คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 2 (5)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากเจ้าหน้าที่ละเมิด: ป.ป.ช. และหน่วยงานรัฐ
แม้โจทก์มิใช่ข้าราชการในกรมอัยการแต่ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 97 วรรคสอง บัญญัติให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจฟ้องคดีเองหรือแต่งตั้งทนายความให้ฟ้องคดีแทน จึงถือได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลตามความหมายของคำว่า พนักงานอัยการตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (5) และเนื่องจากตามคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องกล่าวอ้างว่า ผู้ร้องมีสิทธิที่จะเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนเพราะได้รับความเสียหายในทางทรัพย์สินอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะยื่นคำร้องต่อศาลที่พิจารณาคดีอาญา ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 44/1
ตาม พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 10 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่เจ้าหน้าที่เป็นผู้กระทำละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้นั้นอยู่ในสังกัดหรือไม่ ถ้าเป็นการกระทำในการปฏิบัติหน้าที่ การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเจ้าหน้าที่ให้นำบทบัญญัติ มาตรา 8 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" ซึ่งมาตรา 8 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิดของเจ้าหน้าที่ให้หน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวแก่หน่วยงานของรัฐได้ถ้าเจ้าหน้าที่ได้กระทำการนั้นไปด้วยความจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง" จึงเห็นได้ว่า พ.ร.บ. ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 8 วรรคหนึ่ง เป็นบทบัญญัติให้สิทธิหน่วยงานของรัฐมีสิทธิเรียกให้เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่หน่วยงานของรัฐได้ จึงไม่ใช่บทบังคับผู้ร้องซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐต้องออกคำสั่งทางปกครองให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนเสียก่อนจึงจะมีสิทธิฟ้อง ผู้ร้องจึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1311/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้าร่วมเป็นโจทก์ร่วมของผู้เสียหาย แม้ทรัพย์สินระบุชื่ออื่น ศาลต้องพิจารณาความเป็นเจ้าของที่แท้จริง
คำร้องของโจทก์ร่วมที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นระบุว่าโจทก์ร่วมเป็นผู้เสียหายในคดีนี้ศาลชั้นต้นรับคำร้องและอนุญาตให้เข้าเป็นโจทก์ร่วมได้แล้วแม้คำฟ้องโจทก์จะระบุว่าทรัพย์ตามที่ระบุในคำฟ้องเป็นของณ. แต่ก็ได้ความว่าเป็นทรัพย์ของโจทก์ร่วมซึ่งมีณ. เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนเมื่อจำเลยนำสืบปฏิเสธว่าผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ร่วมคืออ. และโจทก์ร่วมนำทรัพย์มาฝากไว้จึงไม่ถือว่าจำเลยหลงข้อต่อสู้ไม่เป็นเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกอุทธรณ์โจทก์ร่วมด้วยเหตุว่าโจทก์ร่วมมิใช่ผู้เสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2625/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้เสียหายในความผิดแจ้งความเท็จ-เบิกความเท็จ ไม่จำกัดเฉพาะเจ้าพนักงาน ราษฎรที่เสียหายโดยตรงก็ฟ้องได้
การที่จำเลยแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาจนโจทก์ถูกดำเนินคดีในความผิดต่อ พระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ และการที่จำเลยเบิกความเท็จอันเป็นข้อสำคัญในคดีดังกล่าวย่อมทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายและมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จและฐานเบิกความเท็จได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันซ้ำโดยพนักงานอัยการและโจทก์เอกชน
พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับพวกพนักงานอัยการโจทก์ในคดีนี้ต่างฟ้องกล่าวหาจำเลยลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับเดียวกัน แม้ข้อความทีฟ้องแต่ละคดีจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันก็ตาม แต่บทความที่โจทก์ในคดีนี้และพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้อง ลงในหนังสือพิมพ์ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีจึงเป็นเรื่องเดียวกัน พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์โจทก์ในอีกคดีหนึ่งกับโจทก์ในคดีนี้ต่างเป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),ฆ28(1) จึงเป็นพนักงานอัยการโจทก์ด้วยกัน การที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามมิให้โจทก์ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีซ้ำจากข้อความหมิ่นประมาทเดียวกัน
แม้ข้อความที่ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ซึ่ง จำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึง โจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและ พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ กับโจทก์คดีนี้ต่าง ก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อ ศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5)28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 464/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีหมิ่นประมาท: การฟ้องคดีเดียวกันโดยโจทก์คนละคนแต่เป็นพนักงานอัยการด้วยกัน
แม้ข้อความที่พนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์ฟ้องว่าจำเลยลงพิมพ์ข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมจะเป็นคนละบทความกันและลงพิมพ์ต่างหน้ากันกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้ แต่ก็เป็นข้อความหมิ่นประมาทโจทก์ร่วมในหนังสือพิมพ์ ซึ่งจำเลยเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาฉบับเดียวกัน ทั้งเป็นข้อความที่กล่าวถึงโจทก์ร่วมในเรื่องเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวและพนักงานอัยการจังหวัดบุรีรัมย์กับโจทก์คดีนี้ต่างก็เป็นพนักงานอัยการมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5),28(1) ด้วยกันการที่โจทก์นำคดีนี้มาฟ้องจำเลยอีกจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173(1) ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6328-6330/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญา: ผู้ถือหุ้นไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรงหากบริษัทเป็นผู้เสียหาย
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของบริษัทตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายขายมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและเก็บรวมรวมเงินค่าสินค้าจากลูกค้าส่งให้บริษัท ตำแหน่งหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเพียงตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจของบริษัทให้กระทำการได้เพียงเท่าที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น หามีอำนาจกระทำกิจการอื่นใดนอกเหนือจากนี้ไม่ จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(3) การที่จำเลยที่ 1 โดยลำพังหรอืร่วมกับจำเลยที่ 2 ยักยอกทรัพย์ของบริษัท บริษัทย่อมเป็นผู้เสียหาย โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัทจึงมิใช่ผู้เสียหายตามความในมาตรา 2(5) อันจะมีอำนาจฟ้องคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 28(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3388/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อลดเช็คขัดวัตถุประสงค์บริษัท ทำให้ไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่มีสิทธิฟ้องร้อง
การซื้อลดเช็คกับการให้กู้ยืนเงินเป็นนิติกรรมคนละประเภทมีกฎหมายรองรับในเรื่องรูปแบบและผลประโยชน์ผิดแยกแตกต่างกัน ดังนั้น การที่บริษัทโจทก์มีวัตถุประสงค์ให้กู้ยืมเงิน จึงไม่อาจฟังว่า การซื้อลดเช็คอยู่ในขอบวัตถุประสงค์ของบริษัทโจทก์
บริษัทโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ทำการรับซื้อลดเช็ค แต่รับซื้อลดเช็คไว้ ถือว่าบริษัทโจทก์ได้เช็คมาโดยการประกอบกิจการนอกขอบวัตถุประสงค์ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบ และไม่เป็นผู้เสียหายดำเนินคดีแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันกิดจากการใช้เช็ค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467-468/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มาตรา 1114 มิได้ห้ามฟ้องอาญาฉ้อโกง แม้มีข้อตกลงซื้อหุ้น
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1114 ที่ได้บัญญัติห้ามมิให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นฟ้องร้องขอให้ศาลเพิกถอนการที่ตนได้เข้าชื่อซื้อ โดยยกเหตุว่าสำคัญผิดหรือต้องข่มขู่หรือถูกลวงล่อฉ้อฉลนั้น ห้ามเฉพาะในกรณีที่ฟ้องร้องกันในทางแพ่งเท่านั้น มิได้มีผลห้ามมิให้ผู้เข้าชื่อซื้อหุ้นฟ้องในคดีอาญาฐานฉ้อโกง ฉะนั้น ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการ ในเมื่อมีการร้องทุกข์ จึงมีอำนาจดำเนินคดีกับจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 24/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกักกันของ ผู้ว่าคดีศาลแขวง และอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงตามประมวลกฎหมายอาญา
ผู้ว่าคดีศาลแขวงย่อมอยู่ในความหมายของคำว่า พนักงานอัยการตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 43 ทั้งนี้โดยนัยแห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาตรา 5 ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(5) ฉะนั้นจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้กักกันจำเลยได้
กักกันมิใช่โทษอาญา แต่เป็นวิธีการเพื่อความปลอดภัยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 39(1) ซึ่งมีลักษณะเบากว่าโทษจำคุก(คำพิพากษาฎีกาในที่ประชุมใหญ่ที่ 1455/2511) ฉะนั้น จึงย่อมอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาให้กักกันจำเลยตามที่ผู้ว่าคดีฟ้องขอมาได้
of 3