พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยที่ขัดต่อกฎหมาย ทำให้การโอนเป็นโมฆะและเพิกถอนได้
คำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่านิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 และมาตรา 88 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เป็นอันเสียเปล่าไม่มีผล ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ จึงหาใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ แต่เป็นการที่ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยที่ขัดต่อกฎหมายประกันภัย ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
คำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่านิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 และมาตรา 88 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เป็นอันเสียเปล่าไม่มีผล ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ จึงหาใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ แต่เป็นการที่ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งให้วางค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลายที่ไม่ถูกต้อง ผู้ร้องขอให้ศาลรับคำร้องเพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แต่เป็นของผู้ร้อง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะสอบสวนให้ได้ความเสียก่อน เพื่อพิจารณาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดในคดีล้มละลายหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไป การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด่วนสั่งยกคำร้องโดยปฏิเสธว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจสั่งถอนการยึด จึงมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่งไม่ให้ถอนการยึดตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 บัญญัติไว้
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา จึงมิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอเพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ที่บัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดา ซึ่งผู้ร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ถอนการยึดนั้น แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตาม มาตรา 146 ซึ่งตามตารางท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย มิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้องต่อศาล
เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา จึงมิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอเพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาลตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 ที่บัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดา ซึ่งผู้ร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ถอนการยึดนั้น แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตาม มาตรา 146 ซึ่งตามตารางท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย มิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้องต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลให้วางค่าขึ้นศาลในคดีล้มละลายที่ไม่ถูกต้อง ผู้ร้องขอให้ศาลรับคำร้องพิจารณาปล่อยทรัพย์ที่ยึด
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ว่า ทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ไม่ใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แต่เป็นของผู้ร้องเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ชอบที่จะสอบสวนให้ได้ความเสียก่อน เพื่อพิจารณาว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดในคดีล้มละลายหรือไม่ แล้วดำเนินการต่อไป การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด่วนสั่งยกคำร้องโดยปฏิเสธว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีอำนาจสั่งถอนการยึด จึงมิใช่กรณีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนและมีคำสั่งไม่ให้ถอนการยึดตามที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 158 บัญญัติไว้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลขอให้มีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รับคำร้องของผู้ร้องไว้พิจารณา จึงมิใช่เป็นการยื่นคำร้องขอเพื่อคัดค้านการยึดทรัพย์ต่อศาลตามมาตรา 158 ที่บัญญัติให้ศาลพิจารณาและมีคำสั่งชี้ขาดเหมือนอย่างคดีธรรมดาซึ่งผู้ร้องขอต้องเสียค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ถอนการยึดนั้น แต่เป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งได้รับความเสียหายโดยการกระทำหรือคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 146 ซึ่งตามตารางท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย มิได้กำหนดให้ผู้ร้องต้องเสียค่าขึ้นศาลหรือเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นคำร้องต่อศาล การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ผู้ร้องวางเงินค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่ขอให้ปล่อยก็ดี และมีคำสั่งไม่งดเว้นค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ก็ดี จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลอุทธรณ์: คดีล้มละลาย - การขยายระยะเวลาวางเงินซื้อทรัพย์ - ค่าขึ้นศาลคำขอปลดเปลื้องทุกข์
ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำวินิจฉัยของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และมีคำสั่งให้รับเงิน 8,150,000 บาท จากผู้ร้อง กับดำเนินการเกี่ยวกับการซื้อทรัพย์ต่อไป ศาลชั้นต้นยกคำร้อง ผู้ร้องอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยจะมีผลเพียงให้ผู้ร้องวางเงินไว้ร้อยละห้าของราคาทรัพย์ที่ซื้อโดยวางเพิ่มอีกเป็นเงิน 8,150,000 บาท และผู้ร้องจะได้รับอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการวางเงินส่วนที่เหลืออีกจำนวน 173,850,000 บาท ไปจนกว่าศาลจะมีคำสั่งถึงที่สุดเกี่ยวกับคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด คำร้องคัดค้านคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้มีผลเป็นการขอบังคับให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการขายและโอนที่ดินที่ผู้ร้องซื้อได้จากการขายทอดตลาดให้ผู้ร้อง ซึ่งเป็นอีกขั้นตอนหนึ่ง จึงเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ไม่ใช่เสียตามทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีล้มละลาย: การจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีลูกหนี้ถือเป็นคดีมีทุนทรัพย์ หากไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามกำหนด ถือเป็นการทิ้งฟ้อง
การที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ เนื่องจากไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ เท่ากับให้ศาลวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งยืนยันไป หากศาลมีคำสั่งให้ผู้ร้องชนะคดี ทุกข์ของผู้ร้องย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่ผู้ร้องไม่ต้องชำระหนี้ คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ (1)(ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 179 วรรคท้าย ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์ เมื่อศาลอุทธรณ์สั่งให้ผู้ร้องนำค่าขึ้นศาลที่ยังขาดอยู่มาชำระ แต่ผู้ร้องเพิกเฉย จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาตัดสินให้คิดค่าธรรมเนียมตามตาราง 2(3) ป.วิ.พ. เพียง 20 บาท
ในคดีล้มละลายที่ผู้คัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดให้ทำเป็นคำร้องซึ่งค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับคำร้องนี้พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 179 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนี้ผู้คัดค้านต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาท ตามตาราง 2(3) ท้าย ป.วิ.พ..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ใช้ค่าธรรมเนียมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม กำหนดให้ผู้คัดค้านดังกล่าวทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายเกี่ยวกับคำร้องนี้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ผู้ร้องต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาทตามตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 179 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมคดีล้มละลาย: การคัดค้านการยืนยันหนี้ – คำร้อง vs. คดีมีทุนทรัพย์
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม กำหนดให้ผู้คัดค้านดังกล่าวทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายเกี่ยวกับคำร้องนี้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ผู้ร้องต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาทตามตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 179 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.