ. บิดาของ จ. ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร และ ค. คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตรตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง, 1629 (1) (2), 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) แต่ ซ. ถึงแก่ความตายก่อนที่จะมีการจัดการมรดกของ จ. มรดกในส่วนของ ซ. จึงตกได้แก่ผู้สืบสันดานของ ซ. ทั้งเก้าคน เมื่อ จ. ถึงแก่ความตายไปก่อน ผู้สืบสันดานของ จ. คือ จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ถึงที่ 11 มีสิทธิรับมรดกแทนที่ จ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 ส่วน ย. ผู้สืบสันดานคนหนึ่งของ ซ. ที่ถึงแก่ความตายไปแล้วนั้นแม้ไม่ปรากฏว่า ย. ถึงแก่ความตายก่อนหรือหลัง ซ. ผู้สืบสันดานของ ย. ทั้งหกคนย่อมมีสิทธิรับมรดกแทนที่หรือสืบมรดกของ ย. แล้วแต่กรณี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอให้ปล่อยที่ดินจากการบังคับคดี: อำนาจยื่นคำร้อง, ระยะเวลา, และเหตุสุดวิสัย
ผู้ร้องทั้งสองบรรยายคำร้องว่า ผู้ร้องทั้งสองกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อศาลในคดีแพ่งโดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องทั้งสองซึ่งได้มีการแบ่งการครอบครองกันเป็นส่วนสัด อันเป็นกรณีที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของตน ขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 แต่ตามสัญญาประนีประนอมยอมความระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ ส. และผู้ร้องที่ 2 หาได้ระบุว่า จำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องที่ 1 ด้วยไม่ ผู้ร้องที่ 1 เป็นผู้รับมอบอำนาจของ ล. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีดังกล่าวเท่านั้น แม้ต่อมา ล. ถึงแก่ความตาย ก็ไม่ทำให้ผู้ร้องที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ในฐานะส่วนตัว เมื่อผู้ร้องที่ 1 ไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาท ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีอำนาจยื่นคำร้องเป็นคดีนี้ ปัญหาเรื่องอำนาจยื่นคำร้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 252
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้
ศาลพิพากษาตามยอม โดยจำเลยที่ 1 ตกลงโอนที่ดินพิพาทบางส่วนให้แก่ผู้ร้องที่ 2 ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แต่การที่ผู้ร้องที่ 2 จะขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 323 นั้น เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้บุคคลที่อาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดีภายในหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้น แต่ถ้าไม่สามารถยื่นคำร้องขอภายในระยะเวลาดังกล่าว บุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอเมื่อพ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ และได้ยื่นคำร้องขอไม่ช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาด หรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรก เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยบุคคลนั้นจะยื่นคำร้องขอในภายหลังก็ได้ แต่จะต้องยื่นเสียก่อนขายทอดตลาดหรือจำหน่ายโดยวิธีอื่นซึ่งทรัพย์สินนั้น คดีนี้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2561 และประกาศขายทอดตลาดที่ดินพิพาทนัดที่ 1 ในวันที่ 25 กันยายน 2561 และมีการงดการบังคับคดีไว้ ผู้ร้องที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2561 จึงพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันที่มีการยึดทรัพย์สินนั้นและช้ากว่าเจ็ดวันก่อนวันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีกำหนดไว้เพื่อการขายทอดตลาดซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นครั้งแรกแล้ว การที่ผู้ร้องที่ 2 จะยื่นคำร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของตนในกรณีนี้ได้ ผู้ร้องที่ 2 จะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ผู้ร้องที่ 2 ไม่สามารถยื่นคำร้องขอได้ทันภายในกำหนด แต่ตามคำร้องผู้ร้องที่ 2 คงอ้างแต่เพียงว่า ที่ดินพิพาทบางส่วนเป็นของผู้ร้องที่ 2 ตามคำพิพากษาตามยอมคดีแพ่งของศาลจังหวัดหนองคาย โดยไม่ได้อ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ไม่สามารถยื่นคำร้องได้ภายในกำหนดแต่อย่างใด ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องเป็นคดีนี้