พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแรงงานและการดำเนินคดีฟ้องแย้ง ศาลมีอำนาจอนุญาตถอนฟ้องได้หากสุจริต คดีฟ้องแย้งไม่ตกไปตามฟ้องเดิม
การถอนฟ้องภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้วตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 เพียงแต่บัญญัติให้ศาลฟังจำเลยเท่านั้น มิได้บัญญัติห้ามไม่ให้ศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้อง การอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ย่อมเป็นดุลพินิจของศาลซึ่งพิจารณาถึงความสุจริตและคำนึงถึงความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงคดีด้วย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่สั่งให้โจทก์ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามความเห็นของกรมบัญชีกลาง ตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 โจทก์ขอถอนฟ้องโดยอ้างว่าได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงจากเอกสารที่โจทก์ไม่เคยทราบมาก่อนและโจทก์เข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำสั่งของจำเลยซึ่งถ้าทราบมาก่อนก็จะไม่ฟ้องคดีนี้ เห็นได้ว่าเมื่อโจทก์ถอนฟ้องคำสั่งของจำเลยที่ให้โจทก์ต้องรับผิดยังคงมีอยู่จึงไม่ทำให้โจทก์ได้เปรียบในเชิงคดีอันแสดงว่าโจทก์ขอถอนฟ้องโดยสุจริต
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 บัญญัติให้สิทธิจำเลยจะฟ้องแย้งโจทก์มาในคำให้การได้ถ้าคำฟ้องแย้งเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น เมื่อจำเลยฟ้องแย้งโจทก์มาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่
ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31 บัญญัติให้สิทธิจำเลยจะฟ้องแย้งโจทก์มาในคำให้การได้ถ้าคำฟ้องแย้งเกี่ยวกับคำฟ้องเดิมเท่านั้น เมื่อจำเลยฟ้องแย้งโจทก์มาในคำให้การ โจทก์ก็คือจำเลยในฟ้องแย้ง คดีตามฟ้องแย้งจึงมีคู่ความครบถ้วนที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้ การที่ศาลแรงงานภาค 1 อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องเดิม ก็คงมีผลเฉพาะคดีโจทก์ว่าไม่มีฟ้องเดิมที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้ฟ้องแย้งของจำเลยตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3770/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดีแพ่งเนื่องจากฟ้องผิดศาล ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจอนุญาตได้หากไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ
โจทก์ถอนฟ้องเนื่องจากมูลคดีเกิดขึ้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาจึงเป็นการฟ้องผิดศาล การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และในกรณีที่ฟ้องผิดศาล หากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ยังศาลที่คดีนี้อยู่ในเขตอำนาจได้ การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเหตุฟ้องผิดศาล แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ก็มิได้ทำให้จำเลยเสียหายแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 903/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้อง และผลกระทบต่อจำเลยเมื่อฟ้องผิดศาล
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 175 วรรคสอง การที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ เป็นอำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจ แม้จำเลยจะคัดค้าน แต่หากศาลเห็นว่าการถอนฟ้องของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี ศาลก็อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ และในกรณีที่ฟ้องผิดศาลหากศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วมีคำพิพากษายกฟ้องเพราะคดีไม่อยู่ในเขตอำนาจศาล โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องจำเลยใหม่ยังศาลที่คดีนั้นอยู่ในเขตอำนาจได้ ดังนั้น การที่โจทก์ขอถอนฟ้องเพราะเหตุฟ้องผิดศาล แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีไว้ จึงมิได้ทำให้จำเลยเสียหายแต่ประการใด ข้ออ้างของจำเลยที่ว่า โจทก์ถอนฟ้องก็เพื่อจะไปดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ตามที่จำเลยให้การ โดยเฉพาะเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ เมื่อคดีนี้ยังไม่มีการสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงยังไม่ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายใด หากโจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่ จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่เช่นเดิม จึงหาทำให้จำเลยต้องเสียเปรียบในเชิงคดีไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องและการสิ้นสุดผลการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดิน
การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้องภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง เพียงให้ศาลต้องฟังคำแถลงของจำเลยก่อน จากนั้นเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรอนุญาตหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านว่า การที่จำเลยที่ 4 ไปตกลงกับโจทก์อาจทำให้จำเลยที่ 4 ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ไม่มีส่วนรับรู้ข้อตกลงด้วย และจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4ด้วยหรือไม่ก็ตาม เป็นอีกกรณีหนึ่งตามมูลความแห่งคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจตามลักษณะของคดี เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วจึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบ
โจทก์ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 60 วัน ซึ่งตาม ป.ที่ดินมาตรา 83 วรรคสอง ให้ถือว่าการอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด คำขออายัดที่ดินของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัด เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องแล้วและโจทก์ได้นำสำเนาคำฟ้องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินย่อมมีผลต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัด หรือถ้าไม่มีคำสั่งให้ถอนการอายัดก็มีผลไปจนกว่าศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุด
ป.ที่ดิน มาตรา 83 มีความมุ่งหมายเพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินไว้ชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่งจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือจะมีคำวินิจฉัยคดีอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือของผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดิน การสิ้นผลของการอายัดตามมาตรา 83 วรรคสอง เป็นเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินจึงใช้ถ้อยคำว่าจนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ถอนการอายัด หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การอายัดที่ดินจะสิ้นสุดลงได้ก็ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้นจึงหาต้องให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนไม่ เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้ถอนการอายัดที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินขอให้เพิกถอนการอายัด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 60 วัน ซึ่งตาม ป.ที่ดินมาตรา 83 วรรคสอง ให้ถือว่าการอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด คำขออายัดที่ดินของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัด เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องแล้วและโจทก์ได้นำสำเนาคำฟ้องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำสั่งดังกล่าวของเจ้าพนักงานที่ดินย่อมมีผลต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัด หรือถ้าไม่มีคำสั่งให้ถอนการอายัดก็มีผลไปจนกว่าศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุด
ป.ที่ดิน มาตรา 83 มีความมุ่งหมายเพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินไว้ชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่งจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือจะมีคำวินิจฉัยคดีอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือของผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดิน การสิ้นผลของการอายัดตามมาตรา 83 วรรคสอง เป็นเจตนารมณ์ของการอายัดที่ดินตาม ป.ที่ดินจึงใช้ถ้อยคำว่าจนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ถอนการอายัด หรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การอายัดที่ดินจะสิ้นสุดลงได้ก็ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้นจึงหาต้องให้คดีถึงที่สุดเสียก่อนไม่ เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้ถอนการอายัดที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินขอให้เพิกถอนการอายัด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6875/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตถอนฟ้องหลังจำเลยให้การ และการสิ้นสุดผลการอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
การที่ศาลจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนคำฟ้อง ภายหลังที่จำเลยยื่นคำให้การแล้วประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง เพียงให้ศาลต้องฟังคำแถลงของจำเลยก่อน จากนั้นเป็นอำนาจของศาลชั้นต้นที่จะใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรอนุญาตหรือไม่ แม้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 คัดค้านว่าการที่จำเลยที่ 4 ไปตกลงกับโจทก์อาจทำให้จำเลยที่ 4ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 โดยจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 ไม่มีส่วนรับรู้ข้อตกลงด้วย และจำเลยที่ 1ถึงที่ 3 จะต้องรับผิดชอบต่อจำเลยที่ 4 ด้วยหรือไม่ก็ตามเป็นอีกกรณีหนึ่งตามมูลความแห่งคดีเดิม ทั้งการที่โจทก์ขอถอนฟ้องเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมาย นอกจากนี้ศาลจะอนุญาต หรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องก็เป็นอำนาจของศาลชั้นต้น ที่จะใช้ดุลพินิจตามลักษณะของคดี เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ ถอนฟ้องและสั่งจำหน่ายคดีจากสารบบความแล้วจึงเป็นการ ใช้ดุลพินิจที่ชอบ โจทก์ขออายัดที่ดินของจำเลยไว้ก่อนโจทก์ฟ้องคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้รับอายัดไว้แล้ว ต่อมาโจทก์ได้ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 60 วัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 83 วรรคสอง ให้ถือว่าการอายัดมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งให้ถอนการอายัดหรือมีคำพิพากษาหรือคำสั่งถึงที่สุด คำขออายัดที่ดินของโจทก์จึงมีผลตั้งแต่วันที่เจ้าพนักงานที่ดิน ได้รับอายัด เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคำฟ้องแล้วและโจทก์ ได้นำสำเนาคำฟ้องมาแสดงต่อเจ้าพนักงานที่ดิน คำสั่งดังกล่าว ของเจ้าพนักงานที่ดินย่อมมีผลต่อเนื่องไปจนกว่าศาลจะสั่ง ให้ถอนการอายัด หรือถ้าไม่มีคำสั่งให้ถอนการอายัดก็มีผล ไปจนกว่าศาลมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งถึงที่สุด ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 83 มีความมุ่งหมายเพื่อจะคุ้มครองประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นการตัดสิทธิของเจ้าของที่ดินไว้ชั่วกำหนดระยะเวลาหนึ่งจนกว่าศาลจะมีคำสั่งหรือจะมีคำวินิจฉัยคดีอันเป็นปัญหาเกี่ยวกับที่ดินแปลงนั้นแล้วก็เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียหรือของผู้ขออายัดและเจ้าของที่ดินการสิ้นผลของการอายัดตามมาตรา 83 วรรคสอง เป็นเจตนารมณ์ ของการอายัดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินจึงใช้ถ้อยคำว่า จนกว่าศาลจะมีคำสั่งให้ถอนการอายัด หรือมีคำพิพากษา หรือคำสั่งถึงที่สุด ดังนั้น การอายัดที่ดินจะสิ้นสุดลงได้ ก็ด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งเท่านั้น จึงหาต้องให้คดีถึงที่สุด เสียก่อนไม่ เมื่อศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งให้ถอน การอายัดที่ดินตามที่โจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน ขอให้เพิกถอนการอายัด คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา175วรรคสองที่บัญญัติว่า"ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้วโจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้"บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตามศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้วแม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการอนุญาตให้ถอนฟ้องและการใช้ดุลพินิจโดยชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 175 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้"บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใดเพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตาม ศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่ จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้ว แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1677/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอนุญาตถอนฟ้อง: ดุลพินิจและสิทธิจำเลย
ป.วิ.พ.มาตรา 175 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า "ภายหลังจำเลยยื่นคำให้การแล้ว โจทก์อาจยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นเพื่ออนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ ..." บทบัญญัติดังกล่าวมิได้ระบุว่าโจทก์จะต้องแสดงเหตุผลในการถอนฟ้องในคำร้องหรือต้องแถลงเหตุผลในการถอนฟ้องให้จำเลยทราบแต่อย่างใด เพราะแม้จำเลยจะคัดค้านหรือไม่ก็ตาม ศาลก็มีอำนาจตามบทบัญญัติดังกล่าวที่จะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้เพราะเป็นดุลพินิจของศาล
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้ว แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
ศาลชั้นต้นได้พิจารณาข้อคัดค้านของทนายจำเลยที่แถลงต่อศาลและรูปคดีของทั้งสองฝ่ายแล้วเห็นว่าไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบหากถูกโจทก์ฟ้องใหม่จึงอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้ เป็นการใช้ดุลพินิจในการสั่งโดยชอบแล้ว แม้โจทก์นำคดีมาฟ้องใหม่จำเลยก็มีสิทธิต่อสู้คดีได้เต็มที่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนฟ้องคดี และการฟ้องร้องเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดี ศาลมีดุลพินิจอนุญาต/ไม่อนุญาตถอนฟ้องได้ และการบังคับคดีต้องดำเนินการในคดีเดิม
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาลโดยพิจารณาจากความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและเพิกถอนการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ทั้งยื่นคำร้องขอให้ห้ามจำเลยและเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทซึ่งศาลชั้นต้นได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวจนเสร็จแล้ว โจทก์ จึงขอถอนฟ้องโดยให้เหตุผลว่าประสงค์จะยื่นฟ้องจำเลยใหม่ ดังนั้น หากศาลอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องแล้วโจทก์อาจฟ้องจำเลยใหม่และ ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนคำพิพากษาเช่นเดียวกันกับ คดีนี้อีกซึ่งอาจทำให้จำเลยเสียหายเมื่อเป็นเช่นนี้จึงควร ดำเนินการพิจารณาให้เป็นผลเสร็จเด็ดขาดไปในคดีนี้ โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นของศาลชั้นต้นฟ้องขอให้บังคับจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความ กับขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ในคดีดังกล่าว เป็นฟ้องที่มีคำขอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าวซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 กำหนดให้ว่ากล่าวกันในคดีเดิม โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้อง ในคดีเดิมดังกล่าว จะทำเป็นคำฟ้องมายื่นต่อศาลเป็นคดีใหม่หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6035/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้ถอนฟ้องคดี และการฟ้องคดีเกี่ยวกับการบังคับคดีต้องยื่นเป็นคำร้อง ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่
การที่จะอนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องหรือไม่ มาตรา 175 วรรคสองแห่งป.วิ.พ. กำหนดให้เป็นดุลพินิจของศาลโดยพิจารณาจากความสุจริตในการดำเนินคดีของโจทก์และผลได้ผลเสียของคู่ความทุกฝ่าย ปรากฏว่านอกจากฟ้องคดีนี้แล้วโจทก์ยังยื่นคำร้องขอให้ห้ามจำเลยและเจ้าพนักงานที่ดินทำนิติกรรมใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินพิพาทและศาลได้ไต่สวนคำร้องดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว เมื่อโจทก์ขอถอนฟ้องโดยให้เหตุผลว่าประสงค์ที่ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 ใหม่จึงอาจทำให้จำเลยที่ 1 เสียหายศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องชอบแล้ว โจทก์เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในคดีแพ่งรวมสองสำนวนเมื่อโจทก์ฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความกับขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของโจทก์ในคดีดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องคดีที่มีคำขอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาในคดีทั้งสอง ดังนั้น โจทก์ต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องในคดีดังกล่าว จะยื่นฟ้องเป็นคดีใหม่ไม่ได้.