พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนค้าต่าง บริหารจัดการเรือ สัญญาจ้างสำรวจเรือ ผู้รับจ้างมีหน้าที่รับผิดชอบค่าบริการ
ตามคำฟ้องเป็นการกล่าวอ้างให้จำเลยรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ได้ทำไปแล้วในฐานะที่จำเลยเป็นคู่สัญญากับโจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายคำฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. จากเจ้าของเรือทำสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการสำรวจและจัดชั้นเรือ (Classification) รวมทั้งออกหนังสือรับรองและทำรายงานการตรวจสภาพเรือ อ. นั้น เป็นการบรรยายให้เห็นถึงมูลเหตุและสถานะของจำเลยที่เข้าทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์ และเพื่อให้การนำเรือที่จำเลยเป็นผู้บริหารจัดการออกให้บริการในน่านน้ำไทยได้ จำเลยจึงจำเป็นต้องนำเรือดังกล่าวไปตรวจสภาพและขอรับการจัดชั้นเรือพร้อมทั้งขอรับใบรับรองสถานภาพเรือจากหน่วยงานหรือองค์กรที่มีความชำนาญและมีหน้าที่โดยตรงซึ่งก็คือโจทก์นั่นเอง หาใช่โจทก์ฟ้องตั้งข้อหาให้จำเลยรับผิดในฐานะตัวแทนซึ่งเข้าทำสัญญาแทนตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 ไม่ ส่วนจำเลยให้การเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะจำเลยทำสัญญาว่าจ้างโจทก์แทนเจ้าของเรือซึ่งเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายประเทศมาเลเซียและโจทก์ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว อันเป็นการปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น โดยอ้างเหตุว่าจำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ แต่จำเลยทำสัญญากับโจทก์แทนตัวการซึ่งเป็นนิติบุคคลต่างประเทศ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ให้ตรวจเรือแทนตัวการหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าการงานที่โจทก์ทำไปแล้วหลังจากจำเลยเลิกสัญญาหรือไม่ การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยในฐานะตัวแทนของนิติบุคคลต่างประเทศจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด จึงเป็นการกำหนดประเด็นข้อพิพาทผิดไปจากข้ออ้างและข้อเถียง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 183 วรรคหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทมีความมุ่งหมายเพื่อให้คู่ความแพ้ชนะคดีกันในเนื้อหาแห่งคดีตามกฎหมายสารบัญญัติ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย และเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจึงให้เพิกถอนการกำหนดประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวแล้วพิจารณาพิพากษาคดีไปตามประเด็นข้อพิพาทที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 45 และมาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 27 มาตรา 246 และ 142 (5)
จำเลยเป็นผู้รับจ้างบริหารจัดการเรือ อ. (Ship Management Agent) แทนเจ้าของเรือ (Shipowner) โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์ในการให้บริการบริหารจัดการเรือแก่เจ้าของเรือเพื่อนำออกให้บริการรับขนส่ง และเมื่อเจ้าของเรือประสงค์จะนำเรือออกให้บริการรับขนส่งระหว่างประเทศ จำเลยจึงย่อมต้องทราบและปฏิบัติตามข้อปฏิบัติ หลักเกณฑ์ และระเบียบว่าด้วยการนำเรือออกให้บริการระหว่างประเทศ ซึ่งการสำรวจจัดชั้นเรือเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของเรือ เครื่องยนต์ อุปกรณ์ของเรือ และระวางบรรทุกก็เพื่อให้เรือสามารถจดทะเบียนได้ใบอนุญาตใช้เรือและนำเรือออกให้บริการได้ พฤติการณ์และลักษณะการให้บริการของจำเลยแก่เจ้าของเรือในกิจการที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์นาวีและอำนาจหน้าที่ของจำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือ อ. แทนเจ้าของเรือรวมทั้งการว่าจ้างโจทก์ดังกล่าวจึงทำให้การบริการของจำเลยมีลักษณะเป็นตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 ทั้งนี้ ไม่ว่าโจทก์จะรู้หรือไม่ว่าเจ้าของเรือซึ่งเป็นตัวการคือใคร โดยทั้งเจ้าของเรือและจำเลยต่างก็มีผลประโยชน์ที่จะได้จากการใช้เรือในเชิงพาณิชย์ กล่าวคือ หากจำเลยบริหารจัดการเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพเจ้าของเรือก็จะได้ผลกำไรจากการดำเนินการนั้น ส่วนจำเลยก็จะได้ผลประโยชน์เป็นบำเหน็จตอบแทนจากเจ้าของเรือ โดยเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นต้องปรับปรุง ซ่อมแซมเรือ อ. จำเลยในฐานะผู้บริหารจัดการเรือซึ่งได้รับมอบหมายเรือไว้จากเจ้าของเรือย่อมต้องมีหน้าที่ดูแลรักษาเรือให้อยู่ในสภาพเหมาะสมแก่การใช้งานดังที่ ป.พ.พ. มาตรา 842 บัญญัติไว้ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการฝากทรัพย์มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามควรแก่เรื่อง จำเลยซึ่งเป็นตัวแทนค้าต่างจึงย่อมเป็นผู้ต้องผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5328/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนค้าต่าง: การพิสูจน์อำนาจและการผูกพันตามสัญญาซื้อขาย
การเกิดขึ้นและการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายมีสาระสำคัญเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเจรจาต่อรองซึ่งเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า สัญญาเกิดขึ้นโดยใจสมัครของทั้งสองฝ่าย จากนั้นมีการนำส่งคำเสนอและคำสนองเป็นลายลักษณ์อักษรลงนาม โดยคู่สัญญาหรือตัวแทนปรากฏรายละเอียดของสินค้าที่เจรจาต่อรองกันแล้วว่าจะซื้อขายกัน จำเลยทำหน้าที่เป็นเพียงผู้ติดต่อและประสานงานด้านข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและเอกสารที่ต้องใช้ในการซื้อขายและส่งมอบ โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีอำนาจตัดสินใจในขั้นตอนการเจรจาต่อรอง การทำคำเสนอ และการชำระราคา ทั้งชื่อของผู้ซื้อกับตัวแทนผู้ซื้อก็ปรากฏโดยเปิดเผยในเอกสารที่เกี่ยวกับการซื้อขาย ลำพังแต่การตรวจสอบสินค้าขั้นสุดท้ายก่อนการส่งมอบแก่ผู้ขนส่งที่จำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องมากที่สุดและเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขาย ยังไม่เพียงพอที่จะถือได้ว่าเป็นตัวแทนค้าต่างที่ทำสัญญาซื้อขายทั้งหกครั้งในนามของตนเองแทน อันอาจจะทำให้จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาซื้อขายต่อโจทก์ หรือเป็นตัวแทนที่อยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาในต่างประเทศในอันที่จะต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1947/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บอกเลิกสัญญาตัวแทนโดยชอบด้วยกฎหมาย ค่าเสียหายจากการบอกเลิกสัญญา และการคิดค่าเสียหาย
จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าของบริษัทจำเลยที่ 2 โดยโจทก์เป็นผู้ติดต่อหาลูกค้า เมื่อลูกค้าสั่งซื้อสินค้า โจทก์จะส่งคำสั่งซื้อของลูกค้ามายังจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองก็จะแจ้งกลับไปยังโจทก์ว่าจะส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้เมื่อใด โจทก์จึงแจ้งให้ลูกค้าเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตเพื่อชำระราคาสินค้าให้แก่จำเลยทั้งสอง เมื่อจำเลยทั้งสองจัดส่งสินค้าแล้วก็จะเรียกเก็บเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตที่ลูกค้าเปิดไว้เห็นได้ว่าลูกค้ามิได้สั่งซื้อและรับสินค้ากับชำระราคาสินค้าแก่โจทก์โดยตรง ราคาสินค้าที่โจทก์ขายให้แก่ลูกค้าก็คือราคาที่จำเลยทั้งสองขายให้แก่ลูกค้า โดยจำเลยทั้งสองจ่ายค่าตอบแทนให้โจทก์ร้อยละ 3 ถึง ร้อยละ 7 ของจำนวนสินค้าที่ลูกค้าสั่งซื้อ โจทก์มิได้ขายสินค้าของจำเลยที่ 2 ในนามของตนเองจึงไม่ใช่ตัวแทนค้าต่างของจำเลยทั้งสอง แต่การที่จำเลยทั้งสองตั้งให้โจทก์เป็นผู้แทนขายสินค้าในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนและฮ่องกงและโจทก์ตกลงทำการดังกล่าว ย่อมเข้าลักษณะของสัญญาตัวแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 797 ความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นจึงตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยตัวแทน จำเลยทั้งสองในฐานะตัวการย่อมมีสิทธิถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนเสียเมื่อใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคแรก ดังนั้น การที่จำเลยทั้งสองแจ้งแก่โจทก์ขอให้เลิกสัญญาโดยไม่ตั้งโจทก์เป็นตัวแทนอีกต่อไปย่อมเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายและมีผลตามกฎหมายทันที ไม่ถือว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการผิดสัญญาได้ส่วนความเสียหายอันเกิดจากการบอกเลิกสัญญาตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกแก่โจทก์นั้นโจทก์มิได้บรรยายฟ้องและนำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ทั้งไม่อาจถือว่าการที่จำเลยทั้งสองถอนโจทก์ออกจากการเป็นตัวแทนโดยมิได้บอกกล่าวล่วงหน้าเป็นการถอนตัวแทนในเวลาที่ไม่สะดวกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางให้จำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายในส่วนนี้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5775/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะการค้าขายสินค้า: โจทก์เป็นผู้รับจัดธุรกิจการขายให้ผู้ขาย ไม่ใช่การซื้อขายปกติ
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับผู้ขายเพื่อนำสินค้ามาวางขายให้ห้างสรรพสินค้าของโจทก์ โดยมีข้อตกลงกันว่า ในขณะที่มีบุคคลที่สามมาขอซื้อสินค้า ให้ถือว่าสินค้านั้นได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายแล้ว ในทางปฏิบัติโจทก์ยอมให้ผู้ขายส่งสินค้าเข้ามาวางขายในห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในสถานที่ที่โจทก์กำหนดโดยโจทก์ยังมิต้องชำระเงินค่าสินค้านั้นแก่ผู้ขายโจทก์จะชำระเงินให้ผู้ขายต่อเมื่อมีลูกค้าได้ตกลงซื้อสินค้านั้นในแต่ละเดือนจึงทำบัญชีสินค้าที่ขายได้ในแต่ละวันกันไว้ ราคาที่โจทก์ซื้อและขายให้ลูกค้าก็ต้องเกิดจากการกำหนดร่วมกันระหว่างโจทก์และผู้ขายซึ่งนำสินค้ามาวางขายในห้างสรรพสินค้าของโจทก์ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีลูกค้าของโจทก์มาขอซื้อ ผู้ขายก็ยังคงต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายของสินค้านั้นอยู่ อีกทั้งเมื่อผู้ขายจะส่งสินค้ามาวางขายผู้ขายยังต้องดำเนินการติดตั้งของใช้ถาวร เฟอร์นิเจอร์ และอื่น ๆ อันเกี่ยวกับการนำสินค้ามาวางขายด้วยค่าใช้จ่ายของผู้ขายเองโดยความเห็นชอบจากโจทก์ก่อนโจทก์ไม่มีเจตนาอันแท้จริงที่จะซื้อสินค้าจากผู้ขายมาขายเอง ไม่ว่าโจทก์จะจัดพนักงานขายสินค้านั้นเอง หรือต้องให้ผู้ขายส่งพนักงานของผู้ขายมาดำเนินการขายสินค้านั้นด้วย ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่จะให้มีการขายสินค้านั้นเท่านั้น โจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้น โจทก์จึงเป็นผู้รับจัดธุรกิจการขายให้ผู้ขาย เข้าอยู่ในประเภทการค้าที่ 10 นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5775/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดธุรกิจการขายสินค้าให้ผู้อื่นเข้าข่ายตัวแทนค้าต่างตามประเภทการค้า 10 นายหน้าและตัวแทน ตามประมวลรัษฎากร
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายสินค้ากับผู้ขายเพื่อนำสินค้ามาวางขายให้ห้างสรรพสินค้าของโจทก์โดยมีข้อตกลงกันว่าในขณะที่มีบุคคลที่สามมาขอซื้อสินค้าให้ถือว่าสินค้านั้นได้มีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดในระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายแล้วในทางปฏิบัติโจทก์ยอมให้ผู้ขายส่งสินค้าเข้ามาวางขายในห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในสถานที่ที่โจทก์กำหนดโดยโจทก์ยังมิต้องชำระเงินค่าสินค้านั้นแก่ผู้ขายโจทก์จะชำระเงินให้ผู้ขายต่อเมื่อมีลูกค้าได้ตกลงซื้อสินค้านั้นในแต่ละเดือนจึงทำบัญชีสินค้าที่ขายได้ในแต่ละวันกันไว้ราคาที่โจทก์ซื้อและขายให้ลูกค้าก็ต้องเกิดจากการกำหนดร่วมกันระหว่างโจทก์และผู้ขายซึ่งนำสินค้ามาวางขายในห้างสรรพสินค้าของโจทก์แต่ตราบใดที่ยังไม่มีลูกค้าของโจทก์มาขอซื้อผู้ขายก็ยังคงต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือสูญหายของสินค้านั้นอยู่อีกทั้งเมื่อผู้ขายจะส่งสินค้ามาวางขายผู้ขายยังต้องดำเนินการติดตั้งของใช้ถาวรเฟอร์นิเจอร์และอื่นๆอันเกี่ยวกับการนำสินค้ามาวางขายด้วยค่าใช้จ่ายของผู้ขายเองโดยความเห็นชอบจากโจทก์ก่อนโจทก์ไม่มีเจตนาอันแท้จริงที่จะซื้อสินค้าจากผู้ขายมาขายเองไม่ว่าโจทก์จะจัดพนักงานขายสินค้านั้นเองหรือต้องให้ผู้ขายส่งพนักงานของผู้ขายมาดำเนินการขายสินค้านั้นด้วยก็เป็นเพียงข้อตกลงที่จะให้มีการขายสินค้านั้นเท่านั้นโจทก์ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นโจทก์จึงเป็นผู้รับจัดธุรกิจการขายให้ผู้ขายเข้าอยู่ในประเภทการค้าที่10นายหน้าและตัวแทนตามบัญชีอัตราภาษีการค้าแห่งประมวลรัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนค้าต่าง, ความรับผิดของตัวแทนและผู้ค้ำประกัน, เบี้ยปรับ, ดอกเบี้ย, การระงับหนี้
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทนข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้" สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันภัยฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฏว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาทบวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหายข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 811 นั้น กฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใดซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปีเมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6594/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย, ความรับผิดของตัวแทน, เบี้ยปรับ, และดอกเบี้ยตามกฎหมาย
ตามสัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลย ระบุชื่อสัญญาว่า "สัญญาตัวแทนจำหน่ายปุ๋ย" เรียกโจทก์ว่าตัวการ เรียกจำเลยว่าตัวแทน ข้อความในสัญญาข้อหนึ่งใจความว่า "ตัวแทนสัญญาว่าจะจำหน่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกรในนามของตนเองในราคาและเงื่อนไข ดังนี้..." สัญญาระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นสัญญาตัวแทนค้าต่างตาม ป.พ.พ. มาตรา 833 การชำระราคาปุ๋ยจึงต้องปรับตามมาตรา 838 วรรคหนึ่ง ซึ่งเมื่อมีข้อสัญญากำหนดว่าตัวแทนค้าต่างจะต้องรับผิดในหนี้หรือราคาปุ๋ยต่อตัวการ ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยจะได้รับชำระหนี้ค่าปุ๋ยจากผู้ซื้อคือเกษตรกรแล้วหรือไม่ จำเลยจะต้องรับผิดชำระเงินค่าปุ๋ยที่ค้างแก่โจทก์ มิใช่รับผิดเฉพาะกรณีที่ได้รับเงินค่าปุ๋ยมาแล้วเท่านั้น
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
เมื่อคดีฟังได้ว่า มีคนนำเอาสัญญาค้ำประกันของธนาคารไปจากการครอบครองของโจทก์ โดยโจทก์มิได้รู้เห็นยินยอมแล้วเอาสัญญาค้ำประกันปลอมไว้แทนและจำเลยเอาสัญญาค้ำประกันฉบับแท้จริงไปมอบคืนแก่ธนาคาร กรณีจึงมิใช่เรื่องโจทก์เวนคืนหรือมอบหมายให้ผู้ใดเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งสิทธิแก่ธนาคารตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 327 วรรคสาม เมื่อไม่ปรากฎว่าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันได้ระงับลงแล้ว ธนาคารผู้ค้ำประกันจำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันนั้น
สัญญาระบุว่า "ในกรณีตัวแทนผิดนัดไม่ส่งเงินค้างชำระภายในกำหนด ตัวแทนยินยอมให้ตัวการคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท บวกดอกเบี้ยอีกร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดจนถึงวันชำระเงินเสร็จสิ้น" นั้น การคิดราคาปุ๋ยอีกตันละ 100 บาท และเรียกดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีดังกล่าว ย่อมเป็นการกำหนดเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติกฎหมายใดห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยของเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายซ้อนค่าเสียหาย ข้อสัญญาดังกล่าวจึงใช้บังคับได้
ดอกเบี้ยซึ่งตัวแทนต้องเสียตาม ป.พ.พ. มาตรา 811 นั้นกฎหมายมิได้กำหนดไว้ว่าเป็นอัตราร้อยละเท่าใด ซึ่งโจทก์มีสิทธิได้เพียงในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 7 ไม่ถึงร้อยละ 15 ต่อปี เมื่อสัญญากำหนดให้ใช้ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าที่กฎหมายกำหนด จึงเป็นการกำหนดเบี้ยปรับอย่างหนึ่งซึ่งศาลชอบที่จะกำหนดให้โจทก์ใช้ในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี อันเป็นอัตราที่เหมาะสมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2750/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของคนต่างด้าว, อายุความค่าสิทธิประดิษฐ์, การบอกเลิกสัญญา, และการเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการ
การที่โจทก์มอบอำนาจให้ ช.ซึ่งเป็นคนต่างด้าวมีอำนาจดำเนินคดีแก่จำเลย หาใช่เป็นการมอบอำนาจให้ประกอบธุรกิจบริการ โดยการเป็นนายหน้าหรือตัวแทนการค้าไม่ จึงไม่ต้องห้ามตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 281 ลงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2515 ข้อ 4 และตามบัญชี ก.ท้ายประกาศ หมวด 3(5)
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน
ค่าสิทธิประดิษฐ์ในการให้ความช่วยเหลือ แนะนำ ฝึกสอนวิธีการประดิษฐ์กระเบื้องซีรามิคตามสัญญา ซึ่งมีการตกลงจ่ายเป็นงวด ๆ โดยคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดขาย นั้น ไม่เข้าลักษณะการเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1) (7) จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164
หนังสือของจำเลยตอบหนังสือของโจทก์ที่ถามความเห็นเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาว่าจำเลยตกลงใจไม่ต่อสัญญาความช่วยเหลือทางเทคนิคกับโจทก์และโจทก์แจ้งให้จำเลยทราบว่า โจทก์ตกลงตามที่จำเลยตัดสินใจ ดังนี้ หนังสือของจำเลยดังกล่าวไม่ใช่หนังสือบอกเลิกสัญญากับโจทก์ แต่เป็นหนังสือที่มีลักษณะเป็นการสนองตอบตามที่โจทก์ขอความเห็นหรือหารือล่วงหน้าก่อนครบกำหนดต่ออายุสัญญาว่า จะมีการต่ออายุสัญญาต่อไปหรือไม่โจทก์กลับมีหนังสืออันมีข้อความในลักษณะเป็นการตกลงตามที่จำเลยสนองตอบข้อหารือของโจทก์นั้น จึงเท่ากับตกลงที่จะไม่ต่ออายุสัญญากันด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย จำเลยมิได้เป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาก่อนกำหนด
สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยมีข้อความว่า ข้อขัดแย้งหรือข้อเรียกร้องใดซึ่งเกิดขึ้นหรือเกี่ยวเนื่องกับสัญญานี้หรือการประพฤติปฏิบัติผิดสัญญานี้ คู่สัญญาจะทำความตกลงกันด้วยสันติวิธี ถ้าไม่สามารถตกลงกันได้จะต้องชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการ ดังนี้ สัญญามิได้บังคับเด็ดขาดว่าต้องตั้งอนุญาโตตุลาการให้ชี้ขาดข้อพิพาทเสียก่อน จึงจะฟ้องได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เสนอให้มีการตั้งอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงฟ้องคดีได้โดยไม่ต้องเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการพิจารณาก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าสินค้าซื้อขาย และการเชิดตัวบุคคลแสดงเป็นตัวแทน
เมื่อจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์ ส.ก็ไปเป็นพยานในสัญญานอกจากส. จะเป็นภริยาจำเลยที่ 2 และเป็นมารดาจำเลยที่ 3 แล้ว ยังใช้ชื่อ ส. เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1และหัวกระดาษผัดหนี้ก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปีข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165(2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165(1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165(1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย (จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1) แล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปีข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165(2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165(1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165(1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย (จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 165(1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165(1) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ซื้อขายแบตเตอรี่: สัญญาซื้อขายไม่ใช่สัญญาตัวแทน, หนังสือผัดหนี้ไม่ทำให้เกินอายุความ
เมื่อจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาเป็นตัวแทนกับโจทก์ ส. ก็ไปเป็นพยานในสัญญา นอกจาก ส.จะเป็นภริยาจำเลยที่ 2 และเป็นมารดาจำเลยที่ 3 แล้ว ยังใช้ชื่อ ส. เป็นชื่อห้างจำเลยที่ 1และหัวกระดาษผัดหนี้ก็มีชื่อจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทนของตน
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปี ข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165 (2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165 (1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย(จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165 (1) แล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าแบตเตอรี่ที่จำเลยสั่งซื้อ จำเลยให้การว่าฟ้องขาดอายุความแล้วเพราะไม่ฟ้องภายใน 2 ปี ข้อต่อสู้ของจำเลยอ้างเหตุชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 177 วรรคสองแล้ว เพราะบทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับว่าจะต้องระบุอ้างมาตราในกฎหมายลงไปด้วย การที่จำเลยระบุเลขของอนุมาตราในมาตราเดียวกันนั้นคลาดเคลื่อนไป ไม่ทำให้ข้อต่อสู้ของจำเลยในประเด็นข้อนี้เปลี่ยนแปลงไปอย่างใด แม้ในคำให้การจะอ้างมาตรา 165 (2) แล้วต่อมาขอแก้เป็นมาตรา 165 (1) ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยก็อ้างมาตรา 165 (1)ขึ้นฎีกาได้
สัญญามีข้อความว่า โจทก์ตกลงขายแบตเตอรี่ให้แก่ผู้แทนจำหน่าย(จำเลย) เพื่อนำไปขายอีกต่อหนึ่ง เมื่อจำเลยต้องการซื้อเมื่อใด แบบใด จำนวนเท่าใดต้องแจ้งให้โจทก์ทราบล่วงหน้า โดยมีใบสั่งซื้อหรือหนังสือสั่งซื้อเป็นหลักฐาน. ดังนี้ เป็นการซื้อขายแบตเตอรี่ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่สัญญาตัวแทนค้าต่างไม่ ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ผู้เป็นพ่อค้าเรียกเอาค่าที่ได้ส่งมอบของคือแบตเตอรี่จากจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ2 ปี ตามมาตรา 165 (1) เมื่อนับแต่วันส่งมอบของครั้งสุดท้ายก็ดี หรือนับแต่วันที่ตัวแทนจำเลยทำหนังสือรับสภาพหนี้ซึ่งทำให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ดีนับถึงวันฟ้องคดีก็เกิน 2 ปีแล้ว ฟ้องจึงขาดอายุความตามมาตรา 165 (1) แล้ว