คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ม. 54 วรรคหนึ่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยที่ขัดต่อกฎหมาย ทำให้การโอนเป็นโมฆะและเพิกถอนได้
คำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่านิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 และมาตรา 88 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เป็นอันเสียเปล่าไม่มีผล ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ จึงหาใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ แต่เป็นการที่ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรก ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5696/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนทรัพย์สินของบริษัทประกันภัยที่ขัดต่อกฎหมายประกันภัย ทำให้การโอนเป็นโมฆะ
คำร้องของผู้ร้องเป็นการกล่าวอ้างว่านิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับผู้คัดค้านที่ 1 ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 และมาตรา 88 ตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 เป็นอันเสียเปล่าไม่มีผล ผู้ร้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนรายการจดทะเบียนในโฉนดที่ดินพิพาท ดังนี้ จึงหาใช่การขอให้เพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉล ตาม ป.พ.พ. มาตรา 237 ไม่ แต่เป็นการที่ผู้ร้องซึ่งมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนซึ่งทรัพย์สินของลูกหนี้จากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
ลูกหนี้เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย จึงต้องอยู่ใต้การควบคุมของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 หมวด 2 การควบคุมบริษัท มาตรา 52 วรรคหนึ่ง (เดิม) และมาตรา 54 วรรคหนึ่ง หากบริษัทใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 52 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษตามมาตรา 88 (เดิม) บทบัญญัติดังกล่าวจึงมุ่งหมายที่จะคุ้มครองการประกอบธุรกิจประกันภัยซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศและต่อผู้เอาประกันซึ่งเป็นผู้บริโภค ผู้ฝ่าฝืนย่อมเป็นความผิดทางอาญา จึงเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ลูกหนี้ทำนิติกรรมโอนที่ดินพิพาทตีใช้หนี้ให้แก่ผู้คัดค้านที่ 1 ย่อมทำให้ทรัพย์สินของลูกหนี้ลดน้อยลง เข้าลักษณะจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 54 วรรคหนึ่ง นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงมีวัตถุประสงค์ในการโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินต้องห้ามชัดแจ้งโดย พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 ทั้งนี้ไม่ว่าคู่กรณีจะรู้หรือไม่ก็ตามว่านิติกรรมนั้นมีวัตถุประสงค์ต้องห้ามตามกฎหมายอันตกเป็นโมฆะ แม้จะมีการทำนิติกรรมนั้นโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ตาม ผู้คัดค้านที่ 1 ก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อให้มีผลล้มล้างบทกฎหมายได้ การจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทของผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นโมฆะเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใดๆ ที่เกิดขึ้นตามกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทต่อไปให้ผู้คัดค้านที่ 2 ได้ แม้ผู้คัดค้านที่ 2 จะรับโอนที่ดินพิพาทไว้โดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตก็ไม่มีสิทธิดีไปกว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นผู้โอน ผู้ร้องชอบที่จะขอให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนที่ดินพิพาทกลับเป็นชื่อลูกหนี้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ดังเดิมได้
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องว่า นิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทระหว่างลูกหนี้กับบุคคลภายนอกที่ตกเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนกลับมาเป็นชื่อลูกหนี้ตามเดิม ผู้คัดค้านทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายกลางเรื่องดังกล่าว จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้าย ป.วิ.พ. ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 วรรคท้าย