พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 643/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนการบังคับคดีหลังได้รับชำระหนี้แล้ว และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมการบังคับคดี
ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นบังคับคดี อันได้แก่ ค่าธรรมเนียม ค่าป่วยการ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการบังคับคดีเป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่ขอใช้บริการในการบังคับคดี ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 153 วรรคสอง กำหนดให้เจ้าหนี้ผู้ขอบังคับคดีนั้นเป็นผู้ชำระ และตาม ป.วิ.พ. มาตรา 169/2 วรรคสี่ บัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาผู้ขอยึดหรืออายัดทรัพย์สินเป็นผู้รับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ในกรณีที่มีการถอนการบังคับคดีนอกจากกรณี ป.วิ.พ. มาตรา 292 (1) และ (5) ในการบังคับคดีตามคำพิพากษาคดีนี้ โจทก์เป็นผู้ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด การที่ระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์ที่ยึด โจทก์ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าโจทก์ได้รับชำระหนี้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว โดยไม่ได้แถลงให้ชัดเจนว่าโจทก์ขอถอนการบังคับคดี ทั้งเจ้าพนักงานบังคับคดียังเกษียนสั่งว่า โจทก์แถลงผลการชำระหนี้ภายนอก แต่ยังไม่สละสิทธิการบังคับคดีก็ตาม แต่ตามคำแถลงของโจทก์ย่อมเป็นผลให้โจทก์ไม่มีสิทธิบังคับคดีจากทรัพย์จำนองที่ยึดไว้ได้อีกต่อไป ซึ่งต้องถือว่าเป็นการที่โจทก์ขอถอนการบังคับคดี และเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องถอนการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (7) เจ้าพนักงานบังคับคดีรายงานข้อเท็จจริงว่า หลังจากโจทก์แถลงว่าจำเลยได้ชำระหนี้ครบถ้วนแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองต่อไปเพื่อประโยชน์ของผู้ร้อง และผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาด อันเป็นการปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 327 ด้วยการให้ผู้ร้องเข้าดำเนินการบังคับคดีต่อไปจากโจทก์เนื่องด้วยมีการถอนการบังคับคดีนั่นเอง จึงเป็นกรณียึดแล้วไม่มีการขาย โจทก์ต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. กับค่าใช้จ่ายในการบังคับคดี อันเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับคดี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 153 วรรคสอง และมาตรา 169/2 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10877/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการเพิกถอนหมายบังคับคดีเมื่อศาลอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ แม้การยึดทรัพย์สินเป็นการกระทำโดยชอบ
คดีนี้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินพิพาทของจำเลยเนื่องจากเดิมศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมแก่โจทก์ แต่จำเลยมิได้ปฏิบัติตามคำพิพากษา ดังนั้น การที่โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานำยึดที่ดินพิพาทเพื่อขายทอดตลาดนำเงินมาชำระแก่โจทก์ตามคำพิพากษาจึงเป็นการกระทำโดยชอบ แม้ต่อมาการยึดที่ดินพิพาทต้องถูกเพิกถอนไปเนื่องจากศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ และวิธีการบังคับคดีที่ได้ดำเนินไปแล้วให้ถือว่าเป็นอันเพิกถอนไปในตัวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 199 เบญจ นั้นเป็นไปโดยผลของกฎหมาย มิได้เกิดจากข้อบกพร่องของโจทก์ในการบังคับคดี อย่างไรก็ตามเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีแล้ว โจทก์จึงไม่อาจบังคับแก่ทรัพย์สินของจำเลยต่อไปได้ เพียงแต่การบังคับคดีที่โจทก์ได้ดำเนินการผ่านเจ้าพนักงานบังคับคดีมาแล้ว ถือได้ว่ามีเหตุสมควรและ มีความสุจริตในการบังคับคดี จึงไม่สมควรที่โจทก์จะต้องรับผิดชำระค่าฤชาธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายจากผลของการที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ตามคำร้องของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7405/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดี/ที่ดิน ทำให้ยึดทรัพย์ผิดพลาด โจทก์ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ. ค่าธรรมเนียมเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งมิใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย เป็นค่าบริการที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเรียกเก็บจากคู่ความที่มาขอใช้บริการการยึดทรัพย์จากเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้ว แต่ต่อมาไม่มีการขายทรัพย์ที่ยึดนั้น อย่างไรก็ตามคู่ความจะต้องเสียค่าธรรมเนียมเช่นว่านี้ก็ต่อเมื่อเหตุที่คู่ความนำยึดทรัพย์นั้นมิได้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยผิดพลาดบกพร่องของเจ้าพนักงานบังคับคดีหรือพนักงานเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องด้วย คดีนี้ข้อเท็จจริงได้ความว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีพิมพ์หมายเลขที่โฉนดที่ดินที่ขออายัดชั่วคราวและเจ้าพนักงานที่ดินรับรองสำเนาโฉนดที่ดินไม่ถูกต้องตรงต่อความจริง ล้วนมีส่วนทำให้ผู้แทนโจทก์เข้าใจผิดว่าขณะนำยึดที่ดินโฉนดเลขที่ 43985 นั้น ที่ดินโฉนดดังกล่าวยังเป็นของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาอยู่ ดังนั้น การที่ผู้แทนโจทก์นำยึดที่ดินแล้วมีเหตุต้องถอนการยึดเพราะที่ดินที่ยึดมิใช่ทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาอันจะดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้เช่นนั้น จึงหาใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ผู้นำยึดทรัพย์ไม่ โจทก์จึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมยึดแล้วไม่มีการขายตามตาราง 5 (3) ท้าย ป.วิ.พ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการคิดค่าธรรมเนียมยึดทรัพย์ – มูลค่าทรัพย์สินที่ยึด vs. จำนวนหนี้ – ความรับผิดค่าธรรมเนียมถอนการยึด
การคิดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามตาราง 5 ข้อ 3 ท้าย ป.วิ.พ. ระบุว่า เมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่ายให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่งของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึดตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายถึงราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่งไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ เมื่อการยึดทรัพย์ถูกถอนการยึดเพราะโจทก์นำยึดเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 284 โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว
ป.วิ.พ. มาตรา 161 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 166 ให้คู่ความฝ่ายที่ดำเนินกระบวนพิจารณาใดไปเพราะความผิดทำให้ต้องเสียค่าฤชาธรรมเนียมในกระบวนพิจารณานั้นต้องรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียมนั้น โดยไม่คำนึงว่าคู่ความฝ่ายนั้นจะชนะคดีหรือไม่ เมื่อการยึดทรัพย์ถูกถอนการยึดเพราะโจทก์นำยึดเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตรา 284 โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมถอนการยึดทรัพย์เพียงฝ่ายเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดีคำนวณจากราคาประเมินทรัพย์สินใหม่ที่เหมาะสม ไม่ใช่ยอดหนี้ตามคำพิพากษา
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง ตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดให้ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึดแต่ไม่เกินจำนวนที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินที่ยึดตารางวาละ 10,000 บาท เป็นเงิน 1,160,000 บาท และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่ยึดเป็นเงิน 15,000 บาท ต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้วรวม 17 ครั้ง เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ แต่ไม่มีผู้ใดเสนอราคาสูงถึงราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แสดงว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในครั้งแรกเป็นราคาที่สูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์ที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดใหม่เป็นเงิน 595,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่ง จากเงินจำนวนดังกล่าว
เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาที่ดินที่ยึดตารางวาละ 10,000 บาท เป็นเงิน 1,160,000 บาท และประเมินราคาสิ่งปลูกสร้างที่ยึดเป็นเงิน 15,000 บาท ต่อมาได้ประกาศขายทอดตลาดที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวแล้วรวม 17 ครั้ง เป็นเวลานานถึง 2 ปีเศษ แต่ไม่มีผู้ใดเสนอราคาสูงถึงราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ แสดงว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในครั้งแรกเป็นราคาที่สูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์ที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดใหม่เป็นเงิน 595,000 บาท โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 3 ครึ่ง จากเงินจำนวนดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4642/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: การประเมินราคาทรัพย์สินใหม่เพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเมื่อราคาเดิมสูงเกินไป
ป.วิ.พ. มาตรา 149 วรรคหนึ่ง และตาราง 5 หมายเลข 3 (เดิม) ท้าย ป.วิ.พ. ที่กำหนดว่า ค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อยึดทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โจทก์ผู้นำยึดและขอถอนการยึดต้องเสียในอัตราร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด ส่วนการคำนวณราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้เจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนด ถ้าไม่ตกลงกันให้คู่ความที่เกี่ยวข้องเสนอเรื่องต่อศาลตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 296 นั้น หมายถึงเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึด แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี ทั้งบทบัญญัติดังกล่าวยังให้อำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้กำหนดราคมทรัพย์สินที่ยึดเพื่อคำนวณค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีด้วย ส่วนการประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวเป็นการประเมินราคาเบื้องต้นเท่านั้น ยังถือเป็นราคาทรัพย์สินที่แน่นอนแล้วไม่ได้ ดังนั้น หากพฤติการณ์ต่างๆ ปรากฏในภายหลังว่าราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ในขณะทำการยึดนั้นไม่เหมาะสมหรือสูงเกินไป เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเสียใหม่ให้เหมาะสมได้ และราคาทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินใหม่นี้ถือได้ว่าเป็นราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดี แต่ไม่เกินจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดในการบังคับคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินยึดเพื่อขายทอดตลาด เป็นเพียงราคาเริ่มต้น ผู้มีส่วนได้เสียสามารถสู้ราคาหรือคัดค้านได้
การประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประเมินราคาในชั้นต้นเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดีขายทอดตลาดเท่านั้น ซึ่งอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาได้ผูกมัดจำเลยหรือโจทก์หรือผู้มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่ และหากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้นั้นต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้ กรณีจึงยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิระหว่างเจ้าพนักงานบังคับคดีกับจำเลยอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนการประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสองได้ ส่วนการที่คู่ความจะมีสิทธิเสนอเรื่องต่อศาลตามที่กำหนดไว้ในข้อ 3 และข้อ 4 ของตาราง 5 ท้าย ป.วิ.พ. ต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีคำนวณราคาทรัพย์สินเพื่อการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในกรณีที่ยึดหรืออายัดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย หาใช่เป็นกรณีที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์สินที่ยึดเพื่อประโยชน์ในการขายทอดตลาดต่อไปเช่นคดีนี้ไม่