พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
กรณีผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นโจทก์เหมือนกรณีฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย เพื่อชำระสะสางกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลาย โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการและศาลต้องสอดส่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสั่งตามที่เห็นสมควรตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 151 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติไม่ยอมรับเจ้าหนี้ที่เสนอรับจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นที่มาประชุมเสนอรับเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม แต่มีเจ้าหนี้มาประชุม 96 ราย จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 182 ราย คิดเป็นเงินที่ขอรับชำระหนี้จำนวนมาก โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มาประชุมไม่สามารถและเต็มใจที่จะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นใหม่เพื่อสรรหาเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ไม่ชอบที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135 (1)
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1350/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายมีได้ครั้งเดียว หากพ้นระยะเวลาหรือขั้นตอนแล้ว ยื่นเพิ่มเติมไม่ได้
พระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 61 บัญญัติบังคับให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายทันทีเมื่อได้ดำเนินคดีมาตามขั้นตอนของมาตรานี้ครบถ้วนแล้ว ศาลจะงดพิพากษา หรือรอการพิพากษา หรือพิพากษาเป็นอย่างอื่นไม่ได้ และกฎหมายมีเจตนารมณ์ให้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายได้เพียงครั้งเดียว หากจำเลยจะขอประนอมหนี้อีกก็ชอบที่จะเสนอคำขอได้ในตอนหลังเมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายเข้ามาอีกอันมิใช่เป็นการขอแก้ไขคำขอประนอมหนี้ตามมาตรา 47 และเป็นการพ้นระยะเวลาตามมาตรา 45 แล้ว การยื่นคำขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลายอีกครั้งจะทำให้คดีล้มละลายไม่อาจดำเนินไปได้โดยรวดเร็วผิดวัตถุประสงค์ของกฎหมายล้มละลายจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 839/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีแรงงานต้องยื่นก่อนวันสืบพยาน หากเลยกำหนดและไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลไม่อนุญาต
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้อง จึงต้องนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 มาบังคับโดยอนุโลมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯมาตรา 31 แต่ในคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถานเพราะการกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันสืบพยานเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามมาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะ ฉะนั้น โจทก์ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วันเว้นแต่มีเหตุยกเว้นตามบทบัญญัติข้างต้น ปรากฏว่าในขณะที่ยื่นคำฟ้อง โจทก์ย่อมจะทราบถึงสิทธิของตนอันจะพึงได้รับดอกเบี้ยจากค่าชดเชยค่าจ้างค้างจ่าย และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าซึ่งจำเลยผิดนัดไม่จ่ายให้โจทก์อยู่แล้ว โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องได้ก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 7 วัน การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องหลังจากที่จำเลยสืบพยานเสร็จสิ้นแล้วและคดีไม่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทั้งมิใช่เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้แม้ยังไม่ได้คำสั่งรับชำระหนี้ การดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เจ้าหนี้รายที่4ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายถึงแม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่4ได้รับชำระหนี้ก็ถือได้ว่าเจ้าหนี้รายที่4เป็นเจ้าหนี้ในคดีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่4ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้แม้ยังไม่มีคำสั่งรับชำระหนี้ การดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
เจ้าหนี้รายที่ 4 ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมาย ถึงแม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้จำเลยรายที่ 4 ได้รับชำระหนี้ ก็ถือได้ว่าจำเลยที่ 4เป็นเจ้าหนี้ในคดี ย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา 34 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้เจ้าหนี้รายที่ 4 ได้รับชำระหนี้ ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้แม้ยังไม่มีคำสั่งรับชำระหนี้ - การดำเนินการประชุมเจ้าหนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมาย
แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้ ก. ซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายได้รับชำระหนี้ก็ถือได้ว่าก. เป็นเจ้าหนี้ในคดีย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้นเป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้ ก. ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้ในการประชุมเจ้าหนี้ แม้ยังไม่ได้รับชำระหนี้
แม้ศาลจะยังไม่ได้มีคำสั่งให้ ก.ซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายในระยะเวลาตามกฎหมายได้รับชำระหนี้ ก็ถือได้ว่า ก.เป็นเจ้าหนี้ในคดี ย่อมมีสิทธิเข้าประชุมเจ้าหนี้และออกเสียงลงคะแนนได้ตามมาตรา34 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ส่วนการที่จะมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยแค่ไหนเพียงใดนั้น เป็นดุลพินิจของศาลที่จะมีคำสั่งต่อไปในสำนวนคำขอรับชำระหนี้ การที่ศาลยังมิได้มีคำสั่งให้ ก.ได้รับชำระหนี้ไม่เป็นเหตุที่จะต้องเลื่อนการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกซึ่งต้องดำเนินการโดยเร็วที่สุดตามมาตรา31 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: อำนาจสถานที่, การออกเสียง, และผลผูกพันคำสั่งศาล
การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 31 มิได้บังคับว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกภายในเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกที่ราชตฤณมัยสมาคม โดยคำนึงถึงความสะดวกของเจ้าหนี้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมีจำนวนหลายพันคนเป็นสำคัญ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดให้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนอกเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายคดีนี้ จึงกระทำได้โดยชอบ ในวันประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก การที่เจ้าหนี้บางรายกลับไปก่อนโดยไม่ร่วมพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของเจ้าหนี้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับว่าเจ้าหนี้ต้องอยู่ร่วมด้วยทุกคนเสมอไป ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้เด็ดขาด ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองไม่อาจอ้างว่าตนไม่ใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเพื่อขอให้ศาลรอการพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายไว้ก่อนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุล้มละลายที่เกิดขึ้นก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่อาจยกขึ้นเป็นเหตุขอยกเลิกการล้มละลายได้
เหตุต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้ยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์หรือยกคำร้องขอ ให้ล้มละลายของผู้ชำระบัญชีเสียได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมาขอให้ ศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุล้มละลายก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่อำนาจยกเหตุขอเพิกถอนภายหลัง
เหตุต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้ยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมี คำสั่งยกเลิกการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อน วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์หรือยกคำร้องขอ ให้ล้มละลายของผู้ชำระบัญชีเสียได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมาขอให้ ศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก