พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลฎีกาวินิจฉัยการยื่นคำร้องซ้ำเดิมเป็นกระบวนการซ้ำ
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่ได้บัญญัติในเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 144 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการลูกหนี้อ้างว่าจะดำเนินการโดยการปรับโครงสร้างหนี้ และหาผู้ร่วมลงทุนเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้ว เห็นว่า พยานหลักฐานที่ลูกหนี้นำสืบมาไม่เพียงพอที่จะรับฟังได้ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและกรณีมีเหตุอันสมควรและมีช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เนื่องจากพยานหลักฐานของลูกหนี้ไม่น่าเชื่อถือว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์น้อยกว่าหนี้สิน ในขณะที่ช่องทางหลักในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ศาลล้มละลายกลาง เห็นว่า ปัญหาในการดำเนินธุรกิจเพื่อพัฒนาโครงการ "จูเมร่า ไพรเวท ไอส์แลนด์ ภูเก็ต" ของลูกหนี้ไม่ได้มีแต่ปัญหาการไม่ชำระหนี้หรือปัญหาในการรวบรวมและจัดการบริหารทรัพย์สินของลูกหนี้ แต่ปัญหาสำคัญจริง ๆ เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้และกลุ่มบริษัทที่เกี่ยวข้องกัน โดยเฉพาะปัญหาในเรื่องการโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้และบริษัทในเครือที่มีเรื่องฟ้องร้องกันหลายคดี และข้อพิพาทเหล่านี้เป็นข้อพิพาทที่อยู่นอกเหนือกระบวนการของกฎหมายล้มละลาย จึงมีคำสั่งยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอทั้งสองนำเสนองบดุลของลูกหนี้ที่อ้างว่าจัดทำโดยผู้สอบบัญชี และอ้างข้อสันนิษฐานตามมาตรา 8 (7) และ (9) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการ ด้วยวิธีการอาจปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยการเพิ่มทุน หาผู้ร่วมลงทุนใหม่ กู้เงิน ปรับรูปแบบโครงการโดยจะเข้าเจรจากับโรงแรมจูเมร่า เกี่ยวกับสัญญาบริหารงานโรงแรม เพื่อปรับเปลี่ยนขั้นตอนการก่อสร้างและขนาดของโรงแรม ยื่นขออนุญาตส่งเสริมการลงทุน หาคนกลางมาเป็นผู้ทำแผนและผู้บริหารชั่วคราวเพื่อดูแลกิจการของลูกหนี้แทนกรรมการลูกหนี้ที่มีข้อขัดแย้งกันอยู่โดยเสนอบริษัท น. เป็นผู้ทำแผน ซึ่งในการพิจารณาคดีนี้ศาลยังคงต้องพิจารณาและวินิจฉัยว่าลูกหนี้มีสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินหรือไม่ ทั้งการพิจารณานอกจากข้อสันนิษฐานตามกฎหมายแล้วก็ยังต้องพิจารณางบดุลและพิจารณาการประเมินราคาทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อเทียบกับหนี้สินเหมือนในคดีก่อน ส่วนช่องทางในการฟื้นฟูกิจการที่ผู้ร้องขอที่ 2 เสนอมาก็เป็นช่องทางที่สาระสำคัญหรือหลักการไม่ได้แตกต่างไปจากที่ศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัย ไว้แล้วในคดีก่อนแต่อย่างใด ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจของลูกหนี้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กรธุรกิจของลูกหนี้ ข้อขัดแย้งของกรรมการและผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ดังนั้น การพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ ฟ.52/2553 ตาม ป.วิ.พ. 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7853/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมสามีภริยาจากการประกอบธุรกิจกู้ยืมเงิน และการพิพากษาคดีล้มละลาย
การฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายนั้น เจ้าหนี้เพียงแต่บรรยายฟ้องว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9ก็เป็นการเพียงพอแล้ว ส่วนจำเลยทั้งสองจะเป็นหนี้โจทก์จริงหรือไม่ และจะต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่จะต้องนำสืบในชั้นพิจารณาเมื่อมีประเด็นโต้เถียงกัน คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายฟ้องให้เห็นแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการโดยกู้ยืมเงินโจทก์หลายครั้ง ต่อมาจำเลยทั้งสองตกลงจะ ชำระหนี้ให้โจทก์เป็นเงิน 19,020,000 บาท โดยจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้และออกเช็คเพื่อชำระหนี้ ต่อมาจำเลยทั้งสองผิดนัด โจทก์ทวงถามแล้วจำเลยทั้งสองอ้างว่าไม่มีทรัพย์สินใด ๆ จะชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยทั้งสอง 2 ครั้ง มีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน จำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ให้โจทก์จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยทั้งสองมีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8(7)และ(9) ดังนี้ คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงครบถ้วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9และครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 แล้ว ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย ฝ่ายจำเลยขอเลื่อนคดีหลายครั้ง และจำเลยที่ 1เบิกความเสร็จเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2537 จำเลยที่ 1ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2537วันที่ 19 ธันวาคม 2537 วันที่ 6 และ 20 กุมภาพันธ์ 2538เวลา 9 นาฬิกา รวม 4 วัน ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาว่าสืบพยานจำเลยที่ 1 เสร็จเมื่อใดให้จำเลยที่ 2 สืบต่อ เมื่อถึงวันนัดที่เลื่อนมาจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนคดีอ้างว่าเตรียมพยานมาโดยผิดหลงขอเลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 1 ต่อในนัดหน้า โดยจำเลยที่ 1 ขอสืบ ส. อีกปากเดียว ศาลชั้นต้นอนุญาตครั้นถึงวันนัด จำเลยที่ 1 แถลงหมดพยานศาลชั้นต้นจึงให้จำเลยที่ 2 นำพยานเข้าสืบต่อจำเลยที่ 2 ขอเลื่อนอ้างว่าไม่ได้เตรียมพยานมาศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 2 รวม 2 นัดตามที่นัดไว้เดิม เมื่อถึงวันนัดต่อมา จำเลยที่ 2ขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 2 ติดอบรมที่กรุงเทพมหานครเป็นเวลา 3 เดือน และแถลงว่าติดใจสืบตัวจำเลยที่ 2กับ ส. เพียง 2 ปากนอกนั้นจะขอส่งคำให้การพยานจากศาลแขวงนครราชสีมาแทน สำหรับ ส.อาจจะไม่สืบ ต้องรอคำเบิกความจำเลยที่ 2ก่อน และแถลงเพิ่มเติมว่านัดหน้าจะนำตัวจำเลยที่ 2หรือส.มาเบิกความ จะไม่ขอเลื่อนคดีอีกศาลชั้นต้นอนุญาตให้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยที่ 2 ต่อตามที่นัดไว้เดิม ถึงวันนัดทนายจำเลยที่ 2 ไม่ได้นำตัวจำเลยที่ 2 หรือส.มาเบิกความแต่กลับขอเลื่อนคดีอ้างว่าตัวจำเลยที่ 2 ติดการอบรมที่กรุงเทพมหานครดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นได้ให้โอกาสแก่จำเลยที่ 2หลายครั้งแล้ว และครั้งสุดท้ายที่จำเลยที่ 2 ขอเลื่อนก็แถลงว่าจะนำตัวจำเลยที่ 2 หรือส. มาเบิกความและจะไม่ขอเลื่อนคดีอีก แต่เมื่อถึงวันนัดทนายจำเลยที่ 2ก็ไม่ได้นำตัวจำเลยที่ 2 หรือส. มาเบิกความตามที่แถลงไว้ พฤติการณ์ของ จำเลยที่ 2 ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการประวิงคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 2 เลื่อนคดีและ งดสืบพยานจำเลยที่ 2 โดยถือว่าจำเลยที่ 2 ไม่มีพยาน มาสืบจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว จำเลยที่ 1 ได้กู้ยืมเงินโจทก์ไปจริง ในการกู้ยืมเงินจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีโดยชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 ได้รู้เห็นยินยอมด้วย โดยจำเลยที่ 2 เคยไปรับเงินกู้จากโจทก์พร้อมกับจำเลยที่ 1 หลายครั้งนอกจากนี้เมื่อสามีโจทก์ไปพบจำเลยที่ 2 และได้พูดเรื่อง หนี้สินกับจำเลยที่ 2 กับขอให้จำเลยที่ 2 ลงชื่อค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ก็รับปากจะใช้หนี้สินทั้งหมดให้แต่ต่อมาจำเลยที่ 2 กลับไม่ยอมลงชื่อในสัญญาค้ำประกันดังนี้ เป็นพฤติการณ์ที่ฟังได้แล้วว่าจำเลยที่ 2รู้เห็นยินยอมให้จำเลยที่ 1 ประกอบธุรกิจให้กู้ยืมเงินตลอดมา แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ลงชื่อในสัญญากู้ฉบับดังกล่าว แต่เมื่อจำเลยที่ 2 รับรู้ในหนี้ที่จำเลยที่ 1ก่อขึ้นตลอดมา ถือได้ว่าหนี้ที่จำเลยที่ 1 ก่อขึ้นเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกันจึงเป็นหนี้ร่วมระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1490(3)ซึ่งจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องรับผิดใช้หนี้ร่วมกันต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนสัญญา, การรับรองเอกสาร, และการพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัวในคดีล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ตกลงมอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนิน กิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัว แทนของบริษัท สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่ จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้อง แห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้ แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือ ไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่ เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจแต่ โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้ หลบหนีไปจากเคหสถาน ที่เคยอยู่ แต่ ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนสัญญา, ผลผูกพันสัญญา, การคัดค้านพยานหลักฐาน, และการล้มละลาย
บริษัท ท. ได้ ตกลง มอบอำนาจให้จำเลยหรือ ท. คนใดคนหนึ่งลงนามพร้อมประทับตราสำคัญของบริษัทดำเนินกิจการต่าง ๆ แทนบริษัทได้ดังนั้น การที่ ท. แต่ผู้เดียวลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัท ท. ในสัญญาโอนขายลดเช็คที่ทำไว้กับโจทก์ จึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของบริษัท
สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ แต่โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้หลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่ แต่ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
สำเนาเอกสารที่จำเลยเพียงแต่ยื่นคำร้องไม่รับรองว่าถูกต้องหรือมีอยู่จริง แต่จำเลยมิได้คัดค้านการนำสืบสำเนาเอกสารดังกล่าวและบอกกล่าวไปยังโจทก์ก่อนวันสืบพยาน จำเลยจึงต้องห้ามมิให้คัดค้านการมีอยู่และความแท้จริงหรือความถูกต้องแห่งสำเนาเอกสารนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 125 ศาลมีอำนาจรับฟังสำเนาเอกสารดังกล่าวได้
แม้ศาลชั้นต้นจะวินิจฉัยว่า ถือไม่ได้ว่าบริษัท ท. ได้ทำสัญญาโอนขายลดเช็คกับโจทก์เพราะ ท. แต่เพียงผู้เดียวไม่มีอำนาจ แต่โจทก์ยังกล่าวโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหยิบยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย
โจทก์กล่าวอ้างในฎีกาว่า จำเลยได้หลบหนีไปจากเคหสถานที่เคยอยู่ แต่ความข้อนี้ไม่ใช่ข้อที่โจทก์ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
เมื่อโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ จำเลยบอกให้รอไปก่อนแต่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แจ้งแก่โจทก์ว่าไม่สามารถชำระหนี้ได้ จึงยังไม่เข้าข้อสันนิษฐานว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย: การมอบอำนาจ การพิสูจน์หลักฐาน และการบรรยายฟ้องที่ชัดเจน
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์ที่ 7 ในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่มีอำนาจมอบให้โจทก์ที่ 10 ฟ้องคดีล้มละลายได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 กับจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, หนังสือมอบอำนาจ, การบรรยายฟ้องชัดเจน, ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลาย โจทก์ที่ 7 ในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่มีอำนาจมอบให้โจทก์ที่ 10 ฟ้องคดีล้มละลายได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้อุทธรณ์ คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 กับจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้ง จำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่า จำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2203/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลาย, การมอบอำนาจ, การพิสูจน์หนี้สิน, ผู้ทรงเช็คพิพาท, ข้อสันนิษฐานหนี้สินล้นพ้นตัว
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 โดยวินิจฉัยว่าโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 ฟ้องคดีล้มละลายโจทก์ที่ 7 ในฐานะตัวแทนโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 จึงไม่มีอำนาจมอบให้โจทก์ที่ 10 ฟ้องคดีล้มละลายได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มิได้อุทธรณ์คดีระหว่างโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 กับจำเลยเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยจำเลยผู้สั่งจ่ายนำไปแลกเงินสด เมื่อเช็คถึงกำหนด โจทก์นำเช็คไปขึ้นเงินแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คหลายครั้งจำเลยเพิกเฉย แจ้งว่าไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่โจทก์ได้ เป็นการบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดและเข้าหลักเกณฑ์ข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม