คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 169

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความภาษี, การชำระบัญชีบริษัท, และความรับผิดของผู้ชำระบัญชี
ผู้มีเงินได้ต้องยื่นรายการในกุมภาพันธ์ 2502 แสดงเงินได้ในปี 2501 ที่ล่วงมาแล้ว สิทธิเรียกร้องภาษีเงินได้จึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2502กรมสรรพากรโจทก์ยื่นฟ้องเรียกภาษีเงินได้เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2512ยังไม่เกินอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 167
การชำระบัญชีบริษัทจำกัดสิ้นสุดเมื่อจดทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่จดทะเบียน อายุความ 2 ปี ตามมาตรา 1272 ยังไม่เริ่มนับ
เจ้าพนักงานของโจทก์ประเมินภาษีเงินได้ให้จำเลยชำระรวมทั้งเงินเพิ่ม จำเลยไม่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 ภายใน 30 วัน จำเลยต้องเสียภาษีตามนั้น จะอ้างว่าไม่ถูกต้องภายหลังไม่ได้
ผู้ถือหุ้นค้างชำระค่าหุ้นอยู่เพราะกรรมการบริษัทและผู้ชำระบัญชีไม่เรียกเก็บ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เรียกให้ผู้ถือหุ้นชำระได้พร้อมด้วยดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้อง
ผู้ชำระบัญชีบริษัทจำกัดมีหน้าที่ตามมาตรา 1250 แต่ไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้ที่บริษัทค้างชำระ ข้อหาว่าทำละเมิดก็ต้องแสดงว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้เสียหายเพียงแต่ไม่เรียกให้ชำระค่าหุ้นให้ครบยังไม่เป็นละเมิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี การชำระดอกเบี้ยทำให้สะดุดหยุดลง การฟ้องข้ามอายุความ
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่ให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเมื่อใดก็ได้ดังนี้ โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้แต่แรกที่จำเลยเบิกเงินไปจากโจทก์ ส่วนการเบิกเงินเกินบัญชีและการผ่อนชำระเงินที่ทำโดยวิธีการของธนาคาร ซึ่งจะเรียกว่าบัญชีเดินสะพัดหรือบัญชีกระแสรายวันก็ตาม ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับนี้-------------------------------------------------เมื่อปรากฏว่านับจากวันที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเป็นการชำระดอกเบี้ย อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง จนถึงวันฟ้องเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 771/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี: การชำระดอกเบี้ยทำให้สะดุดหยุดลง หากเลย 10 ปีนับจากนั้น ฟ้องร้องไม่ได้
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารโจทก์ มิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ แต่ให้สิทธิโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนเมื่อใดก็ได้ดังนี้โจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้แต่แรกที่จำเลยเบิกเงินไปจากโจทก์ ส่วนการเบิกเงินเกินบัญชีและการผ่อนชำระเงินที่ทำโดยวิธีการของธนาคาร ซึ่งจะเรียกว่าบัญชีเดินสะพัดหรือบัญชีกระแสรายวันก็ตาม ก็ต้องอยู่ในบังคับแห่งสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับนี้ เมื่อปรากฏว่านับจากวันที่จำเลยนำเงินเข้าบัญชีครั้งสุดท้ายเป็นการชำระดอกเบี้ยอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง จนถึงวันฟ้องเกินกว่าสิบปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: การซื้อขายและการส่งมอบครอบครอง ทำให้ผู้ซื้อมีสิทธิแม้ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์
เดิมโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน 1 แปลง ได้แจ้งการครอบครองไว้ตาม ส.ค.1 และที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบที่พิพาทให้จำเลยครอบครองนับแต่ปี 2503 จนบัดนี้ ต่อมาทางการออกโฉนดให้ในนามของโจทก์ เพราะใน ส.ค.1 เป็นชื่อของโจทก์ โดยโจทก์ตกลงกับจำเลยว่า เมื่อออกโฉนดแล้ว โจทก์จะโอนให้จำเลยภายหลังดังนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดแทนจำเลย เพื่อความสะดวกในการออกโฉนดเท่านั้นจำเลยจึงมีสิทธิฟ้องโจทก์ขอให้ศาลแสดงสิทธิของจำเลยได้ ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติเรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ซื้อขายกันแต่ยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ โจทก์มีชื่อในโฉนดแทนจำเลย สิทธิในการแสดงกรรมสิทธิ์ไม่ขาดอายุความ
เดิมโจทก์เป็นเจ้าของที่ดิน 1 แปลง ได้แจ้งการครอบครองไว้ตาม ส.ค.1 และที่พิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าว ต่อมาจำเลยซื้อที่พิพาทจากโจทก์ โจทก์ส่งมอบที่พิพาทให้จำเลยครอบครองนับแต่ปี 2503 จนบัดนี้ ต่อมาทางการออกโฉนดให้ในนามของโจทก์ เพราะใน ส.ค.1 เป็นชื่อของโจทก์ โดยโจทก์ตกลงกับจำเลยว่า เมื่อออกโฉนดแล้วโจทก์จะโอนให้จำเลยภายหลังดังนี้ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่พิพาทเป็นแต่เพียงมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ตามโฉนดแทนจำเลย เพื่อความสะดวกในการออกโฉนดเท่านั้นจำเลยจึงมีสิทธิฟ้องโจทก์ขอให้ศาลแสดงสิทธิของจำเลยได้ ไม่อยู่ในบังคับของบทบัญญัติเรื่องอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้จากการซื้อขายเชื่อและผลของการคืนสินค้าชำรุดต่ออายุความ
จำเลยซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์ในใบนำส่งสินค้าแต่ละคราวมีข้อความระบุว่าให้ผู้ซื้อชำระราคาภายใน 30 วัน และโจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันว่าถ้าสินค้าชำรุดยอมให้จำเลยส่งคืนได้ โจทก์จะคิดชดเชยราคาให้ตามส่วนและสภาพของสินค้าโดยโจทก์จะออกใบเครดิตโน้ตให้จำเลย แสดงยอดเงินที่โจทก์คิดชดเชยให้ และโจทก์จะนำยอดเงินในเครดิตโน้ทนั้นไปหักออกจากราคาสินค้าที่จำเลยเป็นหนี้อยู่ดังนี้
สิทธิเรียกร้องในราคาสินค้าของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้า มิใช่นับจากวันที่หักราคาสินค้ากับเครดิตโน้ทเมื่อนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้าทุกฉบับจนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปี แล้วคดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
ข้อตกลงเรื่องคืนสินค้าดังกล่าวเป็นการตกลงกันในเรื่องคุณภาพของสินค้า จำเลยจะใช้สิทธิคืนสินค้าหรือไม่ย่อมแล้วแต่ฝ่ายจำเลยจะเลือกปฏิบัติใบเครดิตโน้ทที่โจทก์ออกให้เมื่อจำเลยส่งสินค้าชำรุดคืนก็เป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ยินยอมชดเชยราคาให้แก่ฝ่ายจำเลยเองและเป็นหลักฐานที่โจทก์ฝ่ายเดียวทำขึ้นการที่จำเลยส่งสินค้าคืนเพื่อเรียกค่าชดเชยจากโจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยอันจะทำให้อายุความสะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 583/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีซื้อขายสินค้า: เริ่มนับจากวันถึงกำหนดชำระ ไม่ใช่วันหักเครดิตโน้ท
จำเลยซื้อสินค้าเชื่อจากโจทก์ ในใบนำส่งสินค้าแต่ละคราวมีข้อความระบุว่าให้ผู้ซื้อชำระราคาภายใน 30 วัน และโจทก์จำเลยมีข้อตกลงกันว่าถ้าสินค้าชำรุดย่อมให้จำเลยส่งคืนได้ โจทก์จะคิดชดเชยราคาให้ตามส่วนและสภาพของสินค้า โดยโจทก์จะออกใบเครดิตโน้ทให้จำเลย แสดงยอดเงินที่โจทก์คิดชดเชยให้ และโจทก์จะนำยอดเงินในเครดิตโน้ทนั้นไปหักออกจากราคาสินค้าที่จำเลยเป็นหนี้อยู่ ดังนี้ สิทธิเรียกร้องในราคาสินค้าของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้า มิใช่นับจากวันที่หักราคาสินค้ากับเครดิตโน้ท เมื่อนับจากวันถึงกำหนดชำระตามใบนำส่งสินค้าทุกฉบับจนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปีแล้ว คดีโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1)
ข้อตกลงเรื่องคืนสินค้าดังกล่าวเป็นการตกลงกันในเรื่องคุณภาพของสินค้า จำเลยจะใช้สิทธิคืนสินค้าหรือไม่ย่อมแล้วแต่ฝ่ายจำเลยจะเลือกปฏิบัติใบ
เครดิตโน้ทที่โจทก์ออกให้เมื่อจำเลยส่งสินค้าชำรุดคืนก็เป็นเพียงหลักฐานที่โจทก์ยินยอมชดเชยราคาให้แก่ฝ่ายจำเลยเอง และเป็นหลักฐานที่โจทก์ฝ่ายเดียวทำขึ้น การที่จำเลยส่งสินค้าคืนเพื่อเรียกค่าชดเชยจากโจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ของจำเลยอันจะทำให้อายุความ สะดุดหยุดลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: สิทธิของเจ้าของเครื่องหมายเดิม vs. ผู้จดทะเบียนภายหลัง, อายุความฟ้องเพิกถอน
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเช็คโกสโลวาเกียมี ฟ. เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ฟ. ได้มอบอำนาจให้อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ ซึ่งหนังสือมอบอำนาจได้มีการรับรองความถูกต้องและแท้จริงกันมาเป็นทอดๆ โดยมีโนตารีแห่งรัฐรับรองการมอบอำนาจของ ฟ. และกระทรวงยุติธรรมแห่งกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของโนตารีแห่งรัฐกระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกียรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงยุติธรรมและสถานเอกอัครราชทูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกีย ดังนี้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 47 ไม่มีเหตุที่ศาลควรสงสัยว่าจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง อ. ผู้รับมอบอำนาจจึงฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้นเดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์คต่อมาพ.ศ.2501บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่ง เครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่างๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA(สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายแม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลมซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียนตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้ อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของจำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การจดทะเบียนโดยไม่สุจริต และอายุความในการฟ้องเพิกถอนทะเบียน
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายเช็คโกสโลวาเกีย มี ฟ.เป็นกรรมการผู้จัดการมีอำนาจลงนามแทนโจทก์ ฟ.ได้มอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ซึ่งหนังสือมอบอำนาจได้มีการรับรองความถูกต้องและแท้จริงกันมาเป็นทอด ๆ โดยมีโนตารีแห่งรัฐรับรองการมอบอำนาจของ ฟ. และกระทรวงยุติธรรมแห่งกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของโนตารีแห่งรัฐ กระทรวงการต่างประเทศของเช็คโกสโลวาเกียรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงยุติธรรมและสถาน เอกอัครราชฑูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำกรุงปร้ากรับรองลายมือชื่อและตราราชการของกระทรวงการต่างประเทศ ของเช็คโกสโลวาเกีย ดังนี้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงมีผลใช้ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 47 ไม่มีเหตุที่ศาลควรสงสัยว่าจะไม่ใช่ใบมอบอำนาจอันแท้จริง อ.ผู้รับมอบอำนาจจึงฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 ในรายการสินค้าจำพวก 6 และจำพวก 7 นั้น เดิมผู้ผลิตในประเทศเช็คโกสโลวาเกียได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้ในประเทศเช็คโกสโลวาเกียตั้งแต่ พ.ศ.2465 ใน พ.ศ.2491 ผู้ผลิตได้โอนเครื่องหมายการค้านี้ให้แก่บริษัทสะลาเวีย มอเตอร์เวอร์ค ต่อมา พ.ศ.2501 บริษัทสะลาเวียฯ ได้โอนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวให้แก่โจทก์อีกทอดหนึ่งเครื่องหมายการค้านี้ได้มีการต่ออายุมาทุกสิบปี ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศเช็คโกสโลวาเกียและในประเทศต่าง ๆ อีกหลายประเทศ และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสากลด้วย เครื่องยนต์ยี่ห้อ SLAVIA (สะลาเวีย) ได้มีจำหน่ายอยู่ในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.2478 และโจทก์ได้ตั้งให้จำเลยเป็นผู้แทนจำหน่ายเครื่องยนต์สะลาเวียของโจทก์ ต่อมาจำเลยเอาเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่มีอยู่ก่อนนานแล้วไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเป็นของตนเองดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่พิพาทดีกว่าจำเลย
โจทก์ยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทไว้ในประเทศไทย จึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย แม้จำเลยนำเอาเครื่องหมายการค้ารายพิพาทมาจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าของตนอันเป็นการขัดต่อ ประโยชน์ในทางการค้าของโจทก์ ก็ยังไม่ถึงกับเป็นเรื่องละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่โจทก์ก็อาจใช้สิทธิร้องขอให้ศาลสั่งเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 41 พระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติเรื่องอายุความเพื่อการนี้ไว้ จึงต้องนำบทบัญญัติทั่วไปอันว่าด้วยอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งให้เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 169 เมื่อสิทธิของโจทก์เป็นสิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนทะเบียน ตราบใดที่ยังไม่มีทะเบียน โจทก์ก็ไม่อาจจะใช้สิทธิเรียกร้องให้เพิกถอนได้อายุความในกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่เมื่อเครื่องหมายการค้าของ จำเลยมีผลสมบูรณ์เป็นทะเบียน คือนับแต่วันจดทะเบียนเป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์ใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ยังไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1949/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้จากการเปลี่ยนแปลงวิธีการชำระหนี้
จำเลยทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ ครั้นวันที่ 25กุมภาพันธ์ 2506 จำเลยทำหนังสือรับรองหนี้สินว่ายังเป็นหนี้โจทก์ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ยเป็นเงินจำนวนหนึ่ง และยอมผ่อนชำระให้โจทก์เป็นรายเดือนภายในสิ้นเดือนของทุกๆเดือนเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม 2506 เป็นต้นไป ถือได้ว่าหนังสือรับรองหนี้สินดังกล่าวนี้ โจทก์จำเลยตกลงเปลี่ยนวิธีการชำระหนี้ใหม่ โดยเรียกเอาดอกเบี้ยค้างส่ง และเรียกเอาจำนวนเงินอันจะพึงส่ง เพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวดๆ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องต้นเงินคืนได้แต่ละงวด งวดละเดือน เริ่มแต่วันที่ 31 มีนาคม 2506 เป็นต้นไป จน ถึงวันที่ 30 เมษายน 2508 เป็นงวดสุดท้าย แต่โจทก์เพิ่งฟ้องคดีเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2513 เป็นเวลาเกิน 5 ปี นับแต่กำหนดวันชำระงวดสุดท้ายเป็นต้นมา ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 166
of 33