คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 78/1 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10340/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลประโยชน์ตอบแทนและภาษีสรรพสามิต: การรวมภาษีสรรพสามิตเป็นฐานภาษีมูลค่าเพิ่มชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทำสัญญาอนุญาตให้บริษัท อ. ดำเนินกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วประเทศ ซึ่งโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มโดยนำรายรับจากผลประโยชน์ตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากบริษัท อ. ทั้งจำนวนมาคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี ต่อมาได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตดังนี้ เงินจำนวนเท่าภาษีสรรพสามิตซึ่งเรียกเก็บจากการให้บริการตามสัญญาอนุญาตดังกล่าวย่อมจะต้องนำมารวมเป็นมูลค่าของฐานภาษีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 79 วรรคหนึ่ง เป็นการเฉพาะแล้ว ส่วนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ดำเนินการเพื่อให้มีการหักค่าภาษีสรรพสามิตออกจากส่วนแบ่งรายได้ที่คู่สัญญาต้องนำส่งให้โจทก์ซึ่งกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศฯ เห็นว่า คู่สัญญาภาคเอกชนจะต้องชำระผลประโยชน์ตอบแทนจนเต็มจำนวนตามอัตราที่กำหนดไว้ในสัญญา ทั้งนี้ คู่สัญญาภาคเอกชนมีสิทธินำเงินค่าภาษีที่ได้ชำระแล้วดังกล่าวตลอดทั้งปี (ไม่รวมดอกเบี้ย ค่าปรับ หรือเงินเพิ่มใด ๆ) มาหักออกจากจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้คู่สัญญาภาครัฐเมื่อสิ้นปีดำเนินการได้นั้น มิได้มีผลทำให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาในเรื่องการลดจำนวนเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่บริษัทคู่สัญญาต้องจ่ายแก่โจทก์ และแม้บริษัท อ. จะใช้วิธีนำค่าภาษีสรรพสามิตที่ชำระให้แก่กรมสรรพสามิตไปแล้วมาหักออกจากผลประโยชน์ตอบแทนที่จ่ายให้โจทก์ซึ่งเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินสดส่วนนี้ แต่การหักหนี้กันเองเช่นนี้ย่อมส่งผลให้สิทธิเรียกร้องของบริษัทคู่สัญญาในอันที่จะนำเงินค่าภาษีสรรพสามิตมาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายให้โจทก์เมื่อตอนสิ้นปีดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีนั้นระงับลง ประโยชน์จากการหักหนี้ดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นประโยชน์ใด ๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงินที่โจทก์ได้รับแล้วอันเป็นส่วนหนึ่งของฐานภาษีตามมาตรา 79 วรรคสอง มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเป็นเพียงแนวทางดำเนินการระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง จึงเป็นคนละส่วนกับความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่โจทก์ได้รับชำระค่าบริการ ตามมาตรา 78/1 (1) มติคณะรัฐมนตรีจึงมิได้มีผลเป็นการลบล้างหรือเปลี่ยนแปลงความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายของโจทก์ เงินค่าภาษีสรรพสามิตที่บริษัทคู่สัญญาหักออกจากเงินผลประโยชน์ตอบแทนที่ต้องจ่ายแก่โจทก์ จึงย่อมเป็นส่วนหนึ่งของมูลค่าของฐานภาษีมูลค่าเพิ่มและถือเป็นรายรับที่โจทก์ได้รับจริงแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4392/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลดหนี้สูญและผลกระทบทางภาษีมูลค่าเพิ่ม: การลดหนี้ไม่ใช่ส่วนลดแต่เป็นการชำระหนี้ ทำให้เกิดหน้าที่เสียภาษี
โจทก์ทำบันทึกข้อตกลงลดหนี้ค่าเช่ารถประจำเดือนธันวาคม 2546 ให้แก่บริษัท บ. 35 ล้านบาท แล้วนำเป็นรายจ่ายหนี้สูญในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่ปฏิบัติตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี (9) เจ้าพนักงานประเมินจึงให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง โดยนำยอดหนี้จำนวนดังกล่าวบวกกลับเป็นยอดลูกหนี้ค้างชำระดังเดิม ซึ่งเป็นเรื่องภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวไม่ทำให้บันทึกข้อตกลงลดหนี้และรับชำระหนี้ ซึ่งมีผลเป็นการปลดหนี้บางส่วนให้แก่บริษัท บ. ยกเลิกหรือสิ้นสุดลง สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้จำนวนดังกล่าวจึงระงับลงเสมือนโจทก์ได้รับชำระหนี้ดังกล่าวครบถ้วนแล้วอันเนื่องมาจากการทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว โดยถือวันที่ทำบันทึกลดหนี้คือวันที่ 30 ธันวาคม 2546 เป็นวันที่ได้รับชำระหนี้ค่าบริการ ซึ่งเป็นวันที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นตามมาตรา 78/1 (1) นอกจากนี้การลดหนี้ของโจทก์มิใช่ส่วนลดหรือค่าลดหย่อนตามมาตรา 79 วรรคสาม (1) ที่ลดให้ในขณะขายสินค้าหรือให้บริการ แต่เป็นการลดหนี้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ โจทก์จึงมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริษัท บ. ในวันที่มีการลดหนี้ตามมาตรา 82/4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าประกันการใช้บริการถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร จึงต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบ DIGITALDISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการการเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า "บริการ"ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าประกันบริการถือเป็นค่าบริการตามประมวลรัษฎากร ต้องนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบ DIGITALDISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการการเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า "บริการ"ตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1(1) แห่ง ประมวลรัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากร ยิ่งกว่านั้นเมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งประมวลรัษฎากรและนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1(10) แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7129/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินค่าประกันการใช้บริการเป็นค่าบริการที่ต้องนำมาคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถออกใบลดหนี้ได้
เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งโจทก์จัดเก็บจากผู้ใช้บริการนั้นแม้โจทก์จะต้องเรียกเก็บเนื่องจากมีข้อผูกพันที่โจทก์ได้ให้ไว้แก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยตามสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการบริการโทรศัพท์ติดตามตัวระบบDIGITAL DISPLAY PAGING ก็ตาม แต่การเรียกเก็บเงินดังกล่าวจากผู้ใช้บริการก็เรียกเก็บในฐานะเป็นคู่สัญญากับโจทก์ หากผู้ใช้บริการไม่ชำระเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่โจทก์ โจทก์ก็จะไม่ให้บริการและหากผู้ใช้บริการยังค้างชำระค่าบริการอยู่ เมื่อเลิกสัญญาการให้บริการโจทก์ก็สามารถหักจากเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าว และถ้ามีเงินเหลือจึงจะคืนให้แก่ผู้ใช้บริการหรือหากผู้ใช้บริการไม่ค้างชำระค่าบริการก็จะคืนเงินทั้งจำนวนให้แก่ผู้ใช้บริการ ดังนั้น เงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จัดเก็บเพื่อประโยชน์ของโจทก์ และจัดเก็บในขณะที่ผู้ใช้บริการเริ่มขอใช้บริการและหากไม่ชำระโจทก์ก็จะไม่ให้บริการ การเรียกเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับประโยชน์จากการที่โจทก์ให้บริการ เงินจำนวนดังกล่าวจึงถือเป็นเงินค่าบริการตามความหมายของคำว่า" "บริการ" ตามมาตรา 77/1 (10) แห่งป.รัษฎากร
เมื่อเงินค่าประกันการใช้บริการดังกล่าวถือว่าเป็นค่าบริการส่วนหนึ่งและโจทก์ได้เรียกเก็บจากผู้ใช้บริการขณะเมื่อเริ่มขอใช้บริการ โจทก์จึงต้องนำเงินจำนวนที่เรียกเก็บดังกล่าวเป็นฐานภาษีในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 79 แห่ง ป.รัษฎากร และความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการให้บริการดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อโจทก์ได้รับค่าบริการ ดังนั้น โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของเงินค่าประกันการใช้บริการในขณะที่มีการจัดเก็บเงินจำนวนดังกล่าวจากผู้ใช้บริการตามมาตรา 78/1 (1) แห่ง ป.รัษฎากรและภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ต้องคำนวณและเรียกเก็บดังกล่าวถือเป็นภาษีขายของโจทก์ซึ่งโจทก์ต้องนำไปคำนวณเพื่อชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่ง ป.รัษฎากรยิ่งกว่านั้น เมื่อเลิกสัญญาการใช้บริการโจทก์มีหน้าที่ต้องคืนเงินค่าประกันการใช้บริการให้แก่ผู้ใช้บริการทั้งจำนวนหรือส่วนที่เหลือหลังจากหักค่าใช้บริการที่ค้างชำระแล้วโจทก์สามารถออกใบลดหนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 86/10 และ 82/10 แห่งป.รัษฎากร และนำใบลดหนี้ซึ่งปรากฏภาษีขายที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือค่าบริการที่ลดลงนั้นมาหักออกจากภาษีขายของโจทก์ในเดือนภาษีที่ได้ออกใบลดหนี้ดังกล่าว ขณะเดียวกันผู้ใช้บริการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปรากฏตามใบลดหนี้มาหักออกจากภาษีซื้อของตนในเดือนภาษีที่ได้รับใบลดหนี้นั้น ดังนั้น เงินค่าประกันการใช้บริการซึ่งลูกค้าจ่ายให้แก่โจทก์จึงถือเป็นเงินค่าบริการตามมาตรา 77/1 (10) แห่ง ป.รัษฎากร