คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 158

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 240 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาฎีกา: เริ่มนับในวันรุ่งขึ้นของวันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ทำให้การยื่นฎีกาภายในกำหนด
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือน คู่ความย่อมฎีกาได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2526 เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 เริ่มนับอายุฎีกา 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็น วันต้นของเดือน และครบ 1 เดือนตามปฏิทินในวันที่ 31 มีนาคมจำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 29 มีนาคม 2526 จึงอยู่ภายในกำหนด1 เดือนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247
(อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2799/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฎีกา: การนับอายุความเริ่มต้นในวันรุ่งขึ้นของวันอ่านคำพิพากษา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้คู่ความฟังเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2526 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของเดือนคู่ความย่อมฎีกาได้จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2526 เพราะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 เริ่มนับอายุฎีกา 1 ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 1 มีนาคม ซึ่งเป็น วันต้นของเดือน และครบ 1 เดือนตามปฏิทินในวันที่ 31 มีนาคมจำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 29 มีนาคม 2526 จึงอยู่ภายในกำหนด1 เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 (อ้างคำสั่งคำร้องของศาลฎีกา ที่ 37/2484)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2152/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลายื่นฎีกา: การยื่นฎีกาเกินกำหนด แม้ศาลชั้นต้นรับไว้ ก็ไม่เป็นผล
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้จำเลยฟังเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2526 ครบกำหนดยื่นฎีกาภายใน 1 เดือนในวันที่ 2 มีนาคม 2526 ซึ่งมิใช่วันหยุดราชการ แต่จำเลยยื่นฎีกาในวันที่ 4 มีนาคม 2526 จึงเกินกำหนดหนึ่งเดือนแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลย ไว้ก็ตามศาลฎีกาก็รับฎีกาของจำเลยซึ่งยื่นมาเกินกำหนดที่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216ได้บัญญัติไว้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค: นับวันเริ่มทำงานใหม่เมื่อวันครบกำหนดเป็นวันหยุด
ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้ภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันออกเช็คตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาซึ่งเป็นวันหยุดราชการและวันหยุดของธนาคารโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ อายุความจึงเริ่มนับในวันรุ่งขึ้นของ วันออกเช็ค และเมื่อวันสุดท้ายซึ่งครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาและติดต่อกับวันเสาร์วันอาทิตย์ตามลำดับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในวันจันทร์ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้
วันหยุดราชการเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไปจึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องหรือนำสืบแสดงเหตุผลให้ปรากฏ และข้อที่ว่าถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุดราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลรับรู้เองและศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเช็ค: วันหยุดราชการและวันหยุดธนาคารมีผลต่อการนับระยะเวลา
ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายให้รับผิดใช้เงินตามเช็คได้ภายในเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่เช็คถึงกำหนดใช้เงิน เมื่อวันออกเช็คตรงกับวันเฉลิมพระชนมพรรษาซึ่งเป็นวันหยุดราชการและวันหยุดของธนาคารโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ อายุความจึงเริ่มนับในวันรุ่งขึ้นของวันออกเช็ค และเมื่อวันสุดท้ายซึ่งครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าวเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาและติดต่อกับวันเสาร์วันอาทิตย์ตามลำดับ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยในวันจันทร์ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่ได้
วันหยุดราชการเป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป จึงไม่จำต้องบรรยายฟ้องหรือนำสืบแสดงเหตุผลให้ปรากฏ และข้อที่ว่าถ้าวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเป็นวันหยุดราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วย เป็นข้อกฎหมายซึ่งศาลรับรู้เองและศาลมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเริ่มนับใหม่เมื่อหนังสือรับสภาพหนี้สิ้นสุดผลผูกพัน แม้มีการผ่อนเวลาด้วยวาจา
หนังสือรับสภาพหนี้ของจำเลยมีข้อความแต่เพียงว่าจำเลย ขอผ่อนเวลาชำระหนี้โดยมิได้ระบุว่าจะใช้ให้อย่างไร เมื่อใด เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงจึงสุดสิ้นลงในวันที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ การที่โจทก์ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่จำเลยด้วยวาจาจะเป็นกี่วันก็ตาม หาใช่เหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงนั้นสุดสิ้นลงตามกำหนดเวลาดังกล่าวไม่ ดังนี้ อายุความจึงต้อง เริ่มนับใหม่นับแต่เวลาที่จำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยเริ่มนับ หนึ่งตั้งแต่วันรุ่งขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาตามพรบ.แรงงานสัมพันธ์และการขยายเวลาพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้จึงต้องนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 มาใช้บังคับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องของนายเกรียงศักดิ์นพศรี ลูกจ้าง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 จึงจะนับวันแรกที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องรวมคำนวณด้วยไม่ได้กำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 125 จึงต้องเริ่มนับจาก วันที่ 28 พฤษภาคม 2524 และจะครบกำหนดเก้าสิบวันในวันที่ 25 สิงหาคม 2524
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 125 วรรคสองให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจในการขยายเวลาการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไว้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดวิธีการในการร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งอนุญาตไว้แต่อย่างใด เมื่อมีคำขออนุมัติขยายเวลาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไปอีกสามสิบวัน นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2524 ถึงวันที่24 กันยายน 2524 ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายระยะเวลาตามคำขอนั้นแล้ว และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งก่อนครบกำหนดสามสิบวัน ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไป คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับระยะเวลาใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ และอำนาจขยายเวลาของรัฐมนตรี
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มิได้กำหนดวิธีการนับระยะเวลาไว้ จึงต้องนำวิธีการกำหนดนับระยะเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 158 มาใช้บังคับคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องของนายเกรียงศักดิ์ นพศรี ลูกจ้าง เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2524 จึงจะนับวันแรกที่คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้รับคำร้องรวมคำนวณด้วยไม่ได้กำหนดระยะเวลาเก้าสิบวันตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯมาตรา 125 จึงต้องเริ่มนับจาก วันที่ 28 พฤษภาคม 2524 และจะครบกำหนดเก้าสิบวันในวันที่ 25 สิงหาคม 2524
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 125 วรรคสองให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยใช้ดุลพินิจในการขยายเวลาการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไว้อย่างกว้างขวาง ไม่มีข้อจำกัดหรือกำหนดวิธีการในการร้องขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยสั่งอนุญาตไว้แต่อย่างใด เมื่อมีคำขออนุมัติขยายเวลาชี้ขาดของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไปอีกสามสิบวัน นับแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2524 ถึงวันที่ 24 กันยายน 2524 ทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้มีคำสั่งอนุมัติให้ขยายระยะเวลาตามคำขอนั้นแล้ว และคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ได้มีคำสั่งก่อนครบกำหนดสามสิบวัน ตามที่ได้รับอนุมัติให้ขยายระยะเวลาออกไป คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน, การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า, การคำนวณดอกเบี้ย, และการฟ้องแย้งเรื่องเงินเกินจำนวน
โจทก์นำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าได้มอบเงินครบจำนวนตามสัญญากู้ให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยยอมให้หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า เป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของเงินต้นตามสัญญากู้ ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้ ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้วในวันทำสัญญากู้ ก็เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงการรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อไม่ปรากฏว่าในวันกู้ยืมเงินโจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยตั้งแต่เวลาใด ถือไม่ได้ว่าเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานตามประเพณี จึงต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
เมื่อสัญญากู้เงินระบุให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีและในปี พ.ศ. 2519 ที่กู้ยืมกันมี 366 วัน การคำนวณดอกเบี้ยต้องถือว่าระยะเวลา 1 ปีมี 366 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1401/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกู้ยืมเงิน, การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า, การคำนวณดอกเบี้ย, และการรับฟังพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้
โจทก์นำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าได้มอบเงินครบจำนวนตามสัญญากู้ให้จำเลยแล้ว แต่จำเลยยอมให้หักดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้า เป็นการนำสืบถึงความเป็นมาของเงินต้นตามสัญญากู้ ไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมสัญญากู้ ส่วนการที่โจทก์นำพยานบุคคลเข้าสืบว่าจำเลยชำระดอกเบี้ยให้โจทก์แล้วในวันทำสัญญากู้ ก็เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องดอกเบี้ยซึ่งกฎหมายมิได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงการรับฟังพยานบุคคลเกี่ยวกับกฎหมายดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
เมื่อไม่ปรากฏว่าในวันกู้ยืมเงินโจทก์ได้มอบเงินให้แก่จำเลยตั้งแต่เวลาใด ถือไม่ได้ว่าเริ่มการในวันนั้นตั้งแต่เวลาอันเป็นกำหนดเริ่มทำการงานตามประเพณีจึงต้องห้ามมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย
เมื่อสัญญากู้เงินระบุให้คิดดอกเบี้ยกันในอัตราร้อยละสิบห้าต่อปีและในปี พ.ศ. 2519 ที่กู้ยืมกันมี 366 วัน การคำนวณดอกเบี้ยต้องถือว่าระยะเวลา 1 ปีมี 366 วัน
of 24