คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 36

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
กรณีผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นโจทก์เหมือนกรณีฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย เพื่อชำระสะสางกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลาย โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการและศาลต้องสอดส่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสั่งตามที่เห็นสมควรตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 151 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติไม่ยอมรับเจ้าหนี้ที่เสนอรับจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นที่มาประชุมเสนอรับเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม แต่มีเจ้าหนี้มาประชุม 96 ราย จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 182 ราย คิดเป็นเงินที่ขอรับชำระหนี้จำนวนมาก โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มาประชุมไม่สามารถและเต็มใจที่จะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นใหม่เพื่อสรรหาเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ไม่ชอบที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135 (1)
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้: บทบาทของกรรมการเจ้าหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจมติที่ประชุมเจ้าหนี้และการร้องคัดค้านมติในคดีล้มละลาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 37 บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้ว มติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเอง ดังนั้น คำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ซึ่งตามมาตรา 36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้ โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติ ผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่ และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตาม มาตรา 146 ได้ ดังนี้ จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3182/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจกรรมการเจ้าหนี้และสิทธิในการคัดค้านมติ – เจ้าหนี้ต้องใช้อำนาจตามกม.ผ่านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา37บัญญัติให้ที่ประชุมเจ้าหนี้อาจลงมติตั้งกรรมการเจ้าหนี้ไว้เพื่อแทนเจ้าหนี้ทั้งหลายในกิจการเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้กรรมการเจ้าหนี้ย่อมอยู่ในฐานะเป็นตัวแทนของเจ้าหนี้ทั้งหลายในการจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เมื่อที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้มีมติเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ประการใดแล้วมติดังกล่าวจึงต้องถือว่าเป็นมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ทั้งหลายนั้นเองดังนั้นคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้แก้ไขมติที่ประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวเท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายซึ่งตามมาตรา36ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นได้โดยต้องยื่นคำร้องต่อศาลภายใน7วันนับแต่วันที่ที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติผู้ร้องหามีสิทธิเช่นว่านั้นไม่และหากถือว่าคำร้องดังกล่าวเป็นการใช้สิทธิตามมาตรา146ผู้ร้องก็มิได้บรรยายให้เห็นว่าผู้ร้องได้รับความเสียหายอย่างไรจากการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จัดให้มีการประชุมกรรมการเจ้าหนี้ดังกล่าวจึงมิใช่กรณีที่ผู้ร้องอาจใช้สิทธิตามมาตรา146ได้ดังนี้จึงไม่มีเหตุแก้ไขมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย ต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ มิเช่นนั้นต้องปฏิบัติตามมติที่ประชุม
การที่ผู้ร้องเสนอขอชดใช้เงินและขอลดดอกเบี้ยคดีนี้เท่ากับเป็นการประนีประนอมยอมความซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะปรานีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145(5)ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของผู้ร้องหรือไม่เป็นการขอความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามมาตรา32เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับข้อเสนอและมีมติตามข้อเสนอของผู้ร้องแล้วก็เท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการประนีประนอมยอมความหากผู้คัดค้านเห็นว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้เกิดโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลของให้ศาลสั่งห้ามตามมาตรา36ซึ่งบัญญัติให้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้นและถ้าไม่มีคำสั่งศาลห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้นกรณีไม่มีทางที่ผู้คัดค้านจะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นผิดไปจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้เมื่อมติที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนที่ลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ร้องยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามนั้นเมื่อผู้ร้องได้นำเงินไปชำระตามมติดังกล่าวครบถ้วนแล้วผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้เพิ่มเติมอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2435/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลายต้องได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหนี้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลผูกพัน
การที่ผู้ร้องเสนอขอชดใช้เงินและขอลดดอกเบี้ยคดีนี้เท่ากับเป็นการประนีประนอมยอมความ ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 145 (5) ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้คัดค้านนัดประชุมเจ้าหนี้ก็เพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของผู้ร้องหรือไม่ เป็นการขอความเห็นของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของผู้ล้มละลายในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามมาตรา 32 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ยอมรับข้อเสนอ และมีมติตามข้อเสนอของผู้ร้องแล้ว ก็เท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการประนีประนอมยอมความ หากผู้คัดค้านเห็นว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้เกิดโดยสำคัญผิดในสาระสำคัญของนิติกรรมเป็นโมฆะขัดต่อกฎหมายตาม ป.พ.พ. ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลสั่งห้าม ตามมาตรา 36 ซึ่งบัญญัติให้ผู้คัดค้านยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้นั้น และถ้าไม่มีคำสั่งศาลห้ามมิให้ปฏิบัติตามมติ ก็ต้องปฏิบัติตามมตินั้น กรณีไม่มีทางที่ผู้คัดค้านจะปฏิบัติเป็นอย่างอื่นผิดไปจากมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้ เมื่อมติที่ประชุมเจ้าหนี้ส่วนที่ลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้ร้องยังคงมีผลใช้บังคับอยู่ ผู้คัดค้านต้องปฏิบัติตามนั้น เมื่อผู้ร้องได้นำเงินไปชำระตามมติดังกล่าวครบถ้วนแล้ว ผู้คัดค้านจะเรียกให้ผู้ร้องชำระหนี้เพิ่มเติมอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้สงวนไว้สำหรับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ผู้อื่นไม่มีสิทธิร้องขอ
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่เห็นชอบด้วยกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้เนื่องมาจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ลงมติยอมรับข้อเสนอของจำเลยอื่นๆในคดีแพ่งคำร้องของผู้ร้องจึงมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา36ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ได้บุคคลอื่นไม่มีสิทธิร้องขอผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างศาลสามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ทายาทไม่มีสิทธิร้องขอ
ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทของจำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านที่เห็นชอบด้วยกับมติที่ประชุมเจ้าหนี้เนื่องจากผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ดำเนินการตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ลงมติยอมรับข้อเสนอของจำเลยอื่น ๆ ในคดีแพ่งซึ่งเป็นมติที่ไม่ชอบ คำร้องของผู้ร้องมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 36 ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้สงวนไว้เฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ผู้อื่นไม่มีสิทธิร้องขอ
จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทวงหนี้จากลูกหนี้ในคดีแพ่งหากไม่ได้รับชำระหนี้ก็ให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับคดีต่อไป เมื่อผู้คัดค้านไม่ดำเนินการบังคับดังกล่าวเป็นการปฏิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำร้องของผู้ร้องจึงมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2443 มาตรา 36 ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5982/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการขอเพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้สงวนไว้สำหรับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น ผู้ล้มละลายไม่มีสิทธิ
เดิมผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องผู้จัดการมรดกและทายาทขอแบ่งทรัพย์มรดกและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้วต่อมาผู้ร้องถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายบ. ในฐานะผู้จัดการมรดกในคดีแพ่งและในฐานะเจ้าหนี้รายที่12ได้ยื่นคำร้องขอชำระเงินจำนวน3,000,000บาทที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวโดยให้ถือว่าเป็นส่วนแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนที่ผู้ร้องจะได้รับและให้งดการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินในกองมรดกและยอมให้บ. ถอนคำขอรับชำระหนี้การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้บังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านทวงหนี้จากลูกหนี้ในคดีแพ่งหากไม่ได้รับชำระหนี้ก็ให้ผู้คัดค้านดำเนินการบังคับคดีต่อไปนั้นเนื่องมาจากผู้คัดค้านปฎิบัติตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ลงมติรับข้อเสนอของบ. ซึ่งผู้ร้องเห็นว่าเป็นมติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายคำร้องของผู้ร้องจึงมีผลเป็นการขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา36ซึ่งให้สิทธิแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมเจ้าหนี้บุคคลอื่นไม่มีสิทธิร้องขอได้ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้องดังกล่าวได้และเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ผู้คัดค้านจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างศาลฎีกาก็สามารถหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯมาตรา153
of 3