คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 8

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 312/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดฐานค้ามนุษย์ การแสวงหาประโยชน์จากผู้อื่น และความผิดอื่นที่เกี่ยวข้อง ศาลฎีกาตัดสินคดีและพิจารณาขอบเขตอำนาจลงโทษ
ความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวหรือกักขัง ทำให้ปราศจากเสรีภาพเพื่อให้ผู้อื่นทำการค้าประเวณีตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 เป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่เกิดขึ้นในประเทศเดนมาร์กนอกราชอาณาจักร จำเลยที่ 3 ผู้กระทำผิดเป็นคนไทยและผู้เสียหายทั้งสองได้ร้องขอให้ลงโทษ จำเลยที่ 3 จะต้องรับโทษในราชอาณาจักรและศาลไทยจะลงโทษได้เฉพาะความผิดต่อเสรีภาพตามมาตรา 309 และมาตรา 310 ประกอบมาตรา 8 ตาม ป.อ. เท่านั้น ศาลฎีกาต้องตีความกฎหมายทางอาญา โดยเคร่งครัด จะขยายความมาตรา 8 ไปไกลว่า กฎหมายอาญามีเจตนารมณ์ให้ลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายพิเศษเฉพาะเรื่องอันมีโทษหนักขึ้นตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณี พ.ศ.2539 มาตรา 12 หาได้ไม่ และมาตรา 12 นั้นเองไม่ได้บัญญัติว่า หากกระทำความผิดดังกล่าวไม่ว่าภายในหรือนอกราชอาณาจักรต้องรับโทษด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานสนับสนุนการปล้นทรัพย์ข้ามชาติ เจ้าพนักงานตำรวจมีหน้าที่ปราบปรามแต่กลับให้ความช่วยเหลือ
แม้จำเลยที่ 3 มิได้อยู่ในฐานะเป็นตัวการในการปล้นเงินที่ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพราะขณะทำการปล้นจำเลยที่ 3 อยู่ที่ประเทศไทย แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ 3 ที่ร่วมวางแผนปรึกษากับผู้ร่วมกระทำความผิดเพื่อจะไปปล้นเงินดังกล่าว และให้ความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์ที่ใช้ในการปล้นแก่ตัวการก่อนการกระทำความผิด ถือได้ว่าจำเลยที่ 3 เป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 6 ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่ 1 กับพวกลงเรือข้ามฝั่งไปประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อไปปล้นเงินตามแผนการที่กำหนดไว้ ทั้งยังคอยอำนวยความสะดวกด้วยการไปรอรับโบกเสื้อคลุมให้สัญญาณภายหลังที่จำเลยที่ 1 กับพวกกระทำการปล้นเงินแล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 6 ให้การช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์แก่จำเลยที่ 1 กับพวกทั้งก่อนและหลังกระทำความผิด จำเลยที่ 6 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานปล้นทรัพย์
จำเลยที่ 1 กับพวกได้ร่วมกันปล้นธนาคารในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แล้วพาทรัพย์หนีเข้ามาในประเทศไทย คณะกรรมการปกครองกำแพงนครเวียงจันทน์ได้แต่งตั้งเจ้าพนักงานตำรวจมาสมทบกับเจ้าพนักงานตำรวจของไทยเพื่อติดตามคนร้ายพร้อมของกลางมาลงโทษตามกฎหมาย เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจผู้ได้รับการแต่งตั้งจากประเทศดังกล่าวได้ร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิดที่เป็นคนไทยต่อพันตำรวจเอก ส. หัวหน้าตำรวจภูธรจังหวัดหนองคายแล้ว ดังนั้นพนักงานสอบสวนที่ได้รับแต่งตั้งจากพันตำรวจเอก ส. ให้ทำการสอบสวนคดีนี้ จึงถือเป็นพนักงานสอบสวนซึ่งรัฐบาลประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ร้องฟ้องให้ทำโทษผู้ต้องหา มีอำนาจสอบสวนในระหว่างรอฟังคำสั่งจากอัยการสูงสุดหรือผู้รักษาการแทนโดยต้องดำเนินการที่จำเป็นทุกอย่างเพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหาย เมื่อต่อมาอัยการสูงสุดได้มอบหมายให้พลตำรวจตรี ห. เป็นพนักงานสอบสวนที่รับผิดชอบ การสอบสวนที่พนักงานสอบสวนได้ดำเนินการไปก่อนหน้านี้ย่อมถือว่าเป็นการสอบสวนโดยชอบไม่ต้องคำนึงว่าพลตำรวจตรี ห. ได้ปฏิบัติเกี่ยวกับการสอบสวนมาแล้วหรือไม่เพียงใด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้เอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลมิได้ระบุไว้ในบัญชีพยานโจทก์อันไม่ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาก็ตามแต่เอกสารที่โจทก์อ้างส่งศาลคดีนี้ โจทก์เพียงใช้ประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลซึ่งได้ระบุไว้ในบัญชีพยานโจทก์ จำเลยที่ 2 มีโอกาสซักค้านพยานบุคคลของโจทก์ที่เกี่ยวกับเอกสารทุกฉบับที่โจทก์อ้างส่งศาลได้อยู่แล้ว ไม่ทำให้จำเลยที่ 2 เสียเปรียบหรือหลงผิดในการต่อสู้คดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานเอกสารเช่นว่านี้ได้เพราะเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลไทยในการลงโทษผู้กระทำผิดนอกราชอาณาจักรเมื่อผู้เสียหายร้องขอ และหน้าที่การนำสืบหลักฐาน
คดีที่จำเลยเป็นคนสัญชาติไทย กระทำผิดฐานปล้นทรัพย์นอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจำเลยภายในราชอาณาจักร ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบแสดงว่าไม่มีข้อห้ามมิให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10 อีก(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 16/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยสัญชาติไทยกระทำผิดนอกราชอาณาจักร โดยผู้เสียหายร้องขอให้ลงโทษในไทย
คดีที่จำเลยเป้นคนสัญชาติไทย กระทำผิดฐานปล้นทรัพย์นอกราชอาณาจักร ซึ่งผู้เสียหายได้ร้องขอให้ลงโทษจำเลยภายในราชอาณาจักร ต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 นั้น โจทก์ไม่มีหน้าที่ต้องนำสืบแสดงว่าไม่มีข้อห้ามมีให้ลงโทษจำเลยตามมาตรา 10 อีก.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดลักทรัพย์/รับของโจรในต่างประเทศ: โจทก์ไม่ต้องพิสูจน์ว่าผิดกฎหมายต่างประเทศ
ความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรซึ่งคนไทยทำขึ้นในต่างประเทศ นั้นประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 มิได้มีข้อความกำหนดให้โจทก์จำต้องนำสืบว่าจะต้องเป็นการกระทำที่กฎหมายในต่างประเทศบัญญัติว่าเป็นความผิด ทั้งความผิดทั้งสองฐานนี้ก็ได้มีบัญญัติไว้ใน มาตรา 8(8)(12)แล้วฉะนั้นถึงแม้ความผิดทั้งสองฐานนี้จะเกิดในต่างประเทศโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องนำสืบว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดตามกฎหมายของต่างประเทศนั้นๆ ด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 458/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดลักทรัพย์-รับของโจรในต่างประเทศ: ไม่จำต้องพิสูจน์ความผิดตามกฎหมายต่างประเทศ
ความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจรซึ่งคนไทยทำขึ้นในต่างประเทศ นั้น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 8 มิได้มีข้อความกำหนดให้โจทก์จำต้องนำสืบว่า จะต้องเป็นการกระทำที่กฎหมายในต่างประเทศบัญญัติว่า เป็นความผิด ทั้งความผิดทั้งสองฐานนี้ก็ได้มีบัญญัติไว้ใน มาตรา 8 (8) (12) แล้วฉะนั้นถึงแม้ความผิดทั้งสองฐานนี้จะเกิดในต่างประเทศ โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องนำสืบว่าควรผิดดังกล่าว เป็นความผิดตามกฎหมายของต่างประเทศนั้น ๆ ด้วย
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 5/2503)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 412/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับใช้กฎหมายควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคและกฎหมายสำรวจห้ามกักกันข้าว: กฎหมายทั้งสองมิได้ขัดแย้งกัน
จำเลยขนย้ายสารจากตำบลหนึ่งไปยังอีกตำบลหนึ่งภายในจังหวัดเดียวกัน ซึ่งอยู่ภายในขอบเขตต์ที่คณะกรรมการสำรวจห้ามกักกันข้าวประกาศอนุญาตไว้ให้ขนย้ายได้ ภายใจแต่ละจังหวัดแต่เป็นฝ่าฝืนประกาศข้าหลวงประจำจังหวัด ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค 2488 นั้น ถ้าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานฝ่าฝืนประกาศ ซึ่งออกตามอำนาจในพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ แล้ว ก็ต้องใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ 2488 มาบังคับ และจำเลยต้องมีความผิดตามพ.ร.บ.นี้ เพราะ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค ฯลฯ 2488 และพ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว2489 มิใช้กฎหมายที่ใช้แทนกันหรือขัดกันโดยมีความมุ่งหมายต่างกัน ผู้ใละเมิดกฎหมายฉะบับใดก็ต้องใช้ก.ม.ฉะบับนั้นบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 197-198/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคฯ กับ พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว กรณีแจ้งปริมาณข้าวสาร
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคฯลฯ 2488 กับ พ.ร.บ.สำรวจและห้ามกักกันข้าว 2489 พ.ร.บ.ที่ใช้แทนกันหรือขัดกัน
พ.ร.บ.ฉบับแรกมีความมุ่งหมายเพื่อให้มีเครื่องอุปโภคบริโภค และ สิ่งของต่าง ๆ เพียงพอแก่ความต้องการของประเทศ ส่วนความมุ่งหมายใน พ.ร.บ.ฉบับหลังมีเพียงแต่สำรวจและห้ามกักกันข้าว เพราะฉะนั้น ถ้าละเมิด พ.ร.บ.ฉบับใด ก็ต้องใช้ พ.ร.บ.นั้นบังคับ
โจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ โดยมิได้แจ้งปริมาณและสถานที่เก็บข้าวสารต่อคณะกรรมการตามประกาศ ศาลต้องพิจารณาว่าจะเลยละเมิดต่อ พ.ร.บ.ที่กล่าวหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 949/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจสั่งการของเจ้าพนักงานตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภค และความต่อเนื่องของความผิดแม้มีประกาศยกเลิก
พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องอุปโภคบริโภคฯลฯ ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ใบออกคำสั่งเพื่อให้การเป็นไปตาม พ.ร.บ. เมื่อผู้ใดฝ่าฝืนประกาศที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้สั่งการไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ผู้นั้นก็ย่อมมีผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานอันมีโทษตาม พ.ร.บ.นี้
ประกาศของคณะกรรมการควบคุมเครื่องอุปโภคฯ นั้นหาใช่กฎหมายไม่ ประกาศที่ออกมาภายหลังยกเลิกการควบคุมสิ่งของบางอย่าง จึงไม่ใช่กฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือไม่เอาโทษแก่ผู้ที่กระทำผิดฐานฝ่าฝืนประกาศฉะบับแรก กรณีไม่ต้องด้วย ป.ม.วิ.อาญา ม. 39(5) หรือ ก.ม.อาญา ม. 8 ผู้ฝ่าฝืนจึงยังคงมีความผิดและมีโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 449/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งทางปกครองยกเลิก ไม่กระทบความผิดฐานขัดคำสั่งเดิม
เดิมมีประกาศออกตามอำนาจในกฎหมาย ต่อมามีประกาศยกเลิกเรื่องตามประกาศนั้นไม่ถือว่าเป็นเรื่องกฎหมายยกเลิกกฎหมาย
ประกาศของคณะกรรมการฯ เป็นคำสั่งขอเจ้าพนักงานโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้คำสั่งนั้นจะถูกยกเลิกในภายหลัง ก็ไม่กระทบกระเทือนถึงความผิดฐานขัดคำสั่งที่เป็นผิดอยู่แล้ว
of 3