พบผลลัพธ์ทั้งหมด 328 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1085/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้จากการชำระบัญชีบริษัท: นับแต่วันจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ไม่ใช่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
อายุความฟ้องเรียกหนี้สินในกรณีที่มีการชำระบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัดหรือบริษัทนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1272 ได้บัญญัติจำกัดอายุความฟ้องร้องไว้เป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากบทบัญญัติในเรื่องอายุความทั่วไปที่ยาวกว่า และการเริ่มนับอายุความต้องถือตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตราดังกล่าว จะนำเอาหลักในเรื่องการนับอายุความทั่วไปในมาตรา 169 มาใช้ไม่ได้ กล่าวคือ ต้องนับระยะเวลาสองปีนับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชี ซึ่งวันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีหมายถึงวันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีตามมาตรา 1270 หาใช่จะต้องนับระยะเวลานับแต่วันที่โจทก์ควรรู้ถึงการจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีคือวันที่ได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่ เพราะการประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 1021และมาตรา 1022 นั้น เป็นแต่เพียงให้ถือว่าบรรดาเอกสารและข้อความที่ลงทะเบียนและนายทะเบียนได้แต่งย่อไปพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นอันรู้แก่บุคคลทั่วไปเท่านั้น จะนำมาใช้กับการเริ่มนับอายุความที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1272 ไม่ได้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 มิได้เป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นลูกหนี้ชั้นต้นที่ขอกู้เบิกเงินเกินบัญชี คงเป็นคู่สัญญากับโจทก์ในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันโดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม เท่านั้นถึงแม้ในสัญญาค้ำประกันจะระบุถึงการสละสิทธิในข้อต่อสู้ต่าง ๆในฐานะของผู้ค้ำประกันที่จะพึงมีตามกฎหมายไว้ ก็ไม่ทำให้ผู้ค้ำประกันเปลี่ยนฐานะเป็นลูกหนี้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีหรือหมดสิทธิที่จะยกข้อต่อสู้ของลูกหนี้ที่มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้ด้วย ในเมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้ชั้นต้นหลุดพ้นความรับผิดเนื่องจากหนี้ของโจทก์ขาดอายุความ จำเลยที่ 2 ที่ 3 ในฐานะผู้ค้ำประกันย่อมหลุดพ้นความรับผิดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทำงานวันหยุด และการปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าทำงานวันหยุด & การปรับค่าครองชีพเป็นค่าจ้าง: สิทธิลูกจ้างเมื่อมีการเลิกจ้าง
สิทธิเรียกร้องค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์และค่าทำงานในวันหยุดตามประเพณีของลูกจ้างต้องอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(8) มีกำหนดอายุความ 2 ปีนับแต่วันถึงกำหนดจ่ายค่าทำงานในวันหยุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 29 ซึ่งเป็นวันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป สิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ใช่จะมีขึ้นเมื่อมีการเลิกจ้าง การที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างนำค่าครองชีพมารวมจ่ายเป็นค่าจ้างอัตราใหม่ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2524 เป็นต้นมา ไม่ได้ทำให้ลูกจ้างซึ่งเข้าทำงานก่อนวันดังกล่าวและยอมรับการกระทำเช่นนั้นของจำเลยต้องเสียสิทธิที่มีอยู่เดิม ส่วนลูกจ้างที่เข้าทำงานหลังวันดังกล่าวก็จะได้รับค่าจ้างในอัตราที่รวมค่าครองชีพเข้าด้วยแล้ว การนำค่าครองชีพมารวมเป็นค่าจ้างดังกล่าว จึงชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างขับรถประมาท: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันจ่ายค่าซ่อม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างโดยขับรถด้วยความประมาททำให้รถของโจทก์รถของบุคคลอื่นเสียหายและ ทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่รถของโจทก์ถูกเฉี่ยวชนและชดใช้เงินที่โจทก์ใช้เป็นค่าเสียหายแก่บุคคล อื่นให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะเป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดเนื่องจากกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายแล้วยังเป็นฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง เป็นการทำผิดหน้าที่ที่จำเลยจะต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการแม้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอายุความ 10 ปีแต่เงินค่าซ่อมรถของโจทก์ที่โจทก์เสียไปถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่นั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่ผู้รับจ้างซ่อม เมื่อนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างขับรถประมาท: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันจ่ายค่าซ่อม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างโดยขับรถด้วยความประมาททำให้รถของโจทก์รถของบุคคลอื่นเสียหายและทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่รถของโจทก์ถูกเฉี่ยวชนและชดใช้เงินที่โจทก์ใช้เป็นค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะเป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดเนื่องจากกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายแล้วยังเป็นฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง เป็นการทำผิดหน้าที่ที่จำเลยจะต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการแม้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอายุความ 10 ปีแต่เงินค่าซ่อมรถของโจทก์ที่โจทก์เสียไปถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่นั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่ผู้รับจ้างซ่อม เมื่อนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากละเมิดในทางการจ้าง เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ หรือวันที่จ่ายค่าเสียหายให้บุคคลที่สาม
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย สำหรับค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้ นับแต่วันเกิดเหตุซึ่ง เป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มตั้งแต่ นั้น มิใช่นับเริ่มแต่ วันที่โจทก์ใช้ ค่าซ่อมรถของโจทก์ แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยอมรับสภาพตาม สิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้จนถึง วันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนเงินที่โจทก์ใช้ ให้แก่บริษัทประกันภัยเป็นค่าเสียหายจากการที่จำเลยขับรถชนรถที่บริษัทดังกล่าวรับประกันภัยเสียหาย ซึ่ง โจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยผู้เป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยได้ กระทำไปในทางการที่จ้างนั้นโจทก์ชอบที่จะได้ รับชดใช้จากจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้ เงินให้แก่บริษัทดังกล่าวไป ดังนั้นอายุความในกรณีนี้ จึงต้อง เริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ เงินค่าเสียหายให้แก่บริษัทประกันภัยอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากอุบัติเหตุทางจราจร: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุหรือวันที่ชำระค่าเสียหาย
กำหนดอายุความตามกฎหมายนั้น ต้องเริ่มนับแต่ขณะอาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อข้อเท็จจริงคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์กระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย อันเป็นสิทธิเรียกร้องจากการที่ทรัพย์สินของโจทก์เสียหาย และที่โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ดังนี้ ค่าเสียหายในส่วนค่าซ่อมรถของโจทก์เองที่โจทก์ต้องจ่ายให้แก่ผู้รับจ้างซ่อมเป็นค่าเสียหายที่โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มแต่นั้นมิใช่เริ่มแต่วันที่โจทก์ใช้ค่าซ่อมรถให้ผู้รับจ้างซ่อม ฉะนั้นแม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงก็ตาม แต่นับตั้งแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้ถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปีแล้ว ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความ สำหรับค่าเสียหายในส่วนที่โจทก์ในฐานนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลย เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ให้แก่บุคคลอื่นที่ได้รับความเสียหายจากการทำละเมิดของจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างไปแล้ว โจทก์ก็ชอบจะให้รับการชดใช้จากจำเลยได้นับแต่วันที่โจทก์ชดใช้ให้บุคคลอื่น ดังนั้น อายุความกรณีนี้จึงต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าว อันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อนับถึงวันฟ้องยังไม่พ้นกำหนด 10 ปี ฟ้องโจทก์ส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2365/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องละเมิดจากการกระทำของลูกจ้าง: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ หรือวันที่จ่ายค่าเสียหาย?
โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่ง เป็นลูกจ้างกระทำละเมิดในทางการที่จ้างเป็นเหตุให้ทรัพย์สินของโจทก์และของบุคคลอื่นเสียหาย สำหรับค่าเสียหายเนื่องจากการที่จำเลยก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ อายุความจึงนับเริ่มตั้งแต่นั้น มิใช่นับเริ่มแต่ วันที่โจทก์ใช้ ค่าซ่อมรถของโจทก์ แม้ต่อมาภายหลังจำเลยจะได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ยอมรับสภาพตามสิทธิเรียกร้องนั้นอันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง นับแต่วันทำหนังสือรับสภาพหนี้ จนถึงวันฟ้องก็เป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี แล้ว ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงขาดอายุความ ส่วนเงินที่โจทก์ใช้ให้แก่บริษัทประกันภัยเป็นค่าเสียหายจากการที่จำเลยขับรถชนรถที่บริษัทดังกล่าวรับประกันภัยเสียหาย ซึ่งโจทก์ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยผู้เป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยได้กระทำไปในทางการที่จ้างนั้น โจทก์ชอบที่จะได้รับชดใช้จากจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้ เงินให้แก่บริษัทดังกล่าวไป ดังนั้นอายุความในกรณีนี้ จึงต้องเริ่มนับแต่วันที่โจทก์ได้ใช้ เงินค่าเสียหายให้แก่บริษัทประกันภัยอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ เมื่อโจทก์ฟ้องยังไม่พ้นกำหนด10 ปี ฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4544/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาค้ำประกัน เริ่มนับจากวันที่เกิดละเมิด ไม่ใช่วันทำสัญญา
กฎหมายมิได้บัญญัติเรื่องอายุความของสัญญาค้ำประกันไว้จึงต้องถือว่ามีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 164 โดยเริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไปตามมาตรา 169 ซึ่งได้แก่วันเวลาแรกที่จำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย หาใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2932/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิสัญชาติ: การโต้แย้งสิทธิในสัญชาติจากทะเบียนบ้านญวนอพยพไม่ขาดอายุความ
โจทก์ทั้งห้ามีสัญชาติไทย แต่ปรากฏว่ามีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านญวนอพยพที่แสดงว่าเป็นคนสัญชาติญวน และการจัดทำทะเบียนบ้านญวนอพยพอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสำนักงานกิจการญวนอพยพ เมื่อจำเลยที่ 1 มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าสำนักงานและเป็นนายทะเบียนบ้านญวนอพยพการที่โจทก์ทั้งห้าได้แจ้งให้จำเลยที่ 1 ถอนชื่อโจทก์ทั้งห้าออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพดังกล่าว แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยอ้างว่ากระทำการตามหน้าที่และคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจำเลยที่ 2เป็นผู้รักษาการ เช่นนี้ย่อมถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติของโจทก์ทั้งห้าแล้ว โจทก์ทั้งห้าจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ ตราบใดที่ยังมิได้มีการถอนชื่อโจทก์ทั้งห้าออกจากทะเบียนบ้านญวนอพยพให้ถูกต้องก็ต้องถือว่าโจทก์ทั้งห้าถูกโต้แย้งสิทธิในเรื่องสัญชาติอยู่ตลอดเวลา ฟ้องโจทก์ทั้งห้า จึงไม่ขาดอายุความ