คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 36

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยอมความในคดีล้มละลาย: มติเจ้าหนี้อนุมัติการประนีประนอมยอมความกับผู้รับโอนทรัพย์สิน และการพิจารณาประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอน และจำเลยผู้โอน ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 114 แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาล ผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบี้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตาม แต่เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา 114 หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ก็เพิกถอนการโอนไม่ได้ กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่ การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000 บาท แทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลย เป็นการขอประนีประนอมยอมความ ซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 145 ประกอบด้วยมาตรา 41 การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าว และเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 32 ดังนี้ เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาล ซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอม-ยอมความกับ จ. จึงหาเป็นล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่ แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง 57 ราย แต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม 15 รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่
ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน 2,375,000 บาท และได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000 บาท แสดงว่า จ. รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน 1,200,000 บาท แล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีก โดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้ 4,500,000 บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดิน และค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้ เมื่อจ. รับโอนโดยมีค่าตอบแทน และเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย อันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 36 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย: มติที่ประชุมเจ้าหนี้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้
การที่ผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินระหว่าง จ.กับพวกผู้รับโอนและจำเลยผู้โอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา114แม้จะเป็นอำนาจของผู้ร้องและก่อนยื่นคำร้องขอต่อศาลผู้ร้องได้สอบสวนข้อเท็จจริงเบื้องต้นได้ความว่าอยู่ในข่ายที่จะเพิกถอนได้ก็ตามแต่เมื่อคดียังอยู่ใน ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นและตามมาตรา114หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้กรณีจึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินจำนวน1,200,000บาทแทนการโอนที่ดินแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41การที่ผู้ร้องนัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งที่สามเพื่อพิจารณาว่าจะยอมรับข้อเสนอของ จ. หรือไม่เป็นการขอความเห็นชอบของที่ประชุมเจ้าหนี้ตามบทบัญญัติดังกล่าวและเป็นการปรึกษาถึงวิธีที่จะจัดการทรัพย์สินของจำเลยในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา32ดังนี้เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลซึ่งเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบในการที่ผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความกับ จ. จึงหาเป็น ล่วงอำนาจของผู้ร้องไม่แม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่เมื่อวันนัดประชุมเจ้าหนี้มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์กรณีก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่ ในการรับโอนที่ดิน จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินให้แก่ผู้รับจำนองเป็นเงิน2,375,000บาทและได้ชำระเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยอีก1,000,000บาทแสดงว่า จ.รับโอนที่ดินโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินที่ จ.เสนอใช้เพื่อยุติข้อพิพาทเป็นเงิน1,200,000บาทแล้วยังเกินกว่าราคาที่ดินที่ผู้ร้องตีไว้เสียอีกโดยผู้ร้องตีราคาที่ดินไว้4,400,000บาทแม้ที่ จ.ได้ชำระเงินไถ่ถอนจำนองที่ดินและค่าซื้อที่ดินนั้นจะเกิดขึ้นก่อนจำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็นำมาประกอบการพิจารณาข้อเสนอของ จ.ได้เมื่อ จ.รับโอนโดยมีค่าตอบแทนและเมื่อรวมกับจำนวนเงินตามข้อเสนอแล้วเป็นเงินเกินกว่าราคาที่ผู้ร้องตีไว้ก็นับว่าข้อเสนอของ จ. เป็นประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ.จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายพ.ศ.2483มาตรา36ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 594/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนีประนอมยอมความในคดีล้มละลาย: มติที่ประชุมเจ้าหนี้ชอบด้วยกฎหมายเมื่อเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหนี้
แม้การขอต่อศาลให้เพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทของจำเลยจากจ. กับพวกผู้รับโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา114จะเป็นอำนาจของผู้ร้องแต่หากผู้รับโอนกระทำโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก็เพิกถอนการโอนไม่ได้จึงยังไม่แน่นอนว่าจะเพิกถอนการโอนได้หรือไม่การที่ จ. ขอยุติข้อพิพาทโดยเสนอให้เงินแทนการโอนที่ดินพิพาทแก่กองทรัพย์สินของจำเลยเป็นการขอประนีประนอมยอมความซึ่งผู้ร้องจะประนีประนอมยอมความได้ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา145ประกอบด้วยมาตรา41เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติยอมรับข้อเสนอของ จ. และไม่คัดค้านที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอถอนคำร้องขอเพิกถอนการโอนต่อศาลเท่ากับเป็นการให้ความเห็นชอบและแม้เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้จะมีจำนวนถึง57รายแต่มีเจ้าหนี้มาประชุม15รายและที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ก็หาใช่เป็นมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างน้อยไม่มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ยอมรับข้อเสนอของ จ. จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันผู้ร้องจะร้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติตามมตินั้นตามมาตรา36ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 689/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์เจ้าหนี้จากการบังคับสัญญาเช่าและการเรียกค่าเสียหาย
ผู้เช่าทรัพย์สินของลูกหนี้ผิดนัดชำระค่าเช่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้ว การที่ที่ประชุมเจ้าหนี้มีมติไม่ให้ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจากผู้เช่าและผู้ค้ำประกัน โดยหวังว่าจะได้เงินค่าเช่าในอนาคตจนครบระยะเวลาเช่า จึงขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลายอันจะพึงได้รับจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ ซึ่งมีสิทธิได้รับค่าเช่าที่ค้างชำระและค่าเสียหายจากผู้เช่าและผู้ค้ำประกัน เพราะเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลงเจ้าหนี้ย่อมไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์จากค่าเช่าในอนาคต.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุล้มละลายก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่อำนาจยกเหตุขอเพิกถอนภายหลัง
เหตุต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้ยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมี คำสั่งยกเลิกการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อน วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่ บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่ง พระราชบัญญัติ ล้มละลาย คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์หรือยกคำร้องขอ ให้ล้มละลายของผู้ชำระบัญชีเสียได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมาขอให้ ศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้นเมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1751/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุล้มละลายที่เกิดขึ้นก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่อาจยกขึ้นเป็นเหตุขอยกเลิกการล้มละลายได้
เหตุต่าง ๆ ที่เจ้าหนี้ยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของบริษัทลูกหนี้นั้น ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมี คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็จะพิพากษายกฟ้องโจทก์หรือยกคำร้องขอ ให้ล้มละลายของผู้ชำระบัญชีเสียได้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมาขอให้ ศาลชั้นต้นสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก
คำร้องของเจ้าหนี้ที่อ้างเหตุว่ามติที่ประชุมเจ้าหนี้ที่ ไม่ควรขอให้ศาลพิพากษาให้บริษัทลูกหนี้ล้มละลายมิได้ นอกเหนือไปจากบทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย.และไม่ขัดต่อกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ ทำลายมติดังกล่าวและพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว เจ้าหนี้ไม่มี สิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลชั้นต้นสั่ง ยกเลิกการล้มละลายได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติเจ้าหนี้ไม่ให้ล้มละลายขัดต่อกฎหมายหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ศาลชอบที่ห้ามการปฏิบัติมติดังกล่าว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 31และ61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้วให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเมื่อการประนอมหนี้ไม่ได้รับ ความเห็นชอบ ก็ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะต้องลงมติไปในทางใดทางหนึ่ง คือถ้าไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ก็ต้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้จะลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลายทั้งที่ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้หาได้ไม่
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้นเป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อ มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วคำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือ ยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติเจ้าหนี้ขัดแย้งต่อกฎหมายล้มละลาย: ศาลมีอำนาจห้ามการปฏิบัติการตามมติที่ไม่ถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 31และ61 เมื่อศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว ให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้เพื่อปรึกษาว่าจะควรยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้หรือควรขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย และเมื่อการประนอมหนี้ไม่ได้รับความเห็นชอบ ก็ให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายแสดงให้เห็นว่าเจ้าหนี้จะต้องลงมติไปในทางใดทางหนึ่ง คือถ้าไม่ยอมรับคำขอประนอมหนี้ของลูกหนี้ก็ต้องขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลาย เจ้าหนี้จะลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลายทั้งที่ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้หาได้ไม่
ลูกหนี้ไม่ขอประนอมหนี้แต่เจ้าหนี้ลงมติไม่ให้ลูกหนี้ล้มละลาย เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย ขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นตามมาตรา 36 ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติที่ขัดต่อกฎหมายนั้นได้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายตามมาตรา 14 นั้น เป็นข้อที่ศาลจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด คือเมื่อมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ศาลก็ไม่สั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดโดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ แต่เมื่อศาลได้สั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว คำสั่งนั้นผูกพันลูกหนี้อยู่และอาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ด้วย เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิจะอ้างมาตรา 14 มาเป็นเหตุขอให้พิพากษายกฟ้องหรือยกคำร้องขอให้ล้มละลายในชั้นนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย การแจ้งประกาศต้องชัดเจนและผู้รับต้องเป็นบุคคลที่ถูกต้อง
การส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้ซึ่งผู้ส่งส่งประกาศให้ชายคนหนึ่งในที่ทำงานของเจ้าหนี้รับไว้โดยไม่ทราบว่าชายนั้นเป็นใคร ไม่ปรากฏว่ามีลายมือชื่อของข้าราชการคนใดในที่ทำงานเหมือนลายมือชื่อผู้รับประกาศดังกล่าว เช่นนี้การส่งประกาศนัดประชุมเจ้าหนี้เป็นการไม่ชอบด้วย ป.ว.พ.มาตรา 76 เจ้าหนี้ร้องขอให้ศาลยกเลิกการประนอมหนี้ได้กรณีเช่นนี้ไม่เข้ากรณีตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 36 ซึ่งเป็นเรื่องมติที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อกฎหมาย หรือมาตรา 157 ซึ่งเป็นเรื่องส่งแจ้งความนัดประชุมโดยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: การมีส่วนได้เสียโดยตรงและโดยอ้อม
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้จำเลยซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยค้างชำระเงินค่าหุ้น ได้ยื่นคำขอลดหนี้ของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอนี้ หนี้รายนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้ร้องรายที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว การที่ผู้ร้องรายที่ 1 ขอลดหนี้นั้น หากผลของการประชุมเจ้าหนี้เป็นผลดีแก่ผู้ร้องรายที่ 1 เช่น ได้รับลดจำนวนหนี้หรืองดดอกเบี้ยทรัพย์สินของจำเลยส่วนที่ลดไปก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรายที่ 1 เป็นผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 และผู้ร้องรายที่ 2 จะได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยประการใดแล้ว ผลของการประชุมเจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีมติเป็นอย่างใด ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องรายที่ 2 หรือผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงหรือโดยอ้อมนอกจากที่ควรได้รับตามส่วนในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ที่ผู้ร้องรายที่ 2 เคยเข้าควบคุมดำเนินกิจการของจำเลยและรับเงินแทนจำเลย ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำเลยส่วนใหญ่เป็นพนักงานและกรรมการของผู้ร้องรายที่ 2 ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องรายที่ 2 กับจำเลย แม้ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย กิจการนั้น ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องรายที่ 1 ในฐานะส่วนตัวแม้ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีจำนวนหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหนี้ทั้งหมดและแสดงท่าทีจะลงคะแนนเสียงให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 ก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้จะใช้สิทธิของตนได้ตามความสมัครใจ จะถือเป็นเหตุว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยหาได้ไม่ ดังนี้ ผู้ร้องรายที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามออกเสียงลงคะแนนในข้อปรึกษาของที่ประชุมเจ้าหนี้ในเรื่องนี้ตามมาตรา 34 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำขอต่อศาลห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ตามมาตรา 36 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องรายที่ 2 งดออกเสียง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องผู้มีส่วนได้เสียย่อมยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนด การที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้โต้แย้งก็ดี ผู้ร้องรายที่1 ได้ยื่นคำขอใหม่ก็ดี มิได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามไม่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกเลิกมติและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการพิจารณาคำขอลดหนี้ของผู้ร้องรายที่ 1 ที่ประชุมไปนั้นให้จัดประชุมใหม่ และให้ผู้ร้องรายที่ 2 มีสิทธิลงคะแนนได้พลางก่อนโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 35
of 3