คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 359 วรรคสอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญางานเหมา vs. จ้างบริหาร: การคิดค่าเสียหายเมื่อผู้รับจ้างผิดสัญญา
การที่จำเลยที่ 1 ผู้ว่าจ้างมีหนังสือขอแจ้งผลการพิจารณาต่อรองราคาว่าจ้างวางท่อเหล็กไปยังโจทก์ผู้รับจ้าง โดยหนังสือดังกล่าวมีการแก้ไขราคาในลักษณะต่อรองคำเสนอของโจทก์ ดังนั้น คำสนองของจำเลยที่ 1 จึงไม่ตรงกับคำเสนอของโจทก์ ถือเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอของโจทก์และเป็นคำเสนอของจำเลยที่ 1 ขึ้นใหม่ในตัวตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง สัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จะเกิดขึ้นต่อเมื่อคำบอกกล่าวสนองของโจทก์ไปถึงจำเลยที่ 1 ผู้เสนอ เพราะเป็นสัญญาระหว่างบุคคลซึ่งอยู่ห่างกันโดยระยะทางตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคหนึ่ง และมาตรา 169 จำเลยที่ 1 ได้ส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว แต่โจทก์ไม่ตอบตกลงราคาดังกล่าวมายังจำเลยที่ 1 ถือว่าโจทก์มิได้มีคำสนองไปถึงจำเลยที่ 1 ดังนั้นหนังสือขอแจ้งผลการพิจารณาต่อรองราคาดังกล่าวไม่ก่อเกิดเป็นสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์มิได้สนองรับคำเสนอของจำเลยที่ 1 ภายในเวลาอันควรคาดหมายว่าจะได้รับคำบอกกล่าวสนอง จำเลยที่ 1 ย่อมมีสิทธิถอนคำเสนอของตนได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ถอนคำเสนอแล้วคำเสนอเป็นอันสิ้นความผูกพัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 355 และมาตรา 357

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6225/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสถานีบริการน้ำมัน: การบอกเลิกสัญญา, ค่าชดเชย, และค่าเสียหายจากการไม่คืนทรัพย์สิน
การพิจารณาว่าจำเลยต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์หรือไม่ ต้องพิจารณาจากข้อตกลงแต่งตั้งผู้ประกอบการระหว่างจำเลยกับโจทก์เป็นสำคัญซึ่งระบุไว้ในข้อ 10 ของสัญญาดังกล่าวว่า "ในระหว่างระยะเวลาการเช่าตามข้อ 6 หากผู้ประกอบการไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไป หรือสัญญานี้เลิก หรือสิ้นสุดลงก่อนระยะเวลาตามข้อ 1 เนื่องจากความผิดของผู้ประกอบการ บริษัทบางจากฯ มีสิทธิที่จะจัดผู้อื่นเข้ามาเป็นผู้ดำเนินการแทนโดยจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ประกอบการ..." ข้อเท็จจริงได้ความว่า ก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา โจทก์ประสบภาวะขาดทุนโจทก์จึงมีหนังสือแจ้งจำเลยว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไปขอให้จำเลยรีบดำเนินการจ่ายเงินชดเชยค่าใช้ประโยชน์ในที่ดินและเงินชดเชยค่าก่อสร้างให้โจทก์ และเหตุที่โจทก์ประสบภาวะขาดทุนเป็นผลมาจากโจทก์ไม่สามารถซื้อน้ำมันจากจำเลยตามจำนวนที่กำหนดไว้ในสัญญาจึงถูกจำเลยปรับ ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยแจ้งว่าไม่ประสงค์จะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากต่อไปจึงเป็นผลมาจากความผิดของโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิตามสัญญาข้อ 10 ที่จะจัดผู้อื่นเข้ามาดำเนินการแทนโดยจ่ายค่าชดเชยแก่ผู้ประกอบการ สิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิของฝ่ายจำเลยที่จะกระทำหรือไม่กระทำก็ได้เพราะข้อสัญญาไม่ได้บังคับไว้ เมื่อจำเลยไม่ใช้สิทธิดังกล่าว จำเลยย่อมไม่มีหน้าที่ที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ ในส่วนที่จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์แจ้งว่ายินดีที่จะใช้สิทธิเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันต่อไปและชำระค่าชดเชยแก่โจทก์ หนังสือนั้นจึงมีลักษณะเป็นคำสนองรับการไม่ประสบจะดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากของโจทก์ แต่คำสนองของจำเลยดังกล่าวกำหนดเงื่อนไขอันเป็นสาระสำคัญว่าจำเลยจะชำระค่าชดเชยแก่โจทก์ และจำเลยจะจัดทำบันทึกข้อตกลงเพื่อใช้สิทธิเข้าดำเนินการสถานีบริการน้ำมันบางจากจากโจทก์และจะนัดหมายโจทก์มาลงนามรับข้อตกลงต่อไป จึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไข ถือได้ว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับและเป็นคำเสนอใหม่ของจำเลยเมื่อโจทก์ไม่ยอมรับเงื่อนไขดังกล่าวและมีหนังสือโต้แย้งจำนวนค่าชดเชยและวิธีการคำนวณค่าชดเชย หนังสือดังกล่าวจึงเป็นการบอกปัดคำเสนอของจำเลย คำเสนอของจำเลยจึงสิ้นความผูกพัน
พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 12 ไม่ให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ การที่จำเลยทำสัญญาแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้ประกอบการสถานีบริการน้ำมันเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2536 ก่อนวันที่ พ.ร.บ. มีผลใช้บังคับ จึงนำ พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาปรับใช้แก่คดีนี้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันช่วงต่างประเทศ: การเกิดขึ้นของสัญญาตามกฎหมายไทย และอัตราดอกเบี้ยผิดนัด
จำเลยขอให้โจทก์ออกหนังสือประกันการปฏิบัติตามสัญญาของกิจการร่วมค้า อ. ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยจำเลยยอมประกันช่วงผูกพันตนด้วยเงื่อนไขทำนองเดียวกันต่อโจทก์ (Instructions and Counter Guarantee) โจทก์ออกหนังสือประกันการปฏิบัติตามสัญญา (Letter of Guarantee, Performance Security) ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว ต่อมาการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีหนังสือแจ้งโจทก์ว่าได้บอกเลิกสัญญากับกิจการร่วมค้า อ. เพราะเหตุผิดสัญญา และขอให้โจทก์ชำระเงินตามหนังสือประกันดังกล่าว การที่โจทก์แจ้งให้จำเลยทราบและเรียกให้จำเลยชำระเงินจึงเป็นการปฏิบัติไปตามข้อตกลงในสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลย จำเลยรับทราบแล้วแจ้งกลับมายังโจทก์เพียงว่า ศาลในประเทศอิตาลีมีคำสั่งห้ามชั่วคราวมิให้จำเลยชำระเงินให้แก่โจทก์ และกิจการร่วมค้า อ. แจ้งจำเลยว่าจะเชิญการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยให้ร่วมเจรจาระงับข้อพิพาทด้วยกระบวนการอนุญาโตตุลาการ ขอให้โจทก์หยุดชำระเงินไว้ก่อน นั้น ทั้งสองเหตุดังกล่าวไม่ใช่เหตุผลที่จะปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่มีต่อการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยหรือปลดเปลื้องจำเลยจากความรับผิดที่มีต่อโจทก์ตามสัญญาประกันช่วงแต่อย่างใด เพราะเป็นข้ออ้างที่ขัดกับข้อความรับผิดตามหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงนั้นเอง การที่โจทก์ไม่พิจารณาคำทักท้วงดังกล่าวหรือสืบหาข้อเท็จจริงตามข้ออ้างของจำเลยจึงไม่ใช่การกระทำโดยไม่สุจริตแต่อย่างใด โจทก์ชำระเงินให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเมื่อถูกเรียกให้ชำระตามเงื่อนไขและภาระผูกพันในหนังสือประกันย่อมเป็นการกระทำโดยชอบแล้ว มิใช่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาประกันช่วง จำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ตามจำนวนดังกล่าวแก่โจทก์
โจทก์ทวงถามเป็นหนังสือไปยังจำเลยโดยการส่งโทรพิมพ์ (First Written Demand by Tested Telex) ตรงตามเงื่อนไขในสัญญาประกันช่วงแล้ว จำเลยย่อมมีหน้าที่ชำระเงินให้แก่โจทก์ตามจำนวนที่ระบุทันที เมื่อจำเลยไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัด เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าคู่สัญญาแสดงเจตนากำหนดเรื่องอัตราดอกเบี้ยกันไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิกำหนดอัตราดอกเบี้ยฝ่ายเดียว คงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศอิตาลีทำคำเสนอทางโทรพิมพ์มายังโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคลในประเทศไทย โจทก์ไม่ได้ตกลงรับว่าจะออกหนังสือประกันให้ตามที่จำเลยเสนอมาในทันที แต่กำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในคำสนองว่าโจทก์จะออกหนังสือประกันให้ก็ต่อเมื่อจำเลยยอมประกันช่วงแก่โจทก์ว่าจำเลยจะชดใช้เงินตามจำนวนที่โจทก์ชำระให้แก่ผู้รับประโยชน์คืนให้แก่โจทก์ เมื่อคำสนองดังกล่าวมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย จึงถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับ ทั้งมีผลเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 359 วรรคสอง แม้จำเลยได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวแล้ว สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยก็ยังหาได้เกิดขึ้นที่ประเทศอิตาลีดังที่จำเลยอ้างแต่อย่างใดไม่ เมื่อจำเลยมีโทรพิมพ์ ตอบกลับมายังโจทก์ว่าจำเลยให้อำนาจโจทก์ระบุข้อความรับผิดในการประกันช่วงดังกล่าวได้ โดยมิได้มีข้อความเพิ่มเติมหรือเงื่อนไขอย่างใดอีก โทรพิมพ์ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นคำสนองของจำเลย ดังนี้ สัญญาขอให้ออกหนังสือประกันและสัญญาประกันช่วงระหว่างโจทก์จำเลยย่อมเกิดขึ้นทันทีที่โจทก์ได้รับโทรพิมพ์ดังกล่าวที่ประเทศไทยตาม ป.พ.พ. มาตรา 361 วรรคแรกจึงต้องใช้กฎหมายแห่งถิ่นที่สัญญาเกิดคือกฎหมายไทยบังคับและต้องฟ้องคดีต่อศาลไทย ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมาย พ.ศ.2481 มาตรา 13

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของ vs. สัญญาตัวแทน: การบังคับชำระค่าจ้างตามข้อตกลงและหลักฐาน
หนังสือเสนอราคาที่โจทก์มีไปถึงจำเลยถือเป็นคำเสนอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 355 ส่วนหนังสือแต่งตั้งและว่าจ้างโจทก์ให้ดำเนินการพิธีการทางศุลกากรและนำเครื่องจักรไปส่งให้จำเลยที่จำเลยมีไปถึงโจทก์หลังได้รับคำเสนอแล้ว แม้จะไม่ได้อ้างถึงหนังสือเสนอราคาแต่ก็มิได้มีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัด หรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วยแต่อย่างใดจึงย่อมเป็นคำสนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง และเมื่อคำบอกกล่าวสนองของจำเลยไปถึงโจทก์ผู้เสนอแล้วย่อมเป็นสัญญาขึ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 361 วรรคแรก ในสัญญาตัวแทน ตัวการและตัวแทนมักมีความเกี่ยวพันกันเป็นส่วนตัวหรือหน้าที่การงานประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 803 จึงวางหลักไว้ว่าตัวแทนไม่มีสิทธิจะได้รับบำเหน็จจากกิจการที่ตนทำไปแทนตัวการ แต่สำหรับสัญญาจ้างทำของนั้น มีอยู่เสมอที่ผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างมิได้รู้จักผูกพันกันมาก่อนเหตุที่ทำสัญญากันก็เนื่องมาจากผู้ว่าจ้างต้องการผลสำเร็จของงานซึ่งผู้รับจ้างมีความถนัดและมักประกอบเป็นอาชีพโดยหวังสินจ้างเป็นสำคัญอันเป็นเรื่องของธุรกิจการค้าการบริการ โจทก์และจำเลยไม่รู้จักเกี่ยวพันกันมาก่อนต่างเป็นนิติบุคคลประกอบธุรกิจการค้าการให้บริการโดยมุ่งหวังผลกำไร สัญญาที่เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นสัญญาจ้างทำของ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การเสนอราคา, การตอบรับที่มีเงื่อนไข, และขอบเขตของสัญญา
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวน ให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญา ก่อสร้างให้จำเลย การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างและแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับ ของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคา คือ บริษัทพ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไข อย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอ บางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นโดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฎในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาด จะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่ โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุ ให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัท พ. จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2474/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอราคาและการตอบรับที่มีเงื่อนไขเปลี่ยนแปลง: สัญญาจ้างก่อสร้างเกิดขึ้นเมื่อตอบรับเงื่อนไขใหม่
ในการก่อสร้างโรงงานอาคารเตา จำเลยได้มีหนังสือเชิญชวนให้บริษัทต่าง ๆ รวมทั้งโจทก์ให้ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง ซึ่งหนังสือดังกล่าวเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น เมื่อโจทก์ยื่นประกวดราคาโดยกรอกรายการบัญชีแสดงปริมาณงานและราคาในแบบพิมพ์เชิญชวนให้ยื่นประกวดราคาต่อจำเลย เป็นการทำคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาก่อสร้างให้จำเลย
การที่จำเลยมีหนังสือเอกสารหมาย ล.27 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์ได้รับเลือกให้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง และแจ้งต่อไปว่า ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดยที่ปรึกษาด้านราคาคือ บริษัท พ. ดังนั้น หนังสือดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติม มีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ซึ่งถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัวตาม ป.พ.พ.มาตรา359 วรรคสอง
ต่อมาเมื่อโจทก์ได้ลงลายมือชื่อยืนยันและยอมรับต่อท้ายข้อความหนังสือเอกสารหมาย ล.27 เท่ากับเป็นการสนองตอบ สัญญาจ้างก่อสร้างระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้น โดยโจทก์กับจำเลยจะต้องปฏิบัติตามข้อความที่ปรากฏในเอกสารหมาย ล.27 ซึ่งส่วนหนึ่งก็คือ ปริมาณงานและราคาเด็ดขาดจะอยู่ภายใต้บังคับของการคิดจำนวนและคิดคำนวณราคาใหม่โดย บริษัท พ.ที่ปรึกษาด้านราคาและการคิดปริมาณงานและคำนวณราคาดังกล่าว ในหนังสือเอกสารหมาย ล.27 มิได้ระบุให้ยึดถือตามรายการปริมาณงานและราคาตามใบประกวดราคาเป็นหลัก บริษัทพ.จึงมีหน้าที่ที่จะต้องคิดปริมาณงานและคำนวณราคาใหม่ทั้งหมด และเมื่อคิดปริมาณงานและคำนวณราคาได้จำนวนเท่าไรแล้ว จำเลยก็ต้องชำระราคาดังกล่าวให้แก่โจทก์และโจทก์ก็ต้องยอมรับตามราคานั้นด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3249/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประกาศประกวดราคาไม่เป็นคำเสนอ แต่เป็นคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอ เงื่อนไขเพิ่มเติมในคำสนองถือเป็นคำเสนอใหม่
ประกาศประกวดราคามีทั้งสัญญาว่าโจทก์มีสิทธิที่จะเลือกทำสัญญากับผู้เข้าประกวดราคารายใดก็ได้ โดยไม่จำต้องทำสัญญากับผู้ประกวดราคาที่เสนอราคาสูงสุด หรือไม่เลือกผู้ประกวดราคารายใดเลยก็ได้ ดังนี้ประกาศประกวดราคาเป็นเพียงคำเชื้อเชิญให้ทำคำเสนอเท่านั้น หนังสือประกวดราคาของโจทก์จึงเป็นคำเสนอของโจทก์ที่ประสงค์จะเข้าทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินพิพาทกับจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิเช่าซื้อที่ดินพิพาทได้ โดยโจทก์ต้องนำหลักฐานแสดงการตกลงระหว่างโจทก์กับผู้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทที่ว่าจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินโดยไม่เรียกร้องใด ๆ จากจำเลยมาแสดงภายใน 30วัน หนังสือของจำเลยดังกล่าวเป็นคำสนองอันมีข้อความเพิ่มเติมมีข้อจำกัดหรือมีข้อแก้ไขอย่างอื่นประกอบด้วย ถือว่าเป็นคำบอกปัดไม่รับคำเสนอบางส่วนของโจทก์ ทั้งเป็นคำเสนอขึ้นใหม่ด้วยในตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสองเมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการสนองตามคำเสนอของจำเลยภายในเวลาที่กำหนดไว้ สัญญาระหว่างโจทก์จำเลยจึงยังไม่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา การเปลี่ยนแปลงราคาหลังยื่นซอง และสิทธิในการริบเงินมัดจำ
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้าย เมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 581/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกวดราคา: เงื่อนไขการยืนราคาและการริบเงินมัดจำเมื่อไม่ทำสัญญา
แจ้งความประกาศให้ผู้ประสงค์รับเหมาก่อสร้างงานยื่นซองประกวดราคาเป็นคำเชื้อเชิญ และข้อความซึ่งระบุไว้ในแจ้งความว่า ราคาที่ผู้รับเหมายื่นซองประกวดราคาจะไม่เปลี่ยนแปลงภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันยื่นซองประกวดราคาก็เป็นเงื่อนไขที่บังคับไม่ให้โจทก์ ผู้ยื่นซองประกวดราคาเปลี่ยนแปลงราคาค่ารับเหมาก่อสร้างภายในกำหนดเวลาดังกล่าว โจทก์ทราบเงื่อนไขจึงยื่นซองประกวดราคารับเหมาก่อสร้างงานรายนี้ซึ่งเป็นคำเสนอ และตกลงจะไม่เปลี่ยนแปลงราคารับเหมาก่อสร้างภายใน 60 วันนับแต่วันยื่นซองประกวดราคา ก็ไม่ทำให้คำเสนอของโจทก์เป็นคำเสนอที่มีข้อจำกัด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 359 วรรคสอง
เมื่อข้อความในประกาศแจ้งความของจำเลยระบุให้ผู้ประกวดราคาได้ต้องเข้าทำสัญญาภายในเวลาที่กำหนด เห็นได้ว่าสัญญาอันจะมุ่งทำนั้นจะต้องทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 366 วรรคท้ายเมื่อโจทก์ผู้ประกวดราคาได้ไม่ไปลงนามในสัญญาตามกำหนด จึงเป็นเงื่อนไขที่ทำให้จำเลยมีสิทธิริบเงินประจำซองได้ตามที่ระบุไว้ในประกาศแจ้งความ