พบผลลัพธ์ทั้งหมด 26 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 897/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิออกเสียงของเจ้าหนี้ในที่ประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: การไม่มีส่วนได้เสียโดยตรงหรือโดยอ้อม
จำเลยถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้จำเลยซึ่งได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้ว ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นลูกหนี้ของจำเลยโดยค้างชำระเงินค่าหุ้น ได้ยื่นคำขอลดหนี้ของตนต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งได้มีการนัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอนี้ หนี้รายนี้เป็นหนี้ซึ่งผู้ร้องรายที่ 1 ต้องรับผิดในฐานะส่วนตัว การที่ผู้ร้องรายที่ 1 ขอลดหนี้นั้น หากผลของการประชุมเจ้าหนี้เป็นผลดีแก่ผู้ร้องรายที่ 1 เช่น ได้รับลดจำนวนหนี้หรืองดดอกเบี้ยทรัพย์สินของจำเลยส่วนที่ลดไปก็เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียว เมื่อไม่ปรากฏว่าผู้ร้องรายที่ 1 เป็นผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 และผู้ร้องรายที่ 2 จะได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยประการใดแล้ว ผลของการประชุมเจ้าหนี้ไม่ว่าจะมีมติเป็นอย่างใด ย่อมไม่ทำให้ผู้ร้องรายที่ 2 หรือผู้มีหุ้นส่วนกับผู้ร้องรายที่ 2 ได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยโดยตรงหรือโดยอ้อมนอกจากที่ควรได้รับตามส่วนในฐานะเป็นเจ้าหนี้เช่นเดียวกับเจ้าหนี้อื่น ที่ผู้ร้องรายที่ 2 เคยเข้าควบคุมดำเนินกิจการของจำเลยและรับเงินแทนจำเลย ผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทจำเลยส่วนใหญ่เป็นพนักงานและกรรมการของผู้ร้องรายที่ 2 ก็เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องรายที่ 2 กับจำเลย แม้ผู้ร้องรายที่ 1 เป็นกรรมการผู้จัดการของบริษัทจำเลย กิจการนั้น ๆ ก็ไม่เกี่ยวข้องกับผู้ร้องรายที่ 1 ในฐานะส่วนตัวแม้ผู้ร้องรายที่ 2 เป็นเจ้าหนี้ซึ่งมีจำนวนหนี้เกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนหนี้ทั้งหมดและแสดงท่าทีจะลงคะแนนเสียงให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องรายที่ 1 ก็เป็นเรื่องของเจ้าหนี้จะใช้สิทธิของตนได้ตามความสมัครใจ จะถือเป็นเหตุว่า เจ้าหนี้ผู้นั้นได้รับผลประโยชน์จากทรัพย์สินของจำเลยหาได้ไม่ ดังนี้ ผู้ร้องรายที่ 2 จึงไม่ต้องห้ามออกเสียงลงคะแนนในข้อปรึกษาของที่ประชุมเจ้าหนี้ในเรื่องนี้ตามมาตรา 34 วรรคสามแห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เห็นว่ามติของที่ประชุมเจ้าหนี้ขัดต่อประโยชน์อันร่วมกันของเจ้าหนี้ทั้งหลาย ก็มีอำนาจที่จะยื่นคำขอต่อศาลห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ตามมาตรา 36 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งให้ผู้ร้องรายที่ 2 งดออกเสียง ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้องผู้มีส่วนได้เสีย ย่อมยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลได้ภายในกำหนดการที่ผู้ร้องทั้งสองมิได้โต้แย้งก็ดี ผู้ร้องรายที่1 ได้ยื่นคำขอใหม่ก็ดีมิได้มีบทบัญญัติตัดสิทธิห้ามไม่ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาล ศาลย่อมมีคำสั่งให้ยกเลิกมติและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการพิจารณาคำขอลดหนี้ของผู้ร้องรายที่ 1 ที่ประชุมไปนั้นให้จัดประชุมใหม่ และให้ผู้ร้องรายที่ 2 มีสิทธิลงคะแนนได้พลางก่อนโดยมีเงื่อนไขตามมาตรา 35
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุม, มติที่ประชุมเจ้าหนี้มีผลผูกพัน, การถอนฟ้องคดีไม่ขัดต่อคำพิพากษา
คดีล้มละลาย หนี้จำพวกที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้วก่อนวันประชุมเจ้าหนี้นั้น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่มาประชุมคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ต้องสั่งบั่นทอนในการออกเสียงของเจ้าหนี้นั้น และถือว่าเป็นการออกเสียงที่มีผลตามกฎหมายเมื่อจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ฝ่ายที่ลงมติฝ่ายนี้มีมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องถือว่ามติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากนี้เป็นมติของที่ประชุมด้วย
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสิทธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1190/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิออกเสียงเจ้าหนี้ในที่ประชุม & ผลของมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย
คดีล้มละลาย หนี้จำพวกที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ และได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้แล้วก่อนวันประชุมเจ้าหนี้นั้น เจ้าหนี้ย่อมมสิทธิออกเสียงในที่ประชุมได้ และเมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่มาประชุมคัดค้านการออกเสียงของเจ้าหนี้รายนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงไม่ต้องสั่งบั่นทอนในการออกเสียงของเจ้าหนี้นั้น และถือว่าเป็นการออกเสียงที่มีผลตามกฎหมาย เมื่อจำนวนหนี้ของเจ้าหนี้ฝ่ายที่ลงมติฝ่ายนี้มีมากกว่าอีกฝ่ายหนึ่ง ต้องถือว่ามติของเจ้าหนี้ฝ่ายที่มีจำนวนหนี้ข้างมากนี้เป็นมติของที่ประชุมด้วย
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสทิธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด
คดีที่ศาลฎีกาพิพากษาย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาต่อไปในฐานะที่โจทก์มีสทิธิดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปได้นั้น ไม่ใช่เป็นคำพิพากษาบังคับให้โจทก์จำต้องดำเนินคดีอย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 955/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติเจ้าหนี้ขัดขวางการล้มละลาย: ศาลมีอำนาจสั่งทำลายมติและพิพากษาให้ล้มละลายได้
ศาลชั้นต้นสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกปรากฎว่าลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ ก็เป็นอันว่าจะต้องถูกพิพากาาให้ล้มละลายต่อไป เจ้าหนี้จะลงมติมีให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากลงมติเช่นนั้น ย่อมเป็นการนอกเหนือไปจากบทบัญญัติในมาตรา 31 จึงเป้นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมายลักษณะล้มละลาย ศาลจึงสั่งให้ทำลายมติดังกล่าวได้เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอ และเมื่อสั่งทำลายมติแล้ว ก็มีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติประการใด ศาลย่อมพิพากษาให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2503
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการร้องต่อศาลในคดีล้มละลายสงวนไว้สำหรับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น แม้เจ้าหนี้จะได้รับความเสียหาย
ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยได้ตกลงกับบรรดาผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยซึ่งชำระเงินให้แก่จำเลยไว้แล้ว และจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินลงชื่อผู้ซื้อในโฉนดเสร็จแล้ว ยังคงแต่ผู้ซื้อที่มีชื่อนั้นจะไปรับโฉนดเท่านั้นจำเลยก็ถูกฟ้องล้มละลายและมีการอายัดโฉนดเหล่านี้ไว้มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ข้างมากให้ถอนการอายัด ไม่ขัดต่อกฎหมายและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ดำเนินการตามมตินั้นเป็นการถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 36 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 36 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องต่อศาลในคดีล้มละลายจำกัดเฉพาะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ สัญญาประนีประนอมใช้ได้แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
ก่อนจำเลยถูกฟ้องล้มละลาย จำเลยได้ตกลงกับบรรดาผู้ซื้อที่ดินจากจำเลยซึ่งชำระเงินให้แก่จำเลยไว้แล้ว และจัดการรังวัดแบ่งแยกที่ดินลงชื่อผู้ซื้อในโฉนดเสร็จแล้วยังคงแต่ผู้ซื้อที่มีชื่อนั้นจะไปรับโฉนดเท่านั้น จำเลยก็ถูกฟ้องล้มละลาย และมีการอายัดโฉนดเหล่านี้ไว้ มติของที่ประชุมเจ้าหนี้ข้างมากให้ถอนการอายัด ไม่ขัดต่อกฎหมายและคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้ดำเนินการตามมตินั้นเป็นการถูกต้อง
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 36 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 36 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้นที่จะร้องต่อศาล เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิ