พบผลลัพธ์ทั้งหมด 12 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 584/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลาภมิควรได้จากการถมดินในที่ดินที่เพิกถอนการขายทอดตลาด สิทธิของเจ้าของเดิมได้รับการคุ้มครอง
แม้คดีที่จำเลยขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และโจทก์มิได้ฎีกาทำให้คดีถึงที่สุด แต่ภายหลังพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกา โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดสมุทรปราการขอใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1) ว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งประกาศการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทให้จำเลยทราบโดยชอบแล้ว ขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ว่าการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยชอบ ซึ่งบทบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวเปิดช่องให้สามารถทำได้ไม่ต้องห้าม เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยชอบตามที่โจทก์ยื่นคำร้อง ย่อมมีผลทำให้โจทก์ไม่จำต้องฟ้องเรียกดินที่ถมเป็นคดีนี้ แม้ต่อมาศาลฎีกาจะวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้ว่าการยื่นคำร้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ก็ตาม แต่เมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามช่องทางที่มีกฎหมายรองรับ จึงเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายหาใช่เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต เมื่อคดีที่โจทก์ขอให้ไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ว่าการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทเป็นไปโดยชอบถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาวันที่ 30 มีนาคม 2553 การที่โจทก์ฟ้องเรียกดินที่ถมในที่ดินพิพาทคืนเป็นคดีนี้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2554 จึงยังไม่พ้นอายุความ 1 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 419 ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 แม้ต่อมาจำเลยจะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท แต่ตราบใดคดีที่จำเลยขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดโจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะใช้สอยที่ดินพิพาทตามกฎหมาย การที่โจทก์ถมดินในที่ดินพิพาทก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดจึงย่อมมีสิทธิที่จะทำได้ และกรณีดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่โจทก์สมัครใจถมดินในที่ดินพิพาทตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 โดยรู้อยู่ว่าอาจมีการเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทภายหลังได้ ส่วนข้อสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยหาอาจนำมาอ้างให้เสื่อมสิทธิของโจทก์และเป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ เพราะเป็นข้อตกลงที่โจทก์มีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หาได้เกี่ยวและมีผลผูกพันจำเลย แต่เมื่อจำเลยได้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยได้ดินที่โจทก์ถมไว้โดยสุจริตในที่ดินพิพาทไปด้วย อันทำให้มูลค่าที่ดินพิพาทเพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สิ่งใดที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยต้องคืนดินที่ถมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ปรับปรุงถมดินเต็มเนื้อที่ในที่ดินพิพาทเพื่อจะปลูกสร้างบ้านเป็นเวลาล่วงเลยมานานถึง 12 ปี ดินที่โจทก์นำมาถมย่อมเปลี่ยนแปลงสภาพเกลื่อนกลืนกับที่ดินพิพาทของจำเลยไปตามกาลเวลากลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 แม้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนดินที่ถมหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนก็ตาม ก็ไม่อาจคืนดินที่ถมไปแล้วให้แก่โจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ใช้ราคาแทนดินที่ถม ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่เสียไปอันทำให้ที่ดินของจำเลยมีราคาสูงขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 417 ที่บัญญัติให้โจทก์เรียกจากจำเลยได้ก็เพียงเท่าราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น เมื่อที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 38 ตารางวา และโจทก์ถมดินไป 3,000 คิว ประกอบกับสภาพสถานที่ตั้งของที่ดิน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีแล้วเห็นควรกำหนดให้จำเลยใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เป็นเงิน 510,000 บาท
ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและคดีถึงที่สุด การที่โจทก์ถมที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้าน และมีการตัดต้นไม้ในที่ดินพิพาทเพื่อถมดิน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะทำได้ตามกฎหมายในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ หาเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยไม่ และแม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ถึงที่สุดดังกล่าวจะมีผลเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทมาแต่แรก ทำให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.5 ไม่มีผลบังคับ แต่ก่อนที่ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะถึงที่สุด สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้ง
โจทก์เป็นผู้ประมูลซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งศาลโจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 แม้ต่อมาจำเลยจะขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท แต่ตราบใดคดีที่จำเลยขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดโจทก์ย่อมมีอำนาจในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่จะใช้สอยที่ดินพิพาทตามกฎหมาย การที่โจทก์ถมดินในที่ดินพิพาทก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดและคดีถึงที่สุดจึงย่อมมีสิทธิที่จะทำได้ และกรณีดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่โจทก์สมัครใจถมดินในที่ดินพิพาทตามอำเภอใจตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 โดยรู้อยู่ว่าอาจมีการเพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทภายหลังได้ ส่วนข้อสัญญาที่โจทก์ทำไว้กับเจ้าพนักงานบังคับคดี จำเลยหาอาจนำมาอ้างให้เสื่อมสิทธิของโจทก์และเป็นประโยชน์แก่จำเลยได้ เพราะเป็นข้อตกลงที่โจทก์มีต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี หาได้เกี่ยวและมีผลผูกพันจำเลย แต่เมื่อจำเลยได้ที่ดินพิพาทกลับมาเป็นของจำเลยตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งถึงที่สุดแล้วโดยได้ดินที่โจทก์ถมไว้โดยสุจริตในที่ดินพิพาทไปด้วย อันทำให้มูลค่าที่ดินพิพาทเพิ่มขึ้น ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สิ่งใดที่จำเลยได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงเป็นลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยต้องคืนดินที่ถมในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ปรับปรุงถมดินเต็มเนื้อที่ในที่ดินพิพาทเพื่อจะปลูกสร้างบ้านเป็นเวลาล่วงเลยมานานถึง 12 ปี ดินที่โจทก์นำมาถมย่อมเปลี่ยนแปลงสภาพเกลื่อนกลืนกับที่ดินพิพาทของจำเลยไปตามกาลเวลากลายเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินจำเลยซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ไปแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 139 แม้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนดินที่ถมหากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนก็ตาม ก็ไม่อาจคืนดินที่ถมไปแล้วให้แก่โจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ขอให้ใช้ราคาแทนดินที่ถม ถือได้ว่าเป็นการฟ้องเรียกค่าใช้จ่ายอย่างอื่นที่เสียไปอันทำให้ที่ดินของจำเลยมีราคาสูงขึ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 417 ที่บัญญัติให้โจทก์เรียกจากจำเลยได้ก็เพียงเท่าราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น เมื่อที่ดินพิพาทมีเนื้อที่ 1 ไร่ 38 ตารางวา และโจทก์ถมดินไป 3,000 คิว ประกอบกับสภาพสถานที่ตั้งของที่ดิน ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีแล้วเห็นควรกำหนดให้จำเลยใช้ราคาที่ดินที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์เป็นเงิน 510,000 บาท
ตราบใดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ยังมิได้มีคำพิพากษากลับคำสั่งศาลชั้นต้นให้เพิกถอนการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทและคดีถึงที่สุด การที่โจทก์ถมที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้าน และมีการตัดต้นไม้ในที่ดินพิพาทเพื่อถมดิน โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะทำได้ตามกฎหมายในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ หาเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยไม่ และแม้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ถึงที่สุดดังกล่าวจะมีผลเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทมาแต่แรก ทำให้สัญญาซื้อขายที่ดินพิพาทเอกสารหมาย ล.5 ไม่มีผลบังคับ แต่ก่อนที่ผลของคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะถึงที่สุด สิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทยังได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 อยู่ โจทก์จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยตามฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8612/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการบังคับคดีต้องยื่นคำร้องในคดีเดิม ไม่ใช่ฟ้องคดีใหม่
ตามคำฟ้องของโจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของโจทก์ในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้น ดำเนินการบังคับคดีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากโจทก์จำเลยตกลงกันว่าให้โจทก์ชำระหนี้ตามคำพิพากษาเพียง 360,000 บาท นอกนั้นไม่ติดใจดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ โจทก์ชำระหนี้ให้แก่จำเลยตามข้อตกลงครบถ้วนแล้ว จำเลยไม่มีสิทธิดำเนินการบังคับคดีกับโจทก์ ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีเสีย แม้โจทก์จะกล่าวมาในคำฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายอันเป็นข้อโต้แย้งสิทธิของโจทก์มาด้วยก็ตาม แต่โจทก์มิได้มีคำขอบังคับให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายจากการที่จำเลยผิดสัญญา โดยเพียงแต่ขอให้เพิกถอนการบังคับคดีในคดีเดิมเท่านั้น คำฟ้องโจทก์จึงเป็นคำฟ้องที่เกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาล ซึ่งคำฟ้องหรือคำร้องขอนั้นจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปโดยครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2), 302 วรรคหนึ่ง กรณีเช่นว่านี้โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลในคดีเดิม มิใช่ฟ้องเป็นคดีใหม่
ตามคำร้องโจทก์ที่ยื่นในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีเดิมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวน โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1)
ตามคำร้องโจทก์ที่ยื่นในคดีหมายเลขแดงที่ 1408/2540 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องที่อ้างว่าการดำเนินการบังคับคดีเดิมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและขอให้มีคำสั่งเพิกถอนการยึดทรัพย์ ศาลชั้นต้นชอบที่จะนัดพร้อมเพื่อสอบถามคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งเสียก่อนที่จะได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาด แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องโดยมิได้นัดพร้อมหรือนัดไต่สวน โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงเป็นที่สุดแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม โจทก์ก็ยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการบังคับคดีต่อศาลชั้นต้นในกรณีดังกล่าวอีกได้ เพราะเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2769/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีทางภาระจำยอม: การรุกล้ำทางภาระจำยอมและการโอนกรรมสิทธิ์หลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามคำพิพากษา
คดีมีประเด็นในชั้นบังคับคดีว่า จำเลยได้ปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมโดยครบถ้วนถูกต้องแล้วหรือไม่นั้น ศาลมีอำนาจไต่สวนและมีคำสั่งได้เพราะเป็นกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา148(1) จำเลยปลูกสร้างตึกแถวรุกล้ำทางภารจำยอมและถม ดิน ลงในลำกระโดง สาธารณะ ให้โจทก์ใช้แทนทางภารจำยอมเดิม บางส่วน เป็นการประกอบกรรมอันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปตามป.พ.พ. มาตรา 1390 และเมื่อจำเลยกระทำการดังกล่าวขึ้นภายหลังที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาตามยอมเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอม และสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอมได้ตลอดไป โจทก์ชอบที่จะขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนตึกแถวที่จำเลยปลูกสร้างรุกล้ำทางภารจำยอม และทำทางภารจำยอมให้อยู่ในสภาพที่โจทก์จะใช้ได้โดยสะดวกเหมือนเดิมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824-4825/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและการคืนเงินเมื่อโอนที่ดินไม่ได้ ศาลฎีกาพิพากษากลับให้คืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
โจทก์ผู้ร้องสอดและจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาตามยอมแล้ว มีใจความสำคัญว่าโจทก์ตกลงซื้อที่พิพาททั้งโฉนดคืนจากจำเลยที่ 3 เป็นเงินจำนวนหนึ่ง โดยจะนำเงินมาวางศาลภายในกำหนด และจำเลยที่3 จะโอนที่ดินพร้อมทั้งสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดให้โจทก์ เมื่อโจทก์นำเงินมาวางศาลตามกำหนด. จำเลยที่ 3 รับเงินจำนวนดังกล่าวไปแล้วแต่โอนที่ดินให้โจทก์ไม่ได้เพราะที่ดินถูกศาลสั่งอายัดไว้ในคดีอื่น. จำเลยที่ 3 จึงไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา แต่จำเลยที่ 3 ต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์เพราะสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นสัญญาต่างตอบแทน. เมื่อจำเลยที่ 3 ไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกเอาค่าเสียหาย. แต่เมื่อคำพิพากษาได้อ่านหรือถือว่าได้อ่านให้จำเลยที่ 3 ฟังแล้วจำเลยที่ 3 ไม่ปฏิบัติตามคำบังคับถือว่าผิดนัด โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันผิดนัดดังกล่าวนั้นได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาถึงที่สุด: จำเลยต้องปฏิบัติตาม แม้จะอ้างสิทธิบุคคลภายนอกมิได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในเขตทางน้ำชลประทานโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยและให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกไปจากเขตชลประทานภายใน 1 เดือน คดีถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรื้อถอนโรงเรือนซึ่งจำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างรุกล้ำโดยผิดกฎหมายออกไป จำเลยจะอ้างสิทธิของบุคคลภายนอกมาเป็นข้อแก้ตัวในการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการโต้แย้งว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเขตทางน้ำชลประทานอันเป็นการโต้เถียงขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้ว แม้จะเป็นในชั้นบังคับคดีก็ไม่อาจกระทำได้ ข้ออ้างของจำเลยมิใช่ข้อแก้ตัวอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3532/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด แม้มีการอ้างสิทธิบุคคลภายนอกก็ไม่อาจใช้เป็นข้อแก้ตัวได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเข้าไปในเขตทางน้ำชลประทานโดยไม่ได้รับอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยและให้จำเลยรื้อถอนโรงเรือนออกไปจากเขตชลประทานภายใน 1 เดือน คดีถึงที่สุด จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องรื้อถอนโรงเรือนซึ่งจำเลยรับว่าได้ปลูกสร้างรุกล้ำโดยผิดกฎหมายออกไปจำเลยจะอ้างสิทธิของบุคคลภายนอกมาเป็นข้อแก้ตัวในการไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาหาได้ไม่ เพราะเท่ากับเป็นการโต้แย้งว่าจำเลยมิได้ปลูกสร้างโรงเรือนรุกล้ำเขตทางน้ำชลประทานอันเป็นการโต้เถียงขัดกับข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้ว แม้จะเป็นในชั้นบังคับคดีก็ไม่อาจกระทำได้ข้ออ้างของจำเลยมิใช่ข้อแก้ตัวอันดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลตัดสินแล้ว ถือเป็นการขัดต่อกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์แล้ว คดีถึงที่สุด ดังนี้การที่จำเลยกลับมายื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่นอกเขตโฉนดที่จำเลยขายให้ โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนคำบังคับนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษาถึงที่สุด การยื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีเพื่อโต้แย้งประเด็นที่เคย争ในศาลแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์โดยวินิจฉัยว่าบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์แล้ว คดีถึงที่สุด ดังนี้การที่จำเลยกลับมายื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่นอกเขตโฉนดที่จำเลยขายให้โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนคำบังคับนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีตามคำพิพากษา ศาลมีอำนาจพิจารณาบังคับคดีตามความเป็นจริง แม้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว หากมีเหตุเปลี่ยนแปลง
โจทก์ฟ้องจำเลย ศาลได้พิพากษาเสร็จเด็ดขาดถึงที่สุดแล้วเป็นผลว่าให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 โอนขายที่พิพาทให้โจทก์ 2 งาน โดยวัดจากหลักหมายเลขที่ 12021 ไปหาหลักเลขที่ 08080 โดยให้เป็นรูปที่ดินตามเส้นแดงในแผนที่สังเขปท้ายฟ้อง ถ้าหากจำเลยไม่ปฏิบัติการโอนให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ก็ให้ถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยนี้ด้วย ถ้าจำเลยไม่สามารถขายที่ดินรายนี้ให้โจทก์ได้ตามที่กล่าวแล้ว ให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 คืนเงินมัดจำ 5,000 บาทแก่โจทก์พร้อมทั้งดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะใช้เงินเสร็จ กับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2ใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ 10,000 บาทดังนี้ ในการบังคับคดีย่อมเป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นที่จะต้องดูว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะปฏิบัติการโอนขายที่พิพาทให้โจทก์2 งานดังกล่าวแล้วได้โดยชอบด้วยกฎหมายได้หรือไม่ และจะถือเอาคำพิพากษาเป็นการแสดงเจตนาของจำเลยได้หรือไม่เมื่อไม่มีทางปฏิบัติตามที่กล่าวนั้นได้แล้วจึงจะบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำ 5,000 บาท พร้อมทั้งดอกเบี้ยและค่าเสียหายให้แก่โจทก์ 10,000 บาท
กรณีดังกล่าวข้างต้น ในชั้นแรกข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำบังคับโดยวิธีแรกนั้นได้ โจทก์ขอให้บังคับการโอนเป็นอย่างอื่นศาลชั้นต้นจึงสั่งบังคับให้เป็นไปโดยวิธีที่สอง คือให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมทั้งดอกเบี้ยและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นขึ้นมาและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาพิพากษายืนตามนั้นก็ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็เป็นคำวินิจฉัยในเรื่องคำสั่งบังคับคดีของศาลชั้นต้นนั้นเองเป็นการวินิจฉัยในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล จึงต้องด้วยข้อยกเว้นให้รื้อร้องกันอีกได้ตามมาตรา 148(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวนั้น คือ ยังมิได้คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ถ้ามีข้อเท็จจริงใหม่ปรากฏต่อศาลว่าศาลอาจดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาโดยวิธีแรกอันเป็นคำบังคับตามคำขอที่เป็นประธานในคดีนี้ได้อยู่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอคำบังคับศาลให้ดำเนินการไปตามความจริงตามคำพิพากษาได้อีก
กรณีดังกล่าวข้างต้น ในชั้นแรกข้อเท็จจริงปรากฏแก่ศาลว่า จำเลยไม่อาจปฏิบัติการให้เป็นไปตามคำบังคับโดยวิธีแรกนั้นได้ โจทก์ขอให้บังคับการโอนเป็นอย่างอื่นศาลชั้นต้นจึงสั่งบังคับให้เป็นไปโดยวิธีที่สอง คือให้จำเลยคืนเงินมัดจำพร้อมทั้งดอกเบี้ยและชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ แม้จะมีการอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งนั้นขึ้นมาและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาพิพากษายืนตามนั้นก็ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาก็เป็นคำวินิจฉัยในเรื่องคำสั่งบังคับคดีของศาลชั้นต้นนั้นเองเป็นการวินิจฉัยในกระบวนพิจารณาชั้นบังคับคดีตามคำพิพากษาของศาล จึงต้องด้วยข้อยกเว้นให้รื้อร้องกันอีกได้ตามมาตรา 148(1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อจำเลยยังมิได้ปฏิบัติตามคำบังคับดังกล่าวนั้น คือ ยังมิได้คืนเงินมัดจำและชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ถ้ามีข้อเท็จจริงใหม่ปรากฏต่อศาลว่าศาลอาจดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาโดยวิธีแรกอันเป็นคำบังคับตามคำขอที่เป็นประธานในคดีนี้ได้อยู่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะขอคำบังคับศาลให้ดำเนินการไปตามความจริงตามคำพิพากษาได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นต่างกัน แม้เคยเป็นบริวาร ไม่ถือฟ้องซ้ำตามมาตรา 148(1) ว.พ.พ.
ชั้นบังคับคดีแพ่งคดีหนึ่งจำเลยเคยถูกศาลสั่งให้ขับไล่ให้ออกจากห้องเช่าโดยว่าเป็นบริวารนายงักย้งจำเลยในคดีแต่จำเลยได้ต่อสู้ว่าไม่ใช่ซึ่งศาลได้ไต่สวนแล้วสั่งว่าจำเลยไม่ใช่บริวารของนายงักย้งแต่จำเลยได้เข้าอยู่อาศัยโดยเช่าจากโจทก์และสามีต่อมาโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยอีกได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำเพราะมีประเด็นคนละประเด็นเพราะในคดีก่อนประเด็นมีเพียงว่าจำเลยเป็นบริวารนายงักย้งหรือไม่ทั้งคดีเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148(1)