พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3205/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน - ผู้ผิดนัด - วันหยุดราชการ - การจดทะเบียน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏว่า วันที่ 31ธันวาคม 2533 เป็นวันหยุดราชการ ก่อนถึงวันนัดโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ วันที่ 26 ธันวาคม 2533 โดยจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย การที่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนสิทธิที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2533 จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่ผูกพัน จำเลยมีสิทธิปฏิเสธการขายได้
จำเลยที่ 1 เป็นมารดาของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เมื่อวันที่ 15กรกฎาคม 2532 โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่ 1 เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง 3 แปลง พบจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน 10,000 บาทให้จำเลยที่ 1 ไว้ และจำเลยที่ 1 ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์ โดยจำเลยที่ 4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงิน โดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่ วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่ 2 กลับมา ได้ปรึกษาและสอบถามแล้ว เห็นว่ายังไม่ควรขาย ตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์ โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืน ดังนี้ แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน 10,000บาท ที่จำเลยที่ 1 รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 และที่ 4 จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อน เมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่ 1 ได้แจ้งปฏิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 1 และที่ 4 จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายยังไม่เกิดขึ้นเมื่อตกลงกันไม่ได้ การรับเงินมัดจำมีเงื่อนไข สัญญาไม่ผูกพัน
จำเลยที่1เป็นมารดาของจำเลยที่2ถึงที่5เมื่อวันที่15กรกฎาคม2532โจทก์ได้ไปที่บ้านจำเลยที่1เพื่อขอซื้อที่พิพาททั้ง3แปลงพบจำเลยที่1กับจำเลยที่4เมื่อเจรจากันแล้วโจทก์ได้มอบเงินจำนวน10,000บาทให้จำเลยที่1ไว้และจำเลยที่1ได้ออกใบเสร็จรับเงินให้โจทก์โดยจำเลยที่4ลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินโดยมีข้อตกลงว่าจะต้องปรึกษาจำเลยอื่นก่อนว่าจะขายที่พิพาทหรือไม่วันรุ่งขึ้นเมื่อจำเลยที่2กลับมาได้ปรึกษาและสอบถามแล้วเห็นว่ายังไม่ควรขายตอนเย็นวันนั้นจึงโทรศัพท์ไปบอกโจทก์โจทก์ว่ามีหุ้นส่วนหลายคนเมื่อพร้อมแล้วจะมารับเงินคืนดังนี้แม้จะฟังข้อเท็จจริงได้ว่าเงินจำนวน10,000บาทที่จำเลยที่1รับไว้จากโจทก์เป็นมัดจำก็เป็นการรับไว้โดยมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงว่าจำเลยที่1และที่4จะต้องปรึกษากับจำเลยอื่นก่อนเมื่อปรึกษาแล้วจำเลยที่1ได้แจ้งปฎิเสธการขายให้โจทก์ทราบสัญญาจะซื้อขายที่พิพาทจึงยังไม่เกิดขึ้นจำเลยที่1และที่4จึงไม่มีหน้าที่ต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทให้โจทก์และไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประนอมหนี้ไม่สำเร็จ และการมีหนี้สินล้นพ้นตัวตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยื่นหนังสือขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้ต่อโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยังมิได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีว่า "ทนายโจทก์ได้รับข้อเสนอขอประนอมหนี้จากจำเลยที่ 1 โดยยื่นเงื่อนไขการโอนที่ดินชำระหนี้โดยตีราคาหลักการประกันทั้งหมด และส่วน ที่เหลือจะทำการผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปี ซึ่งในหลักการหนี้โจทก์ได้เสนอเงื่อนไขต่อคณะกรรมการเร่งรัดหนี้แล้วเพราะเหตุที่ทุนทรัพย์สูงมาก ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจข้อประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ได้" ก็หาเป็นข้อความที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยที่ 1 เสนอไม่และการที่โจทก์ไม่แจ้ง มติของคณะกรรมการเร่งรัดหนี้สินให้จำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอ ของจำเลยที่ 1 หนังสือเสนอขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1จึงไม่มีผลผูกพัน โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3762/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อเสนอประนอมหนี้ไม่ผูกพันโจทก์หากไม่ตกลง ย่อมไม่มีผลทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 เพียงแต่ยื่นหนังสือขอเสนอเงื่อนไขการชำระหนี้ต่อโจทก์ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ยังมิได้ตกลงยอมรับเงื่อนไขตามหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่ทนายโจทก์ยื่นคำร้องขอเลื่อนการพิจารณาคดีว่า "ทนายโจทก์ได้รับข้อเสนอขอประนอมหนี้จากจำเลยที่ 1 โดยยื่นเงื่อนไขการโอนที่ดินชำระหนี้โดยตีราคาหลักประกันทั้งหมด และส่วนที่เหลือจะทำการผ่อนชำระภายในเวลา 5 ปีซึ่งในหลักการนี้โจทก์ได้เสนอเงื่อนไขต่อคณะกรรมการเร่งรัดหนี้แล้วเพราะเหตุที่ทุนทรัพย์สูงมาก ทนายโจทก์ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจข้อประนอมหนี้ของจำเลยที่ 1ได้..." ก็หาเป็นข้อความที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงื่อนไขตามที่จำเลยที่ 1 เสนอไม่และการที่โจทก์ไม่แจ้งมติของคณะกรรมการเร่งรัดหนี้สินให้จำเลยที่ 1 ทราบก็เป็นการแสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ไม่ตกลงตามข้อเสนอของจำเลยที่ 1หนังสือเสนอขอชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นเมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด แม้จำเลยเสนอให้ผ่อนผันก็ไม่ผูกพัน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้างเมื่อจำเลยผู้จะขายได้จัดการขนย้ายผู้เช่าเดิมออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วตามสัญญา จำเลยแจ้งให้โจทก์ผู้จะซื้อนำค่าที่ดินงวดที่ 2มาชำระ แต่โจทก์ก็หาได้ชำระไม่อ้างว่าจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามสัญญาจำเลยจึงให้ทนายความมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดก็ให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ ซึ่งโจทก์ทราบแล้วก็มิได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามเวลาที่กำหนด สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับสิ้นไป แม้ต่อมาทนายความของจำเลยจะได้มีหนังสือแจ้งต่อโจทก์ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญาภายในวันที่ 7พฤษภาคม 2528 อีก หนังสือดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อเสนอที่จำเลยให้แก่โจทก์ใหม่ ภายหลังสัญญาเลิกกันแล้ว เมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงสนองตอบ ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลแต่อย่างใด จำเลยจึงหาจำต้องบอกเลิกสัญญา เมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2640/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายระงับสิ้นเมื่อผู้ซื้อไม่ชำระหนี้ตามกำหนด แม้จำเลยเสนอให้ชำระภายหลังก็ไม่ผูกพัน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทและสิ่งปลูกสร้าง เมื่อจำเลยผู้จะขายได้จัดการขนย้ายผู้เช่าเดิมออกไปจากที่ดินพิพาทแล้วตามสัญญา จำเลยแจ้งให้โจทก์ผู้จะซื้อนำค่าที่ดินงวดที่ 2 มาชำระ แต่โจทก์ก็หาได้ชำระไม่อ้างว่าจำเลยยังไม่ปฏิบัติตามสัญญา จำเลยจึงให้ทนายความมีหนังสือแจ้งต่อโจทก์โดยกำหนดระยะเวลาให้ชำระหนี้ หากไม่ชำระภายในเวลาที่กำหนดก็ให้ถือเป็นการบอกเลิกสัญญาและริบเงินมัดจำ ซึ่งโจทก์ทราบแล้วก็มิได้ชำระเงินให้แก่จำเลยตามเวลาที่กำหนด สัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงระงับสิ้นไป แม้ต่อมาทนายความของจำเลยจะได้มีหนังสือแจ้งต่อโจทก์ว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญาภายในวันที่ 7 พฤษภาคม2528 อีก หนังสือดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อเสนอที่จำเลยให้แก่โจทก์ใหม่ ภายหลังสัญญาเลิกกันแล้วเมื่อโจทก์ไม่ได้ตกลงสนองตอบ ย่อมไม่ก่อให้เกิดผลแต่อย่างใด จำเลยจึงหาจำต้องบอกเลิกสัญญาเมื่อพ้นกำหนดดังกล่าวอีกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5134/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายหุ้นไม่สมบูรณ์-ขาดเจตนา-คำเสนอสิ้นผล-สิทธิเรียกร้องไม่มี
หนังสือของ จ. ตามเอกสารหมาย จ.15ข้อ4ที่ว่า"ตามที่แตง(หมายถึงโจทก์) ประสงค์จะขอซื้อหุ้นกลับคืนต่อภายหน้าเมื่อการเงินสะดวกนั้นไม่ขัดข้องแต่อย่างใดเลย จะโอนให้ทันทีโดยไม่เรียกร้องผลประโยชน์หรือดอกเบี้ย" ข้อ 5.1 ว่า "ป๋าพิจารณาแล้วเห็นเป็นการสมควรเพื่อความสะดวกเมื่อเวลาโอนหุ้นกลับคืนให้ แตงจะคิดเป็นจำนวนเงินเพียง 7,000,000(เจ็ดล้าน) บาทเท่านั้น"และข้อ 5.2 ที่ว่า "การซื้อหุ้นกลับคืนดอกเบี้ยไม่คิด" นั้นมิใช่คำสนองตอบคำเสนอของโจทก์ที่จะมีผลเป็นสัญญาซื้อขายหุ้นที่โจทก์โอนให้ จ. อาจจะถือได้เพียงแต่เป็นคำเสนอของ จ.ในการที่จะโอนหุ้นให้โจทก์กลับคืนโดยคิดเงินจากโจทก์ ตามที่โจทก์ตั้งความหวังไว้และปรารภถึงความหวังนั้นให้ จ. ทราบในเอกสารหมาย จ.13ข้อ4เท่านั้นจ.ทำเอกสารหมายจ .15 ไปถึงโจทก์ตั้งแต่ปี 2518 โจทก์ได้รับเอกสารแล้วมิได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือแสดงเจตนาใดให้ปรากฏแก่ จ. ในเรื่องนี้ จนเวลาล่วงเลยมาถึงวันที่ 1 ตุ ลาคม พ.ศ. 2524 จ. ได้ถึงแก่กรรมเอกสารหมาย จ .15 ซึ่งอาจถือว่าเป็นคำเสนอนั้นจึงสิ้นความผูกพันโจทก์จึงไม่มีสิทธิใด ๆ ที่จะเรียกร้องให้ผู้จัดการมรดกของ จ.โอนหุ้นให้และรับเงินจากโจทก์ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีซื้อขาย, การนำสืบพยานเกี่ยวกับสัญญาเช่า, และผลของการปฏิเสธการซื้อตามสัญญา
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท
โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นดังนั้น การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94
สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ
โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นดังนั้น การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94
สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3641/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลในคดีซื้อขาย และการนำสืบพยานเกี่ยวกับสัญญาเช่าเพื่อสนับสนุนข้อต่อสู้
โจทก์ขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่ดินของจำเลยให้แก่โจทก์ราคาที่ดินย่อมเป็นทุนทรัพย์ที่โจทก์เรียกเอาจากจำเลย จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณราคาเป็นเงินได้โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาท โจทก์จำเลยมิได้พิพาทกันเกี่ยวกับเรื่องค่าเช่าตามสัญญาเช่าจำเลยนำสืบสัญญาเช่าเพื่อเป็นการสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยเท่านั้นดังนั้น การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าเกี่ยวกับค่าเช่า จึงไม่เป็นการฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 สัญญาเช่าระบุว่าหลังจาก 1 ปี นับแต่วันทำสัญญาผู้ให้เช่าสัญญาว่าจะขายที่ดินพร้อมอาคารและทรัพย์ตามสัญญานี้แก่ผู้เช่าเว้นแต่ผู้เช่าจะไม่รับซื้อ เมื่อการเช่าครบ 1 ปี และผู้ให้เช่าถามผู้เช่าแล้ว ผู้เช่าปฏิเสธไม่รับซื้อ ผู้ให้เช่าจึงสิ้นความผูกพันที่จะขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เช่าให้ผู้เช่าตามคำเสนอ.