พบผลลัพธ์ทั้งหมด 15 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2723/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องแคชเชียร์เช็ค, การชำระหนี้, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา และการระดมทุน
ตามหนังสือรับรองห้างหุ้นส่วน โจทก์ที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการและสามารถกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โดยไม่จำต้องมีตราประทับสำคัญของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 โจทก์ที่ 3 คนเดียวจึงลงนามมอบอำนาจในฐานะกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 และที่ 2 และในฐานะส่วนตัวของโจทก์ที่ 3 ได้
ตามหนังสือมอบอำนาจมีใจความชัดเจนว่า ขอมอบอำนาจให้ อ. เป็นตัวแทนฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสิบ อันเป็นการมอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ทั้งสามเพียงคดีเดียว ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว และแม้โจทก์ทั้งสามมอบอำนาจในตราสารเดียวกันก็ต้องคิดตามรายบุคคล จึงต้องปิดอากรแสตมป์รายละ 10 บาท ตามบัญชีอัตราแสตมป์ ลักษณะแห่งตราสารข้อ 7 (ก) ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ใบมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์มา 30 บาท จึงครบถ้วนบริบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 108, 118 ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ทั้งสามปิดอากรแสตมป์เพิ่มและขีดฆ่าก่อนมีคำพิพากษานั้น หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นตราสารใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้อยู่แล้วกลับเป็นใช้ไม่ได้แต่อย่างใดไม่
ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาท ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองข้อมีข้อความทั้งหมดเป็นไปในทำนองเดียวกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ข้อ 13 ไม่มีเนื้อหาที่ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ฎีกาทั้งสองข้อนี้จึงไม่ได้ว่ากล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
ข้อความที่โจทก์ทั้งสามฎีกา เป็นข้อความที่คัดลอกตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามข้อ 5.1 หน้า 24 ถึง 39 โดยมีใจความสำคัญเหมือนกับอุทธรณ์ดังกล่าวทั้งหมด เพียงแต่เพิ่มเติมและตัดทอนข้อความที่เป็นรายละเอียดเล็กน้อยบางส่วน ไม่มีเนื้อหาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามหนังสือมอบอำนาจมีใจความชัดเจนว่า ขอมอบอำนาจให้ อ. เป็นตัวแทนฟ้องร้องดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสิบ อันเป็นการมอบอำนาจให้ อ. ฟ้องคดีนี้แทนโจทก์ทั้งสามเพียงคดีเดียว ถือว่าเป็นการมอบอำนาจให้กระทำการครั้งเดียว และแม้โจทก์ทั้งสามมอบอำนาจในตราสารเดียวกันก็ต้องคิดตามรายบุคคล จึงต้องปิดอากรแสตมป์รายละ 10 บาท ตามบัญชีอัตราแสตมป์ ลักษณะแห่งตราสารข้อ 7 (ก) ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร ใบมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์มา 30 บาท จึงครบถ้วนบริบูรณ์ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 108, 118 ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ทั้งสามปิดอากรแสตมป์เพิ่มและขีดฆ่าก่อนมีคำพิพากษานั้น หามีผลทำให้หนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นตราสารใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้อยู่แล้วกลับเป็นใช้ไม่ได้แต่อย่างใดไม่
ข้ออ้างตามฎีกาของจำเลยที่ 1 มิได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การและนอกประเด็นข้อพิพาท ถือว่าเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสองต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 219 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่ 1 ทั้งสองข้อมีข้อความทั้งหมดเป็นไปในทำนองเดียวกับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ข้อ 13 ไม่มีเนื้อหาที่ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 9 ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยข้อเท็จจริงไม่ชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร ฎีกาทั้งสองข้อนี้จึงไม่ได้ว่ากล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเช่นกัน
ข้อความที่โจทก์ทั้งสามฎีกา เป็นข้อความที่คัดลอกตามอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสามข้อ 5.1 หน้า 24 ถึง 39 โดยมีใจความสำคัญเหมือนกับอุทธรณ์ดังกล่าวทั้งหมด เพียงแต่เพิ่มเติมและตัดทอนข้อความที่เป็นรายละเอียดเล็กน้อยบางส่วน ไม่มีเนื้อหาโต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ไม่ชอบด้วยเหตุผลหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร เป็นฎีกาที่ไม่ได้กล่าวไว้โดยชัดแจ้งซึ่งข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมาย จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้อง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5951/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินรวม และการครอบครองปรปักษ์: การปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจ & การพิสูจน์การครอบครอง
การใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อขับไล่ผู้บุกรุกที่ดินที่บุคคลหลายคนถือกรรมสิทธิ์รวม เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ย่อมใช้สิทธิฟ้องคดีได้เพียงลำพังตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 หาใช่เป็นเรื่องที่ต้องทำร่วมกันไม่ โจทก์ทั้งสองจึงมิได้เป็นผู้มีอำนาจร่วมกันในการฟ้องคดี หากแต่เป็นเรื่องที่ต่างคนต่างใช้สิทธิของตน การมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน จึงเป็นกรณีที่ผู้มอบอำนาจมีหลายคนแล้วมอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องคิดตามรายตัวผู้มอบคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องปิดแสตมป์ 60 บาท มิใช่เพียง 30 บาท
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจึงสามารถกระทำในระหว่างพิจารณาคดีหรือสืบพยานได้ หาใช่ต้องปิดแสตมป์ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เช่นนี้ แม้ขณะฟ้องโจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท แต่เมื่อในการสืบพยาน โจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นจำนวน 60 บาท ครบถ้วน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีว่าโจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118 บัญญัติว่า ตราสารใดไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้จนกว่าจะได้เสียอากรโดยปิดแสตมป์ครบจำนวนตามอัตราในบัญชีท้ายหมวดนี้และขีดฆ่าแล้ว การปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจจึงสามารถกระทำในระหว่างพิจารณาคดีหรือสืบพยานได้ หาใช่ต้องปิดแสตมป์ในขณะที่ยื่นฟ้องไม่ เช่นนี้ แม้ขณะฟ้องโจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์หนังสือมอบอำนาจเพียง 30 บาท แต่เมื่อในการสืบพยาน โจทก์ทั้งสองปิดแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเป็นจำนวน 60 บาท ครบถ้วน จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีว่าโจทก์ทั้งสองมอบอำนาจให้ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5303/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาชำระหนี้แทนบุคคลอื่น ไม่ใช่การรับสภาพหนี้ หรือการแปลงหนี้ อายุความ 10 ปี
การรับสภาพหนี้เป็นการที่ลูกหนี้รับสภาพต่อเจ้าหนี้ว่าจะชำระหนี้ให้ ดังนั้น การที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกมิได้เป็นลูกหนี้ผูกพันตนเข้าชำระหนี้ของ พ. แก่โจทก์จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้ ทั้งในเอกสารดังกล่าวก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ตกลงให้หนี้ของ พ. ระงับไป จึงไม่เป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ และแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าเอกสารดังกล่าวเป็นหนังสือรับสภาพหนี้ ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าหนังสือสัญญานั้นเป็นสัญญาประเภทใดตามที่ถูกต้องแท้จริงได้ โดยสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่คู่สัญญากระทำด้วยความสมัครใจเมื่อไม่ขัดต่อกฎหมายย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับได้ ซึ่งหนี้ตามสัญญานี้ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30 และเมื่อสัญญาดังกล่าวมิใช่สัญญารับสภาพหนี้และสัญญาที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ซึ่งเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 108 ดังนั้น แม้เอกสารดังกล่าวจะไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกันร่วม: ความรับผิดชอบของลูกหนี้ร่วม, อัตราดอกเบี้ย, และการบังคับคดี
จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันซึ่งรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม มิใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กัน สัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นการทำตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกันไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของประมวลรัษฎากร มาตรา 108ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาททั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้ายประมวลรัษฎากร ก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้นข้อ 17(ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไปกำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อสัญญาค้ำประกันดังกล่าวปิดอากรแสตมป์ 10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย จำเลยที่ 2ที่ 3 และที่ 4 ย่อมต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1อย่างลูกหนี้ร่วม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 กำหนดให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดได้ร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีเว้นแต่เจ้าหนี้อาจเรียกดอกเบี้ยได้สูงกว่านั้นโดยอาศัยเหตุอย่างอื่นโดยชอบ โจทก์ประกอบธุรกิจธนาคารมีสิทธิ คิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมายซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์พ.ศ. 2505 ดอกเบี้ยระหว่างจำเลยผิดนัดอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกัน อันจะมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกัน, อากรแสตมป์, และดอกเบี้ยเงินกู้เบิกเกินบัญชี
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญากู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีโดยมีจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ทำสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมตามเอกสารพิพาท เอกสารดังกล่าวเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินและสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีเป็นการค้ำประกันเงินกู้และเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เพียงรายเดียว ซึ่งจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ร่วมกันทำโดยมีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันคือ ร่วมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันในการชำระหนี้วงเงินสินเชื่อในหนี้ประเภทเงินกู้และกู้เบิกเงินเกินบัญชีของจำเลยที่ 1 ความรับผิดของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ตามสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นความรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม กล่าวคือ มีความผูกพันที่จะต้องชำระหนี้รายนี้โดยสิ้นเชิง หาใช่ต่างคนต่างรับผิดชำระคนละส่วนเท่า ๆ กันไม่
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
เมื่อสัญญาค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นตราสารในเรื่องเดียวกันและมีลักษณะอย่างเดียวกัน จึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติของ ป.รัษฎากรมาตรา 108 ที่จะต้องปิดแสตมป์แยกกันเป็นรายบุคคลหรือคนละ 10 บาท ทั้งตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ที่กำหนดลักษณะแห่งตราสารท้าย ป.รัษฎากรก็ยังกำหนดไว้ว่าสำหรับการค้ำประกันนั้น ข้อ 17 (ง) ค้ำประกันสำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาทขึ้นไป กำหนดค่าอากรแสตมป์ 10 บาท เมื่อเอกสารฉบับพิพาทปิดอากรแสตมป์ฉบับละ10 บาท ครบถ้วนแล้ว จึงเป็นเอกสารที่ชอบและใช้เป็นพยานหลักฐานได้ตามกฎหมาย
โจทก์ประกอบธุรกิจการธนาคารมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากผู้มาติดต่อขอสินเชื่อจากธนาคารได้ตามกฎหมาย ซึ่งกำหนดขึ้นโดยประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ.2505 อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจึงกำหนดขึ้นตามกฎหมายเมื่อมิใช่เป็นการกำหนดขึ้นตามที่คู่สัญญาตกลงกันเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระให้ถูกต้องสมควรจึงไม่มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลอาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
การที่ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาถึงดอกเบี้ยในหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีช่วงระหว่างวันถัดจากวันเลิกสัญญาถึงวันฟ้องให้แก่โจทก์ ทั้งที่ในคำวินิจฉัยก็มิได้ตัดดอกเบี้ยในส่วนนี้ เป็นเพียงข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยซึ่งศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงนั้นได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 143 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2791/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตวัตถุประสงค์สัญญาเช่าซื้อ, อายุความค่าเช่าซื้อ, และเอกสารหลักฐานทางภาษี
สัญญาเช่าซื้อคือสัญญาที่เจ้าของทรัพย์สินเอาทรัพย์สินออกให้เช่าและให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น ดังนั้นเมื่อโจทก์มีวัตถุประสงค์ ซื้อ ขาย เช่า ให้เช่า การที่โจทก์ให้จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์ของโจทก์จึงเป็นการกระทำภายในขอบวัตถุประสงค์ของโจทก์
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อสัญญาเช่าซื้อสิ้นสุดลงโจทก์มีสิทธิเรียกค่าใช้ทรัพย์ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ได้รับทรัพย์คืนและค่าเสื่อมราคารวมถึงค่าเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 แห่งประมวลรัษฎากร มิได้กำหนดให้สัญญาซื้อขายรถยนต์จากการขายทอดตลาดเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์ และเอกสารดังกล่าวมิใช่ใบรับสำหรับการขายหรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะตามข้อ 28(ค)แห่งบัญชีอัตราอากรแสตมป์ อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องเสียอากรโดยปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ตามความมุ่งหมายแห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 103,104 และ 108 เอกสารดังกล่าวแม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: จำเลยผิดสัญญา แบ่งที่ดินไม่ทันตามกำหนด โจทก์มีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียวคือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสารซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10บาทตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ7(ก)และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ3คนซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกันแต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกันต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคลสำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่งโจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม30บาทซึ่งครบถ้วนตามนัยประมวลรัษฎากรมาตรา108และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่1ถึงที่3แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนดโจทก์ที่1ถึงที่3จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่1ที่2และที่4ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัดห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้องส่วนโจทก์ที่4ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขายโดยรับโอนมาจากโจทก์ที่3และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญากับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่4เสียหายพร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วยดังนี้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของข. แต่ละแปลงเนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง3ฉบับเป็นอย่างเดียวกันคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา28โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้และจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนจำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้ นอกจากโจทก์ที่1ที่2และที่3มอบอำนาจให้โจทก์ที่4ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้วยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลด้วยการที่โจทก์ที่4ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆในศาลนั่นเองโจทก์ที่4จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่2ในฐานะผู้จัดการมรดกของข. โดยโจทก์ที่4เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขายและจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อสิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่างๆตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของข. เมื่อโจทก์ที่4ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่4จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่างๆตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วยโจทก์ที่4จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินข้อ3ระบุว่า"ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ1และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ2ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อยทั้งนี้ภายในวันที่17เมษายน2531นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปและในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อยๆในนามเดิมและยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้าประปาโทรศัพท์การจัดสรรที่ดินหรือการขออนุญาตอื่นๆที่จำเป็นต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น"จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่าในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง3แปลงก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อยๆด้วยตนเองโดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการดังนั้นการที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อยๆก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขายทั้งการจดทะเบียนทางภารจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้วการที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใดๆจากโจทก์และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลยโจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4179/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่แบ่งแยกที่ดินและไม่ชำระเงิน ผู้ขายมีสิทธิริบมัดจำ
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4โดยระบุให้ฟ้องจำเลยฐานผิดสัญญาจะซื้อจะขายคดีนี้และให้มีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลในทางจำหน่ายสิทธิเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวหรือหลายคนกระทำการครั้งเดียว คือการดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะคดีนี้โดยมีอำนาจตามความที่ปรากฏในเอกสาร ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์10 บาท ตามบัญชีอากรแสตมป์ข้อ 7(ก) และกรณีนี้มีผู้มอบอำนาจ3 คน ซึ่งมิได้เป็นผู้มอบอำนาจร่วมกัน แต่มอบอำนาจในตราสารฉบับเดียวกัน ต้องปิดอากรแสตมป์ตามรายตัวบุคคล สำหรับผู้มอบอำนาจคนหนึ่งเป็นเรื่องหนึ่ง โจทก์ปิดอากรแสตมป์รวม30 บาท ซึ่งครบถ้วนตามนัย ประมวลรัษฎากร มาตรา 108 และใช้เป็นพยานหลักฐานได้ โจทก์ทั้งสี่ฟ้องว่า จำเลยผิดสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโดยได้บรรยายฟ้องแสดงเหตุให้เห็นว่าจำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3แล้วจำเลยผิดสัญญาโดยไม่ไปรับโอนที่ดินและมอบตั๋วแลกเงินอาวัลชำระราคาที่ดินแก่โจทก์ตามกำหนดโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 จึงบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยจำเลยย่อมไม่มีอำนาจที่จะขออายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ตามสัญญาจะซื้อจะขายต่อไปดังนั้นคำขอท้ายฟ้องที่ขอให้จำเลยยกเลิกเพิกถอนการอายัด ห้ามจำหน่ายจ่ายโอนที่ดินต่อสำนักงานที่ดินและต่อสำนักงานวางทรัพย์จึงมิใช่คนละเรื่องกับคำฟ้องส่วนโจทก์ที่ 4 ได้บรรยายฟ้องถึงการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่จะซื้อจะขาย โดยรับโอนมาจากโจทก์ที่ 3 และแสดงถึงนิติสัมพันธ์ ทั้งเหตุที่จำเลยผิดสัญญา กับการที่จำเลยไปอายัดที่ดินดังกล่าวทำให้โจทก์ที่ 4 เสียหาย พร้อมกับเรียกค่าเสียหายในการนี้ด้วย ดังนี้ ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ไม่เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม ในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทนี้ที่ดินดังกล่าวได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ทายาทของ ข.จึงเป็นเหตุให้สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแยกกันไปตามทายาทผู้รับมรดกที่ดินของ ข. แต่ละแปลง เนื้อหาสาระของสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้ง 3 ฉบับเป็นอย่างเดียวกัน คู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อเป็นบุคคลคนเดียวกันคือจำเลยนี้ ถือได้ว่าเป็นคดีที่คู่ความบางฝ่ายเป็นคู่ความรายเดียวกันจึงเป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกันหากแยกฟ้องก็สามารถขอให้พิจารณารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 28โจทก์ทั้งสี่จึงย่อมใช้สิทธิร่วมกันฟ้องจำเลยเป็นคดีเดียวกันได้ ข้อฎีกาจำเลยซึ่งจำเลยได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การแล้วแต่ศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยให้ และจำเลยมิได้อุทธรณ์การที่จำเลยกลับมายกขึ้นฎีกาแม้ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตาม แต่ปัญหาว่าผู้รับมอบอำนาจกระทำการนอกเหนืออำนาจหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาและศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยให้ นอกจากโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 4 ดำเนินคดีแก่จำเลยในฐานะผิดสัญญาแล้วยังมอบอำนาจให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลด้วยการที่โจทก์ที่ 4 ฟ้องจำเลยและขอศาลบังคับจำเลยให้ทำการเพิกถอนที่ดินที่จำเลยอายัดไว้ มิให้จำหน่ายจ่ายโอนจึงเป็นเรื่องเกี่ยวเนื่องกับการที่จำเลยผิดสัญญาและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในศาลนั่นเองโจทก์ที่ 4 จึงหาได้กระทำการนอกเหนืออำนาจแต่อย่างใดไม่ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่พิพาทที่โจทก์ที่ 2ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ข. โดยโจทก์ที่ 4เป็นผู้รับมอบอำนาจเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะขาย และจำเลยเป็นคู่สัญญาฝ่ายผู้จะซื้อ สิทธิและหน้าที่ความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาดังกล่าวจึงเป็นสิทธิและหน้าที่ของกองมรดกของ ข. เมื่อโจทก์ที่ 4 ได้รับมรดกที่ดินดังกล่าวโจทก์ที่ 4 จึงรับไปทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวด้วย โจทก์ที่ 4 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน ข้อ 3 ระบุว่า "ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะทำการโอนและรับโอนที่ดินที่ซื้อขายในข้อ 1และผู้จะซื้อจะส่งมอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารตามข้อ 2ให้แก่ผู้จะขายให้แล้วเสร็จตามกฎหมายจนกระทั่งสำนักงานที่ดินออกโฉนดใหม่ให้เรียบร้อย ทั้งนี้ภายในวันที่ 17 เมษายน 2531 นับแต่วันทำสัญญานี้เป็นต้นไปและในระหว่างก่อนถึงเวลากำหนดข้างต้นนี้ ผู้จะขายยินยอมให้ความร่วมมือในการที่จะแบ่งที่ดินที่ซื้อขายนี้เป็นแปลงย่อย ๆ ในนามเดิม และยินยอมให้ผู้จะซื้อทำการปรับปรุงถนนและที่ดินตลอดจนทำการก่อสร้างซ่อมแซมเพิ่มเติมได้ ยินยอมให้ขออนุญาตปลูกสร้าง ดัดแปลง ต่อเติมอาคารขอเลขบ้านมิเตอร์ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ การจัดสรรที่ดินหรือการขออนุญาตอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อหน่วยราชการรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในนามของผู้จะซื้อหรือผู้จะขายก็ได้ ส่วนค่าใช้จ่ายผู้จะซื้อเป็นผู้ออกเองทั้งสิ้น"จากข้อสัญญาดังกล่าวแสดงให้เห็นความประสงค์ของคู่สัญญาว่าในการดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินทั้ง 3 แปลง ก่อนถึงกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้จะขายยินยอมให้ผู้จะซื้อเป็นผู้ดำเนินการแบ่งที่ดินที่จะซื้อจะขายเป็นแปลงย่อย ๆ ด้วยตนเองโดยผู้จะขายคือฝ่ายโจทก์ให้ความร่วมมือมอบอำนาจให้ผู้จะซื้อคือจำเลยดำเนินการ ดังนั้น การที่ยังมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินที่จะซื้อจะขายออกเป็นแปลงย่อย ๆก่อนวันครบกำหนดสัญญาจะซื้อจะขายจึงไม่ใช่ความผิดของฝ่ายโจทก์ผู้จะขาย ทั้งการจดทะเบียนทางภารจำยอมฝ่ายโจทก์ก็ดำเนินการให้แล้วการที่จำเลยไม่ไปรับจดทะเบียนโอนที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และไม่มอบตั๋วแลกเงินอาวัลโดยธนาคารให้แก่ฝ่ายโจทก์ภายในกำหนดตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่มีสิทธิที่จะเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากโจทก์และเมื่อสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินเลิกกันเพราะความผิดของจำเลย โจทก์ทั้งสี่ย่อมมีอำนาจริบมัดจำที่จำเลยวางไว้เป็นประกันในการปฏิบัติตามสัญญาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนจำนองที่ดินหลังการเสียชีวิตของผู้กู้ และผลของการไม่แสดงเจตนาจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการที่โจทก์ดำเนินการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 1 เมื่อใดอย่างไรนั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ไม่จำเป็นต้องบรรยายถึงเหตุผลว่าทำไมถึงต้องไปจดทะเบียนจำนองตามวันที่ปรากฏในคำฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้คดีนี้กับคดีอื่นของศาลชั้นต้นจะมีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีดังกล่าวจำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ไม่เป็นฟ้องซ้อนตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้จำเลยที่ 1 จะอ้างรายงานการตรวจพิสูจน์ของผู้เชี่ยวชาญที่มีความเห็นว่าลายมือชื่อที่ลงในช่องผู้กู้ไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เพราะมีคุณสมบัติการเขียน รูปลักษณะของตัวอักษรแตกต่างกับลายมือชื่อที่แท้จริงของจำเลยที่ 1 ตามตัวอย่างที่ส่งมาก็ตามแต่สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 ทำก่อนที่จะมีการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 เป็นเวลาเกือบ 3 ปี ลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา ทั้งผลการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อบุคคลก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้นและลายมือชื่อของจำเลยที่ 1 ที่ลงในใบแต่งทนายความกับในเอกสารที่ร้องเรียนให้นายอำเภอเมืองลำพูนสอบสวนเรื่องจำนองที่ดินในคดีนี้ก็แตกต่างกัน แสดงว่าคุณสมบัติในการเขียนและลักษณะตัวอักษรที่จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อในเอกสารต่าง ๆ ไม่คงที่แน่นอนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ที่ว่าไม่ได้ลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ในสัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 จึงฟังไม่ขึ้น การจดทะเบียนจำนองที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ก่อนจะจดทะเบียนต้องประกาศ 30 วัน เมื่อไม่มีผู้ใดคัดค้านทางสำนักงานที่ดินจึงจะจดทะเบียนให้ การที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองซึ่งยังไม่ได้ลงวันที่ตอนไปยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนทำนิติกรรมครั้งแรกนั้น สัญญาจำนองยังไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยที่ 1 มิได้แสดงเจตนาต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้จดทะเบียนจำนองให้ โจทก์นำสัญญาจำนองดังกล่าวไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เองฝ่ายเดียวโดยจำเลยที่ 1 มิได้มอบอำนาจให้ทำเช่นนั้น สัญญาจำนองและการจดทะเบียนจำนองจึงไม่มีผลตามกฎหมายที่จะผูกพันจำเลยที่ 1 ให้ปฏิบัติตาม สัญญากู้เงินตามเอกสารหมาย จ.2 และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกันโดยด้านหน้าเป็นสัญญากู้เงินด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกันการกู้เงินรายพิพาทไม่มีการค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ด้านสัญญากู้เงินแล้วจึงปิด ต่อมาทางด้านหลังแสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า ไม่เป็นการฝ่าฝืนประมวลรัษฎากรแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3847/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอากรแสตมป์: ประเด็นความแตกต่างของโจทก์และรูปแบบสัญญาที่ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีจะเป็นฟ้องซ้อนได้นั้น จะต้องเป็นเรื่องโจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือต่อศาลอื่น เมื่อคดีก่อนของศาลชั้นต้นมีประเด็นเดียวกันกับคดีนี้ ว่าจำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองหรือไม่ แต่คดีก่อนนั้น จำเลยที่ 1 คดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย ส่วนคดีนี้โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 เป็นจำเลย ดังนั้นคดีสองสำนวนดังกล่าวโจทก์จึงไม่ใช่บุคคลคนเดียวกัน ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน เอกสารสัญญาเงินกู้และสัญญาค้ำประกันเป็นแบบพิมพ์ในกระดาษแผ่นเดียวกัน โดยด้านหน้าเป็นสัญญาเงินกู้ ด้านหลังเป็นสัญญาค้ำประกัน การที่โจทก์ปิดอากรแสตมป์ต่อมาทางด้านหลังสัญญากู้เงิน ซึ่งไม่มีการทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคลเอาไว้แสดงให้เห็นว่าเป็นการปิดเพิ่มเติมต่อจากด้านหน้า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.รัษฎากรแต่ประการใด.