พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: สิทธิฟ้อง, อายุความ, และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ซึ่งหย่าขาดจากจำเลยฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรค่าเล่าเรียน ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนและค่ารักษาพยาบาลบุตรตามสัญญาที่ทำกันไว้ ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญากันว่าจำเลยยอมยกให้โจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรและยอมส่งค่าเลี้ยงดูบุตรจนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามสัญญาได้ และคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็ก
การนับอายุความฟ้องร้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์เป็นรายเดือน และเงินค่าเล่าเรียนและค่าอุปกรณ์การเรียนเป็นรายปีนั้น ย่อมต้องแยกนับดูว่ารายใดเกิน 10 ปีหรือไม่ ส่วนที่ยังไม่เกิน 10 ปีก็ไม่ขาดอายุความ
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญากันว่าจำเลยยอมยกให้โจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรและยอมส่งค่าเลี้ยงดูบุตรจนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามสัญญาได้ และคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็ก
การนับอายุความฟ้องร้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์เป็นรายเดือน และเงินค่าเล่าเรียนและค่าอุปกรณ์การเรียนเป็นรายปีนั้น ย่อมต้องแยกนับดูว่ารายใดเกิน 10 ปีหรือไม่ ส่วนที่ยังไม่เกิน 10 ปีก็ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1371/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าเช่าและฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีใหม่กับจำเลยที่ไม่เคยเป็นคู่ความเดิมไม่ถือเป็นการฟ้องซ้อน
ค้างค่าเช่าผ้าประจำเดือนพฤษภาคม 2516 ฟ้องวันที่ 31 กรกฎาคม 2517 ไม่ขาดอายุความ ซึ่งเริ่มนับเมื่อใช้สิทธิเรียกร้องได้ไม่เกิน 2 ปี
คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่ จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีใหม่ จำเลยที่ 1 ไม่ใช่คู่ความในคดีก่อน ไม่เป็นฟ้องซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้รัฐเพื่อสร้างสถานที่ราชการ และการแย่งการครอบครองที่ดิน การฟ้องเพิกถอน น.ส.3
ทำหนังสือไว้ต่ออำเภอว่า ยินดียกที่ดินมือเปล่าให้แก่ทางราชการ เพื่อใช้เป็นสถานที่ปลูกสร้างสถานที่ราชการต่างๆโดยไม่คิดมูลค่านั้น เป็นการจะยกที่ดินให้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สร้างสถานที่ราชการเท่านั้น เมื่อทางราชการไม่ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้และไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องอะไรในที่ดิน ก็ยังถือไม่ได้ว่าที่ดินตกเป็นของทางราชการแล้ว
การนับเวลาฟ้องร้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1375 ต้องมีพฤติการณ์แสดงออกถึงการแย่งการครอบครองในวันที่จะเริ่มนับเวลาการแย่งการครอบครอง ที่พิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครอง การที่เจ้าพนักงานออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) คลุมถึงที่พิพาทให้จำเลยไปโดยโจทก์ไม่ทราบ ไม่ได้มาระวังแนวเขตจำเลยยืนยันให้เจ้าพนักงานทำการรังวัดเอง โดยให้คำรับรองว่าหากเกิดผิดพลาดเสียหายประการใดจำเลยยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงการครอบครองที่พิพาทอย่างไร ดังนี้ ฟังไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองกำหนดเวลาฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 468/2508)
การนับเวลาฟ้องร้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1375 ต้องมีพฤติการณ์แสดงออกถึงการแย่งการครอบครองในวันที่จะเริ่มนับเวลาการแย่งการครอบครอง ที่พิพาทโจทก์มีสิทธิครอบครอง การที่เจ้าพนักงานออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) คลุมถึงที่พิพาทให้จำเลยไปโดยโจทก์ไม่ทราบ ไม่ได้มาระวังแนวเขตจำเลยยืนยันให้เจ้าพนักงานทำการรังวัดเอง โดยให้คำรับรองว่าหากเกิดผิดพลาดเสียหายประการใดจำเลยยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงการครอบครองที่พิพาทอย่างไร ดังนี้ ฟังไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครองกำหนดเวลาฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 468/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2792/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกที่ดินให้ราชการไม่สมบูรณ์หากไม่ใช้ตามวัตถุประสงค์ และการแย่งการครอบครองต้องมีพฤติการณ์ชัดเจน
ทำหนังสือไว้ต่ออำเภอว่า ยินดียกที่ดินมือเปล่าให้แก่ทางราชการ เพื่อใช้เป็นสถานที่ปลูกสร้างสถานที่ราชการต่าง ๆ โดยไม่คิดมูลค่านั้น เป็นการจะยกที่ดินให้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สร้างสถานที่ราชการเท่านั้น เมื่อทางราชการไม่ใช้ที่ดินตามวัตถุประสงค์ของผู้ยกให้และไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องอะไรในที่ดิน ก็ยังถือไม่ได้ว่าที่ดินตกเป็นของทางราชการแล้ว
การนับเวลาฟ้องร้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1375 ต้องมีพฤติการณ์แสดงออกถึงการแย่งการครอบครองในวันที่จะเริ่มนับเวลาการแย่งการครอบครอง ที่พิพาทโจทก์มีสิทธิ์ครอบครอง การที่เจ้าพนักงานออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) คลุมถึงที่พิพาทให้จำเลยไปโดยโจทก์ไม่ทราบ ไม่ได้มาระวังแนวเขต จำเลยยืนยันให้เจ้าพนักงานทำการรังวัดเอง โดยให้คำรับรองว่าหากเกิดผิดพลาดเสียหายประการใดจำเลยยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงการครอบครองที่พิพาทอย่างไร ดังนี้ ฟังไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครอง กำหนดเวลาฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 468/2508)
การนับเวลาฟ้องร้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 1375 ต้องมีพฤติการณ์แสดงออกถึงการแย่งการครอบครองในวันที่จะเริ่มนับเวลาการแย่งการครอบครอง ที่พิพาทโจทก์มีสิทธิ์ครอบครอง การที่เจ้าพนักงานออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) คลุมถึงที่พิพาทให้จำเลยไปโดยโจทก์ไม่ทราบ ไม่ได้มาระวังแนวเขต จำเลยยืนยันให้เจ้าพนักงานทำการรังวัดเอง โดยให้คำรับรองว่าหากเกิดผิดพลาดเสียหายประการใดจำเลยยอมรับผิดชอบเองทั้งสิ้น และไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงการครอบครองที่พิพาทอย่างไร ดังนี้ ฟังไม่ได้ว่าเป็นการแย่งการครอบครอง กำหนดเวลาฟ้องร้องจึงยังไม่เริ่มนับ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 468/2508)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2657/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินกู้: เริ่มนับเมื่อผิดนัดชำระดอกเบี้ย แม้สัญญาจะกำหนดวันใช้เงินต้นในภายหลัง
โจทก์ให้จำเลยกู้เงิน สัญญากู้ข้อ 3 กำหนดให้ใช้ต้นเงินคืนวันที่ 4 มิถุนายน 2508 สัญญาข้อ 4 กำหนดให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์ทุกเดือน และในสัญญาข้อ 6 มีความว่า "แม้ว่าข้าพเจ้า (จำเลย) ประพฤติผิดสัญญานี้แต่ข้อหนึ่งข้อใดก็ดี ยอมให้ท่าน (โจทก์) ฟ้องร้องเรียก6 นี้ ถ้าจำเลยไม่ชำระดอกเบี้ยในเดือนใด นับแต่วันนั้นโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แล้ว ไม่จำต้องรอจนครบกำหนดวันใช้ต้นเงินคืนตามสัญญาข้อ 3 จำเลยผิดนัดไม่นำดอกเบี้ยมาชำระให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 4กรกฎาคม 2507 โจทก์ฟ้องเรียกเงินกู้และดอกเบี้ยในวันที่ 9 กันยายน 2517 จึงเกิน 10 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: การตกลงค่าจ้างที่แน่นอน ไม่ถือเป็นการแบ่งทรัพย์สิน และอายุความ 2 ปีเริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด
การเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งกำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนนั้นหาใช่เป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความไม่ ไม่เป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม จำเลยชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2171/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: การกำหนดจำนวนเงินแน่นอน ไม่ใช่การแบ่งทรัพย์สินจากลูกความ, อายุความ 2 ปีเริ่มนับเมื่อคดีถึงที่สุด
การเรียกค่าจ้างว่าความซึ่งกำหนดจำนวนเงินไว้แน่นอนนั้น หาใช่เป็นการแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่ลูกความไม่ ไม่เป็นโมฆะ และปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ศาลอุทธรณ์จะมิได้วินิจฉัยให้ก็ตาม จำเลยชอบที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
สัญญาจ้างว่าความมีว่า จำเลยจะให้ค่าจ้างแก่โจทก์เมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิ์เรียกร้องของโจทก์จึงอาจเริ่มบังคับได้เมื่อคดีถึงที่สุด
อายุความฟ้องเรียกเงินค่าจ้างว่าความมีกำหนด 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(15)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 888/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความภาษีอากร: คำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี สิทธิเรียกร้องยังไม่ขาดอายุความ
ห้างโจทก์เป็นนิติบุคคลมีหน้าที่ต้องยื่นรายการที่จำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีพร้อมด้วยบัญชีต่าง ๆ ตามที่กฎหมายระบุไว้ต่อเจ้าพนักงานประเมินภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี และถ้ามีกำไรสุทธิก็ต้องชำระเงินภาษีที่ต้องเสียต่ออำเภอพร้อมกับรายการที่ยื่นนั้นด้วย ดังบัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 65, 68, 69 ดังนั้น หนี้ภาษีอากรของโจทก์ได้ถึงกำหนดชำะแล้วตั้งแต่วันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร เมื่อนับจากวันที่โจทก์มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว จนถึงวันที่เจ้าพนักงานประเมินสั่งให้โจทก์ชำระภาษีที่ขาดเพิ่มเติมให้ครบถ้วนยังไม่ครบ 10 ปี สิทธิเรียกร้องเก็บภาษีของกรมสรรพากรจำเลยจึงยังไม่ขาดอายุความ ส่วนที่ห้างโจทก์อุทธรณ์คำสั่งการประเมินต่อเจ้าพนักงานอุทธรณ์ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ แจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ห้างโจทก์ทราบเมื่อพ้น 10 ปีแล้วนั้น คำวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นเพียงข้อวินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของเจ้าพนักงานประเมินว่าถูกต้องหรือไม่ ควรลดหย่อนภาษีให้ห้างโจทก์หรือไม่เท่านั้น ไม่ใช่คำสั่งเรียกเก็บภาษี ไม่ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าภาษีขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1748/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายเครื่องเหล็กราคาสูงกว่า 500 บาท การส่งมอบเป็นชำระหนี้บางส่วน สิทธิเรียกร้องราคา และอายุความ
ซื้อเครื่องเหล็กราคากว่า 500 บาท ผู้ขายส่งมอบของเป็นการชำระหนี้บางส่วน มีสิทธิฟ้องเรียกราคาได้ ไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
กำหนดชำระราคาสินค้างวดแรกเมื่อพ้น 3 เดือน ส่งสินค้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2513 ครบกำหนดอายุความ 2 ปีวันที่ 28 พฤษภาคม 2515 โจทก์ฟ้องเรียกราคาวันที่ 26 พฤษภาคม จึงไม่ขาดอายุความ
กำหนดชำระราคาสินค้างวดแรกเมื่อพ้น 3 เดือน ส่งสินค้าวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2513 ครบกำหนดอายุความ 2 ปีวันที่ 28 พฤษภาคม 2515 โจทก์ฟ้องเรียกราคาวันที่ 26 พฤษภาคม จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องไล่เบี้ยเช็ค: เริ่มนับจากวันที่ถูกฟ้อง ไม่ใช่เมื่อชำระเงินตามคำพิพากษา
จำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 สลักหลังให้โจทก์โจทก์สลักหลังต่อให้ จ. จ. นำเช็คไปขึ้นเงินจากธนาคารไม่ได้ จึงฟ้องโจทก์เป็นจำเลยเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2514 แม้ในคดีที่ จ.ฟ้องโจทก์นั้น โจทก์ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และศาลพิพากษาตามยอมเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2515 โดยโจทก์ยอมชำระเงินให้ จ. และเข้าถือเอาเช็ครายพิพาทนี้ก็ตาม ก็ถือไม่ได้ว่าโจทก์เข้าถือเอาเช็คและใช้เงินตามความหมายของมาตรา 1003 ตอนแรก เพราะโจทก์ในฐานะผู้สลักหลังถูกฟ้อง มิใช่โจทก์จ่ายเงินตามเช็คให้ จ. และเข้าถือเอาเช็คไว้ไล่เบี้ย เมื่อโจทก์มาฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยทั้งสองในวันที่ 10 เมษายน 2515 พ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันที่โจทก์ถูกฟ้องแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003
กรณีดังกล่าวข้างต้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003ได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษต่างหากแล้วการนับอายุความจึงต้องบังคับไปตามมาตราดังกล่าว จะนำมาตรา 169 มาใช้บังคับโดยถือว่าให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้คือวันที่ 3 เมษายน 2515 เป็นต้นไป หาได้ไม่
กรณีดังกล่าวข้างต้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003ได้บัญญัติถึงเรื่องอายุความไว้เป็นพิเศษต่างหากแล้วการนับอายุความจึงต้องบังคับไปตามมาตราดังกล่าว จะนำมาตรา 169 มาใช้บังคับโดยถือว่าให้เริ่มนับอายุความตั้งแต่ขณะที่โจทก์อาจจะบังคับสิทธิเรียกร้องได้คือวันที่ 3 เมษายน 2515 เป็นต้นไป หาได้ไม่