พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: เจ้าหนี้ไม่ให้ความร่วมมือ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องดำเนินการตามกฎหมายเพื่อประโยชน์สูงสุดของเจ้าหนี้
กรณีผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่มีเจ้าหนี้ซึ่งเป็นโจทก์เหมือนกรณีฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลาย เพื่อชำระสะสางกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ให้เป็นไปตามกฎหมายล้มละลาย โดยให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นผู้ดำเนินการและศาลต้องสอดส่องให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และสั่งตามที่เห็นสมควรตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 151 เมื่อที่ประชุมเจ้าหนี้ลงมติไม่ยอมรับเจ้าหนี้ที่เสนอรับจะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์และไม่มีเจ้าหนี้รายอื่นที่มาประชุมเสนอรับเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม แต่มีเจ้าหนี้มาประชุม 96 ราย จากเจ้าหนี้ทั้งหมด 182 ราย คิดเป็นเงินที่ขอรับชำระหนี้จำนวนมาก โดยไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้ที่ไม่มาประชุมไม่สามารถและเต็มใจที่จะเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ชอบที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกประชุมเจ้าหนี้ครั้งอื่นใหม่เพื่อสรรหาเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ไม่ชอบที่จะขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135 (1)
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้
โดยที่ลูกหนี้มิได้ขอประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย แม้มติที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกจะมีมติไม่สมควรขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม แต่มติดังกล่าวเป็นการฝ่าฝืนและขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจยื่นคำขอต่อศาลเพื่อมีคำสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมตินั้นได้ และขอให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 31 และมาตรา 36 แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้ดำเนินการตามหน้าที่ให้เป็นไปโดยเรียบร้อย กลับรายงานศาลขอให้ยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งห้ามมิให้ปฏิบัติการตามมติดังกล่าว อันมีผลเท่ากับเจ้าหนี้ไม่ลงมติแต่ประการใดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 61 และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลขอให้พิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6087/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับชำระหนี้ภาษีอากรในคดีล้มละลาย: อายุความ, เอกสาร, และความรับผิดของหุ้นส่วนผู้จัดการ
เจ้าหนี้เป็นหน่วยงานราชการครอบครองต้นฉบับเอกสารอยู่แล้ว ได้นำส่งสำเนาเอกสารอันเกิดจากการรับรองความถูกต้องของเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานของรัฐ จึงรับฟังเอกสารที่เจ้าหนี้ส่งเป็นพยานเอกสารได้
เจ้าหนี้ได้มีหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. นำเงินภาษีอากรไปชำระตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ครั้ง โดยลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนแล้ว เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดในหนี้ภาษีอากรของห้าง นับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนครั้งแรกวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 24 พฤษภาคม 2543 หนี้ดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 และมูลหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นมูลหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ผิดนัดชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1077 (2) โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องเอากับลูกหนี้ตามมาตรา 55 แห่ง ป.วิ.พ. แต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 88 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เพราะเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิดำเนินคดีกับตัวลูกหนี้โดยตรงแล้ว
การใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 สั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำออกขายทอดตลาดเพื่อหักชำระหนี้ภาษีได้นั้น เป็นกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหนี้ และลูกหนี้มิได้โต้แย้งจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินเรียกให้ลูกหนี้ชำระแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีปัญหาที่ศาลจะบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ที่จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
เจ้าหนี้ได้มีหนังสือเตือนให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. นำเงินภาษีอากรไปชำระตามแบบแจ้งการประเมินจำนวน 2 ครั้ง โดยลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนแล้ว เป็นกรณีที่เจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการรับผิดในหนี้ภาษีอากรของห้าง นับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือเตือนครั้งแรกวันที่ 11 พฤศจิกายน 2537 ถึงวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้วันที่ 24 พฤษภาคม 2543 หนี้ดังกล่าวจึงยังไม่ขาดอายุความ 10 ปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/31 และมูลหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวเป็นมูลหนี้ค่าภาษีอากรค้างชำระที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อันเป็นวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด จึงไม่ต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ และเป็นหนี้ที่หุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดร่วมกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ผิดนัดชำระหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070 ประกอบมาตรา 1077 (2) โดยเจ้าหนี้ไม่จำต้องไปใช้สิทธิเรียกร้องเอากับลูกหนี้ตามมาตรา 55 แห่ง ป.วิ.พ. แต่อย่างใด กรณีไม่ต้องด้วย มาตรา 88 และ 89 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ เพราะเจ้าหนี้ได้ใช้สิทธิดำเนินคดีกับตัวลูกหนี้โดยตรงแล้ว
การใช้อำนาจตาม ป.รัษฎากรฯ มาตรา 12 สั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้นำออกขายทอดตลาดเพื่อหักชำระหนี้ภาษีได้นั้น เป็นกระบวนการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหนี้ และลูกหนี้มิได้โต้แย้งจำนวนหนี้ค่าภาษีอากรที่เจ้าหนี้ได้แจ้งการประเมินเรียกให้ลูกหนี้ชำระแต่อย่างใด จึงไม่ได้มีปัญหาที่ศาลจะบังคับใช้กฎหมายตามมาตรา 12 แห่ง ป.รัษฎากรฯ ที่จะต้องส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย รวมถึงการรับผิดในหนี้ของห้างฯ และการชำระหนี้ค่าธรรมเนียม
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯ มีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้องและในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้นพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันทีเจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้ ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาทเจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน 2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯเมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนองหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ รับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน, หนี้ส่วนแบ่งกำไร, และความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯมีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้อง และในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันที เจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้
ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาท เจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯ เมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนอง หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯรับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว
ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาท เจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯ เมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนอง หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯรับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1172/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หุ้นส่วนจำกัดความรับผิดล้มละลาย: อำนาจต่อสู้คดี และการพิจารณาตามมาตรา 89 พ.ร.บ.ล้มละลาย
มาตรา 89 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายแสดงให้เห็นชัดว่าในกรณีที่จะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างหุ้นส่วนนั้น กฎหมายได้บัญญัติกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ต้องฟ้องเป็นคดีขึ้นใหม่ไว้โดยเฉพาะเป็นพิเศษเมื่อปรากฏว่าศาลได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของห้างนั้นตามมาตรา 88 แล้ว เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์หรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมจะขอให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายตามห้างได้ และตามมาตรา 89 ให้พิจารณาต่อไปเพียงว่า ผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริงหรือไม่ถ้าปรากฏว่าศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดล้มละลายตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย และผู้ถูกขอให้ล้มละลายตามห้างเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดจริง ศาลก็มีคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์ แล้วพิพากษาให้หุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดล้มละลายไปตามห้างนั้นได้เลย เพราะหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดต้องรับผิดในหนี้สินแทนห้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1070 และ 1077 โดยไม่จำกัดจำนวน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดไม่มีอำนาจต่อสู้คดี หรือนำสืบว่าตนมีทรัพย์สินพอที่จะชำระหนี้ของห้าง หรือมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง
การที่ผู้ชำระบัญชียื่นคำร้องขอให้ห้างหุ้นส่วนล้มละลายตามมาตรา 88 นั้น ไม่จำกัดว่าห้างหุ้นส่วนที่ล้มละลายมีทรัพย์สินไม่พอกับหนี้สินเป็นจำนวนมากน้อยเท่าใด แม้จะไม่ถึงสามหมื่นบาท ก็ถือได้ว่าห้างนั้นมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว จะนำมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์ทั่วไปที่จะสั่งให้มีการล้มละลายมาใช้แก่กรณีนี้ไม่ได้
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มอบอำนาจให้ผู้อื่นเป็นผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ ดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นขอรับชำระหนี้ และให้มีสิทธิออกเสียงในที่ประชุมเจ้าหนี้ประนีประนอมยอมความตลอดจนทำการอื่นใดที่เกี่ยวกับคดีล้มละลาย ดังนี้ ผู้รับมอบอำนาจมีสิทธิดำเนินคดีแทนเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ได้ตลอดไปถึงชั้นอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล เพราะเป็นเรื่องของกระบวนพิจารณาที่สืบต่อจากการยื่นคำขอรับชำระหนี้ ใบมอบอำนาจดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่ใบมอบอำนาจมิใช่มอบอำนาจตามแบบฟอร์มของศาล ก็หาทำให้ใบมอบอำนาจนี้เสียไปไม่ เพราะมิใช่กรณีที่ยื่นต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 วรรคสอง