พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4641/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ประมาทกว่าไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย: ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลย โจทก์(ผู้รับประกันภัย)ไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ ม. เบิกความโดยได้ฟังคำพยานของจำเลยก่อนก็ตาม แต่ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ประมาทมากกว่าจำเลยนั้น ศาลได้พิเคราะห์พฤติการณ์ที่ ส. ขับรถที่มีน้ำหนักบรรทุกมากแซงรถเครนในระยะกระชั้นชิด ขณะที่จำเลยขับรถแล่นสวนทางมา ซึ่งได้ความจากคำเบิกความของจำเลยประกอบกับสภาพความเสียหายของรถและบันทึกการตรวจสถานที่เกิดเหตุสนับสนุนกัน คำเบิกความของ ม. ซึ่งเป็นไปในทำนองเดียวกัน ทั้งยังมีบันทึกคำให้การของ ม. ในคดีอาญาเป็นพยานหลักฐานประกอบ จึงเป็นที่เชื่อฟังได้ และไม่ทำให้คำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเปลี่ยนแปลงไป ศาลจึงมีดุลพินิจที่จะไม่ฟังว่าคำเบิกความของ ม. เป็นการผิดระเบียบ ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 114 วรรคสอง
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
การกำหนดค่าเสียหายในเหตุละเมิดที่ผู้เสียหายมีส่วนทำความผิดด้วยต้องเป็นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง โดยพิจารณาถึงพฤติการณ์ว่าฝ่ายไหนเป็นผู้ก่อความเสียหายยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไร ซึ่งต้องถือเอาการกระทำละเมิดมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาหาได้ถือเอาความเสียหายมากน้อยเป็นเกณฑ์ไม่
เหตุที่รถชนกันเกิดจาก ส. ลูกจ้างของบริษัท บ. ผู้เอาประกันภัยประมาทมากกว่าจำเลยซึ่งเป็นคู่กรณีบริษัท บ. ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดซึ่ง ส. กระทำไปในทางการที่จ้าง เมื่อ ส. ประมาทมากกว่าจำเลย ฝ่ายที่ประมาทมากกว่าไม่มีสิทธิฟ้องให้ฝ่ายที่ประมาทน้อยกว่ารับผิดในค่าเสียหายของฝ่ายที่ประมาทมากกว่าได้ บริษัท บ. จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถที่บริษัท บ. เอาประกันภัยไว้ โจทก์ก็ไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยมาเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินในโอกาสสมรส และสิทธิในการถอนคืนการให้เมื่อจำเลยประพฤติเนรคุณ
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินในโอกาสสมรสและการถอนคืนสิทธิเนื่องจากเนรคุณ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการให้มีมูลเหตุจูงใจจากการสมรส จึงไม่สามารถถอนคืนได้
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์หลังทำสัญญา & การรับฟังพยานเพิ่มเติม ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสามารถรับฟังได้หากเอกสารมีผลบังคับใช้
ประมวลรัษฎากรมาตรา118หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ดังนี้แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญาแต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในวันนัดสืบพยานโจทก์หนังสือสัญญานั้นย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้การรับผิดเสียอากรเพิ่มตามมาตรา113และมาตรา114แห่งประมวลรัษฎากรหากจะมีเหตุดังที่จำเลยที่1และที่2อ้างในฎีกาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรแสตมป์ตามปกติ บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมายจ.11และจ.12มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์อีก คำเบิกความของนางสาวป. ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้นไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้วการที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ศาลจึงรับฟังได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา86วรรคสามและมาตรา114วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 75/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปิดอากรแสตมป์และผลต่อการรับฟังพยานหลักฐาน: การปิดอากรแสตมป์ภายหลังทำสัญญาไม่กระทบต่อการรับฟังพยานหลักฐานได้
ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หาได้บังคับให้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไม่ ดังนี้ แม้มิได้ปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์มาแต่แรกในขณะทำสัญญา แต่เมื่อได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนและขีดฆ่าแล้วในวันนัดสืบพยานโจทก์ หนังสือสัญญานั้นย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้ การรับผิดเสียอากรเพิ่มตาม มาตรา 113 และมาตรา 114 แห่งประมวลรัษฎากร หากจะมีเหตุดังที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อ้างในฎีกาก็เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากกับการปิดอากรแสตมป์ตามปกติ
บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงไม่จำต้องปิดอากร-แสตมป์อีก
คำเบิกความของนางสาว ป.ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่ และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ ศาลจึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม และมาตรา 114 วรรคสอง
บันทึกเพิ่มเติมต่อท้ายสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและบันทึกต่ออายุสัญญาเอกสารหมาย จ.11 และ จ.12 มีข้อความว่าให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีและสัญญาค้ำประกันดังกล่าว จึงไม่จำต้องปิดอากร-แสตมป์อีก
คำเบิกความของนางสาว ป.ซึ่งศาลชั้นต้นอนุญาตให้เบิกความหลังจากโจทก์แถลงหมดพยานนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับคำพยานโจทก์ปากอื่นที่เบิกความไปแล้ว การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบก็เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเลยหาเสียเปรียบไม่ และจำเลยยังมีโอกาสสืบแก้ ศาลจึงรับฟังได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 86 วรรคสาม และมาตรา 114 วรรคสอง