คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1569

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2052/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองและสิทธิเสนอคดี: ผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์มีสิทธิร้องขอจัดการมรดกในฐานะผู้แทน
แม้ผู้ร้องไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตาย แต่ขณะยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านที่ 1 และผู้คัดค้านที่ 2 ออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกับตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายนั้น อำนาจปกครอง ณ. อยู่กับผู้ร้องแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ณ. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1569 ซึ่งการยื่นคำร้องขอดังกล่าวผู้ร้องมิได้ยื่นในฐานะส่วนตัวแต่ยื่นในฐานะเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของ ณ. ในคำร้องขอนั้นนอกจากมีข้ออ้างว่ามีการยักย้ายทรัพย์มรดกของผู้ตายแล้วยังมีข้ออ้างว่าผู้ร้องได้รับคำบอกเล่าว่าแท้จริงผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกทั้งหมดให้ ณ. ไว้ด้วย ดังนั้นการยื่นคำร้องขอของผู้ร้องจึงเป็นไปตามหน้าที่ของผู้ใช้อำนาจปกครองเพื่อระวังรักษาประโยชน์ของ ณ. ให้ได้รับทรัพย์มรดกของผู้ตายตามสิทธิที่แท้จริง ผู้ร้องในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองของ ณ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 ที่มีสิทธิจะร้องต่อศาลขอให้ถอนผู้จัดการมรดกหรือขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความละเมิดทางการแพทย์: เริ่มนับเมื่อรู้ถึงละเมิด ไม่ใช่เมื่อรู้ผลสอบสวน
หลังจากโจทก์ที่ 3 คลอดโจทก์ที่ 1 และเกิดเหตุละเมิดจากการทำคลอดของจำเลยทั้งสามต่อโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ได้พยายามให้โจทก์ที่ 1 ได้รับการรักษาทั้งจากจำเลยทั้งสามและโรงพยาบาลอื่น และได้เรียกร้องให้จำเลยทั้งสามรับผิดชอบกับร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขแต่ไม่เป็นผล วันที่ 9 กันยายน 2537 โจทก์ที่ 3 ได้ทำหนังสือร้องเรียนจำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกต่อแพทยสภาย่อมชี้ชัดว่า โจทก์ที่ 1 โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมผู้มีอำนาจทำการแทนผู้เยาว์ และโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ในฐานะส่วนตัว ได้รู้ถึงการละเมิดกับรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ตั้งแต่ก่อนวันที่ 9 กันยายน 2537 มิใช่ตั้งแต่วันที่โจทก์ทราบผลการสอบสวนข้อเท็จจริงจากแพทยสภา โจทก์ที่ 1 และที่ 3 ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2539 ล่วงเลยกำหนด 1 ปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
คำฟ้องระบุเพียงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้แก่โจทก์ที่ 3 โดยประมาทเพราะจำเลยที่ 2 สามารถทราบขนาดของทารกในครรภ์แต่ไม่เลือกวิธีทำคลอดให้เหมาะสม กับจำเลยที่ 3 ซึ่งดูแลรักษาโจทก์ที่ 1 ประมาทเนื่องจากการถ่ายเลือดด้วยวิธีแยงสายสะดือทำให้โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อ โดยในส่วนของจำเลยที่ 2 โจทก์บรรยายฟ้องให้ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ทำคลอดให้โจทก์ที่ 3 ตามขั้นตอนปกติ พยายามให้คลอดโดยวิธีธรรมชาติ ต่อมาใช้วิธีเอาเครื่องมือดูดศีรษะทารกในครรภ์เพื่อดึงออกจนกระทั่งต้องผ่าตัด ส่วนจำเลยที่ 3 ดูแลโจทก์ที่ 1 จนอาการตัวเหลืองหายไป แต่โจทก์ที่ 1 ติดเชื้อจากการถ่ายเลือด จำเลยที่ 3 ก็ไม่ให้ยาปฏิชีวนะรักษา แต่กลับอนุญาตให้โจทก์ที่ 3 นำโจทก์ที่ 1 กลับบ้าน ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจึงเป็นเพียงการแสดงซึ่งสภาพแห่งข้อหาว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ปฏิบัติงานบกพร่องเป็นการกระทำละเมิดในทางแพ่งเท่านั้น มิใช่ข้อเท็จจริงถึงขั้นว่าเป็นการกระทำโดยประมาทที่จะมีมูลความผิดทางอาญาซึ่งจะต้องบังคับใช้อายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยตัวแทนของบริษัทเงินทุน และความรับผิดในสัญญาฝากทรัพย์
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้นจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติ การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่14 กรกฎาคม 2524 ข้อ 2(2), ข้อ 3(1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต และการผูกพันรับผิดในฐานะตัวแทนที่เชิด
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ของจำเลยที่ 2 ที่ 3กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการนั้นชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 จะเป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิด และจำเลยที่ 1 กระทำอย่างใดอันถือได้ว่าได้แต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้บิดาของโจทก์ผู้เยาว์ยังมีชีวิตอยู่ แต่มารดาโจทก์ในฐานะผู้ใช้อำนาจปกครองก็เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ มารดาโจทก์ผู้เดียวจึงมีอำนาจฟ้องแทนโจทก์ได้ โจทก์ฝากเงินกับบริษัทจำเลยที่ 1 โดยพนักงานของจำเลยที่ 1เป็นผู้รับเงินไป แต่ไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้โจทก์ จำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการของจำเลยที่ 1 ได้สั่งจ่ายเช็คระบุจำนวนเงินเท่ากับเงินฝากแต่มิได้ประทับตราสำคัญของจำเลยที่ 1มอบให้โจทก์แม้จะมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1แต่การที่พนักงานของจำเลยที่ 1 ได้นำดอกเบี้ยเงินฝากมาชำระให้โจทก์ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกหลงเข้าใจว่าการรับฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นตัวแทนในการรับฝากเงินและสั่งจ่ายเช็คให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนิติบุคคลต่อการรับฝากเงินโดยผ่านตัวแทน และข้อจำกัดในการฎีกาเรื่องดอกเบี้ย
ประเด็นที่ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุม เพราะโจทก์มิได้บรรยายยืนยันข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาให้แน่นอนว่า โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วเงินหรือตามสัญญาฝากทรัพย์นั้น จำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ในคำให้การและศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยให้ ฎีกาของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 รับฝากเงินและลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้คืนเงินฝากแก่โจทก์ได้กระทำในฐานะตัวแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ตัวการ ฟ้องโจทก์จึงแสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสองแล้ว ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทนโดยแต่งตั้งหรือเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน เป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำเข้าสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1566 แม้บิดาโจทก์ยังมีชีวิตอยู่ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์ไม่อยู่ใต้อำนาจปกครองของมารดาไม่ เมื่อมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองโจทก์จึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ตาม มาตรา 1569 มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การกู้ยืมเงินหรือรับเงินออมจากประชาชนได้จะต้องปฏิบัติอยู่ในกำหนดกฎเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522มาตรา 4,27 และตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้บริษัทเงินทุนปฏิบัติในการกู้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชน และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือส่วนลดที่บริษัทเงินทุนอาจจ่ายหรืออาจเรียกได้ ลงวันที่ 14 กรกฎาคม2524 ข้อ 2 (2), ข้อ 3 (1) การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นกรรมการของจำเลยที่ 1 รับเงินจากโจทก์แล้วไม่ออกเอกสารการกู้ยืมหรือตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์และไม่ใช่เพื่อการพัฒนาหรือการเคหะ แม้จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คให้แก่โจทก์ แต่ก็ไม่มีตราสำคัญของจำเลยที่ 1 ประทับไว้จึงมิได้เป็นการสั่งจ่ายเช็คในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 แต่ตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลยที่ 1 เป็นผู้ดำเนินการรับฝากเงินจากโจทก์และจากบุคคลอื่นโดยทั่วไป การชำระดอกเบี้ยรายเดือนเป็นผลประโยชน์ตอบแทนทำให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตหลงเข้าใจได้ว่า การรับเงินฝากเงินเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่ทำได้ตามกฎหมายและอยู่ภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 จึงต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ติดต่อรับฝากเงินเองโดยเชิดจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ต้องผูกพันรับเอาผลการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยรับผิดคืนเงินที่รับฝากพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 821ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก
ฎีกาของโจทก์ที่ว่าจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดใช้ดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 14.5 ต่อปีนั้น เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรผู้เยาว์: การเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมและอำนาจฟ้องคดีโดยไม่ต้องมียินยอม
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมาย ศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจาก พยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา247 โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่าอำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียว ดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ ทั้งสามได้ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าบิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส. ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1114/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ผู้เยาว์: ผู้แทนโดยชอบธรรมและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
คดีมีปัญหามาสู่ศาลฎีกาในปัญหาข้อกฎหมายเพียงข้อเดียวว่าโจทก์ทั้งสามมีอำนาจฟ้องหรือไม่ ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายศาลฎีกาจะต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 238 ประกอบมาตรา 247
โจทก์ทั้งสามยังไม่บรรลุนิติภาวะต้องอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาตามประมวลกฎมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1566 วรรคแรก ทั้งคดีไม่ปรากฏว่า อำนาจปกครองอยู่กับบิดาหรือมารดาแต่ฝ่ายเดียวดังเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 1566 วรรคสอง ต้องถือว่าโจทก์ทั้งสามอยู่ใต้อำนาจปกครองของบิดามารดาทั้งสองคน บิดาหรือมารดาคนใดคนหนึ่งจึงมีสิทธิใช้อำนาจปกครองโจทก์ทั้งสามได้ มารดาจึงเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมตามมาตรา 1569 มีสิทธิฟ้องคดีแทนโจทก์ทั้งสามได้
ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า บิดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรก่อนมารดานั้น ไม่มีกฎหมายสนับสนุน
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ที่ดินตามฟ้องเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทั้งสามมิใช่สินสมรสระหว่างสามีภริยา ส.ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของโจทก์ทั้งสามจึงมีอำนาจฟ้องคดีได้ตามลำพังโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์, ค่าปลงศพ, ค่าอุปการะเลี้ยงดู, และการฟ้องแทนผู้เยาว์
โจทก์เป็นสามีของผู้ตาย ไม่ปรากฏว่ามีพินัยกรรมเป็นอย่างอื่น โจทก์จึงเป็นผู้ได้รับทรัพย์มรดกโดยสิทธิทายาทโดยธรรมของผู้ตายเป็นจำนวนมากที่สุด เป็นผู้มีอำนาจและมีหน้าที่ต้องจัดการทำศพผู้ตายตาม ป.พ.พ.มาตรา 1649 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าปลงศพภริยาโจทก์ก็ได้ แม้บิดาโจทก์จะได้ออกเงินให้โจทก์ใช้จ่ายในการทำศพ จำเลยก็จะมายกเป็นข้อปัดป้องความรับผิดของจำเลยหาได้ไม่.
ลูกจ้างประสบอันตรายถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานและอธิบดีกรมแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าทดแทนให้แก่มารดา สามี และบุตร เป็นการจ่ายเงินเพื่อการคุ้มครองแรงงานไม่ใช่ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิด โจทก์ซึ่งเป็นสามีของลูกจ้างผู้ตายยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเรื่องละเมิดได้.
ในตอนต้นของคำฟ้องโจทก์มีชื่อโจทก์เพียงผู้เดียว แต่โจทก์เป็นบิดาผู้ใช้อำนาจปกครองและเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง จ. และปรากฏในคำฟ้องว่า โจทก์กับนาง ส.ผู้ตายมีบุตรด้วยกันคือ เด็กหญิง จ. ทั้งโจทก์เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้เป็นจำนวนเงินชัดเจน ถือได้ว่าโจทก์ได้ฟ้องคดีในฐานะบิดาผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์ด้วยแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903-906/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนมรดก, การจัดการทรัพย์สินของเด็ก, และอายุความในการฟ้องร้องคดีมรดก
ผู้รับมฤดกคนหนึ่งได้เข้าเป็นผู้ปกครองเด็กตามพินัยกรรม์ของผู้ตายแล้ว จะยกอายุความมรฤกยันเด็กไม่ได้ เจตนาจะให้ที่ดินที่ลูกหนี้ตีใช้หนี้แก่เด็กจึงให้หลงชื่อเด็กเป็นผู้รับโอนในโฉนดดังนี้ ที่ดินนั้นยอมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเด็กตั้งแต่วันโอน
เจตนาจะยกที่ให้แก่เด็ก แต่จดทะเบียนเป็นโอนขายแก่เด็กเด็กก็ย่อมได้กรรมสิทธิ์
ตกลงแลกเปลี่ยนที่ดินกัน ฝ่ายหนึ่งโอนทะเบียนให้ อีกฝ่ายหนึ่งทำหนังสือขายให้แก่คนภายนอกโดยผู้รับแลกเปลี่ยนเป็นผู้รับเงินราคาที่ขายได้นั้น อีกฝ่ายหนึ่งจะฟ้องเรียกเงินที่ขายได้นั้นไม่ได้
เงินค่าเช่าที่ดินและโรงเรือนย่อมเป็นของเจ้าของที่ดิน
เด็กอายุ 17 ปี ตายในขณะที่อยู่ในความปกครองของธิดา ส่วนมารดาตายไปก่อนแล้ว มฤดกตกได้แก่บิดาผู้เดียว พี่น้อง ร่วมบิดามารดาไม่มีสิทธิได้รับมฤดก อ้างฎีกาที่ 567/2456
รับเงินของผู้อื่นไว้รักษาและหาผลประโยชน์ เดิมฝากธนาคารไว้ ภายหลังไม่ปรากฎว่าได้ถอนไปหรือได้นำไปหาผลประโยชน์อย่างไร ศาลคิดค่าผลประโยชน์ให้ในอัตราขั้นต่ำที่ฝากธนาคาร เงินรายได้ที่เก็บได้จากทรัพย์ของเด็กนั้น ถ้าเด็กนำสืบไม่ได้ว่าผู้ปกครองใดได้เท่าใดแล้ว ศาลไม่คิดค่าผลประโยชน์ให้
of 2